หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน 3 ประการ

นอกจากผู้ให้บริการทางการเงินต้องให้บริการด้วยความรับผิดชอบแล้ว ลูกค้าก็ต้องใช้บริการด้วยความรับผิดชอบด้วยเช่นกัน เพื่อช่วยกันลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหน้าที่ที่ควรปฏิบัติในฐานะผู้ใช้บริการทางการเงินมีดังนี้​

​​0​​1

วางแผนการเงิน


การวางแผนการเงินจะช่วยให้คุณรู้ฐานะทางการเงินของตนเอง และจัดการกับรายรับ-รายจ่ายได้อย่างเหมาะสม สามารถตั้งเป้าหมายการเงินและคิดหาวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ซึ่งคุณสามารถศึกษารายละเอียดการวางแผนการเงินเพิ่มเติมได้​จาก​"หนังสือรู้รอบเรื่องการเงิน ตอน วางแผนการเงิน​อย่างชาญฉลาด"

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน 3 ประการ
  

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน 3 ประการ
 

 

0​2

ติดตามข่าวสารทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ


ควรศึกษาและเรียนรู้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ๆ ที่​มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอันทันสมัย เพื่อการตัดสินใจที่ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง รู้เท่าทันโฆษณา และไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ง่าย ๆ

​ ​​

0​3

เข้าใจรายละเอียดและเปรียบเทียบข้อมูลก่อนเลือกใช้บริการ


อย่าลืมอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับบริการทางการเงินที่ต้องการใช้บริการให้เข้าใจก่อน และไม่ลืมที่จะหาข้อมูลจากผู้ให้บริการทางการเงินหลาย ๆ แห่ง​ แล้วนำมาเปรียบเทียบเพื่อเลือกสิ่งที่ดี มีเงื่อนไขที่รับได้ และเหมาะกับคุณมากที่สุด ที่สำคัญ อย่าเซ็นชื่อลงในใบสมัครใช้บริการใด ๆ โดยไม่ได้อ่านหรือไม่เข้าใจเงื่อนไขในสัญญาเด็ดขาด หากสงสัยต้องสอบถามเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจ และแน่ใจว่ารับเงื่อนไขได้ก่อนเซ็นชื่อในสัญญา อาจใช้เวลาสักนิดแต่ก็ดีกว่ามานั่งเสียดายหรือตามแก้ไขปัญหาภายหลัง


​​​​​​​คุณสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริการทางการเงินได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น

1. ข้อมูลของสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของแบงก์ชาติ       

​รายชื่อและเว็บไซต์​​ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเปรียบเทียบ2. ข้อมูลของหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) 

ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนข้อ​มูลเปรียบเทียบผลตอบแทนด้านหลักทรัพย์หรือหน่วยลงทุน3. ข้อมูลของหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

ข้อมูลเกี่ยวกับแบบประกันชีวิตที่มีขายในปัจจุบัน

 ​

04​

ตรวจทานความถูกต้องของธุรกรรมทางการเงินทุกครั้ง


ควรตรวจสอบรายละเอียดและความถูกต้องทุกครั้งที่ทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น ชื่อบัญชี เลขที่บัญชี จำนวนเงิน รายการใช้จ่ายในใบสรุปยอดการใช้จ่ายบัตรเครดิตเทียบกับใบรายการขายสินค้า (sales slip) ถ้าพบว่าไม่ถูกต้อง ให้รีบติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินเพื่อขอแก้ไขให้ถูกต้อง รวมถึงควรปรับสมุดบัญชีเงินฝากบ่อย ๆ โดยเฉพาะบัญชีที่มีบัตรเอทีเอ็ม เพราะหากทิ้งไว้นาน รายการต่าง ๆ จะถูกรวมเป็นยอดเดียว ทำให้ตรวจสอบยาก

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน 3 ประการ
  ​

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน 3 ประการ
 

 

0​5

เมื่อเป็นหนี้ต้องชำระ


ก่อนจะก่อหนี้ ควรเข้าใจกฎเหล็กของลูกหนี้ 2 ข้อ คือ "ก่อหนี้เท่าที่จำเป็นและจ่ายไหว" และ "เป็นหนี้ต้องจ่าย" เพราะการก่อหนี้เกินตัวจนจ่ายไม่ไหว นอกจากดอกเบี้ยจะพอกพูนแล้ว ยังเสียประวัติเครดิตที่จะขอกู้ใหม่ในอนาคตด้วย รวมถึงอาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ แต่ถ้าชำระหนี้ไม่ไหวจริง ๆ ควรรีบปรึกษาเจ้าหนี้เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน การขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีหลายวิธี เช่น ขอยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป ขอลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระหนี้ต่องวดลง ขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมหรือค่าปรับกรณีผิดนัดชำระ แต่ผลการพิจารณาจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับว่าที่ผ่านมาคุณมีวินัยในการชำระหนี้ตรงเวลาแค่ไหนด้วย


