แนวโน้ม ธุรกิจเสื้อผ้า ออนไลน์ 2564

ในระยะข้างหน้า สัดส่วนภาคบริการของไทยยังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น ผลจากธุรกิจภาคบริการหันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่พัฒนานวัตกรรมในภาคบริการมากขึ้น อาทิ การพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เอื้อต่อการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวทั่วโลก การพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัดคนไข้ และบริการผ่าตัดทางไกล ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมหันมาเน้นการใช้นวัตกรรมด้านบริการเพิ่มมูลค่าและสร้างความแตกต่างให้ตัวสินค้า (Servicification) เช่น บริการด้านออกแบบและให้คำปรึกษาโดยใช้เทคโนโลยีด้าน Artificial intelligence และ Big data ช่วยเพิ่มยอดขายและออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุดมากขึ้น ส่งผลให้ภาคบริการจะมีบทบาทมากขึ้นในห่วงโซ่การผลิตของไทย อย่างไรก็ตาม การเพิ่มสัดส่วนภาคบริการต่อ GDP ของไทยให้อยู่ในระดับเทียบเคียงกับประเทศพัฒนาแล้วอาจทำได้ช้า ผลจาก (1) การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจ/อุตสาหกรรมกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการ อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร อสังหาริมทรัพย์และภาคก่อสร้างซบเซา และ (2) ไทยมีกฎระเบียบและนโยบายที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนจากต่างชาติในภาคบริการค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว สะท้อนจากดัชนีข้อจำกัดการประกอบกิจการภาคบริการ (Services Trade Restriction Index: World Bank) ล่าสุดปี 2563 พบว่าไทยมีค่าดัชนีฯ อยู่ในอันดับที่ 46 จาก 48 ประเทศ แสดงถึงข้อจำกัดในการเข้ามาดำเนินธุรกิจภาคบริการของผู้ประกอบการรายใหม่ค่อนข้างสูง การเข้ามาของทุนและเทคโนโลยีจากต่างชาติจึงทำได้จำกัด นับเป็นปัจจัยท้าทายของภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมไทยที่ต้องปรับตัวยกระดับภาคบริการสู่ Modern services ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างช้าๆ

