นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ข้อสอบ

แบบทดสอบหลังเรียนเศรษฐศาสตร์

                                          เรื่องการเงิน การคลัง การธนาคาร

1. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่หลักของธนาคารกลาง   

ก.   ดูแลซื้อขายเงินตราต่างประเทศ

ข.   เป็นแหล่งกู้ยืมเงินของประชาชนทั่วประเทศ

ค.   ควบคุมปริมาณเงินของประเทศให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

ง.   ดูแลควบคุมและตรวจสอบสถาบันการเงินต่างๆ ที่อยู่ในกำกับ

2. ข้อใดแสดงปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ

      ก. ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ และเงินออมทั้งหมด

      ข. ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ และเงินคงคลังของรัฐบาล                                  

      ค. ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ และเงินฝากกระแสรายวัน

      ง. ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ และเงินที่มีอยู่ในมือรัฐบาล

3. นโยบายทางด้านการเงินในข้อใดที่รัฐบาลสามารถนำมาใช้ในการเพิ่มลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจได้

     ก. การเพิ่มลดอัตราภาษีในระบบเศรษฐกิจ                                           

     ข. การเพิ่มลดปริมาณการซื้อขายพันธบัตรของรัฐบาล

     ค. การเพิ่มลดปริมาณการใช้จ่ายเงินในส่วนของรัฐบาล

     ง. การเพิ่มลดปริมาณการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศของรัฐบาล

 4. มาตรการใดมีส่วนช่วยแก้ปัญหาภาวะเงินฝืดของประเทศได้

     ก. ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล                 ข. ให้ธนาคารกลางขายพันธบัตรมากขึ้น       

     ค. ลดการขาดดุลทางการคลังให้น้อยลง        ง.  ออกระเบียบให้เอกชนลดการกู้เงินจากต่างประเทศ

5.  ผลกระทบของการเกิดภาวะเงินเฟ้อที่ถูกต้องคือข้อใด

         ก.  ทำให้ผู้ซื้อได้เปรียบ แต่ผู้ขายเสียเปรียบ     ข. ทำให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ แต่ลูกหนี้เสียเปรียบ    

         ค.  ทำให้ลูกหนี้ได้เปรียบ แต่เจ้าหนี้เสียเปรียบ  ง.  ทำให้ธนาคารผู้ให้บริษัทห้างร้านกู้ได้ประโยชน์มาก

6.   ข้อใด ไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย

         ก.  ออกธนบัตร                                  ข.  รับฝากเงินจากประชาชน

          ค.  รักษาทุนสำรองระหว่างประเทศ          ง.  ควบคุมตรวจสอบสถาบันการเงิน

7.  ธนาคารแห่งประเทศไทยคือนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์หมายความว่าอย่างไร

         ก. ธนาคารแห่งประเทศไทยถือหุ้นใหญ่ในธนาคารพาณิชย์                                 

         ข.  ธนาคารแห่งประเทศไทยควบคุมกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์

         ค.  เงินของธนาคารพาณิชย์ต้องฝากกับธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น

         ง.  ประธานของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธานกิติมศักดิ์ของธนาคารพาณิชย์          

8.  กิจกรรมทางการคลังรัฐบาลเกี่ยวข้องกับข้อใด

         ก. การใช้จ่าย การเก็บภาษีอากร และการกู้ยืม    

          ข. การกำหนดอัตราดอกเบี้ย การกู้ยืมเงิน และการใช้จ่าย

         ค.  การใช้จ่าย การเก็บภาษีอากร และการกำหนดอัตราดอกเบี้ย

         ง.  การเก็บภาษีอากร การกำหนดอัตราดอกเบี้ย และการกู้ยืมเงิน 
9.ข้อความเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ข้อใดถูกต้อง

     ก.  สนับสนุนนักธุรกิจที่นำเข้าส่งออกสินค้า                    

      ข. การให้สินเชื่อแก่ธุรกิจที่เน้นการเก็งกำไร

     ค.  ส่งเสริมการออมทรัพย์ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย    

      ง.  ระดมเงินฝากและให้สินเชื่อในระบบเศรษฐกิจมากกว่าสถาบันอื่น

10. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่หลักของธนาคารกลาง

ก.   ดูแลซื้อขายเงินตราต่างประเทศ

ข.   เป็นแหล่งกู้ยืมเงินของประชาชนทั่วประเทศ

ค.   ควบคุมปริมาณเงินของประเทศให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