คำถามถามบ่อย

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน 3 ประการ
ถ้าต้องการเปรียบเทียบผลตอบแทนของเงินฝากแบบขั้นบันได ซึ่งกำหนดเงื่อนไขการฝากไม่เหมือนกัน ทั้งระยะเวลาและอัตราดอกเบี้ย จะรู้ได้อย่างไรว่าแบบไหนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน 3 ประการ
การนำอัตราดอกเบี้ยเพียงช่วงสุดท้ายของแต่ละโครงการบัญชีเงินฝากแบบขั้นบันได (Step up) มาเปรียบเทียบกันเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องเพราะลักษณะของบัญชีเงินฝากแบบขั้นบันไดจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยเดือนสุดท้ายไว้สูง ๆ เพื่อโฆษณาจูงใจ แต่หากสังเกตดี ๆ จะเห็นว่าเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น นอกจากนั้น ช่วงเวลาของแต่ละโครงการมักไม่เท่ากัน จึงควรพิจารณาจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของทั้งโครงการ ซึ่งแบงก์ชาติได้กำหนดให้สถาบันการเงินต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เพื่อประโยชน์ของประชาชนในการเปรียบเทียบข้อมูลก่อนการตัดสินใจใช้บริการ
หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน 3 ประการ

เพื่อนขอให้ช่วยค้ำประกันเงินกู้ และสถาบันการเงินจะขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต ในฐานะผู้ค้ำประกันเรามีสิทธิ์ปฏิเสธได้หรือไม่ 

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน 3 ประการ
หากคุณไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลเครดิตของตนเองก็สามารถปฏิเสธได้ เพราะสถาบันการเงินไม่มีสิทธิ์ที่จะบังคับให้ผู้ค้ำประกันลงนามในใบยินยอมให้ตรวจสอบข้อมูลเครดิต แต่หากกังวลว่าสถาบันการเงินอาจไม่อนุมัติเงินกู้ให้เพื่อนก็สามารถไปขอตรวจข้อมูลเครดิตของตัวเองแล้วนำมายื่นให้สถาบันการเงินได้



 

เรื่องที่น่าสนใจ

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน 3 ประการ
 


 

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน 3 ประการ
 

 

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน 3 ประการ
 

 


 ลิงก์ที่น่าสนใจ 
หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน 3 ประการ

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน 3 ประการ

 หนังสือเวียน เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ย​วกับการจ่ายผลตอบแทนที่สืบเนื่อง​จาการระดมเงินจากประชาชน ลงวันที่ 6 พ.ค. 54

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงินมีอะไรบ้าง

ผู้จัดการแผนกการเงิน.
ควบคุมการตรวจสอบเอกสารการรับจ่าย.
ตรวจสอบการรายงานการรับจ่ายเงินประจำวันกับเงินที่รับจริง.
ควบคุมดูแลการจ่ายเงินให้ผู้ขาย/ลูกค้า/พนักงาน.
ตรวจสอบเงินสดในบัญชี.
ตรวจสอบแผนการใช้เงินสด.
ตรวจสอบยอดเช็คที่อยู่ในมือกับยอดเช็คที่ผู้ขายยังไม่ขึ้นเงิน.
ประมาณรายรับรายจ่าย.

กิจกรรมที่สําคัญ 3 ประการของผู้จัดการทางการเงินคืออะไร

3 ประการคือ 1 (1) ประเมินความต้องการทางการเงินของธุรกิจ (2) จัดหาเงินทุนตามที่ธุรกิจต้องการ (3) จัดสรรเงินทุนของธุรกิจให้ได้กำไรและประหยัดที่สุด หลักการสำคัญในสาขานี้จึงเป็นเรื่องของการตัดสินใจของผู้ บริหารการเงินตามภาระหน้าที่หลัก ซึ่งในปัจจุบันนี้หากผู้บริหาร

หน้าที่ของการจัดการทางการเงินมีกี่ข้อ

บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารทางการเงินในองค์กรธุรกิจ.
หน้าที่ในการพยากรณ์และวางแผน (Forecasting and Planning).
หน้าที่ในการตัดสินใจลงทุนและจัดหาเงินทุน (Investment and Financing Decision).
หน้าที่ในการประสานงานและควบคุม (Coordination and Control).

เป้าหมายในการบริหารการเงินที่ดี คืออะไร

เป้าหมายการเงิน (Financial Goal) คือ ตัวกำหนดทิศทางที่สำคัญในการสร้างแผนปฎิบัติทางการเงิน (Financial Action Plan) ที่เราจะต้องลงมือทำ การจะประสบความสำเร็จทางการเงินได้นั้น เราต้องมีเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจนและมีความสอดคล้องกัน ซึ่งควรมีลักษณะสำคัญ 5 ประการตามหลัก SMART คือ 1. มีความชัดเจน (Specific)