Key success factors ร้านอาหาร

หัวใจสำคัญที่ทำให้ ร้านอาหารประสบความสำเร็จ

ยุคนี้ใครๆ ก็อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง และคนรุ่นใหม่แทบทุกคนมักมุ่งหน้าสู่ธุรกิจร้านอาหาร เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ (ดูเหมือน) ง่าย น่าสนุก ลงทุนไม่มาก ไม่ต้องอาศัยทักษะใดเป็นพิเศษ และที่สำคัญน่าจะได้กำไรเยอะแน่ๆ แต่จริงๆ แล้ว การจะทำให้ ร้านอาหารประสบความสำเร็จ มีปัจจัยต่างๆ มากมาย แต่จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1.มี Passion อย่างแรงกล้า

Key success factors ร้านอาหาร

“Without passion there is no big success” คือประโยคที่เป็นจริงอย่างที่สุด เพราะถ้าเจ้าของร้านยังไม่อยากทำร้านให้ดี มีคุณภาพ แล้วจะพนักงานจะอยากทำงานให้ดีที่สุดหรือ

ดังนั้นก่อนจะเปิดร้าน คุณต้องถามตัวเองก่อนว่า คุณชอบในธุรกิจอาหารจริงหรือเปล่า กรณีที่คุณเปิดร้านเล็กๆ ทำเอง จัดการทุกอย่างเอง คุณอยากตื่นขึ้นมาเปิดร้านทุกวัน เตรียมวัตถุดิบ ทำอาหาร เสิร์ฟ บริการลูกค้า เก็บล้าง ปิดร้าน เช็คยอดเงิน ไปซื้อวัตถุดิบ แล้วเปิดร้านใหม่อีกครั้งในวันรุ่งขึ้นหรือไม่ หรือกรณีที่คุณจ้างพนักงาน คุณพร้อมจะปวดหัวกับเรื่องพนักงาน ทั้งการทำครัว การบริการลูกค้า ปวดหัวกับเรื่องรายได้ที่อาจไม่ตรงตามเป้า ต้องมาคิดเมนูใหม่ๆ หรือออกโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า ตรวจสอบความถูกต้องของบัญชี ฯลฯ

ถ้าถามตัวเองแล้วคุณรับได้ และยังอยากเปิดร้านอาหารอยู่ ถือว่าคุณประสบความสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว

ทั้งนี้หากคุณเปิดร้านด้วย passion อันแรงกล้า ก็ควรแชร์ความรู้สึกนั้นให้พนักงานรับรู้ให้ได้มากที่สุด พยายามทำให้เขารู้สึกรักในงานที่ทำ สนับสนุนเมื่อเขาทำงานได้ดี ถ้าเกิดปัญหาก็พยายามหาทางออกที่ดีที่สุด สำคัญที่สุดต้องไม่มองเขาเป็นเพียงพนักงาน แต่เป็นคนที่ช่วยทำให้ร้านประสบความสำเร็จ

2.มีคู่แข่งที่ผลักดันให้เราสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

Key success factors ร้านอาหาร

คนทำธุรกิจหลายคนมักมองคู่แข่งว่าเป็นสิ่งเลวร้าย เพราะจะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของคุณลดลง แต่รู้ไหมว่าการมีคู่แข่งถือเป็นข้อดีที่ทำให้คุณพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น

เมื่อไม่มีคู่แข่ง หลายคนอาจหยุดพัฒนาตัว เพราะไม่ว่าอย่างไร ลูกค้าก็ต้องใช้บริการคุณแน่ๆ แต่หากมีคู่แข่งขึ้นมาเมื่อไร คุณจะรู้สึกตื่นตัวทันทีว่าคู่แข่งจะขายอะไร จะทำดีกว่าเราไหม แล้วเราต้องเอาอะไรไปสู้ ความคิดเหล่านี้แหละ จะเป็นแรงผลักดันให้คุณพัฒนาร้าน ทั้งด้านรสชาติอาหาร ความหลากหลายของเมนู โปรโมชั่นและการบริการให้ดียิ่งกว่าเดิม แล้วถ้าคุณทำได้ดี ลูกค้าก็จะเลือกคุณเอง