ง.   ดูแลควบคุมและตรวจสอบสถาบันการเงินต่างๆ ที่อยู่ในกำกับ

11. รายจ่ายของรัฐบาลในด้านใดมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว

         ก. การศึกษา                                          ข.  การชำระหนี้เงินกู้

         ค.  การประกันราคา                                  ง.   การป้องกันประเทศ

12. การใช้จ่ายเงินของรัฐบาลก่อให้เกิดผลอย่างไร

         ก.  จำนวนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น                     ข.  ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น

         ค.  ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มสูงขึ้น                            ง.   การจ้างงานเพิ่มขึ้น   

13. รัฐบาลใช้มาตรการทางการคลังในการแก้ปัญหาเงินเฟ้ออย่างไร

         ก. ขึ้นค่าเงินบาท                                      ข.  ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ   

         ค.  ขึ้นอัตราภาษีเงินได้                                ง.   ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

14. ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลควรมีมาตรการทางการคลังอย่างไร

        ก.   ใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ                                                        

        ข.   เก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มเงินคงคลัง

        ค.   ใช้จ่ายให้น้อยที่สุดเพื่อประหยัดงบประมาณรายจ่าย

        ง.    ลดการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเพื่อลดภาระจากการก่อหนี้

15. รัฐบาลสามารถใช้เครื่องมือใดในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

        ก.   นโยบายการเงิน                                ข.   นโยบายการคลัง

        ค.   นโยบายการเงิน และการคลัง                 ง.  ความแตกต่างทางด้านอุปสงค์ - อุปทาน

16. รัฐบาลควรใช้นโยบายการคลังอย่างไร เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจซบเซา

          ก. ใช้จ่ายเท่ากับรายได้ที่จัดเก็บได้

          ข. ใช้จ่ายสูงกว่ารายได้จากภาษีอากร

          ค. ใช้จ่ายเท่ากับรายได้ที่จัดเก็บได้และเงินกู้ยืม

          ง. ใช้จ่ายเท่ากับรายได้จากภาษีอากรและจากรัฐวิสาหกิจ                                                                                                                17. การลดค่าเงินบาท เป็นการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาใด

          ก. ภาวะเงินเฟ้อ                                          ข. ภาวะเงินตึงตัว

          ค. ดุลการค้าขาดดุล                                     ง. การกระจายรายได้

18. ถ้าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น จะส่งผลให้เกิดข้อใดต่อไปนี้

    ก. สินค้าไทยในต่างประเทศขายได้ปริมาณที่น้อยลง

    ข. ต้นทุนการผลิตของที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น

    ค. สินค้าที่ส่งออกจะได้กำไรมากขึ้น

    ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

19. การแก้ปัญหาเงินเฟ้อในระยะยาว ทำได้โดยวิธีใด

          ก. ลดอัตราภาษี  ลดการใช้จ่ายของรัฐ  ลดอัตราดอกเบี้ย

ข. เพิ่มอัตราภาษี  ลดการใช้จ่ายของรัฐ  เพิ่มอัตราดอกเบี้ย

ค. เพิ่มอัตราภาษี  เพิ่มการใช้จ่ายของรัฐ  เพิ่มอัตราดอกเบี้ย

ง. ลดอัตราภาษี  เพิ่มการใช้จ่ายของรัฐ ลดอัตราดอกเบี้ย

20. ใครที่ได้ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อมากที่สุด

ก. ครูที่โรงเรียน                      ข. เจ้าของโรงแรม

          ค. พ่อค้าขายน้ำแข็ง                 ง. แม่ค้าขายข้าวแกง     

21. หากมีภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นจะทำให้เกิดผลประโยชน์แก่ใคร

ก. ทำให้พ่อค้าได้เปรียบ            ข. ทำให้รัฐบาลได้เปรียบ

ค. ทำให้อำนาจซื้อของเจ้าหนี้ดีขึ้น   ง. ทำให้อำนาจซื้อของลูกหนี้ดีขึ้น

22. ผลกระทบของภาวะเงินฝืด คืออะไร

          ก. ค่าของเงินเพิ่มสูงขึ้น                ข. ผู้มีรายได้ประจำเสียเปรียบ

          ค. ราคาสินค้าโดยทั่วไปเพิ่มขึ้น       ง. ลูกหนี้ต้องชำระหนี้เพิ่มขึ้น

23. รัฐบาลควรหารายได้เพิ่มขึ้นโดยวิธีใด ถ้าไม่ต้องการให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเดือดร้อน

          ก. ขึ้นค่าปรับประเภทต่าง ๆ                ข. ขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

