การประกอบและติดตั้งประปาและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านให้ปลอดภัยควรปฏิบัติอย่างไร

Skip to content

อุปกรณ์ประปา เครื่องมือติดตั้งและซ่อมแซม มีอะไรบ้าง?

Home/Articles/อุปกรณ์ประปา เครื่องมือติดตั้งและซ่อมแซม มีอะไรบ้าง?

อุปกรณ์ประปา เครื่องมือติดตั้งและซ่อมแซม มีอะไรบ้าง?

  • View Larger Image
    การประกอบและติดตั้งประปาและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านให้ปลอดภัยควรปฏิบัติอย่างไร

เครื่องมือช่าง และอุปกรณ์ช่างที่ควรมีติดบ้านไว้ไปแล้ว แต่เครื่องมือและอุปกรณ์ช่างต่าง ๆ ก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นงานไม้ งานไฟฟ้า รวมถึง อุปกรณ์ประปา ระบบประปา ที่มีเรื่องของระบบน้ำดีที่ใช้บริโภค เพื่อสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัย และระบบน้ำเสีย หรือระบบน้ำทิ้ง เพื่อระบายน้ำโสโครกออกจากบ้าน

ดังนั้น อุปกรณ์ประปา จึงมีความสำคัญ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการวัด การตัดต่อท่อให้ใช้งานได้ตามต้องการ รวมถึงการแก้ไขปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นใน ระบบประปา และการระบายน้ำต่าง ๆ วันนี้ KACHA ขอแนะนำเครื่องมือ และอุปกรณ์ประปาพื้นฐาน สำหรับงานประปาในบ้านที่ควรมีติดบ้านไว้ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน


อุปกรณ์ประปาในบ้าน มีอะไรบ้าง?

ระบบประปา ถึงแม้จะเป็นส่วนที่ดูยุ่งยากในการซ่อมแซมเวลาชำรุด แต่ก็มีบางส่วนที่เจ้าของบ้านสามารถซ่อมเองได้ โดยไม่ต้องเรียกช่าง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย มาดูกันดีกว่าว่าเครื่องมืออะไรบ้าง ที่ต้องมีติดบ้านไว้หากคิดจะซ่อมแซมด้วยตัวเอง

1. ไขควงด้ามสลับ

หลักการใช้งานไขควงด้ามสลับ ถือเป็นเครื่องมือทั่วไป เหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลายลักษณะ แต่ในส่วนของงานระบบท่อน้ำ มักนิยมใช้เกี่ยวกับการแก้ไขเครื่องปั๊มน้ำ เช่น การไล่อากาศออกจากห้องปั๊ม หรืออาจเป็นการขันแหวนรัดสายยางให้แน่น ซึ่งแหวนรัดสายยางบางยี่ห้อเป็นห้วแฉก บางยี่ห้ออาจเป็นหัวแบน หรืออาจมีทั้งสองหัวอยู่รวมกัน การขันแหวนรัดสายยางให้แน่นนั้น ในการหมุนคราวแรก ควรใช้หัวแฉกหมุนพอตึงมือก่อน จากนั้นเปลี่ยนเป็นหัวแบนเพื่อขันให้แน่นอีกที การใช้งานเช่นนี้ จะป้องกันไม่ให้หัวน็อตของแหวนรัดสายยางหวานนั่นเอง

นอกจากนี้ ไขควงด้ามสลับ ยังมีประโยชน์ในงานซ่อมแซมอุปกรณ์ยืดท่อส่งน้ำกับผนังบ้าน เช่น น็อตแคล้มโอห์ม หรือแคล้มเหล็กรัดท่อคลาย ทำให้แคล้มรัดเกิดหลวม เช่นนี้ เราสามารถที่จะใช้ขควงข้นกลับคืนให้แน่นดังเดิม หากเราปล่อยปละละเลยไม่ยอมขันน็อตให้แน่น จะทำให้แคล้มรัดเกิดหลุด จากนั้น น้ำหนักของท่อส่งน้ำที่ติดอยู่ผนัง จะตกฟาดลงมากองกับพื้นอย่างแน่นอน