3.พร้อมทุ่มเททุกวินาทีให้ธุรกิจ และที่สำคัญร้านต้องมีมาตรฐาน

Key success factors ร้านอาหาร

หากคุณคิดจะเปิดร้านอาหารเป็นอาชีพเสริม จ้างเชฟ ผู้จัดการร้าน พนักงานสัก 2-3 คน สัปดาห์หนึ่งเข้าไปตรวจร้านสักที สิ้นเดือนรับเงิน จ่ายค่าแรงลูกน้อง คุณควรหยุดความคิดไว้ก่อน เพราะการเปิดร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่ายเลย คุณต้องอาศัยความทุ่มเทและเอาใจใส่ทุกขั้นตอน

ทั้งนี้สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ ไม่มีพนักงานคนไหนทุ่มเทให้ร้าน เหมือนอย่างที่ตัวคุณทำเอง แต่ถ้าคุณโชคดี ได้พนักงานทำงานดี ซื่อสัตย์ ไว้ใจได้ ก็ไม่มีเครื่องการันตีอยู่ดีว่า เขาจะอยู่กับคุณตลอดไป ฉะนั้นอย่าหวังพึ่งใคร แต่จงลงมือไปคลุกคลีกับธุรกิจ เรียนรู้ทุกๆ ขั้นตอน คุณไม่จำเป็นต้องยืนหน้าเตาเอง หรือลงไปเสิร์ฟเอง แต่ควรรู้ทักษะเหล่านี้ไว้บ้าง เพื่อที่คุณจะได้สามารถควบคุม ตรวจสอบ พนักงานได้ หรือหากเกิดเหตุสุดวิสัย เช่น พนักงานลาออกกะทันหัน คุณจะได้ทำแทน หรือเทรนด์พนักงานใหม่ได้

ขณะเดียวกันร้านของคุณก็ต้องมีมาตรฐานที่ชัดเจน รสชาติอาหารสม่ำเสมอ การบริการดีเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ว่าลูกค้าจะมากินเมื่อไร ก็ยังประทับใจเสมอ

4.มองธุรกิจตัวเองในฐานะลูกค้า

Key success factors ร้านอาหาร

เจ้าของร้านอาหารต้องคำนึงเสมอว่า ร้านอาหารของคุณ “ดี” แค่ในสายตาคุณไม่ได้ แต่ต้อง ดีในสายตาลูกค้าด้วย เมื่อคุณทำร้านอาหาร ใส่ใจกับมันมากๆ ก็มักคิดว่าตัวเองทำดีที่สุดแล้ว ย่อมได้รับสิ่งดีๆ ตอบแทนแน่ อย่ามัวแต่จมกับความคิดนั้น ลองถอยออกมามองภาพรวม มองร้านตัวเองในฐานะลูกค้าคนหนึ่งว่า ถ้าคุณเข้ามาใช้บริการในร้านอาหารร้านนี้ คุณประทับใจและอยากกลับมาอีกหรือไม่

จำไว้เสมอว่า ลูกค้าคือคนสำคัญที่คุณควรใส่ใจ ทีมคือเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จ ถ้าปราศจากคน 2 กลุ่มนี้ ร้านคุณคงประสบความสำเร็จได้ยาก ฉะนั้นหน้าที่ของคุณคือ บริหารจัดการทุกๆ อย่างในร้านให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อความสำเร็จที่รอคุณอยู่

เมื่อถึงจุดหนึ่งที่บริษัทประสบความสำเร็จในการขยายกิจการและมีรายได้เติบโตต่อเนื่อง สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือเจ้าของธุรกิจต้องทบทวนและค้นหา Key Success Factors ของบริษัทให้เจอ แล้ว Key Success Factors คืออะไร?

Key Success Factors หรือ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ องค์ประกอบหรือปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่ก่อให้เกิดผลกระทบ หรือผลลัพธ์สูงสุดในการบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ

โดยปัจจัยความสำเร็จพื้นฐาน 6 เรื่อง ได้แก่

  • เงิน
  • คน
  • กลยุทธ์และการจัดการ
  • การตลาดและการขาย
  • สินค้าและบริการ
  • กระบวนการและระบบ

แล้วมันสำคัญอย่างไร?

