ไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปีใด


สาระสำคัญ
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ได้กำหนดแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศเน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการลงทุนในสิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐานในรูปของระบบคมนาคมและขนส่ง ระบบเขื่อนเพื่อการชลประทานและพลังงานไฟฟ้า สาธารณูปการ ฯลฯ เป็นอันมากการที่รัฐทุ่มเททรัพยากรเข้าไปในรูปโครงการดังกล่าวนี้ ก็เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้มีการลงทุนในด้านเอกชน และเพิ่มผลผลิตทางสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมอย่างได้ผลดี เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
ผลการพัฒนา
ผลการดำเนินงานในช่วงแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 1 ได้มีส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศรุดหน้าไปอย่างเห็นได้ชัด อาจกล่าวได้ว่าเข้าสู่ยุคการพัฒนาเป็นครั้งแรกอย่างแท้จริงการขยายตัวของมวลรวมผลิตภัณฑ์ในประเทศได้เพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยถึงร้อยละ 8 ต่อปี คือเพิ่มจากฐานเศรษฐกิจที่มีมูลค่าการผลิตเพียง 59,000 ล้านบาทในปี 2503 เป็นประมาณ 89,000 ล้านบาท ในปี 2509 ทางด้านโครงการขั้นพื้นฐานได้มีการเริ่มงานชลประทานซึ่งเป็นโครงการใหญ่ 2 โครงการ คือ โครงการแม่กลอง และโครงการแม่น้ำน่าน เริ่มก่อสร้างบูรณะทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดตามโครงการ 8 ปี และ 6 ปี เริ่มส่งพลังงานไฟฟ้าจากโครงการยันฮี และโครงการไฟฟ้าลิกไนท์ที่กระบี่ ตลอดจนการดำเนินการตามโครงการอื่น ๆ ที่มีความสำคัญอีกหลายสิบโครงการ
ในด้านการค้าระหว่างประเทศ มูลค่าสินค้าออก และสินค้าเข้าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะยังมีการขาดดุลการค้า แต่ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศมีฐานะเกินดุลทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศมีปริมาณสูงขึ้นเป็น 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2509 และค่าเงินบาทมีเสถียรภาพดีเป็นที่เชื่อถือทั่วไป ความมั่นคงทางการคลังของประเทศเป็นปัจจัย สำคัญประการหนึ่งที่ได้ยังผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จตลอดมาด้วยดี
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี--

       นโยบายสำคัญ

   •    สนับสนุนการเพิ่มปริมาณการผลิตภายในประเทศ โดยเน้นการผลิตในภาคเอกชนเป็นหลัก ส่วนรัฐบาลจะดำเนินกิจกรรมประเภทที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่น การชลประทาน การสร้างและบูรณะทาง การสาธารณสุข เป็นต้น

            •    ส่งเสริมการผลิตด้านการเกษตรทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยมีนโยบายที่จะส่งเสริมการผลิตพืชที่สำคัญให้ขยายตัวในอัตราประมาณ

ร้อยละ 4 ต่อปี

           •    ส่งเสริมการออมทรัพย์และลงทุนในอุตสาหกรรมของเอกชน โดยการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมของเอกชนในทางที่จะไม่เสียประโยชน์ส่วนรวมแก่ประชาชน และชักจูงให้บุคคลทั้งภายในและนอกประเทศมาลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมมากขึ้น

            •    พัฒนากำลังคน โดยวางแผนกำลังคนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ

            •    ส่งเสริมสมรรถภาพของการทำงานและมาตรฐานของงาน เพื่อที่จะยกมาตรฐานการครองชีพและรายได้ของประชากร

            •    พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยมีการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ ให้มีความครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อรองรับการขยายตัวของประชากร

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปีใด

ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕–๒๕๔๙) เป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลาง ...

ไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปีใด

ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544

การมุ่งเน้นการแข่งขันเพื่อสร้างความมั่งคั่งในด้านรายได้ทำให้คนไทยและสังคมไทยมีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมของคนในสังคม คือ การย่อหย่อนในศีลธรรม จริยธรรม ขาดระเบียบวินัย การเอารัดเอาเปรียบ ...

ไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปีใด

ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2535-2539

ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจของประเทศไทยได้ ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนฯ ถึงหนึ่งเท่าตัว และนับเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ...

ไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปีใด

ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2530-2534

แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 มีจุดมุ่งหมายหลักจะยกระดับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่สะสมมาตั้งแต่อดีต ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีรายได้ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และสภาพจิตใจที่ดีขึ้น ดังนั้นประเด็นหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6...

ไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปีใด

ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2525-2529

รัฐบาลจำเป็นจะต้องให้การสนับสนุนนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาด้านต่างๆ ของแผนพัฒนาอย่างใกล้ชิด โดยสั่งการให้กระทรวง ทบวง กรม และรัฐวิสาหกิจต่างๆ นำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และจะต้องจัดให้มีศูนย์ติดตามประเมินผลการพัฒนาทั้งในระดับชาติ ระดับกระทรวง และระดับท้องถิ่นขึ้น เพื่อกำกับการนำแผนลงสู่ภาคปฏิบัติให้เข้าสู่เป้าหมายและสั่งการแก้ไขให้ทันกาล ..

ไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปีใด

ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520-2524

การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 จึงได้กำหนดให้มีลักษณะเป็นแผนแม่บทที่วางกรอบ “นโยบายแห่งชาติ” ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐบาลและผู้บริหารนโยบายของประเทศ สามารถนำไปเป็นแนวในการปรับปรุงนโยบายเฉพาะด้าน ...

ไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปีใด

ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2515-2519

แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 นี้ ได้เริ่มขึ้นในระยะที่การเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ค่อยอำนวยเป็นครั้งแรกในระยะสิบปี อีกทั้งฐานะด้านสังคม และการเมือง ของประเทศก็อยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคหลายประการ อุปสรรคดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศในด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ...

ไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปีใด

ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2510-2514

แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สอง (พ.ศ. 2510 – 2514) นี้ เป็นสัญลักษณ์ของเจตนารมย์ดังกล่าวของรัฐบาล ซึ่งถ้าหากการเศรษฐกิจของประเทศสามารถก้าวหน้าไปได้อย่างน้อยเท่ากับอัตราที่ได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฉบับที่สองนี้ ..

ไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปีใด

ฉบับที่ 1 (ระยะที่ 1) พ.ศ. 2504-2506

เอกสารแผนพัฒนาการเศรษฐกิจระหว่าง พ.ศ. 2504-2506-2509 ฉบับนี้ กล่าวถึงจุดหมาย นโยบาย การประมาณกำลังเงิน และการใช้จ่ายในพัฒนาการเศรษฐกิจกับแนวทางดำเนินงานเกี่ยวกับพัฒนาการเศรษฐกิจในแต่ละแขนง โดยเฉพาะแนวทางดำเนินงานเกี่ยวกับพัฒนาการเศรษฐกิจในแต่ละแขนงนั้น มีมาตราการอันจำเป็นที่ควรจัดให้มีขึ้น เพื่อประโยชน์แก่การดำเนินงานพัฒนาการเศรษฐกิจ ในแขนงนั้นๆ ไว้ด้วย ..


หน้า : [1]