ศูนย์วิจัย กสิกรไทย ชาน ม ไข่มุก

ข้อมูลศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าธุรกิจ Food Delivery ในปี 2562 จะมีมูลค่าอยู่ที่ 33,000-35,000 ล้านบาท หรือเติบโตประมาณ 14% จากปีที่แล้ว ซึ่งคิดเป็น 8% ของมูลค่าธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยปี 2562

โดยเป็นรายได้ที่ Drivers หรือคนส่งจะมีส่วนแบ่งอยู่ที่ 3,903 ล้านบาท/App Operator 3,357 ล้านบาท/ร้านอาหาร 25,740 ล้านบาท

และกลุ่มคนสำคัญที่ทำให้ตลาด Food Delivery เติบโตก็คือกลุ่มมิลเลนเนียลซึ่งเป็นคนอายุ 18-35 ปี ที่แบ่งเป็นผู้ชาย 33% และผู้หญิงอีก 67%

โดย GET อีกหนึ่งผู้เล่นเบอร์ต้นๆ ในตลาดนี้ ก็ได้เปิดเผยข้อมูลแบบอินไซต์ว่า ณ ปัจจุบัน มีร้านอาหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้าน SME อยู่ในระบบประมาณ 20,000 ร้าน ซึ่งรายได้ของ GET ก็จะมาจากค่าคอมมิชชั่นที่ได้จากร้านอาหารเวลามีคนมาสั่งผ่าน App

จากข้อมูลในระบบของ GET พบว่าเมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา มีผู้ใช้งานสั่งชานมไข่มุกไปมากถึง 300,000 แก้ว และมียอดสั่งของกินเล่นที่เป็นขนมปังไส้ต่างๆ กว่า 190,000 ชิ้น

โดยช่วงเวลาที่ผู้ใช้งานของ GET จะสั่งอาหารมากที่สุดคือช่วงเย็น รองลงมาคือช่วงบ่าย และสุดท้ายคือช่วงเช้า ซึ่งพฤติกรรมในการสั่งในแต่ละครั้งก็มักจะสั่งในจำนวนที่ไม่มาก แต่มีความถี่ในการสั่งที่บ่อย เฉลี่ยแล้ว 4-5 ครั้ง/คน/เดือน

กลยุทธ์สำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าเข้ามาสั่งอาหารผ่าน GET ก็คือการจัดโปรโมชั่น

โดยวิธีการจัดโปรโมชั่นของ GET ก็คือการที่ GET จะกำหนด Theme ขึ้นมา เช่น ช่วงนี้เป็นช่วงคริสต์มาส ก็จะจัดโปรลดราคาอาหารที่เป็นสีแดง แล้วร้านค้าที่อยู่ในระบบก็จะมาเข้าร่วม

เป็นการลดราคาที่ร้านจะต้องรับผิดชอบส่วนลดหรือค่าโปรโมชั่นเองประมาณ 80-90% ส่วนที่เหลือก็จะเป็นงบการตลาดที่ทาง GET อัดฉีดเพิ่มเข้าไปให้

เป็นเครื่องดื่มที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทยมานานนับ 10 ปีแล้ว โดยในช่วงแรกที่เข้ามาทำตลาด ชานมไข่มุกได้รับความนิยมมากในกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากเม็ดไข่มุกที่ผสมอยู่ในเครื่องดื่ม สามารถสร้างความแปลกใหม่ในสายตาของกลุ่มผู้บริโภคในสมัยนั้นได้ แต่เนื่องจากเครื่องดื่มชานมไข่มุกที่จำหน่ายในตลาดช่วงแรกๆ ยังมีความหลากหลายของสินค้าไม่มากนัก ทำให้ได้รับความนิยมเพียงระยะสั้น

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2555 กระแสธุรกิจชานมไข่มุกกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนให้ตลาดชานมไข่มุกเติบโต มีดังนี้

*      ความต้องการเครื่องดื่มในตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากสภาพอากาศร้อน ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการเครื่องดื่มเพื่อดับกระหายเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในปัจจุบัน ที่เริ่มจะมีการใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับกิจกรรมนอกบ้านเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสทองที่ผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม จะหาแนวทางในการเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจของตน ปัจจุบันตลาดเครื่องดื่มในประเทศมีขนาดค่อนข้างใหญ่ คิดเป็นมูลค่าตลาดไม่ต่ำกว่า 1.3 แสนล้านบาท[1] และขยายตัวร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