          ค. ขึ้นภาษีสุรา  เบียร์  และเครื่องดื่ม      ง. ขึ้นราคาสลากกินแบ่งของรัฐบาล

24. งบประมาณแผ่นดิน หมายถึงอะไร

          ก. รายรับทุกชนิดของรัฐบาล                ข. รายรับเฉพาะส่วนภาษีอากรของรัฐบาล

          ค. รายรับทุกชนิด รวมทั้งเงินกู้ของรัฐบาล ง. รายรับทุกชนิด รวมทั้งเงินกู้และรายจ่าย ของรัฐบาล

25. เศรษฐกิจจะขยายตัวมากที่สุดในกรณีใด

          ก. ดุลงบประมาณขาดดุล           ข. ดุลงบประมาณเกินดุล

          ค. ดุลงบประมาณสมดุล            ง. ดุลงบประมาณมีขนาดใหญ่

26. งบประมาณรายรับของรัฐบาล ประกอบด้วยอะไรบ้าง

          ก. รายได้  ภาษีอากร  เงินกู้                  ข. ภาษีอากร  เงินคงคลัง  รัฐพาณิชย์

          ค. รายได้ของรัฐบาล  เงินกู้  เงินคงคลัง     ง. ภาษีอากร  การขายสินค้าและบริการของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ

27 .ในปีงบประมาณข้อใด รัฐบาลมีรายได้จากภาษีอากร  รายได้จากรัฐพาณิชย์และรายได้อื่นๆ รวมกันสูงกว่างบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลที่ตั้งไว้  

เรียกสภาพดังกล่าวว่าอย่างไร

          ก. งบประมาณเกินดุล               ข. งบประมาณขาดดุล

          ค. เงินคงคลังมีเสถียรภาพ          ง. บัญชีทุนสำรอง ฯ เพิ่มสูงขึ้น

28. งบประมาณขาดดุลจะทำให้เกิดอะไรขึ้น

          ก. ปริมาณเงินลดลง และอัตราดอกเบี้ยลดลง         ข. ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยลดลง

          ค.  ปริมาณเงินลดลง และอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น      ง. ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 

29. ข้อใดตรงกับความหมายของงบประมาณเกินดุล

ก. มูลค่าสินค้าส่งออกมากกว่ามูลค่าสินค้านำเข้า

ข. รายรับของรัฐบาลมากกว่ารายจ่ายของรัฐบาล

ค. รายรับของรัฐบาลน้อยกว่ารายจ่ายของรัฐบาล

ง. ปริมาณเงินไหลเข้าประเทศมากกว่าปริมาณเงินไหลออก

30. ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลควรดำเนินนโยบายงบประมาณแผ่นดินแบบใด

          ก. งบประมาณขาดดุล                        ข. งบประมาณได้ดุล

          ค. งบประมาณเกินดุล                         ง. งบประมาณแบบพิเศษ

31. ข้อใดคือความหมายที่ถูกต้องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล

          ก. การเพิ่มรายได้ประชาชาติ                            ข. การจัดเก็บภาษีอากรของรัฐ

          ค. การหารายได้ของรัฐเพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศ  ง. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของ ประเทศ

32. กิจกรรมการคลังของรัฐบาล เกี่ยวข้องกับข้อใด

ก. การใช้จ่าย การเก็บภาษีอากร และ การกู้ยืมเงิน

ข. การกำหนดอัตราดอกเบี้ย การกู้ยืมเงินและการใช้จ่าย

ค. การใช้จ่าย การเก็บภาษีอากร และการกำหนดอัตราดอกเบี้ย

ง. การเก็บภาษีอากร  การกำหนดอัตรา ดอกเบี้ย และการกู้ยืมเงิน

33. เงินจำนวนใดไม่รวมอยู่ในงบประมาณรายรับของรัฐบาล

          ก. ค่าสัมปทานจากการเก็บรังนก                        ข. เงินรายได้จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต

          ค. เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ                ง. เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินในประเทศ

34.  ข้อใด มิใช่ ภาษีทางตรง

          ก. ภาษีที่ดิน  ภาษีดอกเบี้ย                               ข. ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีน้ำมัน

          ค. ภาษีเดินทาง  ภาษีรถยนต์                             ง. ภาษีรายได้  ภาษีเงินรางวัล

35. โครงสร้างอัตราภาษีของประเทศไทยในปัจจุบัน  ผู้มีรายได้มากต้องจ่ายมาก  ผู้มีรายได้น้อยจะเสียน้อย เรียกระบบอัตราภาษีอากรแบบนี้ว่าอย่างไร

          ก. อัตราภาษีแบบคงที่      ข. อัตราภาษีแบบลอยตัว 

          ค. อัตราภาษีแบบถดถอย  ง. อัตราภาษีแบบก้าวหน้า

36. ภาษีประเภทใดเป็นภาษีทางอ้อม

          ก. ภาษีมรดก              ข. ภาษีเงินได้          ค. ภาษีโรงเรือน        ง. ภาษีศุลกากร

37 การเก็บภาษีชนิดใดมีส่วนช่วยให้การกระจายรายได้มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น

          ก. ภาษีมรดก        ข. ภาษีศุลกากร         ค. ภาษีมูลค่าเพิ่ม         ง. ภาษีสรรพสามิต

38. ข้อใดคือช่วงระยะเวลาของปีงบประมาณแผนดิน

          ก. 1 มค.-31 ธค. ของปีปัจจุบัน              ข. ก. 1 มค.-31 ธค. ของปีถัดไป

          ค. 1 ตค.-30 กย. ของปีปัจจุบัน              ง. 1 ตค. ปีปัจจุบัน - 30 กย. ของปีถัดไป

39. หนี้สาธารณะเกิดขึ้นเพราะเหตุใด

ก. อัตราดอกเบี้ยต่างประเทศต่ำ              ข. การออกพันธบัตรรัฐบาลให้ประชาชนซื้อ

              ค. การกู้ยืมเกินกำลังไม่สามารถผ่อนชำระตามกำหนดให้

ง. รายได้ของรัฐไม่เพียงพอกับงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งเอาไว้

                                เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

1.  ข้อใด ไม่ใช่สาเหตุที่ต้องมีการค้าระหว่างประเทศ

         ก.   ทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างกัน                  

         ข. ต้นทุนการผลิตของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน

         ค.   รสนิยมในการบริโภคแตกต่างกันในแต่ละประเทศ

         ง.   ระบอบการปกครองที่แตกต่างกันของประเทศต่างๆ                      

2. ถ้ามูลค่าของสินค้าส่งออกน้อยกว่ามูลค่าของสินค้านำเข้า แสดงถึงสภาวะในข้อใด

         ก.  ดุลการค้าเกินดุล                                   ข.  ดุลการค้าสมดุล

         ค.  ดุลการค้าขาดดุล                                  ง.   ดุลการค้าเสียดุล

3. ข้อใดเป็นสาเหตุของปัญหาการขาดดุลการค้า

         ก.  ค่าของเงินไทยตกต่ำ    

         ข.  ผลผลิตเกษตรกรมีมูลค่าน้อย                        

         ค.  การขนส่งไม่มีประสิทธิภาพ                     

         ง.  การซื้อสินค้านำเข้ามากกว่าการส่งออกสินค้า

        4. ดุลการชำระเงินประกอบด้วยบัญชีต่างๆ ที่สำคัญ  ยกเว้นบัญชีใด

         ก.  บัญชีเงินทุน                                       

         ข.  บัญชีเดินสะพัด

         ค.  บัญชีทุนเคลื่อนย้าย                              

         ง.  บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ

       5. เหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศคือข้อใด

         ก. การกำหนดนโยบายของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

         ข.  มีการค้าระหว่างประเทศ และแต่ละประเทศต่างก็มีหน่วยเงินตราไม่เหมือนกัน

         ค.  มีการลงทุนระหว่างประเทศ และแต่ละประเทศต่างก็มีหน่วยเงินตราไม่เหมือนกัน

         ง.  มีการชำระเงินระหว่างประเทศ และแต่ละประเทศต่างก็มีหน่วยเงินตราไม่เหมือนกัน

         6.   รายการที่แสดงการเคลื่อนไหวของทุนสำรองระหว่างประเทศจะปรากฏอยู่ในข้อใด

          ก.  ดุลการค้า         ข.  ดุลบัญชีทุน        ค. ดุลการชำระเงิน      ง. ดุลบัญชีเดินสะพัด

          7.  บริษัทข้ามชาติสัญชาติญี่ปุ่นเข้าประกอบธุรกิจในประเทศไทยมีผลกำไรในรอบปีจำนวน 100 ล้านบาท หาก    มิได้โอนเงินกลับไปยังบริษัทต้นทาง         กำไรดังกล่าวจะรวมอยู่ในรายการใดของประเทศ

         ก.GNP  ของประเทศไทย                ข.GDP  ของประเทศไทย

            ค.GDP  ของประเทศญี่ปุ่น               ง.GNP  ของประเทศญี่ปุ่น
           8.. ข้อใดสรุปเกี่ยวกับดุลการค้าได้ถูกต้อง