อย่างไรก็ตามหากมีระบบคันเร่งและเบรกในธุรกิจที่ดี จะช่วยลดความเสี่ยงและความผิดพลาดได้มากขึ้น ตั้งแต่เรื่องของต้นทุนซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเซฟไว้ให้ได้มากที่สุด  รวมถึงระบบบัญชีและระบบการขายเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกบริษัทควรให้ความสำคัญ และยังมีระบบ IT ที่เป็นเสมือนหัวใจหลักในการพัฒนาการทำงานที่ดีขึ้น ดังนั้นหากต้องการพาองค์กรเติบโตอย่างแข็งแรง ควรวางระบบขององค์กรในทุกมิติและพัฒนาคนและระบบให้เป็นสิ่งที่ควบคู่กันตลอด

การดูแลพนักงานในองค์กรเป็นอีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก หากบริษัทมีระบบไม่ดีแต่ใส่คนที่มีคุณภาพเข้าไป พวกเขาก็จะช่วยสร้างระบบที่ดีขึ้นได้และบริษัทก็จะมีคุณภาพด้วย ในทางกลับกันถ้ามีระบบที่ดีแต่คนไม่มีคุณภาพวันหนึ่งระบบก็จะพัง นี่เป็นเหตุผลที่บริษัทใหญ่ๆ ทั้งโลกให้ความสำคัญกับแผนก HR อย่างมาก เพราะต้องคัดกรองคนเข้ามาทำงานให้ดีที่สุดมาตั้งแต่แรก 

นอกจากนี้วัฒนธรรมองค์กรก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกบริษัทต้องสร้างขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการคนและการทำงานให้เห็นภาพเดียวกัน แนวทางเดียวกัน ดังนั้นผู้นำองค์กรและผู้ประกอบการทุกคนต้องออกแบบและวางแผนวัฒนธรรมองค์กรให้ชัดเจน

หา Key Success Factors ได้อย่างไร?

หลายองค์กรธุรกิจคงกำลังมองหาวิธีขยายธุรกิจให้เติบโตต่อได้จนแข็งแรง และเมื่อถึงจุดหนึ่งที่บริษัทประสบความสำเร็จในการขยายกิจการและมีรายได้เติบโตต่อเนื่องเจ้าของธุรกิจมีหน้าที่ในการทบทวนและต้องหาให้เจอว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่พาธุรกิจมาถึงจุดนี้ได้

การหา Key Success Factors จึงเป็นเรื่องของการตกผลึกจากการทำธุรกิจ และเป็นเรื่องของการวิเคราะห์จุดเด่นและจุดแข็ง รวมถึงบทเรียนต่างๆ ตลอดเส้นทาง ซึ่งในทุกๆ องค์กรจะมีรายละเอียดของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จที่แตกต่างกันออกไป

คุณวรวุฒิ อุ่นใจ ผู้ก่อตั้งและอดีต CEO OfficeMate เคยกล่าวไว้ว่า “การทำธุรกิจเหมือนการขับรถที่ตอนแรกอาจไม่รู้ทิศทาง แต่เมื่อทำไปถึงช่วงที่ตกผลึกความสำเร็จได้แล้วก็ต้องเหยียบคันเร่งไปให้สุดเพื่อการเติบโตที่เร็วขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องมีเบรกไว้คอยคานอำนาจและบาลานซ์การบริหารด้วย”

การทีมงานหลายๆ ฝ่ายคอยเบรกความคิดของเจ้าของอยู่เป็นเรื่องที่ดี ยกตัวอย่างเช่น ฝ่ายการเงินช่วยเบรกเรื่องการลงทุน หรือฝ่ายขายที่คอยเบรกเรื่องการตั้งเป้ายอดขาย เป็นต้น 

ถอดบทเรียนจากนักธุรกิจตัวจริง

ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการสร้างธุรกิจ ความสำคัญของการวางแผน ครอบคลุมจนถึง การขยายตลาดและสร้างแฟรนไชส์อย่างมีระบบ ถอดสูตรการขยายธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง จนเติบโตเป็นบริษัทขนาดใหญ่รายได้หมื่นล้าน

ในคอร์ส ‘Decoding SME Success ถอดรหัส SME สู่ธุรกิจหมื่นล้าน’ กับ คุณวรวุฒิ อุ่นใจ ผู้ก่อตั้งและอดีต CEO OfficeMate แบรนด์ธุรกิจค้าปลีกเครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงานผู้นำธุรกิจเครื่องใช้สำนักงานอันดับ 1 ในไทยที่มีรายได้หลักหมื่นล้านบาท

อ้างอิง https://bit.ly/3KJuSzJ