*      ชา นับว่าหนึ่งในเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่ผู้บริโภคทั่วไปรู้จักถึงคุณประโยชน์ในการบริโภค เช่น สามารถช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนของโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ฯลฯ ด้วยคุณประโยชน์ดังกล่าวเป็นที่พึงพอใจแก่กลุ่มลูกค้าที่คำนึงถึงสุขภาพ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2555 ตลาดชา ทั้งในรูปแบบชงและชาพร้อมดื่ม จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท[2] หรือขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

*      การแข่งขันของผู้ประกอบการในตลาดชานมไข่มุกที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งผู้ประกอบการรายใหม่และรายเดิม ซึ่งเข้ามาในธุรกิจทั้งในรูปแบบของการขายธุรกิจแฟรนไชส์ และเปิดร้านสาขาของตนเอง โดยเน้นการแข่งขันทางด้านทำเล เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น เน้นการปรับปรุงด้านความหลากหลายของสินค้าภายในร้าน ตลอดจนการจัดรายการส่งเสริมการขาย และการประชาสัมพันธ์ร้าน ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นและดึงดูดผู้บริโภคให้เข้ามาลิ้มลอง และนิยมบริโภคชานมไข่มุกเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ สำหรับยอดขายชานมไข่มุก ของร้านสาขาที่มีทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณแหล่งชุมชน อาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้า สามารถขายได้เฉลี่ยประมาณวันละ 200 300 แก้ว หรือสร้างรายได้ประมาณ 1.5-2 แสนบาทต่อเดือน[3]อย่างไรก็ตาม จากการที่ธุรกิจชานมไข่มุกเป็นที่สนใจของผู้ประกอบการจำนวนมาก ทำให้สภาพการแข่งขันในตลาด ณ ปัจจุบันมีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรงภายในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน นอกจากนี้ ธุรกิจเครื่องดื่มชานมไข่มุก ยังต้องเผชิญการแข่งขันในกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ที่เป็นสินค้าทดแทน โดยมีรายละเอียดดังนี้

คู่แข่งในกลุ่มธุรกิจประเภทเดียวกัน

-    ร้านชานมไข่มุก รวมทั้งร้านเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ น้ำผลไม้ ที่แตกไลน์เพิ่มรายการสินค้ามาจำหน่ายชานมไข่มุก

กลยุทธ์ในการแข่งขัน มีดังนี้

Ä ด้านช่องทางในการเข้าถึงของกลุ่มลูกค้า เน้นการขยายร้านสาขา ซึ่งปัจจุบันมีทั้งร้านที่เป็นแฟรนไชส์ และร้านสาขาที่เปิดเอง โดยจะให้ความสำคัญกับการเลือกทำเลที่ตั้งเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น จากเดิมที่นิยมเปิดร้านสาขาใกล้กับสถานศึกษา แหล่งช๊อปปิ้งและห้างสรรพสินค้า เพื่อจับกลุ่มลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น และนักเรียน ปัจจุบัน ได้ขยายขอบเขตการเลือกทำเล มายังบริเวณใกล้กับสำนักงาน ย่านธุรกิจ รวมทั้ง บริเวณใกล้เคียงกับประตูทางเข้าออกรถไฟฟ้า โดยรูปแบบของร้านชานมไข่มุก มีทั้งที่เป็นร้านค้าที่ลูกค้าสามารถนั่งได้ และร้านค้าที่เป็นซุ้มขนาดเล็ก เพื่อจำหน่ายแก่กลุ่มลูกค้าที่เดินผ่าน

