เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ประโยชน์

Featured Post

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ประโยชน์

ข้อดีของการใช้ Firefox

1. Firefox มีประสิทธิภาพสามารถป้องกันโปรแกรมฝังตัว เช่น adware ได้

2.  Firefox สามารถบล็อกไวรัส สปายแวร์และโฆษณา ที่ได้รับมาจากเว็บต่างๆ   Firefox เพิ่มความปลอดภัยเมื่อท่องเว็บ โดยการปฏิเสธที่จะยอมรับโปรแกรมจำพวกสปายแวร์ เวิร์มและไวรัส

3. ไฟล์ติดตั้งมีขนาดขนาดเล็ก ใช้เวลาในการดาวโหลดไม่นาน ทำงานได้เร็ว โหลดข้อมูลได้ไว

4. มีการสนับสนุนภาษาไทยอย่างสมบูรณ์ ระบบตรวจสอบ/ติดตั้ง Plug-In เช่น Flash Player

5. มี extension ให้เลือกมากมาย เช่นการเช็คเมล์จาก Gmail โดยไม่ต้องเข้าไปที่เว็บ

6.เมื่อมีช่องโหว่ปรากฎ มีการออก patch ตอบสนองทันที และมีการเตือนให้ update โปรแกรมสม่ำเสมอ การ update ก็สามารถทำได้ง่าย

7.มีการสนับสนุน การใช้งานทั้ง Window  MAX OS และ Linux ด้วย

8.มีความปลอดภัยและมีความเสถียรไม่ค่อย

ข้อเสียของการใช้ Firefox

1. ปัญหาอมตะใช้ความจำแรมเยอะ โดยเฉพาะพวกชอบลงextensionเยอะ ต้องหาแรมซัก 1GBมาใส่เลย (บางราย 1 GBยังไม่พอเลย) และการเปิดหน้าที่มีscriptเยอะๆก็จะเปลืองทั้งแรมและCPUอย่างเต็มที่  

2. ตัดคำไทย ปัญหานี้เกิดขึ้นกับbrowserใหม่ทุกตัว เพราะเราใช้ภาษาไม่เหมือนกัน เขียนคำติดเป็นพรืด แถมมีตัวยกตัวลอยอีก (แต่มันสวยกว่าภาษาอังกฤษ) แต่ภาษาอังกฤษจะจบคำนึงก็วรรคที ทำให้ตัดง่าย แต่ของเราไม่รู้ว่าตัดตรงไหน ก็เลยยาวเป็นพรืด เลยขอบจอ ลากscroll barกันสนุกมือเลย แต่ปัญหานี้แก้ได้ด้วยextensionตัดคำไทย ซึ่งทำให้หน่วงการเข้าเว็บประมาณ 2 วินาที แถมขนาดใหญ่ Firefox3ที่คาดว่าจะออกปีหน้ามีระบบตัดคำไทยให้เรียบร้อย แต่ตอนนี้ยังเป็นAlphaอยู่ แต่ก็ตัดได้แล้ว

3. สระและวรรณยุกต์ ปัญหานี้ก็ยังแก้ไม่ตกโดยเฉพาะวรรณยุกต์ เพราะถ้ามีสระอีและมีไม้เอกด้วย จะซ้อนกัน บางครั้งสระหรือวรรณยุกต์ก็ไม่ขึ้นซะดื้อๆ ส่วนใหญ่จะเป็นในเว็บบอร์ด ซึ่งปัญหานี้จะหมดไปในFirefox3

4. ไม่ซัพพอร์ตdownload manager ใครที่มีโปรแกรมช่วยดาว์นโหลดเช่น flash get idm อยู่คงจะเซ็งไปตามๆกัน เพราะFirefoxจะมองไม่เห็น ไม่เหมือนIE แม้จะเป็นปัญหาเก่าที่ใครๆก็รู้วิธีแก้ แต่มือใหม่คงไม่รู้แน่นอน โดยปัญหานี้แก้ด้วยextension Flash got Extensionตัวนี้เรียกว่าเป็นExtensionสามัญประจำbrowserได้เลย มีแทบทุกเครื่องที่ลงFirefox

5. แสดงผลตัวอักษรเละ จะพบได้ในมือใหม่ที่พึ่งลงFirefox หรือมือเก่าที่ปรับไม่เป็น ตัวหนังสือจะเละๆ ตัวเล็กๆ บางครั้งก็encodeมั่ว หรือคนที่พึ่งลงfontใหม่แล้วFirefoxจะเปลี่ยนfontนั้นเองด้วย ซึ่งปัญหานี้มีทางแก้

