สมรรถนะแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังข้อใด

หมายถึง การกำหนดเพื่อให้เห็นว่าพนักงานทุกคน พนักงานในแต่ละระดับ และพนักงานในแต่ละกลุ่มงานจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ทักษะ และ คุณลักษณะที่สำคัญอะไรบ้าง เพื่อนำไปใช้ในการสร้างความสำเร็จในการทำงานในองค์การ

ปรัชญาของ Competency

ถ้าบุคคลมีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะที่เหมาะสม กับตำแหน่ง/หน่วยงาน/ระดับ ตรงตามที่องค์การคาดหวัง

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร
1. การทำงานในตำแหน่ง/หน่วยงาน/ระดับนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ พันธกิจ และประเด็นยุทธศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
2. องค์การสามารถถึงสมรรถนะจากบุคลากรมาใช้ได้อย่างเต็มที่

ขั้นตอนของ Competency (The Process of Competency)
1. การวิเคราะห์ Competency (Competency Analysis)
2. ประเภทของ Competency (Competency Formulation)
3. การพัฒนา Competency (Competency Development)
4. การประเมินผลและติดตาม (Competency Assessment)

ประเภทของ Competency
1. สมรรถนะหลัก (Core Competency)
เป็นสมรรถนะที่ต้องมี เช่น Service Mind การทำงานเป็นทีม จิตสำนึกในคุณภาพ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. สมรรถนะการบริหาร (Managerial Competency)
เป็นสมรรถนะที่ผู้บริหารทุกระดับจะต้องมี เช่น ความมีวิสัยทัศน์ ความเป็นผู้นำ ความสามารถในการวางแผน ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
3. สมรรถนะที่เกี่ยวกับงาน/ประจำกลุ่มงาน (Functional Competency)
เป็นสมรรถนะในตำแหน่งงาน/กลุ่มงานหนึ่ง ๆ ที่จะต้องมี

1. สมรรถนะหลัก (Core Competency)
สมรรถนะหลัก คือ คุณลักษณะร่วมของข้าราชการพลเรือนไทยทั้งระบบ เพื่อหล่อหลอมค่านิยมและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ร่วมกัน ประกอบด้วยสมรรถนะ 5 สมรรถนะ คือ
1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation)
1.2 บริการที่ดี (Service Mind)
1.3 การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise)
1.4 จริยธรรม (Integrity)
1.5 ความร่วมแรงร่วมใจ (Teamwork)

2. สมรรถนะการบริหาร (Managerial Competency)
2.1 สำหรับผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่ม หัวหน้างาน
1) วิสัยทัศน์
2) การควบคุมตนเอง
3) การให้อำนาจแก่ผู้อื่น
4) การวางกลยุทธ์ภาครัฐ
5) มีศักยภาพเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง
2.2 Managerial Competency สำหรับผู้บริหารระดับสูง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้ดังนี้
1) การบริหารคน
1.1) การปรับตัวและความยืดหยุ่น (Adaptability and Flexibility)
1.2) ทักษะในการสื่อสาร (Communication)
1.3) การประสานสัมพันธ์ (Collaborativeness)
2) ความรอบรู้ในการบริหาร
2.1) การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Managing Change)
2.2) การมีจิตมุ่งบริการ(Customer Service Orientation)
2.3) การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)
3) การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
3.1) รับผิดชอบตรวจสอบได้ (Accountability)
3.2) การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ (Achieving Result)
3.3) การบริหารทรัพยากร (Managing Resources)
4) การบริหารอย่างมืออาชีพ
4.1) การตัดสินใจ (Decision Making)
4.2) การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
4.3) ความเป็นผู้นำ (Leadership)

3. สมรรถนะที่เกี่ยวกับงาน/ประจำกลุ่มงาน (Functional Competency)
สมรรถนะประจำกลุ่มงาน คือ สมรรถนะที่กำหนดเฉพาะสำหรับกลุ่มงานเพื่อสนับสนุนให้ข้าราชการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมแก่หน้าที่ โดยให้แต่ละกลุ่มงานมีสมรรถนะประจำกลุ่มงาน ๆ ละ 3 สมรรถนะ สมรรถนะประจำกลุ่มงานมีทั้งหมด 20 สมรรถนะ ด้วยกัน คือ
3.1 การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
3.2 การมองภาพองค์รวม (Conceptual Thinking)
3.3 การพัฒนาศักยภาพคน (Caring & Developing Others)
3.4 การสั่งการตามอำนาจหน้าที่ (Holding People Accountable)
3.5 การสืบเสาะหาข้อมูล (Information Seeking)
3.6 ความเข้าใจข้อแตกต่างทางวัฒนธรรม (Cultural Sensitivity)
3.7 ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal Understanding)
3.8 ความเข้าใจองค์การและระบบราชการ (Organization Awareness)
3.9 การดำเนินการเชิงรุก (Proactiveness)
3.10 ความถูกต้องของงาน (Concern for Order)
3.11 ความมั่นใจในตนเอง (Self Confidence)
3.12 ความยืดหยุ่นผ่อนปรน (Flexbility)
3.13 ศิลปะการสื่อสารจูงใจ (Communication & Influencing)
3.14 ภาวะผู้นำ (Leadership)
3.15 สุนทรียภาพทางศิลปะ (Aesthetic Quality)
3.16 วิสัยทัศน์ (Visioning)
3.17 การวางกลยุทธ์ภาครัฐ (Strategic Orientation)
3.18 ศักยภาพเพื่อนำการปรับเปลี่ยน (Change Leadership)
3.19 การควบคุมตนเอง (Self Control)
3.20 การให้อำนาจแก่ผู้อื่น (Empowering Others)