Ä ด้านความหลากหลายของสินค้า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในตลาดเน้นการสร้างความหลากหลายให้แก่สินค้ามากขึ้น จากเดิมที่จำหน่ายแต่ชานมไข่มุก ปัจจุบันดัดแปลงโดยการเพิ่มส่วนผสมในน้ำชา เช่น น้ำผึ้ง น้ำผลไม้ (มะม่วง แอ๊ปเปิ้ล บ๊วย)  โกโก้ โดยมีรายการเครื่องดื่มทั้งแบบใส่น้ำแข็งก้อน และแบบปั่น และเพิ่มตัวเลือกในการใส่เครื่องเคียงลงในเครื่องดื่มนอกจากเม็ดไข่มุก เช่น เฉาก๋วย เจลลี่ เม็ดแมงลักและวุ้นต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการเพิ่มรายการเครื่องดื่มจะช่วยดึงดูดความสนใจแก่กลุ่มลูกค้าในการลิ้มลองได้เป็นอย่างดี

Ä ด้านการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ จากที่จำหน่ายในรูปแบบของถ้วยที่มีฝาปิด ปรับมาเป็นถ้วยชาที่ปิดผนึกฝาแก้วด้วยพลาสติกใส่ เพื่อความสะอาด และป้องกันการหกหรือเปื้อนในขณะขนย้าย นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการบางรายผลิตชานมไข่มุกสำเร็จรูปบรรจุขวดสำหรับวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อทั่วไป เพื่อให้ลูกค้าสามารถซื้อกลับบ้านและบริโภคได้ทันทีเมื่อต้องการดื่ม

Ä ด้านรสชาติ เน้นการปรับปรุงรสชาติเพื่อให้ถูกปากกลุ่มลูกค้าโดยส่วนใหญ่ เช่น ความกลมกล่อมและกลิ่นชา ความเหนียวนุ่มของไข่มุก เพิ่มทางเลือกสำหรับระดับความหวานของเครื่องดื่ม เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพ และพิถีพิถันในการเลือกบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพร่างกาย

Ä ด้านการส่งเสริมการขาย เน้นการจัดโปรโมชั่น ทั้งในรูปแบบของบัตรสะสมแต้มเพื่อรับเครื่องดื่มฟรี หรือการแถมเครื่องดื่มฟรี เมื่อซื้อครบจำนวนที่กำหนดในการซื้อหนึ่งครั้ง โดยวิธีการนี้ จะสามารถดึงดูดให้กลุ่มลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ และมีความภักดีในแบรนด์สินค้าของตน

Ä  ด้านการประชาสัมพันธ์ มีทั้งในรูปแบบของการแจกใบปลิว ติดป้ายโฆษณา เพื่อสร้างความรับรู้ให้แก่กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายที่อยู่บริเวณใกล้เคียง

คู่แข่งในกลุ่มธุรกิจอื่นๆ

-    เครื่องดื่มประเภทอื่นๆ เช่น กาแฟ ชาเย็น น้ำผลไม้ นับว่าเป็นกลุ่มเครื่องดื่มที่ช่วยดับกระหาย และสร้างความรู้สึกกระชุ่มกระช่วยให้กับผู้ดื่ม โดยทั่วไปสินค้าทดแทนเหล่านี้ มีมากมายหลายประเภทและหลายรสชาติ ให้ผู้บริโภคได้เลือกสรรค์ อีกทั้งยังมีการจำหน่ายอยู่อย่างแพร่หลาย ทั้งที่จำหน่ายเป็นร้าน ซุ้มขายน้ำ และในรูปแบบของเครื่องดื่มสำเร็จรูปบรรจุขวด และกระป๋องที่จำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อ และตู้หยอดเหรียญ

-    ไอศกรีม น้ำแข็งใส และขนมหวานเย็นต่างๆ นับว่าเป็นกลุ่มสินค้าที่ช่วยแก้กระหาย และสร้างความสดชื่นให้แก่ผู้บริโภคภายใต้สภาวะอากาศร้อนได้เป็นอย่างดี โดยธุรกิจดังกล่าวได้มีการขยายร้านสาขาจำนวนมาก ทั้งในห้างสรรพสินค้า และใกล้เคียงกับสถานศึกษา โดยรูปแบบของผู้ประกอบการที่จำหน่าย มีทั้งเปิดร้านขายเฉพาะที่มีแบรนด์เป็นของตนเอง และธุรกิจร้านอาหารที่ขยายเมนูสินค้ามาจำหน่ายเป็นของหวาน (หลังจากทางอาหารมื้อหลัก) ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจดังกล่าวก็ต่างปรับปรุงรูปลักษณ์ของสินค้า และเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เลือกสินค้าตามที่ความต้องการบริโภคมากขึ้น เช่น สามารถเลือกรสชาติไอศกรีม รสชาติน้ำหวาน ท๊อปปิ้งที่จะใส่ลงในไอศกรีม น้ำแข็งใส และขนมหวานต่างๆ


