แนวโน้มการใช้พลังงานในอนาคต

“อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์” แห่งปตท. ยอมรับการเปลี่ยนผ่านเรื่องของพลังงานมีทั้งความท้าทาย เทรนของพลังงานโลกข้างหน้า จะมุ่งอยู่ 2 เรื่อง คือ พลังงานสะอาด และพลังงานไฟฟ้า รับปตท. กำลังผลักดันธุรกิจไปสู่เทรนโลก รองรับการเปลี่ยนแปลง

Show

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในงานเสวนา TEA FORUM 2022 “Mission Possible: Energy Transition to the Next 2050” ว่า การเปลี่ยนผ่านเรื่องของพลังงานมีทั้งความท้าทาย และเป็นโอกาส ซึ่งเทรนของพลังงานโลกข้างหน้า จะมุ่งอยู่ 2 เรื่อง คือ พลังงานสะอาด และพลังงานไฟฟ้า เป็นหลัก

 

สำหรับเทรนพลังงานในปัจจุบันพบว่า ทั่วโลกมีการใช้พลังงานทั้งถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ คิดเป็นสัดส่วน 70% ของพลังงานทุกชนิด แต่ในอนาคตพลังงานเหล่านี้จะค่อย ๆ ลดความต้องการใช้ลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะถ่านหิน ปัจจุบันได้ผ่านยุคสมัยที่มีความต้องการใช้ถ่านหินสูงสุดไปแล้ว และในอนาคตจะลดลงในที่สุด 

 

ขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมัน ยังเติบโตอยู่ โดยประเมินว่า ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุดในปี 2575 ส่วนก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบันก็ยังมีความสำคัญ และมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น โดยปตท. ประเมินว่า ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ จะโตถึง 20% ในปี 2583 เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีอยู่ 13% 

“ปัจจุบันเรื่องของพลังงานทั้งในโลกและประเทศไทย กำลังเจอความท้าทาย จึงต้องบาลานซ์ให้ดีและเหมาะสม ทั้งความมั่นคงทางพลังงานของแต่ละประเทศและของโลก ต่อมาคือ เรื่องของราคาพลังงาน และสุดท้ายคือ ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ การการมุ่งไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์”

 

อย่างไรก็ตามเห็นว่า ในเรื่องของความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทยเองนั้น ยังบริหารจัดการได้ค่อนข้างดี แม้ว่าจะผลิตพลังงานเองไม่ได้ หากสถานการณ์ไม่เลวร้ายไปกว่านี้ โดยเฉพาะเรื่องของสถานการณ์โลก ขณะที่เรื่องของราคาน้ำมัน ดีที่สุด คือต้องประหยัด ซึ่งจะส่งผลถึงปริมาณการผลิตด้วย

 

นายอรรถพล กล่าวว่า ปตท.เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านของพลังงาน จึงเตรียมตัวรองรับสิ่งที่เกิดขึ้น เริ่มจาก ธุรกิจถ่านหินจะเลิกแน่นอน ในปี 2565 นี้ ส่วนน้ำมันจะยังไม่มีการซื้อ หรือลงทุนธุรกิจโรงกลั่นเพิ่ม แต่จะปรับปรุงประสิทธิภาพ ให้มีต้นทุนต่ำที่สุด เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ขณะที่ธุรกิจก๊าซธรรมชาติยังคงขยายการลงทุนต่อไป  

ขณะที่พลังงานอนาคตนั้น ปตท.ได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้ โดยเริ่มต้นเรื่องของพลังงานสะอาด ยานยนต์ไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) พลังงานไฮโดรเจน และกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจพลังงานไปยังธุรกิจอื่น ๆ ซึ่งเป็นธุรกิจแห่งอนาคตเหมือนกับนโยบายรัฐบาล เช่น ธุรกิจยา อาหารเสริม เครื่องมือทางการแพทย์ โลจิสติกส์ AI และหุ่นยนต์ 

 

ส่วนเป้าหมายของประเทศที่จะมุ่งสู่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero 2065 หรือในปี 2608 เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในเรื่องนี้ ปตท.ตั้งใจประกาศ Net Zero งดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ ให้เร็วกว่าเป้าหมายประเทศ เพื่อนำร่อง และทำให้เป้าหมายใหญ่เกิดขึ้นได้เร็ว ซึ่งรายละเอียดจะประกาศเร็ว ๆ นี้ 

ในช่วง 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า พลังงานหมุนเวียนจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในฐานะแหล่งพลังงานหลักสำหรับการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีความน่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นอนาคตที่สดใสของแวดวงพลังงาน อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่พลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วนของการผลิตพลังงานสูงกว่ายอดการผลิตพลังงานทุกประเภทรวมกัน ฉะนั้น การการันตีความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และการคุ้มค่าของทรัพยากรที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าจึงถือเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุด

หลังจากที่เทคโนโลยี ICT พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น AI คลาวด์ บิ๊กดาต้า หรือ 5G รวมถึงการพิจารณาถึงเทรนด์ใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า หัวเว่ยจึงร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในวงการเพื่อนำเสนอ 10 เทรนด์ที่น่าสนใจในแวดวงเซลล์แสงอาทิตย์อัจฉริยะในปี 2568 ซึ่งประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (LCOE), โรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การหลอมรวมอัจฉริยะ ตลอดจนเรื่องของความมั่นคงและความซื่อสัตย์ โดยเทรนด์เหล่านี้มีจุดมุ่งหมายที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปสู่ระบบอัจฉริยะและโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมมอบความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับนวัตกรรมและการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอุตสาหกรรมพลังงานใหม่

แนวโน้มการใช้พลังงานในอนาคต

เทรนด์ที่ 1: การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

ในอนาคตโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์กว่า 90% ทั่วโลกจะเข้าสู่ระบบดิจิทัล ปัจจุบันแม้ตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลกจะเติบโตมากขึ้น แต่เครื่องมือที่ใช้ในโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ยังไม่มีความก้าวล้ำมากพอ ตั้งแต่อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าไปจนถึงการสื่อสาร โดยอุปกรณ์เหล่านี้ยังคงไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร อีกทั้งยังอาจแสดงผลลัพธ์ที่ผิดพลาดออกมาได้ ดังนั้น ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างระบบ 5G และคลาวด์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีแนวโน้มว่าโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์กว่า 90% ทั่วโลกจะเข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มตัวภายในปี 2568 ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์มีความสะดวก ฉลาด และมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม

แนวโน้มการใช้พลังงานในอนาคต

เทรนด์ที่ 2: ยกระดับความอัจฉริยะด้วย AI

โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์กว่า 70% จะหันมาใช้เทคโนโลยี AI การนำ AI เข้ามาใช้กับเซลล์แสงอาทิตย์จะช่วยทำให้การทำงานของระบบตรวจจับและการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างอุปกรณ์เป็นไปอย่างราบรื่น และจะช่วยยกระดับการผลิตพลังงานและประสิทธิภาพของ O&M อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ เทคโนโลยี AI ยังมอบวิธีการทำงานใหม่ๆ ให้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วย การป้องกันโมดูลและระบุความผิดพลาดของเครื่องมือด้วยอัลกอริทึมการวิเคราะห์จาก AI, การติดตามการใช้งานอัลกอริทึมอย่างเหมาะสมด้วยข้อมูลมหาศาลและระบบการเรียนรู้ด้วยตัวเองเพื่อมอบผลตอบแทนที่มากขึ้น และการประสานงานกันของระบบจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ด้วย AI เพื่อสร้างรายได้สูงสุดให้กับโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ ทั้งนี้ ด้วยความที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ลดลง ขณะที่ความซับซ้อนของ O&M มากขึ้น ผู้ประกอบการจึงมีแนวโน้มที่จะเลือกใช้เทคโนโลยี AI กันมากขึ้นในอนาคต

แนวโน้มการใช้พลังงานในอนาคต

เทรนด์ที่ 3: โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ไร้มนุษย์

ภาระงานในโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์กว่า 80% จะไม่ต้องใช้มนุษย์อีกต่อไป ด้วยความสามารถของ AI และ IoT (Internet of Things) ผลิตภัณฑ์และบริการอัจฉริยะจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับระบบการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมด ด้วยการผสานรวมประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญเข้ากับกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โรงไฟฟ้าต่างๆ จึงมีแนวโน้มที่จะใช้ AI มาแทนที่ผู้เชี่ยวชาญด้าน O&M ในแง่ของการวิเคราะห์และการตัดสินใจ ส่วนโดรนสำรวจและหุ่นยนต์ O&M จะรับหน้าที่ดูแลงานที่อันตรายหรือต้องทำซ้ำๆ ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความแม่นยำสูงเพื่อยกระดับผลิตภาพและความปลอดภัยในโรงไฟฟ้า โดยหัวเว่ยคาดการณ์ว่า โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ในอนาคตจะไม่มีมนุษย์ทำงานเลย