ประโยชน์ของ Competency
1. ทำให้ทราบว่าแต่ละตำแหน่ง/หน่วยงาน/ระดับนั้น ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะที่จำเป็นอะไรบ้าง

Competency มีประโยชน์อย่างไร
1. ทำให้ทราบว่าแต่ละตำแหน่ง/หน่วยงาน/ระดับนั้น ต้อการบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะที่จำเป็นอะไรบ้าง
2. สามารถนำไปใช้ในการเปรียบเทียบระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง
3. นำไปใช้เป็นแนวทางในการบริการทรัพยากรมนุษย์
3.1 การพัฒนาบุคลากร
3.2 การคัดเลือกบุคคล
3.3 การเลื่อนระดับ/ตำแหน่ง

Competency Dictionary
หมายถึง คู่มือการบริหารขีดความสามารถของพนักงานในองค์การ
1. หัวข้อ Competency ที่ต้องการ
2. คำนิยามของ Competency
3. จำนวนระดับของ Competency
4. การจัดทำ Competency Mapping
5. คุณลักษณะของขีดความสามารถในแต่ละระดับ

องค์ประกอบของ Competency

ทักษะความสามารถ
(Skill & Ability)

การประเมิน Competency ของพนักงาน
- เน้นประเมินโดยเปรียบเทียบระหว่าง Actual Competency กับ expected Competency
- นำ Competency Gap มาปรับปรุง โดยนำมาจัดทำแผนเพิ่มขีดความสามารถ เพื่อให้เป็นไปตาม Competency ที่คาดหวัง

การจัดทำแผนปรับปรุงและเพิ่มขีดความสามารถพนักงาน (IDP: Individual Development Planning)
- กำหนดรายละเอียดของขีดความสามารถที่ต้องการพัฒนา
- กำหนดเป้าหมายและระยะเวลาที่ต้องการบรรลุผล
- กำหนดวิธีการต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถ
- กำหนดกรอบระยะเวลาของการติดตามและประเมินผล
- กำหนดข้อผูกพันของการปรับปรุงและพัฒนาขีดความสามารถ (Competency Commitment)


ตัวแทนองค์ประกอบของสมรรถนะได้แก่ข้อใด

2. องค์ประกอบของสมรรถนะ สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 7 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านมุ่งผลสัมฤทธิ์ องค์ประกอบที่ 2 ด้านการท างานเป็นทีม องค์ประกอบที่ 3 ด้านความสามารถในการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 ด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ องค์ประกอบที่ 5 ด้านภาษาและเทคโนโลยี องค์ประกอบที่ 6 ด้านการยึดมั่นในความถูกต้อง

สมรรถนะมีความสําคัญอย่างไร

ความสำคัญของสมรรถนะ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความสามารถของบุคลากรในองค์กรอย่างมีระบบต่อเนื่องและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธะกิจ เป้าประสงค์ วัฒนธรรมองค์กร และยุทธศาสตร์ขององค์กร เป็นมาตรฐานการแสดงพฤติกรรมที่ดีในการทำงานของบุคลากร ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

สมรรถนะประกอบด้วยคุณลักษณะแบบใด

องค์ประกอบของสมรรถนะ ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ (Knowledge) 2) ด้านทักษะ (Skills) และ คุณลักษณะอื่น ได้แก่ แรงจูงใจ (Motives) ลักษณะเฉพาะ (Traits) หรือ ลักษณะเฉพาะบุคคล (Personal Characteristics) ภาพลักษณ์ (Self-image) หรือ มโนทัศน์ในตน (Self-concept) ค่านิยม (Values) พฤติกรรม Page 16 180 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ; ...

ขีดความสามารถหลัก คืออะไร

ขีดความสามารถหลักของบุคลากร (Employee Core Competency) หมายถึง คุณลักษณะที่ทุกคนในองคการพึงมีพึงเปนอันจะสะทอนคานิยม วัฒนธรรมองคการ วิสัยทัศน พันธกิจ และเสริมรับกับกลยุทธขององคการในการดําเนินกิจการซึ่ง Core Competency ของ บุคลากรนี้มักถูกกําหนดจาก Organizational Core Competency.