โอกาสและความท้าทายของธุรกิจชานมไข่มุก

            หากวิเคราะห์โอกาส และความท้าทายของธุรกิจชานมไข่มุก เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ดังนี้

โอกาส

-    กระแสความต้องการบริโภคเพื่อสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคมีมากขึ้น ประกอบกับผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มมีความรู้ความเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของการดื่มชา จึงทำให้เครื่องดื่มประเภทชาต่างๆ กลายเป็นเครื่องดื่มชนิดแรกๆ ที่กลุ่มบริโภคส่วนใหญ่จะคำนึงถึง

-    ชานมไข่มุก เป็นเครื่องดื่มที่มีความแตกต่างจากการดื่มเครื่องดื่มทั่วไป โดยมีจุดเด่นอยู่ที่เม็ดไข่มุก และเครื่องต่างๆ ที่ใส่ในเครื่องดื่ม ซึ่งช่วยเพิ่มรสชาติและความอร่อยให้แก่เครื่องดื่ม

-    เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนและบุคลากรไม่มากก็สามารถเปิดกิจการได้ อีกทั้ง ขั้นตอนในการดำเนินกิจการไม่ซับซ้อน และการจัดเตรียมวัตถุดิบไม่ยุ่งยาก เนื่องจากประเภทของวัตถุดิบที่ใช้มีไม่มาก และใช้ในปริมาณที่ไม่มากนัก จึงทำให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ

-    สินค้าในกลุ่มเครื่องดื่ม เป็นสินค้าที่มีกำไรต่อหน่วยค่อนข้างสูง เนื่องจากจำนวนวัตถุดิบที่ใช้ต่อหน่วยไม่มากนัก แต่สามารถขายได้ในราคาแก้วละประมาณ 25-35 บาท

ความท้าทาย

-    จำนวนคู่แข่งในตลาดค่อนข้างมาก และผู้ประกอบการแต่ละรายต่างเร่งประชาสัมพันธ์และจัดรายการส่งเสริมการขาย  ทำให้การขยายฐานลูกค้ามีความยากลำบากมากขึ้น

-    มีเครื่องดื่มอื่นๆ ที่สามารถทดแทนได้ค่อนข้างมากในตลาด เช่น กาแฟเย็น โกโก้เย็น น้ำผลไม้และน้ำผักรวม รวมทั้งเครื่องดื่มสำเร็จรูปที่บรรจุในขวดและกระป๋อง ที่มีจำหน่ายทั่วไปในตลาด

-    ราคาจำหน่ายที่สูงกว่าเครื่องดื่มชาบรรจุขวด และใบชาสำหรับชงบางประเภท อาจทำให้กลุ่มลูกค้าบางกลุ่มหันไปบริโภคเครื่องดื่มชาประเภทอื่นแทนได้

การเตรียมความพร้อมในการเริ่มต้นธุรกิจ

เนื่องด้วยสภาวะการแข่งขันของธุรกิจชานมไข่มุกที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมก่อนการเริ่มต้นธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจของตนประสบความสำเร็จ และสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ในระยะยาว โดยปัจจัยที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ มีดังนี้

ð  ก่อนดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการควรเลือกแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับความสามารถในการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ ในกรณีที่ผู้ประกอบการเลือกที่จะก่อตั้งกิจการและสร้างแบรนด์ของตนเอง ผู้ประกอบการควรมีประสบการณ์และความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจมาก่อน แต่ถ้าหากผู้ประกอบการไม่สามารถบริหารจัดการหรือวางระบบธุรกิจ ผู้ประกอบการอาจเริ่มต้นจากการเลือกซื้อสิทธิ์ในการบริหารจัดการร้านแฟรนไชส์มาดำเนินการ เนื่องจากทางบริษัทเจ้าของแฟรนไชส์จะเข้ามาช่วยในการวางระบบและถ่ายทอดแนวทางการบริหารจัดการร้านให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ในการเลือกบริษัทเพื่อซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ ควรเลือกบริษัทที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของกลุ่มผู้บริโภค มีระบบการบริหารจัดการร้านสาขาที่มีประสิทธิภาพ มีระบบตรวจสอบร้านสาขาให้มีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน และเป็นบริษัทที่มีการทำการตลาดให้แก่แบรนด์ของตนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผู้ประกอบการควรคำนึงถึงผลตอบแทนที่จะได้รับหากดำเนินกิจการด้วย