การประกอบและติดตั้งประปาและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านให้ปลอดภัยควรปฏิบัติอย่างไร


2. คีมคอม้า

หลักการใช้งาน คีมคอม้า ชื่อของมันก็บ่งบอกอยู่แล้วว่าน่าจะไม่ใช่รูปร่างหน้าตาเหมือนคีมทั่วไปที่เราเคยเห็น สำหรับคีมคอม้านี้ จะเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ดี สำหรับการหมุน หรือขันวัสดุที่มีทรงกลม หรือทรงกระบอก เหมาะสำหรับใช้งานหมุนท่อ หรืออุปกรณีที่เกี่ยวกับห่อต่าง ๆ เช่น ท่อเหล็ก ท่อส่งน้ำพีวีซี ข้อต่อ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกับท่อ เป็นต้น

ลักษณะพิเศษของคีมคอม้า คือ บริเวณปากคีม เมื่อเลื่อนขยายออกได้มากพอสำหรับท่อ และข้อต่อแทบจะทุกขนาด โดยปากคีมจะเป็นตัวยูหันไปทางด้านใดด้านหนึ่งทั้งซ้าย และขวาตามแต่ผู้ใช้งาน มองดูแล้วคล้ายช่วงลำคอของม้า แต่มองโดยภาพรวมแล้วเหมือนม้าน้ำมากกว่า เครื่องมือชนิดนี้จะช่วยผ่อนแรงให้ผู้ใช้งานไม่ต้องออกแรงมากในงานหมุน หรือขันท่อ และอุปกรณ์ต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถใช้งานในพื้นที่แคบ ๆ ได้แม้จะมีรูปร่างยาว คีมคอม้าเก้งก้างก็ตาม ปัจจุบันคืมคอม้านี้ ได้ถูกพัฒนาให้มีรูปร่างที่เล็กกระทัดรัดสะดวกในการใช้งาน และไม่ต้องหมุนปรับ เพื่อเลื่อนปากคีมอีกด้วย การเลื่อนขยายปากคีมก็เพียงง้างหางคีมออกจากกัน แล้วเลื่อนให้เข้าล็อคตามความต้องการของผู้ใช้นั่นเอง

3. ประแจเลื่อน

การใช้งาน สำหรับเครื่องมืออย่างประแจเลื่อน เหมาะสำหรับการใช้งานในกรณีที่จำเป็นหมุน หรือขันอุปกรณ์ที่มีแหวนล็อกหน้า หรือหลากหลายงานที่คีมคอม้าไม่สามารถจับชิ้นงานได้ ปัญหาของน็อตแหวนที่เกิดสนิม ขันยังไงก็ขันไม่ได้ เอาโซแน็กฉีดก็ยังไม่ขยับ เราอาจแก้ไขโดยใช้ประแจเลื่อนจับน็อตข้างหนึ่งไว้ให้แน่นแล้วขันน็อตอีกด้านหนึ่งออก โดยจับประแจเลื่อนไว้ให้มั่นอย่าให้หมุนจาม เพียงเท่านี้เราก็สามารถคลายน็อตที่ถูกสนิมกินออกได้แล้ว

นอกจากนี้ ประแจเลื่อน ยังช่วยแบ่งเบาภาระคีมคอม้าได้มาก ในกรณีที่พื้นที่ที่เกิดปัญหาแคบมาก หรือท่อและอุปกรณ์ท่อมีขนาดเล็กไม่เหมาะกับการใช้คีมคอม้าจับหมุนหรือขัน ประแจเลื่อนจะเป็นตัวช่วยให้เราทำงานได้สำเร็จ 

การประกอบและติดตั้งประปาและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านให้ปลอดภัยควรปฏิบัติอย่างไร