ก. ผลประกอบการที่ได้จากการนำเข้าสินค้าในระยะเวลาหนึ่ง

ข. ผลประกอบการที่ได้จากการส่งออกสินค้าในระยะเวลาหนึ่ง

ค. มูลค่าสินค้าส่งออกกับมูลค่าสินค้านำเข้าในระยะเวลาหนึ่ง

ง. ปริมาณสินค้าส่งออกกับปริมาณสินค้านำเข้าในระยะเวลาหนึ่ง

9. การเข้าร่วมเขตการค้าเสรีมีประโยชน์อย่างไร

 ก. เศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น       

 ข. การกระจายรายได้ของแต่ละประเทศมีความเท่าเทียมกัน

 ค. ลดการเกิดปัญหาการว่างงานทำให้เศรษฐกิจขยายตัว              

ง. สินค้าที่แต่ละประเทศผลิตจะมีต้นทุนต่ำและผลิตโดยผู้ชำนาญ

          10. ข้อใดเป็นนโยบายของการค้าเสรี

 ก. ลดภาษีสินค้าขาเข้า

 ข. กีดกันสินค้าที่มีราคาแพง

 ค. สินค้านำเข้าทุกชนิดปลอดภาษี

 ง. เพิ่มปริมาณการผลิตสินค้าในประเทศ

                                                การพัฒนาเศรษฐกิจ

                       1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดได้อัญเชิญแนวปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นนโยบายในการพัฒนาประเทศ

          ก.   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7

          ข.   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8                  

          ค.   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9        

          ง.   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
          2. วิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 มีสาเหตุมาจากข้อใด

ก. การลอยตัวของค่าเงินบาท                   ข. การปล่อยเงินกู้ให้แก่ประเทศยากจน

ค. ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น                         ง. การลงทุนในต่างประเทศ

           3.  การเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อแก้ปัญหาใดให้เกษตรกร                                                                    

           ก.  การสูญเสียที่ดินทำกิน                       ข.  การพึ่งพาระบบน้ำตามธรรมชาติ

           ค.  การขาดการรวมพลังกันในรูปกลุ่ม         ง.  การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจน้อยเกินไป

         4. ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อการใดเป็นหลัก

          ก.การผลิตและการแลกเปลี่ยนในชุมชน

          ข.การผลิตเพื่อการบริโภคขั้นพื้นฐานของครอบครัว

          ค.การแก้ปัญหาการขาดแคลนเงินออมและเงินลงทุน

          ง. การลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนแหล่งน้ำกินน้ำใช้

         5.  ประเทศไทยเริ่มนำหลักของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงจังเมื่อเกิดเหตุการณ์ใด

          ก.  หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2              ข.  หลังเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ 2540

          ค.  หลังจากประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1

          ง.  หลังจากงานเฉลิมการครองราชย์ครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

           6. ข้อใดเป็นความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

           ก.  Sufficiency Economy                  ข.  Mixed Economy

            ค.  Capitalism Economy                  ง.  Socialism Economy
            7.พฤติกรรมในข้อใดสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ก. กู้ยืมเงินมาลงทุนเปิดร้านขายของ

ข. นำสิ่งของในบ้านมาขายและเก็บเงินไว้ใช้ยามจำเป็น

ค. ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานในบ้านแทนการซื้อ

ง. ทำงานหารายได้เพื่อให้มีเงินพอชำระค่าผ่อนรถจักรยานยนต์

             8. เป้าหมายสำคัญของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือข้อใด

ก. ประชาชนในประเทศมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น                                           

              ข. เศรษฐกิจของประเทศมั่นคงมากขึ้น

ค. ประเทศชาติพัฒนาไปเป็นชาติมหาอำนาจ                                      

             ง. ประชาชนในประเทศหลุดพ้นจากความทุกข์

             9. การนำหลักเศรษฐกิจมาใช้ในข้อใดก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม

ก. รู้จักแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่น           ข. ใช้จ่ายอย่างประหยัดและรู้จักอดออม

ค. รู้จักช่วยเหลือและพึ่งพาตนเอง           ง. ดูแลรักษาความสะอาดในชุมชน

10. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด

ก. เพื่อพัฒนาศักยภาพในการป้องกันประเทศ 

ข. เพื่อแก้ปัญหาการคอร์รัปชัน

ค. เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งจากสงครามโลกครั้งที่ 2

ง. เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