สายไฟฟ้าตาม มอก. 11–2531 มีทั้งหมดกี่ชนิด

มาตรฐาน มอก.11 ซึ่งเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับสายไฟฟ้าตัวนำทองแดง หุ้มฉนวนและเปลือก PVC สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 โวลต์ กำลังจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงมีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันค่ะ

มาตรฐาน มอก.11 ส่วนที่มีการแก้ไข 

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับมาตรฐาน มอก.11 กันก่อน มาตรฐาน มอก.11 เป็นมาตรฐานที่อ้างอิงมาจากมาตรฐานสากล IEC 60227 โดยรับเอา IEC 60227 Part 1 ถึง Part 5 มาปรับใช้กับประเทศไทยเป็น มอก.11 เล่ม 1 ถึง เล่ม 5 และเพิ่มเติม มอก.11 เล่ม 101 สำหรับสายไฟฟ้าชนิดที่เป็นที่นิยมใช้งานในประเทศไทย แต่ไม่มีอยู่ใน IEC 60227 เพื่อให้มาตรฐานครอบคลุมสายไฟฟ้าชนิดที่มีการใช้งานโดยทั่วไปในประเทศไทย  มาตรฐาน มอก.11 ทั้ง 6 เล่มประกอบด้วย

สายไฟฟ้าตาม มอก. 11–2531 มีทั้งหมดกี่ชนิด

สำหรับการแก้ไขมาตรฐานในครั้งนี้ จะเป็นการแก้ไขเฉพาะ มอก.11 เล่ม 101 เท่านั้น โดยเปลี่ยนจากเดิม มอก.11 เล่ม 101-2553 เป็น มอก.11 เล่ม 101-2559 ส่วน มอก.11 เล่มอื่นๆยังคงใช้ฉบับเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ซึ่งมาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101 นี้เป็นข้อกำหนดสำหรับสายไฟฟ้าสำหรับงานทั่วไปได้แก่สายไฟฟ้าชนิด VAF, VAF-G, NYY, NYY-G, VCT, และ VCT-G 

มาตรฐานใหม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

มอก.11 เล่ม 101-2559 มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเรื่องเดียวคือ มีการเพิ่มขนาดตัวนำขนาดเล็กของสายไฟฟ้าชนิด NYY, NYY-G, VCT และ VCT-G ให้เริ่มตั้งแต่ขนาด 1 ตร.มม. ขึ้นไป เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานที่กว้างมากขึ้น ส่วนสายไฟฟ้าชนิด VAF และ VAF-G ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด  รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้

สายไฟฟ้าตาม มอก. 11–2531 มีทั้งหมดกี่ชนิด

ทำไมจึงต้องมีการแก้ไขมาตรฐานใหม่

เนื่องจากมาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101 เดิม กำหนดให้สายไฟฟ้าชนิด NYY, NYY-G, VCT และ VCT-G มีขนาดตัวนำที่ต่อเนื่องกันกับขนาดตัวนำของสายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 10 และ 60227 IEC 53 ซึ่งเป็นสายไฟฟ้าที่มีโครงสร้างเหมือนกันกับสาย NYY และ VCT ตามลำดับ 

แต่เนื่องจากมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย กำหนดให้สายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 10 และ 60227 IEC 53 ไม่สามารถใช้ติดตั้งฝังดินได้เหมือนสาย NYY และ VCT จึงเกิดปัญหากับผู้ใช้งานจำนวนมากที่มีความจำเป็นต้องใช้สายไฟฟ้าหลายแกนที่มีตัวนำขนาดเล็กสำหรับงานติดตั้งแบบเดินร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง 

ดังนั้นจึงมีการแก้ไขมาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101 เพิ่มขนาดตัวนำสายไฟฟ้าชนิด NYY, NYY-G, VCT และ VCT-G ให้ครอบคลุมตัวนำขนาดตั้งแต่ 1 ตร.มม. เพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้

ทั้งนี้สามารถคลิกอ่านข้อมูลเพิ่มได้ดังนี้

  1. ข้อมูลเปรียบเทียบการใช้งานสาย NYY กับ 60227 IEC 10 
  2. ข้อมูลเปรียบเทียบการใช้งานสาย VCT กับ 60227 IEC 53 

มาตรฐานใหม่เริ่มใช้เมื่อใด

มาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101-2559 จะมีผลใช้บังคับวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 นี้ อย่างไรก็ตามอาจมีการอนุญาตให้ผู้ผลิตสายไฟฟ้ายื่นขอผ่อนผันการบังคับใช้ออกไปได้ระยะหนึ่ง ดังนั้นสายไฟฟ้าตามมาตรฐานใหม่จึงน่าจะเริ่มทยอยออกสู่ท้องตลาดในปี 2564 เป็นต้นไป