ð  การเลือกทำเลที่ตั้ง นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยหนุนให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ โดยทำเลที่ตั้งที่ดี ควรเป็นจุดที่ลูกค้ามองเห็นได้ง่าย อยู่ใกล้แหล่งชุมชน และมีคนสัญจรผ่านไปจำนวนมาก โดยทำเลที่ดี นอกจากจะเพิ่มโอกาสในการรับรู้ของกลุ่มลูกค้าแล้ว ยังช่วยเสริมให้การทำโปรโมชั่นและการประชาสัมพันธ์แก่ผู้ที่เดินผ่านหน้าร้าน มีประสิทธิผลในการช่วยเพิ่มยอดขายของร้านได้มากขึ้น

ð  การจัดร้าน/การตกแต่งร้าน เนื่องจากกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยทำงานและวัยรุ่น ดังนั้นการตกแต่งร้าน การเลือกเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งร้าน รวมไปถึงการออกแบบโลโก้ร้าน และสีของโลโก้ ควรเน้นเพื่อสร้างให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดูเรียบง่ายแต่มีความทันสมัย รวมทั้งเลือกใช้สีสันที่สดใส เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้าน

ð  สร้างความใหม่ให้แก่สินค้าอยู่เสมอ โดยผู้ประกอบการอาจจำเป็นต้องคิดเมนูเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค โดยเฉพาะแนวโน้มการบริโภคเพื่อสุขภาพ เช่น เมนูชานมไข่มุกสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน โดยการลดระดับความหวานของเครื่องดื่ม และใช้เครื่องเคียงอื่น เช่น วุ้นที่ทำจากผงบุก ทดแทนเม็ดไข่มุก เพื่อลดปริมาณการบริโภคคาร์โบไฮเดรต

ð  การสร้างมาตรฐานของรสชาติสินค้า ไม่ว่าผู้ประกอบการจะเป็นผู้ที่เปิดกิจการเองหรือซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมพนักงานผู้หน้าที่ผลิตเครื่องดื่มภายในร้าน ให้มีความชำนาญและสามารถรักษาระดับมาตรฐานของรสชาติเครื่องดื่มที่ผลิตในแต่ละครั้งได้ ซึ่งจะช่วยเป็นการสร้างความรู้สึกและความประทับใจแก่กลุ่มลูกค้า เพิ่มโอกาสในการกลับมาซื้อซ้ำในครั้งต่อไป รวมทั้งยังมีโอกาสในการขยายกลุ่มลูกค้า จากที่ลูกค้าฐานเดิมบอกต่อในกลุ่มเพื่อนและคนรู้จัก

ð  พิถีพิถันทางด้านความสะอาดกับทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การปรุงชานมไข่มุก และการส่งมอบจนถึงมือผู้บริโภค นอกจากนี้ ความสะอาดของร้าน บริเวณภายในร้าน (ร้านที่มีที่นั่ง) รวมทั้งการแต่งกายของพนักงาน ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีทางด้านสุขอนามัยต่อกลุ่มผู้บริโภค

ð  สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า ผ่านการบริการของพนักงาน จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจเข้าร้าน และตัดสินใจซื้อซ้ำในครั้งต่อไป ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการคัดเลือกบุคลากรเพื่อให้บริการลูกค้าภายในร้าน ทั้งนี้ นอกจากจะพิจารณาจากคุณสมบัติ ประสบการณ์ทำงานแล้ว ควรเลือกบุคลากรที่มีใจรักในการบริการด้วยเช่นกัน