6. พิมพ์ไทยที่addressหรือช่องsearchไมได้ ใครทีใช้Firefox คงจะเห็นว่ามีช่องsearchที่สามารถเพิ่มได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นGoogle Yahoo Wikipedia หรือแม้กระทั้ง long do dict dictionary ของคนไทย แต่เราพิมพ์ไทยในช่องนั้นไม่ได้แล้ว

7. ฟังเพลงออนไลน์ไม่ได้ จะมีบางเว็บสำหรับฟังเพลงออนไลน์ที่ใช้Firefoxเปิดฟังไมได้ เพราะเว็บพวกนั้นใช้code active X โค้ดล้าสมัยที่Firefoxไม่สนับสนุน เนื่องจากเป็นแหล่งแพร่ไวรัส

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ประโยชน์

ข้อดีของการใช้ Opera
1.  เปิด Web ไวรวดเร็ว แม้แต่บน EDGE ก็ยังไว ไม่ต้องรอนาน
2.  ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ Link เพราะไม่ได้ใช้ libwebcore แต่ใช้ lib ของตัวมันเอง ไม่ต้อง root เครื่อง
3.  สมารถ Upload ไฟล์ได้จาก SD card ได้

ข้อเสียของการใช้ Opera
1. รูปภาพจะหยาบ ใช้ดูรูปได้ไม่ค่อยดี
2.  SET เป็น default browser ไม่ได้
3.เปลือง RAM เยอะ

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ประโยชน์

ข้อดีของการใช้ Safari
1. โหลดหน้าเว็บเร็วมาก  เร็วกว่า Firefox ซะอีก Safari ได้ชื่อว่าเป็นเบราเซอร์ที่เร็วที่สุดในโลก OMG
2. เล่น JavaScript เร็วกว่าเบราเซอร์อื่นๆทั้งหมดทั้งมวล
3. รองรับ Css animations ซึ่งเบราเซอร์อันอื่นไม่รองรับ
4. รองรับ Css web font
5. มีลุกเล่นเด่น ๆ เจ๋ง ๆ ที่เริดกว่าเบราเซอร์อื่นนิดนึง แต่ลูกเล่นก็ยังไม่เยอะเท่าหมาไฟ
6. สแกนข้อมูลได้รวดเร็ว
7. ไวรัส สปายแวร์ต่าง ๆ ซาฟารีกำจัดได้ดีกว่า IE และ Firefox ซะอีก
ข้อเสียของการใช้ Safari
1. ลุกเล่นยังไม่ค่อยเยอะ โดยรวมแล้วไม่สุ้ Firefox
2. มีปัญหาด้านภาษาไทยเหมือน Chrome
3. กินทรัพยากรของคอมพิวเตอร์คุณค่อนข้างเยอะพอ ๆ กับ IE
4. ฟ้อนต์เพี้ยนเยอะมาก
5. Streaming เข้าขั้นห่วยแตก

 

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ประโยชน์

ข้อดีของการใช้ Google chrome

1. ขนาดไฟล์น้อย

2. โหลดได้เร็ว

3. Interface สวยงาม มีstyleสวย

4. ถ่าย bookmarks จาก internet explorer และ Firefox ได้ (ตัวอื่นจะทำไม่ได้)

5. หน้าต่างดาวน์โหลด อยู่ด้านล่างทำให้ไม่เกะกะเหมือนตัวอื่น ที่เด้งขึ้นมาอีกหน้าต่างนึง

6. มีฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้เล่นเยอะเลย

7. ช่องค้นหาจาก Google สะดวกรวดเร็ว เพราะใส่ได้ทาง Address Bar เลย

8. แทบ Status bar auto hide ทำให้ไม่รกตา และเปลืองพื้นที่

9. หน้าแรก มี เว็บที่เราเข้าบ่อยสุดให้ดู เป็น interface อย่างงาม สามารถค้นหาประวัติการเข้าเว็บของเราได้อย่างละเอียด จาก แถบด้านขวามือ (การค้นหา) และยังมี Bookmarks ล่าสุดบอกอีกด้วย