  • เทคโนโลยีสมัยใหม่กำลังเข้ามาปฏิรูปโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ปัจจุบันโลกกำลังอยู่บนคลื่น Digital technology ที่เข้ามาขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตและบริการ โดยนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความยั่งยืนในการเติบโตและเสริมความมั่นคงในห่วงโซ่อุปทาน เทคโนโลยีหลักที่จะเข้ามามีบทบาทต่อภาคธุรกิจในช่วง 3 ปีหน้า ได้แก่
    • The Internet of Things (IoT): มีบทบาทมากขึ้นในการเชื่อมโยงข้อมูลของอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันผ่านระบบ Sensors ที่ฝังตัวในผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องมือแพทย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ ปัจจุบันมีการใช้ในธุรกิจบริการมากขึ้น อาทิ ห้องพักอัจฉริยะของธุรกิจโรงแรมที่ใช้ IoT ควบคุมไฟฟ้าทุกอย่างในห้องพักโดยใช้อุปกรณ์มือถือ หรือธุรกิจขนส่งที่ใช้ IoT ติดตามพัสดุและจัดการระบบการเคลื่อนย้ายสินค้า เป็นต้น
    • Robotics: สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติและมีความแม่นยำสูง ช่วยลดความเสียหายในการผลิตและเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานผ่านโปรแกรมที่ตั้งไว้ร่วมกับระบบเซนเซอร์หรือ Microprocessor โดยตัวอย่าง Robotics ที่ใช้ในการผลิตงานซ้ำๆ จำนวนมาก เช่น หุ่นยนต์ขนถ่ายวัสดุอันตรายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และธุรกิจก่อสร้าง หุ่นยนต์ต้อนรับในโรงแรม หุ่นยนต์ช่วยการเพาะปลูก และหุ่นยนต์ให้อาหารสัตว์ในภาคเกษตร เป็นต้น
    • Artificial intelligence (AI): การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในภาคอุตสาหกรรมมักใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่น เช่น Cloud และ IoT เพื่อประมวลผล Big data สำหรับการพัฒนาระบบอัตโนมัติทำงานร่วมกับมนุษย์ (Cobot) โดยการใช้ในสายการผลิต เช่น กลุ่ม อุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ AI สำหรับการควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อลดส่วนสูญเสีย และคาดการณ์อุปกรณ์ที่ต้องซ่อมบำรุง กลุ่มธุรกิจการแพทย์ใช้ AI ในการวินิจฉัยโรคหรือจดจำรูปแบบเพื่อติดตามการระบาดของ COVID-19 ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นำ AI มาใช้ในการออกแบบโครงสร้างอาคาร เป็นต้น
    • 5G technology: เครือข่าย 5G ช่วยสนับสนุนกระบวนการควบคุมเครื่องจักรให้สามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนด้านแรงงาน เวลา และข้อผิดพลาดในกระบวนการผลิต ตัวอย่างเช่น HIROTEC Corp. (ญี่ปุ่น) ใช้ 5G ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องจักรแบบระยะไกลในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ หรือ MTU Aero Engines (เยอรมนี) ใช้ 5G ในกระบวนการออกแบบเครื่องยนต์เครื่องบิน ทำให้สามารถลดต้นทุนด้านการออกแบบได้ถึง 75% เป็นต้น
    • Drone: อากาศยานไร้คนขับที่ควบคุมได้จากระยะไกล ช่วยลดการพึ่งพาแรงงาน ลดเวลาในการเข้าสำรวจพื้นที่จริงโดยเฉพาะในภาคเกษตร ตั้งแต่ขั้นตอนวางแผนก่อนเพาะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว รวมทั้งใช้ติดตามและค้นหาสัตว์ในฟาร์ม รวมถึงการพ่นสารเคมี หรือการใช้ในธุรกิจก่อสร้างเพื่อประเมินขนาดพื้นที่หรือสำรวจพื้นที่ในเขตอันตราย เป็นต้น
    • Blockchain: ระบบการเก็บและบันทึกข้อมูลโดยกระจายฐานข้อมูลให้ผู้ที่อยู่ในเครือข่ายแบ่งปันข้อมูลกันได้ แต่จำกัดการเข้าถึงด้วยการเข้ารหัส จึงมีความปลอดภัยสูง มักใช้ในธุรกรรมการเงินผ่านการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล ปัจจุบันถูกนำไปใช้ในภาคเกษตรมากขึ้น เช่น การตรวจสอบย้อนกลับเพื่อสร้างความโปร่งใสของที่มาผลผลิต รวมทั้งใช้ร่วมกับ Cloud computing ในธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อติดตามและประเมินผลระบบการจัดส่งสินค้า เป็นต้น
    • Edge computing: ระบบประมวลผล Big data ที่เชื่อมโยงข้อมูลด้านความต้องการของผู้บริโภคไปสู่การปรับเปลี่ยนสายการผลิตหรือรูปแบบธุรกิจแบบทันเวลา (Real time) เพื่อสนองตอบพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่ใช้ในธุรกิจด้านสุขภาพ นันทนาการ และขนส่ง รวมถึงใช้ประเมินสภาพอากาศและโอกาสเกิดอุบัติเหตุเพื่อวางแผนในธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นต้น
    • Quantum computing: การพัฒนาระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์ผ่านอนุภาคย่อยของอะตอมแทนการใช้เลขฐานสอง ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของ AI ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์ในการผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์ เป็นต้น
    • 3D printing: เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติช่วยควบคุมการออกแบบและผลิตสินค้าด้วยต้นทุนต่ำและมีความรวดเร็ว ปัจจุบันมีบทบาทมากขึ้นในห่วงโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม ทั้งด้านการพัฒนาชิ้นส่วนอุปกรณ์และการนำวัสดุกลับมาใช้ในการพิมพ์ใหม่อีกครั้ง (Recycle bot) อาทิ การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอากาศยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และการผลิตฟันปลอม รวมถึงใช้ในโครงการก่อสร้าง เช่น การออกแบบสร้างอาคารที่ทำได้เร็วขึ้น
    • Synthetic biology: ส่วนใหญ่ประยุกต์ใช้เพื่อผลิตเนื้อสังเคราะห์ประเภท Cultured meat ซึ่งผลิตเนื้อสัตว์จากสเต็มเซลล์ของสัตว์ต้นแบบทั้งเนื้อวัว ไก่ หมู และปลาทูน่า และ Plant-based meat เป็นการผลิตเนื้อสัตว์จากพืชที่มีลักษณะและรสชาติเหมือนเนื้อจริง ช่วยลดการบริโภคเนื้อสัตว์จริงและลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนอาหารกรณีเกิดโรคระบาดในสัตว์ รวมถึงช่วยตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น
    • Data analytics: เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) อย่างเป็นระบบเพื่อช่วยผู้ประกอบการนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ดังตัวอย่างการนำไปใช้ในธุรกิจท่องเที่ยว โดยการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตเพื่อคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์และเสนอแพ็กเกจท่องเที่ยวที่ตรงใจนักท่องเที่ยวรายบุคคล
 