ð  รายการส่งเสริมการขาย ยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจาก ปัจจุบัน ร้านชานมไข่มุกส่วนใหญ่จะยังคงทำรายการส่งเสริมการขาย โดยการแจกคูปองเพื่อสะสมแต้มแลกเครื่องดื่มฟรี หรือมีการแถมเครื่องดื่มฟรี เมื่อซื้อครบจำนวนที่กำหนดในการซื้อหนึ่งครั้ง ทำให้กลุ่มลูกค้าที่ดื่มชานมไข่มุกส่วนใหญ่ มีความเคยชินกับการรับโปรโมชั่นดังกล่าว หากผู้ประกอบการต้องการที่จะแข่งขันได้ อาจจำเป็นต้องดำเนินกลยุทธ์ตามผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในตลาด หรืออาจปรับรายการส่งเสริมการขายให้โดดเด่นและดึงดูดกลุ่มลูกค้า ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงรายรับและต้นทุนของร้านควบคู่ไปด้วย

ð  บริการจัดส่ง อาจเป็นช่องทางที่เพื่อความสะดวกให้กับกลุ่มลูกค้า และเป็นบริการที่โดดเด่นจากร้านอื่น เนื่องจากร้านชานมไข่มุกโดยส่วนใหญ่ จะเป็นร้านในลักษณะซุ้ม ให้ลูกค้ามาสั่งซื้อและถือออกไปดื่มนอกร้าน และร้านส่วนใหญ่ยังไม่มีบริการจัดส่ง โดยการจัดส่งอาจสามารถทำได้กับร้านสาขาที่อยู่ใกล้กับบริเวณสำนักงาน และสถานศึกษา ซึ่งจะสามารถรวบรวมจำนวนสั่งซื้อได้หลายแก้วในคราวเดียว ทั้งนี้ ทางร้านควรกำหนดจำนวนแก้วขั้นต่ำในการจัดส่ง เพื่อให้คุ้มกับต้นทุนค่าเสียเวลาของพนักงาน นอกจากนี้ ควรกำหนดระยะทางของสถานที่ปลายทางที่ส่งสินค้า เพื่อให้ชานมไข่มุกที่จัดส่งถึงลูกค้ามีสภาพไม่ต่างจากการที่ลูกค้าเดินเข้าร้านมาซื้อเอง (เย็น และยังมีน้ำแข็งในแก้ว) รวมทั้ง การจัดส่งในระยะทางใกล้ จะช่วยให้การบริหารจัดการกำลังคนภายในร้านทำได้ง่ายกว่า

โดยสรุป ธุรกิจชานมไข่มุกเป็นธุรกิจที่น่าสนใจอีกธุรกิจหนึ่ง โดยปัจจัยบวกที่ช่วยให้ตลาดชานมไข่มุกมีโอกาสขยายตลาดได้ในอนาคต คือ กระแสความนิยมในการเลือกดื่มชาในกลุ่มผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น จากการที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีรับรู้ถึงคุณประโยชน์ต่อร่างกายในการดื่มชา ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องดื่มที่สอดคล้องกับกระแสความต้องการบริโภคเพื่อสุขภาพที่มีมากขึ้นในสังคม แม้ว่าสภาพการแข่งขันในปัจจุบัน จะมีความแข่งขันค่อนข้างสูง จากการที่ธุรกิจขยายกิจการร้านสาขาเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีสินค้าอื่นๆ ที่สามารถทดแทนการดื่มชานมไข่มุกอยู่หลากหลายประเภท เช่น กาแฟเย็น น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มบรรจุขวด และเครื่องดื่มบรรจุกระป๋องต่างๆ

อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการมีเลือกทำเลที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้จำนวนมาก มีการวางแผนในการบริหารจัดการที่ดี สามารถรักษาคุณภาพและรสชาติของเครื่องดื่มได้ มีการบริการที่สามารถสร้างความประทับใจให้แก่กลุ่มลูกค้า รวมถึงมีการทำรายการส่งเสริมการขายได้ตรงตามความต้องการของกลุ่มลูกค้า คงไม่ใช่เรื่องยากที่ผู้ประกอบการจะสามารถประกอบกิจการธุรกิจชานมไข่มุกให้ประสบความสำเร็จต่อไปในระยะยาว