10. สามารถดึง Application ของ Google มาใช้งานอย่างสะดวกมากมาย

ข้อเสียของการใช้ Google chrome

1.  ตอนพิมพ์ในช่อง พอเราเอาเมาส์ไปคลิกที่อื่นจะกลับมาแก้อีกที ถ้าเป็นภาษาไทย ตัว cursor จะเลื่อนไปอยู่ตรงด้านหน้าสุด
2. การคลุมข้อความทำยากมาก  มันต้องใช้ความพยายามอย่างสูง
3.ไตเติ้ลบาร์สั้น
4. เข้าเว็บสถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่ได้เช่นเดียวกับFirefox
5.ยังซัพพอร์ตภาษาไทยได้ไม่ดีเท่าที่ควร
6. การลบตัวอักษร ถ้าคำที่มีสระอยู่ด้วยมันจะลบไปหมดเลย

 

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ประโยชน์

ข้อดีของการใช้ Internet Explorer
1. เป็นบราวเซอร์ที่คนใช้งานมากที่สุดในโลก ได้รับการรองรับจากทุกเว็บไซต์
เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นสามารถแก้ไขได้ง่าย ให้ความเป็นส่วนตัวสูงสุดเพราะไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้เลย
2. เว็บไซต์เกมทุกเว็บหรือโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆรองรับโค้ดของ IE

ข้อเสียของการใช้ Internet Explorer
1.IE เปิดหลาย ๆ แท็บค้างแน่นอน ยิ่งถ้าเปิดเกมส์ไว้ด้วย
2.ช้าที่สุด เมื่อเทียบกับบราวเซอร์อื่นๆ
3. ใช้หน่วยความจำคอมพิวเตอร์มากที่สุด ซึ่งอาจทำให้เครื่องช้าไปด้วย

คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย

คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป

หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน

คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]

คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า “คอมพิวเตอร์” มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับ และของเล่นชนิดต่าง ๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ประวัติของการคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์

มีการบันทึกไว้ว่า ครั้งแรกที่มีการใช้คำว่า “คอมพิวเตอร์” คือเมื่อ ค.ศ. 1613 ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่คาดการณ์ หรือคิดคำนวณ และมีความหมายเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มา ความหมายของคำว่าคอมพิวเตอร์นี้เริ่มมีใช้กับเครื่องจักรที่ทำหน้าที่คิดคำนวณมากขึ้น[5]

คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีฟังก์ชันจำกัด

ประวัติของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่นั้นเริ่มต้นจากเทคโนโลยีสองชนิดที่แตกต่างกัน ได้แก่ การคำนวณโดยอัตโนมัติ กับการคำนวณที่สามารถโปรแกรมได้ (หมายถึงสร้างวิธีการทำงานและปรับแต่งได้) แต่ระบุแน่ชัดไม่ได้ว่าเทคโนโลยีชนิดใดเกิดขึ้นก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการคำนวณแต่ละชนิดนั้นไม่มีความสอดคล้องกัน อุปกรณ์บางชนิดก็มีความสำคัญที่จะเอ่ยถึง อย่างเช่นเครื่องมือเชิงกลเพื่อการคำนวณบางชนิดที่ประสบความสำเร็จและยังใช้กันอยู่หลายศตวรรษก่อนที่จะมีเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ อาทิลูกคิดของชาวสุเมเรียนที่ถูกออกแบบขึ้นราว 2,500 ปีก่อนคริสตกาล[6] ชนะการแข่งขันความเร็วในการคำนวณต่อเครื่องคำนวณตั้งโต๊ะเมื่อ ค.ศ. 1946 ที่ประเทศญี่ปุ่น[7] ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1620 มีการประดิษฐ์สไลด์รูล ซึ่งถูกนำขึ้นยานอวกาศในภารกิจของโครงการอะพอลโลถึง 5 ครั้ง รวมถึงเมื่อครั้งที่สำรวจดวงจันทร์ด้วย[8] นอกจากนี้ยังมี เครื่องทำนายตำแหน่งดาวฤกษ์ (Astrolabe) และ กลไกอันติคือเธรา ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณ (คอมพิวเตอร์) เกี่ยวกับดาราศาสตร์ยุคโบราณที่ชาวกรีกเป็นผู้สร้างขึ้นราว 80 ปีก่อนคริสตกาล[9] ที่มาของระบบการสั่งการโปรแกรมเกิดขึ้นเมื่อ ฮีโรแห่งอเล็กซานเดรีย (c.10-70 AD) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกสร้างโรงละครที่ประกอบด้วยเครื่องจักร ใช้แสดงละครความยาว 10 นาที และทำงานโดยมีกลไกเชือกและอิฐบล็อกทรงกระบอกที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะชิ้นส่วนกลไกใดใช้ในการแสดงฉากใดและเมื่อใด[10]