แนวโน้มการใช้พลังงานในอนาคต

เทรนด์ที่ 4: สนับสนุนโรงงานไฟฟ้าอย่างเต็มกำลัง

โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์จะเปลี่ยนบทบาทจาก “การปรับตัวตามโรงงานไฟฟ้า” สู่ “การสนับสนุนโรงงานไฟฟ้า” การเพิ่มขึ้นของพลังงานแบบ power-electronic-interfaced จะเข้ามาตีตลาดโรงงานไฟฟ้า และขัดขวางไม่ให้ผู้คนใช้งานระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในวงกว้าง ด้วยเหตุนี้ ในอีก 5 ปีข้างหน้า โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์จึงต้องเปลี่ยนตัวเองจากที่เคยปรับตัวตามโรงงานไฟฟ้า ให้กลายมาเป็นผู้สนับสนุนโรงงานไฟฟ้า ด้วยเหตุนี้ อินเวอร์เตอร์จึงต้องขยับขีดความสามารถ อาทิ เพิ่มความสามารถในการปรับอัตราส่วนลัดวงจร (SCR), ความสามารถในการควบคุมกระแสฮาร์มอนิกให้อยู่ในระดับไม่เกิน 1%, ความสามารถในการทนต่อสภาวะแรงดันสูง/ต่ำอย่างต่อเนื่อง และรักษาความถี่ของไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญในการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้า

แนวโน้มการใช้พลังงานในอนาคต

เทรนด์ที่ 5: เซลล์แสงอาทิตย์ + การจัดเก็บ

สัดส่วนของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่มาคู่กับการกักเก็บพลังงานจะมีมากกว่า 30% การเข้าถึงแหล่งพลังงานใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น จะทำให้กริดพลังงานมีข้อกำหนดที่เข้มงวดขึ้นสำหรับการควบคุมความถี่และลดความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด ในขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีก็จะทำให้แบตเตอรี่มีราคาถูกลง จึงคาดการณ์ได้ว่า การกักเก็บพลังงานจะทำงานสอดคล้องกับระบบเซลล์แสงอาทิตย์และกลายมาเป็นส่วนประกอบสำคัญ โดยคาดว่าภายในปี 2568 สัดส่วนของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่มาคู่การกักเก็บพลังงานจะมีมากกว่า 30%

แนวโน้มการใช้พลังงานในอนาคต

เทรนด์ที่ 6: โรงไฟฟ้าเสมือน

ระบบที่อยู่อาศัยกว่า 80% จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือน (VPP) ใน 5 ปีข้างหน้าจะมีการนำเทคโนโลยี ICT เช่น 5G บล็อกเชน และบริการคลาวด์ไปใช้กันอย่างกว้างขวางในโรงไฟฟ้าที่กระจายอยู่ทั่วไป จึงต้องมีการสร้าง VPP ขึ้นมาเพื่อดูแลการบริหารจัดการร่วมกัน และช่วยกันกำหนดในเรื่องเวลา การทำธุรกรรม และบริการเสริมสำหรับระบบพลังงาน นอกจากนี้ การพัฒนาขึ้นของเทคโนโลยี VPP ยังจะก่อให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ และดึงดูดผู้เล่นหน้าใหม่เข้าสู่ตลาดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจะกลายมาเป็นกลไกการเติบโตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต่อไป
แนวโน้มการใช้พลังงานในอนาคต

เทรนด์ที่ 7: ความปลอดภัยในการใช้งาน

เทคโนโลยีตัดวงจรอาร์กฟอลต์ (AFCI) จะกลายเป็นฟีเจอร์ที่ต้องมีในระบบการจำหน่ายไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา และจะกลายมาเป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ การใช้งานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทำให้ความปลอดภัยของตัวอาคารและบุคคลถูกยกมาประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของอาร์กเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีความเสี่ยงจากสัมผัสของโหนดในโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ที่ไม่ดีจากขั้วเซลล์แสงอาทิตย์ รวมถึงการชำรุดแตกหักของสายเคเบิลที่เก่าหรือไม่พร้อมใช้งาน ซึ่งได้กลายเป็นความกังวลสำคัญในอุตสาหกรรม ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว AFCI จึงจะเข้ามาเป็นฟังก์ชันมาตรฐานสำหรับระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา และจะกลายเป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมระหว่างประเทศต่อไป

แนวโน้มการใช้พลังงานในอนาคต

เทรนด์ที่ 8: ความหนาแน่นของพลังงานที่สูงกว่าเดิม

ความหนาแน่นพลังงานของอินเวอร์เตอร์จะเพิ่มขึ้นกว่า 50% ด้วยแนวโน้มการลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยไฟฟ้าปรับเฉลี่ย (LCOE) ของเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้โมดูลเดี่ยวมีความต้องการพลังงานที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันการซ่อมบำรุงอินเวอร์เตอร์ก็ควรที่จะง่ายขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้เป็นไปตามนั้น พลังงานจึงจำเป็นที่จะต้องถูกพัฒนาให้มีความหนาแน่นมากขึ้น โดยอาศัยความก้าวหน้าในการวิจัยเซมิคอนดักเตอร์แบบ wide-bandgap เช่น SiC และ GaN รวมถึงอัลกอริทึมการควบคุมชั้นสูง ซึ่งคาดว่าจะทำให้อินเวอร์เตอร์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่า 50% ใน 5 ปีข้างหน้า

