กฎหมายการทํางานบนที่สูง ล่าสุด

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ.2564

กฎหมายการทํางานบนที่สูง ล่าสุด

กฎหมายการทํางานบนที่สูง ล่าสุด

กฎกระทรวงอันตรายการตกจากที่สูง พ.ศ.2564

สถานที่ปฏิบัติงานสูงเท่ากับหรือมากกว่า 2 เมตรจากพื้นหรือโครงสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างทุกประเภทไม่ว่าแบบถาวรหรือชั่วคราวที่มีความสูงเหนือพื้นดิน ซึ่งจะต้องมีคนขึ้นไปทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมถึงส่วนพื้นล่างของหลุมซึ่งกว้างพอที่คนสามารถพลัดตกลงไปได้ โดยอ้างอิง จากกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีอันตรายที่สูงและทางลาดชันจากวัสดุตกกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับพัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๔

กฎหมายการทํางานบนที่สูง ล่าสุด

ที่สูงและงานที่ต้องปฏิบัติบนที่สูงคืออะไร

ที่สูงและงานที่ต้องปฏิบัติบนที่สูงคืออะไร  หมายถึง สถานที่ปฏิบัติงานสูง เท่ากับหรือ มากกว่า 2 เมตรจากพื้นหรือโครงสร้าง หรือสิ่งปลูกสร้างทุกประเภท ไม่ว่าแบบถาวรหรือ ชั่วคราว ที่มีความสูงเหนือพื้นดิน ซึ่งจะต้องมีคนขึ้นไปทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมถึงส่วนพื้นล่างของหลุมซึ่งกว้างพอที่คนสามารถพลัดตกลงไปได้ 

กฎหมายการทํางานบนที่สูง ล่าสุด

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากที่สูง

1.  สภาพพื้นที่ปฏิบัติงานมีสภาพที่ไม่มั่นคงหรือไม่ปลอดภัย ทำเกิดการถล่ม พังทลายหรือมีช่องเปิดโล่งอันตราย

2. ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง

3. สภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติงานไม่มีความพร้อม

กฎหมายการทํางานบนที่สูง ล่าสุด

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากที่สูง

4.  ขาดการออกแบบที่ดีและติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการตก

5.  ไม่มีการเตือนอันตรายหรือกำหนดจุดอันตราย

6.  ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัย

7.  อุปกรณ์ต่างๆมีสภาพชำรุดหรือไม่เหมาะสม เช่นนั่งร้าน บันได รถยก เป็นต้น

กฎหมายการทํางานบนที่สูง ล่าสุด

การใช้อุปกรณ์ป้องกันจากที่สูง

หลักการใช้อุปกรณ์

1. จุดยึดอุปกรณ์ Anchorage Point

2. เข็มขัดนิรภัย Safety Belt / Safety Harness

3. สายเชือกนิรภัย Lanyard ตะขอ Hook ห่วง Ring

กฎหมายการทํางานบนที่สูง ล่าสุด

การใช้อุปกรณ์ป้องกันจากที่สูง

1. จุดยึดต่างๆ Anchorage Pointควรรับแรงได้มากพอ และต้องอยู่สูงกว่าตัวผู้ปฏิบัติงาน
กฎหมายการทํางานบนที่สูง ล่าสุด

การใช้อุปกรณ์ป้องกันจากที่สูง

2. เข็มขัดนิรภัย Safety Belt / Safety Harnessการเลือกใช้เข็มขัดนิรภัย ทั้งแบบรัดเอว และแบบชนิดรัดเต็มตัว ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน

กฎหมายการทํางานบนที่สูง ล่าสุด

การใช้อุปกรณ์ป้องกันจากที่สูง

3.สายเชือกนิรภัย Safety Lanyard ตะขอ SafetyHook ห่วงนิรภัย Safety Ring ต้องเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ให้เหมาะสม ระหว่างจุดยึดกับระบบอุปกรณ์ป้องกันซึ่งต้องมีความแข็งแรงพอ หากเกิดการตกจากที่สูงห้ามใช้อุปกรณ์ป้องกันที่ชำรุดหรือได้รับการดัดแปลงโดยเด็ดขาด 

กฎหมายการทํางานบนที่สูง ล่าสุด

มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการทำงานบนที่สูง

1.หมวกนิรภัย

2.แว่นนิรภัย

3.เข็มขัดนิรภัย

4.ถุงมือ

5.รองเท้านิรภัย

6.กางเกงนิรภัย

7.ชุดฟอร์ม

8.อุปกรณ์ป้องกันเสียง

มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการทำงานบนที่สูง

1. มาตรฐานประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards : AS/NZS)

2. มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards : EN)

3. มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards : JIS)

4. มาตรฐานสถาบัน ความปลอดภัยและอนามัยในการทํางานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health : NIOSH)

5. มาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection   Association : NFPA)

6. มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization : ISO)

7. มาตรฐานสํานักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ กรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and HealthAdministration : OSHA)