4. ค้อนยาง หรือค้อนเหล็ก

หลักการใช้งาน ที่แนะนำให้ใช้ค้อนยาง ก่อนเพราะการใช้งานค้อนกับ ระบบประปา อาจต้องใช้แรงตอกบ้าง แต่ไม่ถึงกับเอาออกจนเนื้อ PVC บี้บุบผิดรูปไป เพราะหากเราเลือกใช้ค้อนเหล็กในการตอก เพื่อให้ข้อต่อสวมเข้ากับท่อจนแน่น อาจทำให้เกิดความเสียหายกับข้อต่อ หรือท่อส่งน้ำได้ อีกทั้งค้อนเหล็ก ยังมีน้ำหนักมาก จึงทำให้น้ำหนักในการตอกแต่ละครั้งมากเกินความจำเป็น 

5. เลื่อยตัดท่อ หรือกรรไกรตัดท่อ

หลักการทำงานเลื่อยตัดท่อ หรือกรรไกรตัดท่อ มีหลักการทำงานที่เหมือนกัน คือ ตัดท่อพีวีซีให้ขาดออกจากกันหลังจากที่วัดและคำนวณเรียบร้อยแล้ว แต่หลักการใช้งานแตกต่างกัน อีกครั้งเลื่อยตัดท่อจะใช้ร่วมกับเลื่อยตัดเหล็ก กล่าวคือเลื่อยที่ใช้ตัดท่อพีวีซีนั้นใช้ใบเลื่อยตัดเหล็ก แต่โครงเลื่อยตัดเหล็กอาจจะเก้งก้างเทอะทะ ในกรณีที่จำเป็นต้องซ่อมแซมในบางพื้นที่ที่แคบ และโครงเลื่อยไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ อีกทั้งในการเลื่อยมนแต่ละครั้ง อาจมีเศษพีวีซีร่วงออกมามากมาย ยุ่งยากต่อการทำความสะอาดและคมลอยเรื่อย

การประกอบและติดตั้งประปาและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านให้ปลอดภัยควรปฏิบัติอย่างไร


6. น้ำยาประสานท่อและข้อต่อพีวีซี

ใช้ในกรณีที่มีการติดตั้ง เปลี่ยน หรือซ่อมแซมท่อพีวีซี การใช้งานก็ไม่ยุ่งยาก เพียงทากาว หรือน้ำยาประสานท่อภายในข้อต่อและปลายท่อให้ทั่ว จากนั้น สวมท่อเข้าไปในข้อต่อ โดยหมุนบิดเล็กน้อย เพื่อให้น้ำยาประสานกระจายตัวได้ดียิ่งขึ้น แล้วจับส่วนที่เชื่อมต่อกันนี้ไว้นิ่ง ๆ ราว 10-15 วินาที จากนั้น จึงเช็ดทำความสะอาดน้ำยาส่วนที่เกินออกมาให้เรียบร้อย

7. เทปพันเกลียว

มีลักษณะเป็นแถบสีขาวบาง ๆ มีหน้ากว้างประมาณ 12 มิลลิเมตร ใช้สำหรับพันข้อต่อเกลียว เพื่อป้องกันน้ำไม่ให้หยด หรือรั่วไหล


นอกจากเครื่องมือดังกล่าวแล้ว ยังมีเครื่องมือ และอุปกรณ์ช่วยกำจัดสิ่งอุดตันภายในท่อน้ำทิ้ง เช่น สายล้างท่อ หรือ “งูเหล็ก” น่าจะเป็นผู้ช่วยที่ดีได้ ยามเกิดเหตุการณ์คับขัน จะได้แก้ปัญหาได้ทันที เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมหา อุปกรณ์ประปา ติดบ้านไว้ เมื่อตอนเกิดปัญหาจะได้มีตัวช่วยในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ได้ หวังว่าบทความนี้คงจะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<

Share This Post With Others!

Title

Page load link

Go to Top