แนวโน้มการใช้พลังงานในอนาคต

เทรนด์ที่ 9 : ดีไซน์แบบแยกส่วน

ส่วนประกอบหลัก เช่น อินเวอร์เตอร์, PCS และอุปกรณ์กักเก็บพลังงานได้รับการออกแบบให้สามารถแยกส่วนได้ ซึ่งอินเวอร์เตอร์, PCS และอุปกรณ์กักเก็บพลังงานเป็นส่วนประกอบสำคัญในโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีผลต่อความพร้อมใช้งานของระบบโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เป็นอย่างมาก แต่ด้วยความที่โรงไฟฟ้ามีกำลังผลิตและความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น การบำรุงรักษาแบบเดิมที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการเลยต้องอาศัยค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จึงทำให้การออกแบบโมดูลให้สามารถแยกส่วนได้กลายมาเป็นที่นิยม เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการติดตั้ง สามารถขยายได้อย่างราบรื่น และบำรุงรักษาได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทั้งในแง่ของการดำเนินงาน, การบำรุงรักษา (O&M) และการปรับปรุงระบบเดิมให้ดีขึ้น

แนวโน้มการใช้พลังงานในอนาคต

เทรนด์ที่ 10: ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ

ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือได้กลายเป็นข้อกำหนดที่จำเป็นสำหรับโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ การเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลก และความซับซ้อนของสถาปัตยกรรมเครือข่ายที่มากขึ้น ได้เข้าไปเพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของเครือข่ายของโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ ในขณะเดียวกัน ก็มีข้อกำหนดที่เข้มงวดขึ้นในส่วนของความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้งานโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่กระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เทรนด์เหล่านี้จึงชี้ให้เห็นว่า โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์จะต้องมีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในแง่ของความไว้วางใจ, ความพร้อมใช้งาน ความปลอดภัย, ความยืดหยุ่น และความเป็นส่วนตัวมากขึ้นกว่าเดิม
ความปรารถนาของมนุษย์ทุกคนที่ต้องการสำรวจสิ่งใหม่ ๆ นั้นไม่มีขีดจำกัด พวกเรามักมองหาหนทางที่ทำให้สามารถทะยานได้สูงขึ้น, ดำดิ่งลงไปได้ลึกกว่าเดิม และค้นหาความจริงใหม่ๆ อยู่เสมอ ในขณะที่การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี 5G คลาวด์ และ AI กำลังสร้างโลกที่ซึ่งทุกอย่างถูกสัมผัส, เชื่อมต่อ และชาญฉลาดด้วยความเร็วที่มากกว่าที่เราคิด หัวเว่ยจึงเปิดเผย 10 อันดับเทรนด์ของอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับปี 2568 นี้ออกมา ด้วยหวังว่าจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการสร้างโลกสีเขียวอัจฉริยะ ที่สามารถแบ่งปันศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดของโซลูชันพลังงานใหม่นี้ให้กับสังคมได้อย่างทั่วถึง

ข้อมูล : ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ บริษัท อินโฟเควสท์ จำกัด

Like0Share0Tweet0

แนวโน้มการใช้พลังงานในอนาคตเป็นอย่างไร

การใช้พลังงานทดแทน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของภาครัฐ การใช้ไฟฟ้า คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เนื่องจากปี 2563 การใช้ไฟฟ้าติดลบ จากผลกระทบ COVID-19 ในขณะที่ปี 2564 คาดว่าภาวะเศรษฐกิจจะดีกว่าปีที่ผ่านมา ตามภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศและตามการดำเนินมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐ

พลังงานในอนาคตมีอะไรบ้าง

5 พลังงานทดแทนแห่งอนาคต.
พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งได้ในทุกพื้นผิว (Embeddable Solar Power) ... .
พลังงานลม (Wind Energy) ... .
พลังงานคลื่น (Wave Power) ... .
พลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen Power) ... .
พลังงานชีวภาพ (Bioenergy).

พลังงานประเภทใดจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

พลังงานชีวมวล ถือเป็นพลังงานแห่งอนาคตของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมโดยพื้นฐาน ดังนั้นวัตถุดิบด้านการเกษตรจึงมีอยู่มากมาย "หญ้าเนเปียร์" เองก็จัดเป็นพืชพลังงานในกลุ่มเชื้อเพลิงชีวภาพมีโครงสร้างสารอาหารเหมาะต่อการเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดก๊าซ มีศักยภาพนำมาผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับผลิตไฟฟ้า

พลังงาน มีความสําคัญอย่างไร

พลังงานมีความสำคัญสำหรับการทำงานของเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ เช่น พลังงานไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ พลังงานจากสารเชื้อเพลิงประเภทที่เรียกว่า ฟอสซิลโดยเฉพาะน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะประเภทต่าง ๆ พลังงานช่วยให้อุปกรณ์สำรวจสามารถทำงานได้