  • ห่วงโซ่มูลค่าโลกหดสั้นลง เพิ่มแรงกดดันด้านการแข่งขัน ทิศทางการกีดกันทางการค้าที่ยังมีต่อเนื่อง และการหันมาพึ่งพาตนเองของประเทศมหาอำนาจโดยแข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ในอุตสาหกรรมต้นน้ำของตน ตลาดจนผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้เกิดการหยุดชะงักในห่วงโซ่การผลิต เช่นกรณีที่โรงงานประกอบรถยนต์หลายแห่งต้องหยุดผลิตชั่วคราวจากปัญหาการขาดแคลนชิป เหตุเหล่านี้นับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เร่งให้ผู้ประกอบการหันมาพึ่งพาแหล่งวัตถุดิบในภูมิภาคเดียวกันมากขึ้น ทำให้ห่วงโซ่มูลค่าโลกมีทิศทางหดสั้นลงเร็วขึ้น และกดดันให้การแข่งขันในตลาดโลกรุนแรงขึ้นจากช่องทางการค้าที่แคบลง (ภาพที่ 3) กลุ่มประเทศที่ยังมีโอกาสทางการค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เน้นการผลิตสินค้าต้นน้ำ (ส่วนเริ่มต้นที่เป็นฐานการผลิต) หรือปลายน้ำ (ส่วนสุดท้ายของขั้นตอนการผลิต) ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงบนห่วงโซ่มูลค่าโลก ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป และจีน (World Bank, 2020) ส่วนประเทศที่ยังเน้นผลิตในส่วนกลางน้ำ ซึ่งมักเป็นการรับจ้างประกอบสินค้าในบางอุตสาหกรรมเช่น อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และรถยนต์ จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้น้อยลงจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในกลุ่มหลังนี้จึงต้องปรับตัวโดยเปลี่ยนตำแหน่งยืนบนห่วงโซ่อุปทานโลกไปสู่การผลิตในส่วนต้นน้ำหรือปลายน้ำมากขึ้น จากการประเมินของวิจัยกรุงศรีพบว่าอุตสาหกรรมสำคัญของไทยที่ควรขยับไปต้นน้ำมากขึ้น เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ปิโตรเลียม เป็นต้น ส่วนอุตสาหกรรมที่ควรมุ่งผลิตสินค้าปลายน้ำมากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเครื่องจักร เป็นต้น (ภาพที่ 4) โดยควรเน้นใช้ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างพันธมิตรกับประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงบนเวทีโลก เพื่อให้อุตสาหกรรมข้างต้นของไทยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและรักษาตำแหน่งบนห่วงโซ่อุปทานของโลกได้อย่างยั่งยืน

    (รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามได้ที่ อุตสาหกรรมไทย: อยู่ตรงไหนและจะแข่งขันอย่างไรในเวทีโลก)


แนวโน้ม ธุรกิจเสื้อผ้า ออนไลน์ 2564
 

แนวโน้ม ธุรกิจเสื้อผ้า ออนไลน์ 2564
  • การรวมกลุ่มการค้าโลกมุ่งสู่การสร้างพันธมิตรภายในภูมิภาคเดียวกัน (Regional trade blocs) มากขึ้น การรวมกลุ่มล่าสุดที่กำลังเกิดขึ้น ได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership: CPTPP) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) โดย CPTPP มีสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม ซึ่งไทยยังไม่มีนโยบายชัดเจนที่จะเข้าร่วม จากข้อกังวลด้านสิทธิคุ้มครองการผูกขาดที่อาจทำให้ไทยเสียเปรียบโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรและยา ขณะที่ RCEP ประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ  และประเทศคู่ค้าอาเซียนอีก 5 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์และเกาหลีใต้ ซึ่งได้มีการลงสัตยาบันครบจำนวนตามเงื่อนไข[1] ทำให้ RCEP มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2565 โดยสมาชิก RCEP จะลดภาษีสินค้าเป็นศูนย์เฉลี่ย 90% ของรายการสินค้า (ทยอยลดภาษีภายใน 10-20 ปีตามความพร้อมของแต่ละประเทศ) วิจัยกรุงศรีประเมินว่าไทยน่าจะได้ประโยชน์จากการเข้าร่วม RCEP ในกลุ่มผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์และส่วนประกอบ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ แม้ผลประโยชน์โดยรวมจากการลดภาษีอาจมีไม่มาก เนื่องจากประเทศสมาชิก RCEP ต่างมีข้อตกลงการค้าเสรีกับไทยอยู่ก่อนแล้ว แต่ในระยะยาว RCEP จะเสริมสร้างความมั่นคงให้กับห่วงโซ่การผลิตของไทยภายในภูมิภาคสำหรับอุตสาหกรรมที่ไทยมีฐานการผลิตที่แข็งแกร่งอยู่แล้วโดยเฉพาะรถยนต์และส่วนประกอบ ปิโตรเคมี และพลาสติก นอกจากนี้ มูลค่าตลาดของ RCEP ที่มีขนาดใหญ่ยังช่วยสร้างความได้เปรียบให้กับสมาชิกในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจเข้ากับห่วงโซ่การผลิตของโลก (Global supply chain)[2] ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า (ภาพที่ 5)


แนวโน้ม ธุรกิจเสื้อผ้า ออนไลน์ 2564

เศรษฐกิจไทยปี 2565-2567: ฟื้นตัวจากภาคส่งออกและการเข้าสู่วัฏจักรการลงทุน

เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 3.7% ต่อปี โดยทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 (ภาพที่ 6) ปัจจัยสนับสนุนได้แก่ (1) การฉีดวัคซีนที่มีความคืบหน้าทำให้สถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายลง ส่งผลบวกต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ เมื่อประกอบกับการปรับตัวและดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ (New normal) รวมถึงการก้าวไปสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น จะช่วยกระตุ้นความต้องการสินค้าและบริการในกลุ่มที่เกี่ยวข้อง (2) การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวเป็นลำดับหลังจากไทยเริ่มเปิดประเทศตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 แต่นโยบายของประเทศต้นทางที่เข้มงวดและความไม่แน่นอนของการระบาดจะยังเป็นข้อจำกัดต่อไป คาดว่าอาจต้องใช้เวลาจนถึงปี 2568 กว่าที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับสู่ระดับก่อนการระบาดได้ (3) ภาคส่งออกเติบโตต่อเนื่องและยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกและประเทศคู่ค้า กอปรกับผลบวกจากการรวมกลุ่มระหว่างประเทศภายในภูมิภาคเดียวกัน (Regionalization) โดยเฉพาะ RCEP ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ช่วงต้นปี 2565  น่าจะมีส่วนเสริมภาคการค้าในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม การส่งออกอาจเผชิญแรงกดดันจากปัญหาด้านอุปทานทั้งการขาดแคลนวัตถุดิบและต้นทุนที่อาจปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้าที่ยังมีอยู่เป็นระยะๆ (4) การลงทุนของภาคเอกชนมีแนวโน้มเติบโตตามวัฏจักรการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและไทย ผนวกกับแรงหนุนจากการยกระดับการผลิตเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล รวมทั้งความคืบหน้าของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ และ (5) มาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งรวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีและการใช้เงินกู้ที่เหลืออยู่จาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ด้านนโยบายการเงิน คาดว่าธปท.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% ต่อเนื่องอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2565 อีกทั้งยังดำเนินมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและภาคธุรกิจ ด้วยการเสริมสภาพคล่องและการปรับโครงสร้างหนี้ การผ่อนคลายหลักเกณฑ์ เพื่อสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือของสถาบันการเงินแก่ลูกหนี้ และการผ่อนคลายมาตรการ LTV เป็นการชั่วคราวเพื่อช่วยกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์


แนวโน้ม ธุรกิจเสื้อผ้า ออนไลน์ 2564

แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวแต่ยังมีปัจจัยที่จำกัดการเติบโตในระยะข้างหน้า อาทิ ความเปราะบางของตลาดแรงงาน การเพิ่มขึ้นของภาระหนี้ทั้งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ซึ่งทำให้การใช้จ่ายในประเทศอาจเติบโตในอัตราต่ำ สำหรับปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนอื่นๆ อาทิ การกลายพันธุ์ของไวรัส COVID-19 ความตึงเครียดทางการเมืองอาจกระทบต่อความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ นอกจากนี้ ตลาดการเงินโลกและไทยอาจเผชิญความผันผวนและประสบปัญหาต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลข้างเคียงจากการที่ประเทศแกนหลักของโลกทยอยปรับลดแรงกระตุ้นทางการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น (Policy normalization)