สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หลักสูตร

วิชาที่เปิดสอน เช่น สังคมวิทยาขั้นแนะนำ จิตวิทยาสังคม มานุษยวิทยาวัฒนธรรมขั้นแนะนำ ทฤษฎีสังคมวิทยา การจัดระเบียบทางสังคมและการควบคุมทางสังคม แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยา ชาติพันธุ์วิทยา ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาขั้นแนะนำ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม วัฒนธรรมศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เทคนิคการจัดการข้อมูลวิจัย การวางแผนและการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์


วิชาเฉพาะ (เลือก) เลือกเรียนวิชาจากหมวดวิชาต่าง ๆ ดังนี้

หมวดวิชาสังคมวิทยาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร เช่น สังคมวิทยาชนบท สังคมวิทยาเมือง ปัญหาสังคม สังคมวิทยาการพัฒนา สังคมวิทยาการเมือง องค์กรระหว่างประเทศกับการพัฒนา สังคมวิทยาว่าด้วยเพศวิถี สังคมแห่งการเรียนรู้ การวางแผนและการจัดการโครงการ

หมวดวิชามานุษยวิทยา ได้แก่ มานุษยวิทยาประยุกต์ มานุษยวิทยาศิลปะ มานุษยวิทยาเรือนร่าง มานุษยวิทยาสื่อ หมวดวิชาประชากร ได้แก่ การย้ายถิ่นและการทำให้เป็นเมือง ประชากรไทยกับคุณภาพชีวิต ประชากรศาสตร์เชิงเปรียบเทียบ แรงงานกับสังคม

หมวดวิชาการวิจัยสังคม ได้แก่ สถิติพื้นฐานสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ การสำรวจมติมหาชน การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

หมวดวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาร่วมสมัย เช่น ชายแดนศึกษา การสื่อสารกับการพัฒนาระหว่างประเทศ ลุ่มน้ำโขงศึกษา ผู้หญิงกับการพัฒนากับภาคเศรษฐกิจไม่เป็นทางการ โลกาภิวัตน์กับสังคมโลก

หมวดวิชาอาชญาวิทยาและฑัณฑวิทยา ได้แก่ อาชญาวิทยา อาชญากรรมระหว่างประเทศ หมวดวิชาสหกิจศึกษา ได้แก่ สหกิจศึกษาทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (ในภาคการศึกษาปลาย ปีสุดท้ายของหลักสูตร นักศึกษาจะมีโอกาสปฏิบัติสหกิจศึกษาในหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรระหว่างประเทศ)

พัฒนาหลักสูตรเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมที่จะเข้าสู่การแข่งขันในตลาดแรงงาน และดำรงตนอยู่ได้ในสภาพสังคมปัจจุบัน ภายใต้แนวคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ทักษะการวิจัย ธรรมะวิจัย และทักษะการปฏิบัติงานภาคสนาม โดยดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มีปรัชญาพื้นฐานที่ต้องการสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมจากมุมมองของผู้ที่ถูกศึกษา เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างเสริมสาขาวิชาการที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงสังคมและมนุษย์ หลักสูตรดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ด้วยการเน้นฝึกฝนทักษะทั้งทางด้านการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมถึงทักษะของการสังเคราะห์ภาพรวมเชิงนามธรรม การพัฒนาองค์ความรู้ขึ้นมาจากประสบการณ์ในการวิจัยภาคสนาม ที่ให้ความสำคัญต่อความหลากหลายและซับซ้อนของปรากฏการณ์ทางสังคม วัฒนธรรมที่แตกต่างของกลุ่มชน การทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งเป็นหัวใจของวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่จะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเงื่อนไขและปัญหาของสังคมในด้านต่างๆ ที่พัฒนาและกลั่นกรองมาจากประสบการณ์ในการทำวิจัยภาคสนามของคณาจารย์และนักศึกษา โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตการวิจัย 4 ด้าน ได้แก่ 1) งานวิจัยและนโยบายสังคม 2) ชายแดนศึกษา 3) สภาวะข้ามชาติและการเดินทางเคลื่อนที่ และ 4) วัฒนธรรมศึกษาและสังคมร่วมสมัย ทั้งนี้ นอกจากพัฒนาศักยภาพของศาสตร์ในด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาแล้วยังทำให้เกิดความตระหนักเชิงจริยธรรมในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคมอีกด้วย


คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1. เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การรับนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา
2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หรือสาขาวิชาอื่นที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา โดยมีผลการเรียนดี มีค่าลำดับขั้นสะสมเฉลี่ย 2.75 ขึ้นไป หรือให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
3. มีความรู้ภาษาอังกฤษตามผลสอบของ TOEFL ในระดับ≥ 500 หรือ ผลสอบ IELTS ≥ 5.5 หรือ TEG ≥ 65 หรือตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
4. คุณสมบัติอื่นใดให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559


อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

- อาจารย์สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และสาขาสังคมศาสตร์
- นักวิจัยด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และสังคมศาสตร์ในสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับชาติและระดับนานาชาติ
- ข้าราชการ นักวิชาการด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และสังคมศาสตร์
- ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชนทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ
- สื่อมวลชน นักคิด นักเขียน และวิชาชีพอิสระ

ชื่อหลักสูตร
ชื่อปริญญา
ปรัชญา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มีปรัชญาพื้นฐานที่มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ
1. มุ่งทำความเข้าใจโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและชีวิตของมนุษย์ที่มีความแตกต่างหลากหลายในสังคมที่มีบริบทพื้นที่และเวลาที่เฉพาะ
ผ่านการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและผลงานทางวิชาการทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติ ทั้งนี้เพื่ออธิบายและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างสมเหตุสมผล เข้าใจถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และสามารถพัฒนาข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2. สังคมและวัฒนธรรมมีพลวัตการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เนื่องจากปัจจัยหลายประการทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ศาสนา สื่อ เทคโนโลยี และอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อกันและกัน ปัจจัยเหล่านี้ยังแบ่งออกได้เป็นหลายระดับ ทั้งในระดับโลก ภูมิภาค
ประเทศชาติและท้องถิ่น นอกจากนี้ความเป็นผู้ปฏิบัติการของปัจเจก กลุ่ม และเครือข่ายของผู้คนก็มีผลต่อการสร้างพลวัตการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
3. การทำให้เกิดสังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติและสร้างสรรค์ ต้องมุ่งเน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยน วิพากษ์วิจารณ์ระหว่างกลุ่มคนที่มีแนวคิดและวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีการประสานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มีส่วนร่วมในกิจการที่สำคัญต่างๆ ในสังคม

จากปรัชญาพื้นฐานที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ ทำให้ทางสาขาวิชามุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการอธิบายและวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีแนวคิดและทักษะในการพัฒนาองค์ความรู้และใช้แนวทางต่างๆ ในการแก้ไขปัญหา
และมีจิตสำนึกในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา


คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

และมีคุณสมบัติอื่นตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2553 ข้อ 5


อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

งานภาครัฐ
ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้สามารถสอบเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐได้ โดยเฉพาะตำแหน่งหน้าที่ใน กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) นักสังคมสงเคราะห์ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล

งานภาคเอกชน
พนักงานบริษัทเอกชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยการตลาดและวางแผน เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและประเมินโครงการ พนักงานธนาคารและสินเชื่อ ผู้จัดการฝ่ายบุคคล เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ นักพัฒนาและเจ้าหน้าที่ในองค์กรพัฒนาเอกชน เป็นต้น

งานวิชาการและสื่อสารมวลชน
อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการวัฒนธรรม ผู้ช่วยนักวิจัย นักเขียน นักข่าว บรรณาธิการหนังสือ เป็นต้น

งานอาชีพอิสระ
ผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneurs) ผู้ประกอบการอิสระ (Freelancers) ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ เรียนอะไรบ้าง

เรียนเกี่ยวกับการทำความเข้าใจโครงสร้าง ความสัมพันธ์ทางสังคมและชีวิตของมนุษย์ที่มีความแตกต่างหลากหลาย ผ่านการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและผลงานทางวิชาการ ทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติ เพื่ออธิบายและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างสมเหตุสมผล

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ ใช้คะแนนอะไรบ้าง

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา.
รอบที่เปิดรับ 1 2 3/1 3/2 4..
คะแนนที่ใช้ GPAX ONET GAT. (ตรวจสอบจากข้อมูลอัพเดตล่าสุดในแต่ละรอบอีกครั้ง).
ระยะเวลาหลักสูตร 4 ปี.
ค่าเทอม 13,000 / ภาคการศึกษา.
ข้อมูลปีการศึกษา 2564..

คณะ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ที่ไหน ดี

สถาบันที่เปิดสอน ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิชาสังคมวิทยามีขอบข่ายการศึกษาครอบคลุมอะไร

สังคมวิทยา คือ ศาสตร์ที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในฐานะสมาชิกของสังคม เนื้อหาของสังคมวิทยาจึงกินความกว้างขวางครอบคลุมตั้งแต่ร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก การปะทะสังสรรค์ในชีวิตประจำวันไปจนถึงกระบวนการทางสังคมในระดับโลก