ราว ๆ ปลายศตวรรษที่ 10 สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 2 นักบวชชาวฝรั่งเศส ได้นำลิ้นชักบรรจุอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จะตอบคำถามได้ว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ เมื่อถูกถามคำถาม (ด้วยเลขฐานสอง) [11] ซึ่งชาวมัวร์ประดิษฐ์ไว้กลับมาจากประเทศสเปน ในศตวรรษที่ 13 นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส และโรเจอร์ เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ได้สร้างหุ่นยนต์แอนดรอยด์ (android) พูดได้ โดยไม่ได้พัฒนาใด ๆ ต่ออีก (นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส บ่นออกมาว่าเขาเสียเวลาเปล่าไป 40 ปีในชีวิต เมื่อนักบุญโทมัส อควีนาสตกใจกับเครื่องนี้และได้ทำลายมันเสีย) [12]

ในปี ค.ศ. 1642 แห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา มีการประดิษฐ์เครื่องคำนวณของปาสคาลซึ่งเป็นเครื่องคำนวณตัวเลขเชิงกล[13] เป็นอุปกรณ์ที่จะสามารถคำนวณโดยใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์โดยไม่ต้องพึ่งสติปัญญามนุษย์[14] เครื่องคำนวณเชิงกลนี้ยังถือเป็นรากฐานของการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในสองทาง แรกเริ่มนั้น ความพยายามที่จะพัฒนาเครื่องคำนวณที่มีสมรรถภาพสูงและยืดหยุ่น[15] ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกสร้างโดยชาร์ลส แบบเบจ[16][17] และได้รับการพัฒนาในเวลาต่อมา[18] นำไปสู่การพัฒนาเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 และในขณะเดียวกัน อินเทล ก็สามารถประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเป็นหัวใจสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์หากไม่คำนึงถึงขนาดและวัตถุประสงค์[19] ขึ้นได้โดยบังเอิญ[20] ระหว่างการพัฒนาเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ บิซิคอม ที่พัฒนาสืบต่อจากเครื่องคำนวณเชิงกลโดยตรง

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก

มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)

มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC)

ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกะทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูก ๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E – mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่น ๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)

โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่าง ๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอ ๆ กับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ

เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop)

เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คและเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ไม่มีไดรฟ์สำหรับอ่านและเขียนแผ่น และใช้ฮาร์ดดิสแบบ SSD ทำให้น้ำหนักเบา ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่าง ๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยม

อัลตร้าบุ๊ค (Ultrabook)

อัลตร้าบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และมีขนาดเท่ากับโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่าง ๆ และน้ำหนักเบากว่าโน้ตบุ๊ค และเน้นความสวยงาม ทันสมัย แปลกใหม่

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer)

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม [21]

ตัวอย่างประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มีประโยชน์กับเรามากมาย เช่น

  1. การใช้งานภาครัฐ งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน งานภาษี เช่น ยื่นแบบประเมินภาษีภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต เก็บทะเบียนประวัติผู้เสียภาษี ตรวจสอบการเสียภาษี
  2. งานสายการบิน การสำรองที่นั่งผู้โดยสาร การลดงานเอกสาร
  3. ทางด้านการศึกษา สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
  4. ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและส่งออก การทำธุรกิจแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  5. ธุรกิจธนาคาร ช่วยด้านงานข้อมูลธนาคาร รับ-จ่ายเงิน เก็บประวัติลูกค้า ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ
  6. วิทยาศาสตร์และการแพทย์ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณ และ การจำลองแบบ
  7. งานสถาปนิก ช่วยออกแบบ เขียนแบบ หรือทำแบบจำลองสามมิติ
  8. งานภาพยนตร์ การ์ตูน แอนิเมชัน ช่วยสร้างตัวการ์ตูนเคลื่อนไหว ออกแบบตัวการ์ตูน จำลองตัวการ์ตูนสามมิติ การตัดต่อภาพยนตร์
  9. งานด้านสถิติ ช่วยเก็บบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ จำลองแบบข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล
  10. ด้านนันทนาการ ช่วยให้ความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ เล่นเกม

    ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

    https://www.youtube.com/watch?v=edPJcqN5pXA