การที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงสีของสายไฟฟ้าก็เพื่อให้เป็นไปตาม มาตรฐานIEC ที่เป็นมาตรฐานสากลที่นานาชาติยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

 

ซึ่งประเทศเรารับเอามาใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงทั้งสำหรับสายไฟฟ้าหลายๆชนิดและสำหรับมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า  ซึ่งมีข้อดีคือ

 

  1. ข้อกำหนดในมาตรฐานมีที่มาที่ไปในการอ้างอิงทางวิชาการที่เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับ
  2. ช่างไฟฟ้าและวิศวกรไฟฟ้าในทุกประเทศทั่วโลกที่อ้างอิงมาตรฐาน IEC เหมือนกัน ต่างก็ทำงานอยู่บนพื้นฐานข้อกำหนดและมาตรฐานของสายไฟฟ้าเดียวกัน หากต้องทำงานร่วมกันก็สามารถทำได้โดยสะดวก

สายไฟฟ้าตาม มอก. 11–2531 มีทั้งหมดกี่ชนิด

ตารางแสดงสีของฉนวนสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. 11-2553 โดยกำหนดดังนี้

  1. สายไฟฟ้า แกนเดี่ยว ไม่กำหนดสี
  2. สายไฟฟ้า 2 แกน สีฟ้า และน้ำตาล
  3. สายไฟฟ้า 3 แกน (แบบมีสายดิน) สีเขียวแถบเหลือง ฟ้า น้ำตาล
  4. สายไฟฟ้า 3 แกน (แบบไม่มีสายดิน) สีน้ำตาล ดำ เทา
  5. สายไฟฟ้า 4 แกน (แบบมีสายดิน) สีเขียวแถบเหลือง น้ำตาล ดำ เทา
  6. สายไฟฟ้า 4 แกน (แบบไม่มีสายดิน) สีฟ้า น้ำตาล ดำ เทา
  7. สายไฟฟ้า 5 แกน สีเขียวแถบเหลือง ฟ้า น้ำตาล ดำ เทา

ข้อกำหนดสีของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนแรงดันต่ำ ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าของ วสท. ดังนี้

  1. สายไฟฟ้านิวทรัล (สายศูนย์) ใช้สีฟ้า 
  2. สายไฟฟ้าสำหรับสายดิน ใช้สายสีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง หรือเป็นสายเปลือย
  3. สายไฟฟ้าสำหรับเส้นสายไฟของระบบไฟฟ้า 1 เฟส ใช้สีอื่นใดที่ต่างจากสายนิวทรัลและสายต่อลงดิน
  4. สายไฟฟ้าสำหรับเส้นสายไฟของระบบไฟฟ้า 3 เฟส ใช้สายที่มีสีฉนวนหรือทำเครื่องหมายเป็นสีน้ำตาล สีดำ และสีเทา สำหรับเฟส 1, 2 และ 3 ตามลำดับ 
  5. สายไฟฟ้าแกนเดียวขนาด 16 ตร.มม. ขึ้นไปสามารถใช้วิธีทำเครื่องหมายที่ปลายสายไฟฟ้าแทนการกำหนดสีได้

ข้อกำหนดข้างต้น ยกเว้นสายไฟฟ้าที่ใช้เป็นสายไฟเมนเข้าอาคาร (สายออกจากมิเตอร์ไฟฟ้าถึงเมนสวิตช์) โดยจะเห็นว่าในระบบไฟฟ้า 1 เฟส มาตรฐานการติดตั้งไม่ได้กำหนดให้สายเส้นไฟต้องใช้แต่เฉพาะสายสีน้ำตาลเท่านั้น

ดังนั้นในระบบไฟฟ้า 1 เฟสตามบ้านเรือนทั่วไป สามารถเลือกใช้สายไฟฟ้าโดยเส้นไฟเป็นสีอื่นที่ไม่ใช่สีฟ้า, สีเขียว และสีเขียวแถบเหลืองได้

ตัวอย่างเช่น ใช้สาย 60227 IEC 01 (THW) สีดำสำหรับวงจรเต้ารับ ใช้สีขาวสำหรับวงจรแสงสว่าง และใช้สีแดงสำหรับเครื่องปรับอากาศ เพื่อความสะดวกในการแยกวงจรได้ แต่สายนิวทรัลของทุกวงจรต้องใช้สีฟ้า และสายดินต้องใช้สีเขียวหรือเขียวแถบเหลืองเท่านั้น