เป้าหมายสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 เน้นการพัฒนาด้านใด

สศช.เดินหน้ารับฟังความคิดเห็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ ฉบับที่ 13 ตั้งเป้าหมาน 5 เรื่องสำคัญหลัก สร้างการพัฒนาใน 4 มิติ พลิกโฉมเศรษฐกิจไทยใน 5 ปี ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เปิดช่องประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอหน่วยงาน องค์กรตามกฎหมายขั้นตอนก่อนประกาศใช้ปี65

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติถือเป็นแผนระดับชาติที่มีความสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในการวางแผนการทำงานของหน่วยงานราชการ และภาคเอกชนจะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับแผนดังกล่าว โดยปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13เพื่อใช้ในปีงบประมาณ 2566 - 2570 ทดแทนแผนพัฒนาฯฉบับที่ 12 ที่กำลังจะสิ้นสุดอายุในปีหน้า 

Show

ซึ่งขั้นตอนปัจจุบันสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการดำเนินการยกร่างแผนพัฒนาฯฉบับที่ 13 แล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆทั่วประเทศ ระหว่างเดือน พ.ย. - ธ.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะรัฐมนตรี (ครม.)และรัฐสภา ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้แผนฯ อย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม 2565 ต่อไป

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13  ยังคงน้อมนำ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มากำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเป็นหลักนำทางในการขับเคลื่อนแผน ตลอดจนยึดโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals: SDGs) ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโต สังคมก้าวหน้า ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลในระยะยาว

ทั้งนี้ร่างแผนพัฒนาฯฉบับที่ 13 มีเป้าหมายหลักของการพัฒนาในระยะ 5 ปี (2566 -2570)ของแผนรวม 5 เป้าหมายหลัก ได้แก่ 

1.การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม

2.การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่

3.การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม

4.การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน

5.การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง ภายใต้บริบทโลกใหม่ 

เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจนในลักษณะของวาระการพัฒนา (Agenda) ที่เอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงานและหลายภาคส่วนในการผลักดันการพัฒนาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ในการจัดทำร่างแผนฯ 13  จึงได้กำหนดหมุดหมายการพัฒนา จำนวน 13 ประการ โดยแบ่งเป็น 4 มิติ ได้แก่  

1. มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย ประกอบด้วย หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง หมุดหมายที่ 2 ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน หมุดหมายที่ 3 ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก หมุดหมายที่ 4 ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง หมุดหมายที่ 5 ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค หมุดหมายที่ 6 ไทยเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของอาเซียน

2. มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วย หมุดหมายที่ 7 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้ หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน หมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม

3. มิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ หมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

4. มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ ประกอบด้วย หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต และหมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน

นายดนุชา กล่าวด้วยว่าในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 สศช. ยังได้จัดให้มีช่องทางออนไลน์ให้ประชาชนทั่วไปได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13

ตั้งแต่บัดนี้จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2564 ได้ทาง เว็บไซต์ สศช. , Facebook สภาพัฒน์, Email: [email protected] และ ตู้ ปณ.49 ปทฝ.หลานหลวง กรุงเทพฯ 10102 ซึ่งภายหลังจากที่ได้รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วนแล้วจะได้นำมาปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯฉบับที่  13 ก่อนนำเสนอร่างแผนพัฒนาฯให้หน่วยงานต่าๆพิจารณาตามลำดับต่อไป 

เป้าหมายสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 เน้นการพัฒนาด้านใด

27 Mar

นโยบายรัฐบาล

เป้าหมายสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 เน้นการพัฒนาด้านใด

          แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 ได้น้อมนำหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9-11 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืดหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงเกิดภูมิคุ้มกัน และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน

                   ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ครั้งนี้ ได้จัดทำบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ซึ่งเป็นแผนแม่บทหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)  รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตลอดจนประเด็นการปฏิรูปประเทศ นอกจากนั้นได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนทั้งในระดับกลุ่มอาชีพ ระดับภาค และระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องเพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”  ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 ฉบับนี้ประกอบด้วย 5 ส่วนได้แก่

               ส่วนที่ 1  ภาพรวมการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12
               ส่วนที่ 2  การประเมินสภาพแวดล้อมการพัฒนาประเทศ
                                – สถานการณ์และแนวโน้มภายนอก
                                – สถานการณ์และแนวโน้มภายใน
               ส่วนที่ 3  วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12
               ส่วนที่ 4  ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
                                 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
                                 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
                                 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
                                 ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
                                 ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การเสริมสร้างความมั่งคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน
                                 ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาลในสังคมไทย
                                 ยุทธศาสตร์ที่ 7 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
                                 ยุทธศาสตร์ที่ 8 : การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม
                                 ยุทธศาสตร์ที่ 9 : การพัฒนาภาคเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
                                 ยุทธศาสตร์ที่ 10 : ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา

               ส่วนที่ 5  การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12     

ผู้ที่สนใจสามารถ Download  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 ได้ตามลิงค์ด้านล่าง

เป้าหมายสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 เน้นการพัฒนาด้านใด

Download   —-  >> แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564

เป้าหมายสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 เน้นการพัฒนาด้านใด

Download  —->> สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12  พ.ศ.2560-2564

สาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 คืออะไร

แผนพัฒนาฉบับที่ ๕ เป็นแผนนโยบาย ที่ยึดพื้นที่เป็นหลัก ในการพัฒนา และมีลักษณะ ทั้งในเชิง รับและเชิงรุก เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเงินการคลังของประเทศเป็นพิเศษ พร้อมกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจแต่ละด้าน และยอมให้เศรษฐกิจขยายตัวไม่สูงนัก แต่ต้องอยู่ในระดับที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงาน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ใด ที่เน้นการพัฒนาชนบทให้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 พ.ศ.2525-2529. แนวคิดและลักษณะของแผน เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ เริ่มเปลี่ยนวิธีการวางแผนจากรายโครงการมาเป็นการจัดทำแผนงาน (Programming) โดย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาชนบทและการ พัฒนาชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคือ การกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ความเป็นมาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบันเน้นการพัฒนาอะไร

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน