มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

ที่บ้านใช้ไฟ  มิเตอร์    5  แอมป์   ของเก่าใช้คัทเอาท์   30  แอมป์  และฟิวส์ถ้วย  16  แอมป์    หากต้องการจะเปลียนเป็นแบบตู้สแควดี   เราควรจะใช้เมนเบรคเกอร์กี่แอมป์ครับ   เคยถามร้านที่ขายแถวคลองถม บอกว่าหม้อ 5 แอมป์ใช้เมนเบรคเกอร์  15  แอมป์ก็พอ  แต่อีกร้านบอกให้ใช้  32 แอมป์         ตอนนี้ที่บ้านใช้ปั้มหอยโข่ง    2  แรงอยู่และติดเบรคเกอร์แบบกันไฟูด   20  แอมป์ไว้    ถ้าเราใช้แบบตู้สแควดี   ตัวเซอกิตเบรคเกอร์ย่อยที่จะคุมปั้มหากเราใช้ขนาด  15  แอมป์  กรณีไฟดูดหรือลัดวงจร  เซฟตี้เบรคเกอร์  20  แอมป์จะตัดหรือเปล่าครับ  เพราะขนาดแอมป์สูงกว่าเซอกิตย่อย   ขอบคุณล่วงหน้าท่านที่ให้ความรู้ครับ

⚡️ การดูขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าว่ามีกี่แอมป์ ⚡️ บิลค่าไฟฟ้า จะมีช่องหนึ่งที่เขียนว่า “รหัสเครื่องวัด” เพื่อนำรหัสนี้ไปหามิเตอร์ของบ้าน หลังจากนั้นเมื่อเจอมิเตอร์แล้ว ให้สังเกตตัวเลขในในช่องบนมิเตอร์ เช่น 5(15) A หมายความว่า เป็นมิเตอร์ขนาด 5 แอมป์ สามารถใช้ไฟได้มากถึง 15 แอมป์ ซึ่งก็จะตรงกับมาตรการค่าไฟฟ้าฟรีสำหรับประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์นั่นเอง

แต่ความจริงแล้วมิเตอร์มีหลายขนาด และผู้ใช้ไฟฟ้าต้องเลือกให้เหมาะกับบ้านและการใช้งาน

โดย ขนาดมิเตอร์ที่เล็กที่สุด ที่เมื่อเวลาไปขอใช้บริการไฟฟ้ากับผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือการไฟฟ้านครหลวง(กปน.) นั้น มักจะได้ขนาด 5(15) มาเบื้องต้น แต่หากคำนวณถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะมีมากขึ้นในอนาคต ก็สามารถติดต่อขอเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าได้ แต่จะต้องเสียค่าเงินประกันและค่าบริการขอใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วย รวมถึงจะต้องยอมรับว่า ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนนั้นจะแปรผันไปตามขนาดปริมาณไฟฟ้าที่ขอใช้เช่นกันทั้งนี้หากเลือกมิเตอร์ที่มีขนาดเล็กเกินไป จะทำให้เครื่องไฟฟ้าไม่สามารถทำงานได้ แต่หากเลือกขนาดใหญ่เกินความเหมาะสม ก็จะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

💡 แล้วมิเตอร์ขนาด 5 แอมป์ จะสามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอะไรได้บ้าง?

เราสามารถคำนวณเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง เพื่อคำนวณกระแสไฟฟ้า โดยนำกำลังไฟฟ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น (วัตต์) ซึ่งสามารถดูได้จากฉลากบนเครื่องใช้ไฟฟ้า หารด้วยความต่างศักย์ (โวลต์) และคูณด้วยจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น และนำกระไฟฟ้าทั้งหมดมาบวกรวมกัน และคูณด้วย 1.25 เพื่อเผื่อปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจจะใช้มากขึ้นในอนาคตด้วย

ยกตัวอย่างเช่น
🔸พัดลมตั้งพื้น 75 วัตต์ จำนวน 2 ตัว คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 75/220×2 เท่ากับ 0.68 แอมป์
🔸หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์ จำนวน 6 หลอด คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 36/220×6 เท่ากับ 0.98 แอมป์
🔸แอร์ 1,000 วัตต์ คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 1,000/220 เท่ากับ 4.54 แอมป์
🔸หม้อหุงข้าว 500 วัตต์ คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 500/220 เท่ากับ 2.27 แอมป์
🔸เตารีด 430 วัตต์ คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 430/220 เท่ากับ 1.95 แอมป์
🔸โทรทัศน์ 43 วัตต์ คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 43/220 เท่ากับราว 0.2 แอมป์
🔸ตู้เย็น 70 วัตต์ คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 70/220 เท่ากับ 0.32

หากนำกระแสไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดมารวมกันจะได้เท่ากับ 10.94 แอมป์ แล้วนำมาคูณด้วย 1.25 เผื่อปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจจะใช้มากขึ้นในอนาคต จะได้ประมาณ 13.68 แอมป์ (ทั้งนี้เป็นการคำนวณเบื้องต้นอย่างคร่าวๆ อาจมีการการเปลี่ยนแปลงตามขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้า) แน่นอนว่ายังไม่เกิน 15 แอมป์ แต่หากในอนาคตมีการเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มเข้ามา อาจต้องเปลี่ยนมิเตอร์ให้เป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้นด้วย เพื่อความปลอดภัย

รีเลย์ควบคุมระดับน้ำ GEYA GRL8-02 Level control relay ไฟ24Vac(dc)-240Vac  ใช้ก้านอิเล็กโทรด3อันคุม2ช่วงระดับน้ำเพื่อ สั่งเติมน้ำ ถ่ายน้ำ ป้องกันน้ำแห้ง(อย่างใดอย่างหนึ่ง)ลักษณะการทำงานเหมือนลูกลอยซึ่งมีช่วงระดับที่สั่งทำงานและหยุดทำงาน สามารถปรับความไวของน้ำได้   เมื่อต่อ2เครื่องทำงานพร้อมกัน(ใช้5อิเล็กโทรดคุมน้ำ4ช่วงระดับ)เพื่อควบคุมน้ำในถัง สั่งให้เติมน้ำและหยุดดูดน้ำไปใช้เมื่อระดับต่ำเกินไปป้องกันปั๊มน้ำชำรุด         สามารถใช้งานวัด1ระดับน้ำโดยใช้2ก้านอิเล็กโทรดเพื่อสั่งงานรีเลย์แบบหน่วงเวลา1-10วินาทีได้ เมื่อต่อพร้อมกันหลายๆเครื่องจะสามารถวัดระดับน้ำได้หลายๆระดับและสั่งงานผ่านรีเลย์เพื่อแจ้งสัญญาณหรือสั่งงานเครื่องจักร       สามารถดีไอวายสร้างก้านอิเล็กโทรดด้วยลวดอลูมิเนียมหรือสเตนเลสได้เอง ไม่ต้องใช้ก้านและหัวใส่ก้านแบบมาตรฐาน
       *รับประกัน1ปี ดูเงื่อนไข* สินค้าคุณภาพดีจากโรงงานผู้ผลิตจีน ยี่ห้อ GEYA  ส่งขายโซนยุโรป  [site: GEYA] 

--กำลังเขียนครับ 31/1/64 ดูคู่มือไปก่อนนะครับ
-

-- 1 ลักษณะการทำงาน Feature

-- 2 คุณสมบัติ Specification

-- 3 คู่มือภาษาอังกฤษ สแกน     [?jpeg] หน้า1  [?jpeg] หน้า2

-- 4 วิธีการตั้งค่า Setting

-- 5 ตัวอย่างการต่อไฟใช้งาน Wiring example

เข้าใจการทำงาน - สวิทช์ลูกลอยและสวิทช์แบบก้านอิเล็กโทรด

      สวิทช์ลูกลอยที่ใช้งานโดยทั่วไป จะสามารถสั่งสวิทช์เติมน้ำตอนระดับน้ำต่ำสุดและหยุดเติมน้ำในระดับน้ำสูงสุด โดยขณะใช้งานน้ำในถังเมื่อน้ำค่อยๆลดลงสวิทช์จะไม่สั่งให้เติมน้ำในถัง คือมีช่วงการทำงานที่สวิทช์สั่งเปิดหรือปิดน้ำ2ระดับ เนื่องจากอาศัยกลไกลที่สำคัญคือลูกลอยทำให้มีการทำงาน2จังหวะกดสั่งสวิทช์ธรรมดาให้ทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่สวิทช์ภายในจะมีรูปร่างคล้ายลิมิตสวิทช์ที่ใช้ในเครื่องจักร

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

 รูปแสดงสวิทช์ลูกลอย 1สวิทช์ลูกลอยที่มีตุ้มถ่วงลอยได้สองตัว และ 2สวิทช์ลูกลอยแบบแช่ในน้ำ picture copy right ,CC-NC by pui108diy


1. สวิทช์ลูกลอยสองตุ้มถ่วง (สองทุ่น) สวิทช์อยู่หัวถัง(Float switch) เป็นสวิทช์แบบดั้งเดิม มีสวิทช์ไฟฟ้าบนหัวถังและมีลูกลอย(สีเหลืองๆ)2ลูกเป็นตุ้มถ่วงน้ำหนักแต่ลอยน้ำได้(ข้างในจะบรรจุน้ำแต่มีอากาศประมาณ1/3-1/2ของลูกลอย) หลักการทำงานคือลูกลอยจะทำการปรับสมดุลย์สู้กับแรงสปริงในสวิทช์จึงทำให้มี2จังหวะการทำงาน การปรับช่วงเติมน้ำจะปรับจากระยะห่างและความสูงของตำแหน่งลูกลอยเหลืองๆ2ตัว

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

ภาพอนิเมชั่นจำลองการทำงานของลูกลอยชนิด2ตุ้มถ่วง หรือสวิทช์ลูกลอย2ทุ่นถวง โดยมีสวิทช์ไฟฟ้าอยู่บนหัวถัง ไฟสีเขียวแสดงไฟเลี้ยงวงจรไฟควบคุมคือมีการเปิดเปิดเบรกเกอร์อยู่  ไฟสีแดงถ้าดับแสดงว่ามีการเติมน้ำถ้าไฟสีแดงขึ้นแสดงว่าหยุดเติมน้ำ โดยหลักการสั่งเติมน้ำหรือหยุดเติมน้ำขึ้นกับการต่อวงจรไฟฟ้าในสวิทช์ที่มีขั้ว3ขั้วคือ com no และ nc

      ข้อดี  คือสวิทช์และสายไฟฟ้าจะไม่แช่น้ำ ต่อตรงปั๊มได้ไม่เกิน200วัตต์ อายุใช้งานเปิดปิดวันละสองครั้งไม่เกิน2-4ปีพัง แม้ต่อทดกับรีเลย์ที่กินไฟน้อยมากก็ยังชำรุดพังใน2-4ปี เหตุเนื่องมาจากกลไกสวิทช์จะมีการบอบช้ำเมื่อน้ำมีการกระเพื่อมในบ่อตอนเติมน้ำเมื่อมันสู้กับน้ำหนักของลูกลอยที่กระเพื่อมอยู่ในน้ำด้วยซึ่งจะให้มันอยู่ในสถานะกึงปิดกึ่งเปิดได้ง่ายเมื่อใช้งานไปสักพักหนึ่ง สรุปข้อเสียคือใช้ไม่ทน

-----------------------------------------------

2 สวิทช์ลูกลอยแบบแช่น้ำ(Float switch)  หรือสวิทช์ลูกลอยแบบแช่สวิทช์ไฟฟ้าและสายไฟในน้ำ ประกอบด้วยสายไฟฉนวน2ชั้นพร้อมก้อนถ่วงปรับช่วงระดับน้ำ(ก้อนสีเหลืองเมื่อสวมกับสายไฟ)เพื่อกำหนดช่วงระดับน้ำสูงสุดและต่ำสุดได้ตามต้องการ     และตัวบอดี้เป็นลูกลอยพลาสติกที่มีสวิทช์ภายในที่มีขนาดเล็ก(ไมโครสวิทช์) มีอากาศภายในแต่ทำการปิดซีลอย่างดีไม่ให้น้ำเข้าและภายในมีลูกเหล็กทำหน้าที่ถ่วงน้ำหนักและเป็นกลไก2จังหวะเตะสวิทช์ภายในเมื่อลอยอยู่ในน้ำ

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

รูปแสดงกลไกภายในของลูกลอยแบบสวิทช์ไฟฟ้าแช่อยู่ในน้ำ ภายในเป็นกล่องพลาสติกที่ซีลอย่างดีกันน้ำเข้าข้างในมีสวิทช์ไฟฟ้า อากาศทำให้ลอยได้ และกลไกการปิดปิดสวิทช์เป็นลูกเหล็กและพลาสติกที่เป็นร่องเก็บกักลูกเหล็กให้อยู่ในสถานะคงตัวอยู่ที่สองตำแหน่งเวลาเคลื่อนที่ไปแล้วจะไม่หกกลับง่ายๆถ้ามุมไม่มากพอ  Picture wikipeadia   switch ON   switch OFF  , CC by Martin Meise , Modify by pui108diy

     ข้อดี คืออายุการใช้งานยาวนาน(เป็น10ปี เปิดวันละสองครั้ง)โดยต้องต่อทดกับรีเลย์ ข้อสำคัญคือต้องหาหม้อแปลงและรีเลย์12-24Vdcต่อเพิ่มและบางทีต้องมีแม็กเนติกหรือรีเลย์กำลังต่อเข้าไปในวงจรไฟฟ้า   ซึ่งชาวบ้านทั่วๆไปต้องศึกษาพอควรกว่าจะทำเองได้

     ข้อเสีย สำคัญคือไม่สามารถใช้งานแบบต่อตรงกับปั๊มได้เพราะสวิทช์มีขนาดเล็กและเล็กกว่าแบบสวิทช์หัวถังมาก ส่วนใหญ่เป็นชนิดไมโครสวิทช์มีขนาด10แอมป์ไม่ควรนำไปต่อตรงไฟปั๊ม220Vacตั้งแต่200วัตต์ขึ้นไปโดยตรงจะพังในไม่กี่เดือนเพราะสวิทช์เหล่านี้ไม่ได้รองรับการใช้งานมอเตอร์จะทำให้หน้าคอนแทกอาร์กติดกัน ส่วนใหญ่สวิทช์ภายในของลูกลอยที่ขายในไทยที่มาจากจีนมักไม่ได้ผ่านมาตรฐานการรับรองว่าต่อไฟได้กี่ม้าและใช้งานได้กี่ครั้งจึงไม่ควรนำไปต่อตรงใช้งาน    แต่ถ้านำไปต่อทดรีเลย์220Vacที่หาได้ง่ายโดยไม่มีหม้อแปลงก็จะเสี่ยงกับไฟดูดถ้าฉนวนสายไฟขาดชำรุดหรือหมดอายุแต่ก็ยังถือว่าใช้งานได้ดีถ้าดูแลรักษาอย่างดีหรือมีเบรกเกอร์กันไฟรั่ว  

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

      การปรับช่วงการเติมน้ำ จะต้องปรับความยาวสายไฟแช่น้ำและลูกตุ้มถ่วงสายไฟก้อนเหลือง ปรับแบบลองผิดถูกจนกว่าจะได้ระดับที่พอใจ ช่วงการทำงานระหว่างmin กับmaxขึ้นกับขนาดแท๊งก์ แคบไปหรือกว้างเกินไปก็ไม่ได้ส่วนใหญ่อยู่ในระยะ30-60เซนติเมตร ถ้งกว้างจะไม่มีปัญหา  ถ้าเป็นบ่อน้ำที่มีความลึกมากและต้องการปรับช่วงระดับน้ำลึกมากเกิน60-70%ของความลึกบ่ออาจต้องผูกสายไฟเหนือตุ้มถ่วงเหลืองๆเข้ากับหลักที่ไม่เคลื่อนที่แทนซึ่งจะทำให้สายไฟงอแบบไม่เป็นธรรมชาติก็จะชำรุดได้ง่ายแต่ถ้าปล่อยตามธรรมชาติก็จะกินพื้นที่แกว่งมาก  ซึ่งมันอาจไม่เหมาะกับถังทรงสูงแต่เส้นผ่าศูนย์กลางเล็ก


  การใช้งานอีกประการหนึ่งคือการป้องกันน้ำขาดปั๊มหรือป้องกันปั๊มรันดราย อันเกิดจากแท็งค์น้ำขาดน้ำเนื่องจากปั๊มสูบน้ำไปใช้จนมีปริมาณต่ำแต่ปั๊มน่ำยังทำงานไปเรื่อยๆโดยไม่มีน้ำพอจะสูบหรือส่งไปได้ เป็นภาวะขาดน้ำหรือเรียกว่าปั๊มแห้งซึ่งทำให้แมคคานิคอลซีลของปั๊มชำรุดหรือใบพัดปั๊มเกิดความเสียหายได้ถ้าปั๊มหมุนแห้งเป็นเวลานาน การป้องกันน้ำขาดนี้ในระบบลูกลอยต้องตั้งสายลูกลอยให้ยาวจนเกือบจะถึงก้นแท๊งค์แต่ช่วงลูกลอยจะสั้นหรือตุ้มถ่วงจะอยู่ใกล้ก้นแท๊งค์มากกว่า โดยการเคลื่อนตัวของลูกลอยขึ้นลงในภาวะน้ำเต็มแท๊งค์อาจทำให้ไม่สะดวกและไม่ค่อยนิยมใช้ กลับกันการป้องกันน้ำขาดมักนิยมใช้กับระบบสวิทช์ก้านอีเล็กโทรดมากกว่าเนื่องจากไม่มีการเคลื่อนที่ขึ้นลงของลูกลอยไปตามระดับน้ำ

----------------------------------------------- 

3  สวิทช์ลูกลอยแบบก้านอิเล็กโทรด (Floatless level switch) ซึ่งประกอบด้วยก้านวัดระดับน้ำหรือก้านอิเล็กโทรดทำด้วยสเตนเลส และกล่องควบคุมไฟฟ้าเรียกว่ารีเลย์ควบคุมระดับน้ำ(Level control relay)     เนื่องจากมันไม่มีลูกลอยและไม่มีส่วนใดๆที่เป็นกลไกเคลื่อนไหวลอยอยู่ในน้ำตามจังหวะขึ้นลงของน้ำ จึงถูกเรียกอีกอย่างว่า โฟลทเลสสวิทช์ (Floatless switch)

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

ภาพแสดงชุดก้านอิเล็กโทรดมาตรฐานแบบ5ก้านพร้อมหัวติดตั้ง ยี่ห้อ OMRON  ซึ่งต้องติดตั้งบนเกลียวท่อตัวเมียขนาด2นิ้วบนแท๊งค์น้ำ ก้านเป็นสเตนเลส304 เมื่อก้านมีความยาวพอสมควรและน้ำในแท๊งค์เป็นน้ำที่มีการเคลื่อนที่หรือการแกว่งจึงจำเป็นต้องใส่แกนยึดเป็นพลาสติกสีขาวๆกันขั้วอิเล็กโทรดชนกัน ในรูปก้านอิเล็กโทรดถูกใช้งานนาน5ปีโดยไม่ได้ทำการล้างคราบใดๆถูกจุ่มอยู่ในแท๊งค์น้ำระบบปิด ภาพลิขสิทธิ์ถูกต้อง CC-NC by pui108diy

       ก้านอิเล็กโทรดแบบมาตรฐานจะทำด้วยแท่งสเตนเลส304 316 มันจะถูกจุ่มลงไปในน้ำอย่างน้อยสองก้าน ปรกติใช้3ก้านในงานสั่งเติมน้ำ (หรือใช้สายไฟที่ปลายเชื่อมกับชิ้นสเตนเลสซีลสายไฟกันน้ำเข้าสายทองแดง)   ส่วนกล่องควบคุมจะเป็นตัวส่งไฟฟ้าที่มีขนาด5-24Vac ไปที่ก้านอิเล็กโทรดเพื่อวัดระดับน้ำและส่งการควบคุมการเปิดปิดปั๊มน้ำหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นออกมาให้ผู้ใช้งานเป็นรีเลย์เอาต่อไปใช้งานเอง เพื่อควบคุมการเติมน้ำ-ถ่ายน้ำ-ป้องกันน้ำขาดอันมีลักษณะการสั่งทำงานเหมือนสวิทช์ลูกลอย-

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

     ข้อดี คือมีความน่าเชื่อถือสูง สามารถควบคุม เช่นเติมน้ำในช่วงระดับน้ำแคบๆในแท๊งค์ทรงสูงในระยะ5-10เซนติเมตรก็ทำได้ คือมันมีความแม่นยำพอสมควร  แต่ถ้าเป็นน้ำลึกๆมากกว่า2เมตร มักไม่นิยมใช้ก้านอิเล็กโทรดมาตรฐานซึ่งยาวเพียงก้านละ1เมตรต่อเชื่อมกันด้วยน็อต อาจใช้สายไฟที่มีปลายหุ้มด้วยสเตนเลสแทนในการวัดระดับน้ำตั้งแต่2เมตรลงไป   มีอายุการใช้งานยาวนานถ้ายี่ห้อนั้นมีคุณภาพดีและต่อใช้งานอย่างถูกต้อง เช่นเมื่อต่อเข้ากับแม็กเนติกหรือรีเลย์กำลังนำมาเปิดปิดปั๊มน้ำ ถ้าเปิดปิดวันละ20ครั้งอายุการใช้งานยาวนานเป็น10ปีขึ้นไปเพราะไม่มีส่วนที่เป็นกลไกเคลื่อนไหวในน้ำ --

    ข้อด้อย คือ การใช้งานและติดตั้งต้องอาศัยการศึกษาและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อนจึงจะติดตั้งใช้งานได้ดี ซึ่งแต่ละยี่ห้อและแต่ละรุ่นก็มีความสามารถแตกต่างกัน

1. ลักษณะการทำงาน Feature

  • ออกแบบให้ใช้งานในแท็งค์น้ำ ถังเก็บน้ำ บ่อน้ำ อ่าง อ่างเก็บน้ำ บ่อบำบัดน้ำเสีย ทำงานวัดและคุมน้ำสองระดับสั่งผ่านรีเลย์(R)ภายในหนึ่งตัว  หรือทำงานวัดน้ำ1ระดับแบบส่งสัญาณออกทางรีเลย์(R)เพื่อแจ้งเตือนหรือทำงานอย่างอื่นตามแต่ผู้ออกแบบต้องการ
  • ไฟLEDสีเขียว แสดงว่าเครื่องมีไฟเลี้ยงUn 
  • ไฟLEDสีแดง  แสดงค้างแทนสถานะรีเลย์R กระพริบคือหน่วงเวลาแต่ยังไม่เปลี่ยนสถานะรีเลย์
มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

ภาพแสดงไฟLEDสีเขียวบ่งสถานะแหล่งจ่ายไฟเข้า ไฟLEDสีแดงบ่งสถานะการทำงานของรีเลย์ ปุ่มหมุนบนสุดเป็นปุ่มเลือกโหมดการทำงานวัดคุม2ระดับหรือ1ระดับ ปุ่มหมุนอันกลางเป็นปุ่มปรับความไวของน้ำ ปุ่มหมุนอันล่างเป็นการหน่วงเวลาเมื่อมีการใช้โหมดวัดน้ำ1ระดับ

  • สามารถต่อใช้กับก้านวัดระดับน้ำหรืออิเล็กโทรดมาตรฐานได้ทุกยี่ห้อทันที หรือใช้กับสายไฟหัวโพรบวัดน้ำ**(สายไฟที่มีหัวปลายสเตนเลสซึ่งทำเองได้และต้องมีวิธีการต่อสายไฟโพรบ**เหล่านี้ให้ถูกต้องจึงจะใช้งานได้)
มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

ภาพด้านซ้ายแสดงก้านอิเล็กโทรดมาตรฐานมักใช้ในงานอุตสาหกรรมซึ่งรูปซ้ายบนเป็นหัวใส่อิเล็กโทรดสเตนเลสแบบเคสพลาสติกสีดำซึ่งใช้ในแท็งค์ทั่วๆไป ภาพด้านซ้ายล่างแสดงหัวใส่อิเล็กโทรดชนิดเกลียวทองเหลือง(หรืออาจเป็นเกลียวสเตนเลสก็ได้)และมีก้านสเตนเลสซึ่งใช้ในหม้อต้มน้ำ พลาสติกสีขาวที่หุ้มระหว่างก้านและทองเหลืองคือเทฟล่อน  ก้านอิเล็กโทรดมาตรฐานส่วนใหญ่จะให้ผลที่ถูกต้องเกือบทุกเครื่องของรีเลย์วัดระดับน้ำต่างยี่ห้อเนื่องจากมีก้านอิเล็กโทรดที่เปลือยระยะห่างระหว่างก้านที่นำไฟฟ้าได้ไม่เกิน5เซนติเมตร
ภาพด้านขวาเป็นสายไฟที่ปลายเป็นหัวโพรบสเตนเลสซึ่งจะถูกจุ่มลงในแท็งค์น้ำซึ่งนิยมใช้งานตามบ้านการติดตั้งก็แค่ทิ้งสายไฟดังกล่าวที่มีความยาวต่างๆกันลงในน้ำเพื่อวัดระดับน้ำซึ่งติดตั้งง่ายแต่ต้องทำความเข้าใจว่าคอนโทรลแต่ละประเภทจะสามารถทำงานได้ถูกต้องตามต้องการหรือไม่  โดยปรกติถ้าจะให้ทุกเครื่อง(รีเลย์คุมระดับน้ำ)ทำงานได้ถูกต้องจะใช้ระดับละ1คู่ถ้าคุมน้ำ2ระดับจะใช้สายไฟวัด4หัวหรือ2คู่ ซึ่งเป็นที่ระยะห่างระหว่างระดับน้ำที่วัด  (minหรือmaxอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สายสีแดงหรือสีเหลือง)  และหัววัดอิเล็กโทรดร่วม (C เช่น สายสีขาว) ระยห่างที่นำไฟฟ้าได้ดีจะต้องห่างกันน้อยกว่าระยะ10เซนติเมตรในน้ำธรรมดาจะทำงานได้ทุกเครื่อง บางเครื่องสามารถห่างกันได้40เซนติเมตรถึง1เมตรเลยทีเดียว แต่สายไฟจะต้องไม่ชิดติดกัน

  • สามารถใช้แทนยี่ห้ออื่นๆในรุ่นทั่วๆไป มีขนาดเล็ก และมีประสิทธิภาพดีพอสมควร สามารถปรับความไวการนำไฟฟ้าของน้ำได้ จ่ายไฟในก้านวัดที่5โวลท์เอซี ขนาดกระแสไม่เกิน200ไมโครแอมป์ (รุ่นทั่วๆไปของยี่ห้ออื่นจะจ่ายไฟ8โวลท์เอซีไปที่หัวโพรป)  เมื่อใช้กับน้ำสะอาดทั่วไปความยาวสายไฟที่ต่อไปที่โพรบวัดหัวแท็งค์ไม่ควรยาวเกิน200เมตร
  • ต่อที่ Max Min C วัดคุมน้ำ2ระดับ โดย*Cต้องไม่ต่อกับกราวด์
  • ต่อที่ Max และ C วัดคุมน้ำ1ระดับ  โดย*Cต้องไม่ต่อกับกราวด์
มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

  • โหมดวัดและคุม 2 ช่วงระดับน้ำ (min-max  2 level control) วัดระดับน้ำ2ระดับ(ใช้ก้านอิเล็กโทรด3ก้าน โดยต่อสายไฟกับก้านวัดที่min max และC)  เพื่อเปรียบเทียบแล้วสั่งงาน ใน2ลักษณะ


1.  เติมน้ำอัตโนมัติ-เพื่มระดับน้ำในแท็งค์ (pump up2)   คือสามารถสั่งรีเลย์R ให้เติมน้ำเมื่อน้ำพร่อง และสามารถสั่งรีเลย์ให้หยุดเติมน้ำเมื่อน้ำเต็ม ให้หมุนโหมดไปที่up2  จะสามารถสั่งรีเลย์ขา14-11หรือ NO-com ให้ทำงานแจะและจากกันดังรูป

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

 รูปอนิเมชั่นแสดงการทำงานเติมน้ำอ้ตโนมัติของคอนโทรลเลอร์GEYA รุ่นGRL8-02 โหมด pump up2 โดยอาศัยการสั่งการจากรีเลย์ขาNOซึ่งเป็นโหมดที่มีลักษณะพิเศษต่างจากคอนโทรลโดยทั่วไปที่ใช้ขาNCในการสั่งการเติมน้ำ ซึ่งในกรณีถ้าต้องการระบบป้องกันที่ไม่ยอมให้เกิดน้ำล้นได้ การใช้ขาNOสั่งการจะไม่เกิดความผิดพลาดในกรณีที่คอนโทรลเลอร์เสียมันจะไม่สั่งให้รีเลย์ทำงานหรือไม่ให้มีการปั๊มน้ำเข้าจนล้นแท๊งค์ได้   picture copy right ,CC-NC by pui108diy


2.  ถ่ายน้ำอัตโนมัติ-สูบน้ำในแท็งค์ออกไปใช้ (pump down2) สามารถสั่งรีเลย์R ถ่ายน้ำหรือสูบน้ำออกไปได้เมื่อมีปริมาณน้ำในแท็งค์มากพอและสามารถสั่งงดสูบน้ำออกเมื่อน้ำมีระดับต่ำเกินไป  ให้หมุนโหมดไปที่down2 จะสามารถสั่งรีเลย์ขา14-11หรือ NO-com

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

 รูปอนิเมชั่นแสดงการอนุญาตให้สูบน้ำออกไปใช้อัตโนมัติแบบป้องกันปั๊มแห้งโดยอาศัยแหล่งสัญญาณจากภายนอกเช่นไทม์เมอร์ สั่งให้ปั๊มสูบน้ำหรือวาล์วไฟฟ้าจ่ายน้ำออกไปใช้ในการเกษตรได้ หรือปั๊มน้ำขึ้นแท็งค์ที่สูงได้ โดยการเติมน้ำในแท็งค์เพิ่มเป็นแบบวาล์วลูกลอย ซึ่งส่วนใหญ่จะต่อใช้งานในลักษณะนี้ , GEYA GRL8-02 โหมด pump down2, picture copy right ,CC-NC by pui108diy

--- ถ่ายน้ำทิ้งอัตโนมัติ หรือสูบน้ำไปทิ้งอัตโนมัติ ใช้กับแท็งค์พักขนาดเล็กเพื่อสะสมน้ำให้มีมากพอ ก่อนจะสั่งถ่ายทิ้งไปที่บ่อบำบัดน้ำเสียเมื่อน้ำถึงระดับแท็งค์ โดยจ่ายไฟจากแหล่งจ่ายเข้าไปรอที่รีเลย์11comก่อน จากนั้นสวิทช์14-11จะแจะกันทำงานทันทีถ้ามีน้ำมากพอและหน้าสวิทช์จะจากกันเมื่อน้ำต่ำ

--- การทำงานกี่งอัตโนมัติในการป้องกันน้ำขาดปั๊ม  มักใช้ในแท๊งค์น้ำระบายความร้อน เช่นแท็งค์ชิลเลอร์ และนำน้ำวนกลับเข้าถัง จะทำงานในลักษณะอนุญาตให้ปั๊มสูบออกไปใช้ถ้าน้ำไม่ต่ำกว่าระดับ ถ้าน้ำต่ำจะสั่งตู้คอนโทรลหยุดการทำงานปั๊มทันทีและมีไฟเตือน ซึ่งเป็นระบบป้องกันน้ำต่ำที่ต้องมาใช้คนเข้าเปิดเครื่องใหม่หลังจากตรวจสอบความผิดพลาดต่างๆเช่นท่อแตกระบบเติมน้ำเข้าแท็งค์เสีย น้ำประปาไม่ไหล เป็นต้น

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

ภาพแสดงไดอะแกรมการทำงานตามลำดับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น ในการวัดและควบคุมน้ำ2ระดับ GEYA GRL8-02  แบ่งเป็นเฉพาะ2โหมดที่ควบคุมรีเลย์เฉพาะNO-comโดยเฉพาะ  โดยมีโหมด up2.โหมดเติมน้ำ-pump up  และ down2.โหมดสูบน้ำออก-pump downหรือถ่ายน้ำทิ้งหรือป้องกันปั๊มแห้งขณะสูบออกไปใช้ การต่อคอนแท็กที่นำไปใช้ส่วนใหญ่จะใช้11-14 หรือ NO-com ถ้าต้องการต่อแบบกลับไปใช้NCก็ทำได้เช่นกัน


สามารถต่อสองเครื่องเพื่อทำงานสองอย่างในแท๊งค์เดียวกันได้ คือมีลักษณะเติมน้ำเมื่อพร่องหยุดเติมน้ำเมื่อเต็ม สั่งให้สูบเอาไปใช้ได้หรือสั่งหยุดสูบเอาไปใช้เมื่อน้ำเติมเข้าแท็งค์ไม่ทัน เป็นต้น สามารถนำก้านอิเล็กโทรด2ชุด6ก้าน รวมใช้งานเป็นอีเล็กโทรดชุดเดียว5ก้านได้โดยต่อCรวมโดยที่สัญญาณไม่กวนกันได้

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

  • โหมดวัดน้ำ1ระดับ  (1 level control ) จะส่งสัญญาณวัดระดับน้ำออกทางรีเลย์แบบหน่วงเวลา ใน2ลักษณะคือ ให้รีเลย์ทำงานเมื่อน้ำขึ้นถึงระดับหรือทำงานเมื่อน้ำลดลงจากระดับ โดยรีเลย์จะไม่ทำงานทันทีแต่จะมีการหน่วงเวลา0.1-10วินาทีก่อน    โดยปรกติใช้ในงานให้สัญญาณแจ้งเตือนระดับน้ำ1ระดับ จึงไม่สามารถนำไปใช้เติมน้ำหรือถ่ายน้ำได้โดยตรง ต้องออกแบบวงจรเพิ่ม  โดยสามารถนำสัญญาณระดับไปต่อใช้งานในระบบควบคุมอัตโนมัติผ่านไมโครคอนโทรลเลอร์ PLC วงจรไทม์เมอร์ หรือวงจรควบคุมอื่นๆได้  โดยอาจต่อพ่วงกันหลายๆเครื่องเพื่อวัดระดับน้ำหลายระดับได้ตามต้องการ

การต่อสายไฟ ให้ต่อก้านระดับที่ต้องการวัดที่ MAX และก้านอิเล็กโทรดร่วมCซึ่งก้านจะยาวลึกลงไปในน้ำ เมื่อน้ำลดหรือน้ำขึ้นถึงmaxมันจะสั่งรีเลย์ทำงานโดยมีระบบเวลาหน่วง0.1-10วินาที การหน่วงเวลาถ้าระดับน้ำมีเปลี่ยนแปลงจากmaxเครื่องจะรีเซทการนับเวลาและเริ่มนับเวลาใหม่ทุกครั้งถ้าน้ำยังไม่ได้ระดับ ขณะหน่วงเวลาจะมีไฟรีเลย์กระพริบ แต่สถานะของรีเลย์จะยังไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อยังไม่ถึงเวลา เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำได้ถึงระดับหรือลดระดับจริงไม่ใช่การกระเพื่อมขึ้นลงของน้ำ เช่นคลองแถวนี้มีเรือวิ่งผ่านมีคลื่นขึ้นลงตลอดเวลาเป็นต้น   มีโหมดวัดหน่วงเวลา 4แบบ  (เป็นการหน่วงเวลาสวิทช์รีเลย์ผ่านคอนแท็ก 14no-11com , normally opened - Delay function) ดังนี้

เตือนน้ำลงต่ำให้ช้าลง

1 .  น้ำลงต่ำ->หน่วงเวลาทำงาน     น้ำขึ้นสูง->หยุด
     (   Low level ->ON-delay   & High level ->off
        หมุนไปที่ up-1ton )
เมื่อน้ำลดลงต่ำกว่าก้านMAX  จะหน่วงเวลาก่อนรีเลย์ทำงาน1-10วินาที หลังจากรีเลย์ทำงานแล้วพอน้ำขึ้นถึงMAXอีกครั้งรีเลย์จะดับทันที (รีเลย์จะทำงานตอนน้ำลงแต่ไม่ทำทันทีรอ0.1-10วิ พอน้ำขึ้นถึงจะหยุดทันที)


มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

เตือนน้ำลงต่ำทันที

2 .  น้ำลงต่ำ->ทำงาน       น้ำขึ้นสูง->หน่วงเวลาหยุด
    ( Low level ->on     & High level ->OFF-delay
        หมุนไปที่ up-1toff)
เมื่อน้ำลดระดับลงต่ำกว่าก้านMAX รีเลย์จะทำงานทันที แต่ถ้าน้ำขึ้นถึงก้านMaxอีกครั้งเครื่องจะหน่วงเวลาเพื่อจะหยุดการทำงานของรีเลย์0.1-10วินาที จากนั้นจึงหยุดการทำงาน (รีเลย์ทำงานตอนน้ำลงทันที แต่พอน้ำขึ้นจะหน่วง0.1-10วิก่อนหยุด)

เตือนน้ำขึ้นสูงให้ช้าลง

3 .  น้ำขึ้นสูง->หน่วงเวลาทำงาน       น้ำลงต่ำ->หยุด
    ( High level ->ON-delay          & Low level ->off
        หมุนไปที่ down-1ton )
เมื่อน้ำขึ้นถึงก้านMaxจะหน่วงเวลา0.1-10วินาที รีเลย์จึงจะทำงานและทำไปเรื่อยๆ เมื่อน้ำลดลงต่ำกว่าระดับMacรีเลย์จะหยุดทำงานทันที (รีเลย์ทำงานตอนน้ำขึ้นแต่ไม่ทำทันทีรอ0.1-10วิจึงทำ พอน้ำลดจะหยุดทำทันที)

เตือนน้ำขึ้นสูงทันที

4 .  น้ำขึ้นสูง->ทำงาน       น้ำต่ำ->หน่วงเวลาหยุด
     ( High level ->on      & low level ->OFF-delay
        หมุนไปที่ down-1toff )
เมื่อน้ำขึ้นถึงระดับMax รีเลย์จะทำงานทันทีและทำไปเรื่อยๆ   แต่เมื่อน้ำลดต่ำกว่าก้านMax รีเลย์จะหน่วงเวลาโดยยังทำงานต่อไปอีก0.1-10วินาที   (รีเลย์ทำงานตอนน้ำขึ้นทันที แต่พอน้ำลงจะหน่วงเวลาเพื่อหยุดการทำงาน1-10วินาที)

ตัวอย่างการต่อวงจร เตือนน้ำ2ระดับ

  • ไฟเลี้ยงเข้าสามารถใช้ไฟ ดีซีเอซี24V -240Vac 50hz หรือไฟบ้านได้ (24Vac ,24Vdc ,220vac, 240vac เป็นต้น ไฟตกเล็กน้อยไม่เกิน15%ก็ยังทำงานได้)
  • ระบบป้องกันไฟรั่วจากไฟบ้าน220Vac ลงน้ำ ภายในใช้หม้อแปลงความถี่สูงแยกขดและวงจรขาดจากกันจากแหล่งจ่ายไฟเข้า ไม่มีอุปกรณ์ใดๆต่อคร่อมระหว่าขดเข้าและขดออกของหม้อแปลงจึงป้องกันไฟรั่วจากไฟบ้านลงน้ำได้
  • สามารถปรับความไวของการวัดในน้ำได้ 5-100Kohm โดยเครื่องจะจ่ายไฟไปที่โพรบหรือก้านวัดไม่เกิน5Vac ปริมาณกระแสไฟไม่เกิน300ไมโครแอมป์ คือสามารถใช้กับน้ำประปา น้ำคลอง หรือน้ำสกปรกอื่นๆ น้ำที่ผสมอีเล็กโตรไลท์(น้ำปุ๋ย, น้ำเกลือ, กรดอ่อน)จะมีความไวสูงเพราะนำไฟฟ้าได้ดีจึงอาจต้องปรับค่าความไวให้ต่ำลง   โดยน้ำทั่วไปเช่นน้ำประปามีสิ่งเจือปนต่ำจะนำไฟฟ้าได้น้อยกว่าน้ำที่มีสิ่งเจือปนสูง ระยะการวัดระหว่างอิเล็กโทรดถ้าปรับที่50kohmจะวัดได้ในระยะไม่เกิน20เซนติเมตร น้ำประปาที่100kohmจะวัดได้ในระยะไม่เกิน40เซนติเมตร ส่วนน้ำประปาที่5kohmจะไม่เสถียรไม่สามารถทำงานได้     ****ไม่สามารถปรับให้ใช้กับน้ำกลั่นได้ **** (เนื่องจากน้ำกลั่นมีการนำไฟฟ้าที่ต่ำมากต้องใช้สัญญาณจากหม้อแปลงไฟ24vacจึงจะทำงานได้)

2. คุณสมบัติ Specification

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

  • การติดตั้ง         : บนรางดิน35มิล  DIN rail 35mm  (option หรือใช้เกลียวปล่อยไม่เกินเบอร์7ติดตั้งบนแง่งล็อกรางดินบนล่างก็ได้ แต่ต้องงัดให้แง่งล็อก*ที่หลบในอยู่ให้ออกมาเป็นปีกครีบบนและล่างแทน *มีกลไกล็อกอย่าฝืนงัดออกมาจะหัก)
  • ขนาด ก*ย*ส      :18*90*64 mm
  • ฟังก์ชั่น            : วัดคุมน้ำ2ระดับ , วัดน้ำ1ระดับ
  • ใช้วัดกับของเหลวที่เป็นน้ำประปาหรือน้ำที่มีสิ่งเจือปนต่างๆ
  • การต่อไฟเข้า-ไฟเลี้ยงเข้า : ใส่ที่ขั้วA1-A2
  • แรงดันไฟเลี้ยง     : DCหรือAC 24V  - 240Vac ไฟเลี้ยงเข้าสามารถใช้ไฟ24Vdc , 24Vac  ,220-240Vac    มีค่าความผิดเพี้ยนแรงดันไฟฟ้าที่ยังใช้งานได้อยู่ที่ -15%ถึง+10%  หม้อแปลงสวิทชิ่งภายในมีสวิทชิ่งโหมดอยู่2โหมดคือ24VDC และ250Vac
  • กำลังไฟฟ้า-ไฟเลี้ยงAC-DC : 2VA max หรือไม่เกิน2วัตต์ ไฟ24VDCใช้กระแสไฟไม่เกิน80mA
  • การปรับค่าความไว Sensitivity     :  ปรับค่าความต้านทานของน้ำ 5kohm-100kohm (โดยทั่วไปตั้งไว้ที่40-50kohm)
  • ปรับค่าการหน่วงเวลาบอกระดับน้ำ1ระดับ  : ปรับได้ 0.5-10วินาที
  • แรงดันวัดในก้านวัดอิเล็กโทรด : 5Vac max (วัดจริงได้ 1.5Vdc, 4.5Vac ,5Vdc+ac RMS  ,ที่13Hz)
  • กระแสที่จ่ายสำหรับวัดหัวโพรบ : น้อยกว่า0.1mAเอซี (วัดจริงได้300ไมโครแอมป์dc+ac Rms )
  • Max capacity length :ความยาวสายไฟที่ต่อจากหัวโพรบวัด ไม่เกิน800เมตรที่ความไวที่ตั้ง25kohm   และไม่เกิน200เมตรที่ความไวที่ตั้ง100kohm   (ขนาดสายไฟที่ลากไปยังหัววัด สายไฟมอก. 0.75-2.5sqmm )
  • Max capacitance of probe cable  : ค่าความสามารถในการเก็บประจุของสายไฟและหัววัด ต้องมีค่าไม่เกิน400nFที่ความไว25kom  และต้องมีค่าไม่เกิน100nFที่ความไว100kohm   (ค่าการเก็บประจุนี้โดยทั่วไปถ้าใช้สายไฟมาตรฐานมอก.จะดูที่ความหนาของฉนวน ระยะห่างของทองแดงในฉนวน2เส้น ขนาดของทองแดงในสายไฟ และพื้นที่ที่สายไฟสองเส้นลากยาวและชิดกันไป ซึ่งสายวัดถ้าใช้ตามความยาวที่ระบุจะไม่เกินความจุ ถ้าต้องการลากสายไฟยาวเป็นกิโลเมตรต้องคำนวนและติดตั้งสายไฟแบบต่างๆกันไป
  • Time response : 400ms max (เวลาสั่งโต้ตอบให้รีเลย์ทำงาน)
  • Time delay power on : 1.5 วินาที (หน่วงเวลาก่อนทำงานหลังเปิดไฟเข้า1.5วินาที)
  • ค่าความผิดพลาดของปุ่มหมุนเลือกการทำงาน  : +-5%ของกลไกปุ่มหมุน
  • อุณหภูมิการทำงาน : -20 ถึง 55 C  (การติดตั้งถ้ามีช่องไฟเล็กน้อยให้ระบายความร้อนจะทำงานได้ทนทานกว่าติดชิดกันไป)
  • รีเลย์ภายใน12Vdc ยี่ห้อ Hongfa รุ่น HF118F012-1ZS1 : 1xSPDT  1คอนแทกNO-com-nc ขนาด10A 250Vac/30Vdc  โหลดประเภทAC1(โหลดฮีตเตอร์) ตัดต่อไฟไม่เกิน 2500VAหรือ300W  หน้าคอนแทกชนิดAgNi  (**โดยทั่วไปใช้ตัดต่อสัญญาณสั่งรีเลย์หรือแม็กเนติก ไม่ควรใช้ต่อกับปั๊มน้ำหรือมอเตอร์ )
  • อายุรีเลย์   : 10,000,000 ครั้งกลไก และทางไฟฟ้าที่10A220Vโหลดฮีตเตอร์จะได้ 100,000ครั้ง (ตามดาต้าชีทของรีเลย์) โหลดประเภทไม่เกิน1/2hpได้5พันครั้ง**(UL)

---

---

---

---

---

---

---

---

---

3. คู่มือภาษาอังกฤษ สแกน

4. การติดตั้งใช้งาน   (กำลังเขียน 31/1/64) 

4.1  การติดตั้งใช้งานอิเล็กโทรดวัดคุมระดับน้ำ --

       การติดตั้งอิเล็กโทรดมาตรฐานหรือติดตั้งสายไฟอิเล็กโทรดที่ทำเอง สำหรับวัดคุมระดับน้ำทั่วๆไป นั้นจะมีหลักการดังนี้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับคอนโทรลเกือบทุกยี่ห้อ --

        โดยหลักการติดตั้งอิเล็กโทรดมาตรฐานจะอิงยี่ห้อออมรอนเป็นหลักเนื่องจากมีดาต้าชีทที่มีความละเอียดดีสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากรุ่นสินค้า เช่น Electrode Holder รุ่น PS-3S  หรือรุ่น PS-5S ซึ่งมีรายละเอียดมากมาหาอ่านได้ในpdf ของ OMRON  และคอนโทรลคุมระดับน้ำเดี่ยวๆที่มักใช้กัน จะเป็นรุ่น 61F-G  ซึ่งมีวิธีการติดตั้งและใช้งานอย่างถูกต้องจะอยู่ในคู่มือของออมรอน

      ส่วนการติดตั้งสายไฟอิเล็กโทรด ผมได้เรียบเรียงขึ้นมาเพื่อใช้แก้ปัญหาการวัดคุมระดับน้ำต่างๆ โดยอาศัยการแก้ปัญหาปรับใช้เทียบเคียงค่าจากชุดก้านอิเล็กโทรดมาตรฐานนั่นเองซึ่งมีข้อควรระวังต่างๆมากกว่าเดิมที่ต้องทำความเข้าใจก่อนสร้างเองแล้วทดสอบติดตั้ง โดยเฉพาะงานวัดคุมน้ำลึกซึ่งไม่สามารถใช้แบบก้านโลหะมาตรฐานได้

       สรุปอุปกรณ์และวิธีการติดตั้งอิเล็กโทรดมาตรฐานเป็นรูปวาดดังข้างล่างนะครับ จะได้ซื้อไปใช้งานและติดตั้งได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผมจะเขียนวิธีต่อวงจรของ 61F-G ในบทความอื่นๆต่อไป --

 ส่วนประกอบชุดอิเล็กโทรดมาตรฐาน -

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

ชุดอิเล็กโทรดมาตรฐาน 3ก้าน หรือ5ก้าน ซึ่งมีขายทั่วไปอาจไม่จำเป็นต้องซื้อยี่ห้อออรอนก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะใกล้เคียงกัน ประกอบด้วย --

- หัวยึดก้าน Electrode Holder ซึ่งจะทำจากพลาสติกสีดำ   และอุณหภูมิใช้งานไม่เกิน70 องศาเซลเซียส ปลายสำหรับยึดจะเป็นเกลียวท่อขนาด2นิ้วแบบตรงไม่มีลดมุมเหมือนเกลียวประปา โดยสามารถแยกชิ้นประกอบกันได้ดังรูป(ยี่ห้อออมรอน)  มี2รุ่นคือ PS-3S และ PS-5S ,

- ก้านอิเล็กโทรด Electrode rod ทำจากสเตนเลส 304 (SUS 304) ยาวมาตรฐานก้านละ1เมตร ที่ขายกันตามท้องตลาด ขนาดก้านเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ5.5 มิล (7/32 นิ้วตามไซส์ฝรั่ง) และเกลียวจะถูกกลึงและรีดให้มีขนาดเกลียวมิลเป็น M6x1.0p ซึ่งก็คือเกลียวเดียวกับน็อต M6  ซึ่งถ้าเราต้องการสร้างก้านสเตนเลสยาวๆมากกว่า1เมตรเองอาจจะทำได้ยาก ตามท้องตลาดไทยส่วนใหญ่มีขายแท่งสเตนเลสเป็นหน่วยนิ้ว คือ 7/32 และ ใหญ่กว่าก็ 1/4 นิ้วหรือ6.35 มิล ซึ่งต้องเอาไปกลึงและต๊าปเกลียวเอง ถ้าซื้อไซส์ 7/32 มาต๊าปทั่วไปก็จะไม่เต็มเกลียว ส่วนหน่วยมิลน่าจะหายากสักหน่อย  ,

- คอนเน็ตติ้งนัท Connecting Nut  คือตัวต่อก้านให้ยาวขึ้นอีก1ท่อนเป็นไม่เกิน2เมตร เป็นนัททรงหกเหลี่ยมยาวทำจากสเตนเลส เกลียวM6x1.0p  ,สุดท้ายคือ

- ตัวแยกก้านกันช็อต Separator ทำจากเซรามิก หรือพลาสติก มีแบบ3รู และ5รู ส่วน2รูจะเป็นยี่ห้ออื่น ใช้สำหรับติดตั้งแยกก้านเวลาเราต่อก้านยาวๆเกิน1ท่อน  มันจะเป็นก้อนและมีรูหลวมมากกว่า6มิล ซึ่งเวลาติดตั้งต้องหาอะไรมารัดที่ก้านเอาเองกันมันรูดลงมาเช่นใช้เคบิ้ลไทเป็นต้น ซึ่งตัวแยกกันช็อตจะสามารถทำงานได้ดีเฉพาะในน้ำสะอาด หรือน้ำที่มีความนำไฟฟ้าใกล้เคียงกับน้ำสะอาดและไม่มีลักษณะของโคลนหรือเมือกตะไคร่น้ำ ซึ่งในน้ำสะอาดseparatorจะไม่เป็นสื่อช็อตกันเมื่อน้ำมีระดับต่ำลง แต่ถ้าน้ำมีลักษณะโคลนหรือเมือกไม่ควรใช้separator หรือต้องให้มันอยู่เหนือน้ำหรือทำอิเล็กโทรดเฉพาะทางป้องกันไม่ให้มีของเหลวสามารถช็อตอิเล็กโทรดกันได้เวลาน้ำลง --

การยึดชุดก้านอิเล็กโทรดมาตรฐานในบ่อเปิดหรือแท๊งปิด --

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

        การยึดตัวหัวยึดก้านนั้นต้องดัดแปลงหรือเลือกใช้สิ่งที่มีขายตามท้องตลาดไทยเอาเอง ตามบ่อปูนเปิดซึ่งอาจจะต้องทำแผ่นยึดเจาะรูขนาด65mmและประกอบกับBacking nut ซึ่งอาจเป็นพวกฟิ้ตติ้งpvcสีฟ้าๆ หรือPP หรือ HDPE หรือเกลียวสเตนเลส อะไรก็ได้ที่มีเกลียวตัวเมียขนาด2นิ้วมาดัดแปลงใส่จึงจะสามารถล็อกหรือยึดหัวยึดนี้ได้   ถ้าเป็นพวกบ่อปูนมีฝาปิดใช้อาจใช้socket ต่อตรงที่เป็น HDPE หรือ สเตนเลส ขนาด2นิ้ว(2นิ้วเกลียวประปา ศก.effective thread=58.135 mm  ไม่ใช่2นิ้วจากไม้บรรทัดวัด)โดยต้องฝังลงไปตอนเทปูนก็ได้   ส่วนในงานถังสเตนเลสจะต้องให้ช่างเชื่อมซ็อกเก็ต2นิ้วบนถังก่อน จะเห็นได้ว่าการติดตั้งตัวยึดหัวอิเล็กโทรดต้องเตรียมงานสร้างก่อนการติดตั้ง ตามบ้านทั่วไปที่ใช้ถังน้ำสำรองสเตนเลสใหญ่ๆหรือพลาสติกจะติดตั้งในภายหลังค่อนข้างยากลำบากไม่มีรูหรือเกลียวให้ยึด มีรูแค่พอใส่สวิทช์ลูกลอยทุ่นและ สวิทช์ลูกลอยแบบตุ้มพอให้สายไฟลอดได้เท่านั้น มันจึงไม่เหมาะกับการใช้งานตามบ้านหรือถังเก็บน้ำสำเร็จ  จึงมีการพัฒนาสายวัดอิเล็กโทรดแบบจุ่มมาใช้งานแทน ซึ่งอาจจะใช้งานได้หลากหลายกว่า--

การใช้ตัวแยกก้านกันช็อต และท่อป้องกันเศษในน้ำเสียทั่วไป --

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์


      ระยะการติดตั้งตัวแยกก้านหรือseparatorในรูปบน เป็นการแนะนำจากผู้เขียนเท่านั้นโดยเฉพาะตัวเลขA+Bเป็นตัวเลขที่ผมวัดและเทียบเคียงให้เห็นภาพเท่านั้น  ก้านที่ยาวที่สุดจะเป็นก้านคอมม่อนคือทำหน้าที่ตรวจเช็กสัญญาณของก้านสั้นที่เหลือ     **ส่วนในคู่มือของออมรอนจะมีเพียงระยะที่อิเล็กโทรดคอมม่อนที่จะต้องยาวกว่าตัวอื่นๆอยู่อย่างน้อย5เซนเติเมตรตามคู่มือที่เขาแนะนำเท่านั้น  และ ถ้าบริเวณที่ติดตั้งอิเล็กโทรดมาตรฐานนั้น ในน้ำมีขยะหรือคราบน้ำมันจะทำให้คอนโทรลรับสัญญาณทำงานผิดพลาด  ในคู่มือยังแนะนำให้ทำครอบกั้นทำจากท่อ4นิ้วมาติดตั้งดังในรูป มีช่องเจาะรูอยู่ด้านบนด้วยไม่ให้อากาศอั้นในท่อ เป็นต้น --

       ในงานบ่อน้ำลึก3-20เมตร ชุดก้านอิเล็กโทรดมาตรฐานจะไม่สามารถติดตั้งใช้งานได้ง่ายนัก จึงมีการใช้สายไฟปลายอิเล็กโทรดแทน ซึ่งในคู่มือของออมรอนก็มีพาร์ทขายแต่เข้าใจว่าในเมืองไทยน่าจะหายาก   ซึ่งในกล่องคอนโทรลบางยี่ห้อก็มีขายพร้อมชุดสายวัดคุมปลายสเตนเลสด้วย    แต่เมื่อซื้อเฉพาะสายวัดมาใช้กับคอนโทรลอีกยี่ห้อนึงกลับใช้งานไม่ได้ อาจเป็นเพราะเราไม่เข้าใจหลักการวัดของคอนโทรลยี่ห้อนั้นๆ

     ซึ่งในที่นี้ผมจะแนะนำการสร้างและติดตั้งสายไฟปลายอิเล็กโทรดแบบจุ่มด้วยตัวเองอย่างง่ายๆ  ที่สามารถใช้งานได้(เกือบ)ทุกคอนโทรลเลอร์ โดยต้องเข้าใจหลักการเทียบเคียงกับชุดอิเล็กโทรดมาตรฐาน นำมาปรับปรุงใช้งานเฉพาะดังนี้ --

หลักคิดในการสร้างสายไฟปลายอิเล็กโทรด --

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

  ระยะห่างการส่งสัญญาณวัดในน้ำ --

      1.  สามารถใช้ separatorที่สร้างเองหรือตัวแยกกันสายไฟแจะกัน**เฉพาะในน้ำสะอาดไม่มีลักษณะของโคลนหรือเมือก ซึ่งเมือช่วงเวลาน้ำลงต่ำ น้ำจะไม่สะสมตามสายไฟและตัวแยก ทำให้ไฟฟ้าวิ่งจากขั้วด้านนึงไปที่ตัวแยกและกลับไปช็อตอีกขั้วของสายไฟได้ โดยต้องทดสอบน้ำที่จะวัดกับสายวัด ว่าคอนโทรลทำงานได้ถูกต้องหรือไม่

   2.   คอนโทรลแต่ละยี่ห้อที่ใช้อิเล็กโทรดแบบสายไฟจุ่ม มีระยะห่างของการส่งและรับสัญญาณไม่เท่ากัน โดยทั่วไปอยู่ที่ไม่เกิน30-40เซนติเมตรหรือน้อยกว่าในน้ำสะอาด ระยะดังกล่าวคือระยะปลายขั้วจุ่มminหรือmaxอย่างใดอย่างหนึ่งกับอิเล็กโทรดร่วมC  ซึ่งปลายโลหะที่นำไฟฟ้าทั้งสองควรห่างกันไม่เกิน5-10เซนติเมตร จะทำงานได้อย่างถูกต้องเกือบทุกคอนโทรล   **บางยี่ห้อคอนโทรลมีระยะห่างการรับส่งสัญญาณระหว่างสองขั้วดังกล่าวในน้ำถึง1-1.5เมตร

   3.   ปลายอิเล็กโทรดชนิดสายไฟจุ่ม สามารถสร้างด้วยตนเองได้ ควรเลือกใช้วัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อนแต่นำไฟฟ้าได้ดี ไม่ต้องดูแลมาก (**แนะนำเป็นลวดหรือน็อตสเตนเลส304 316** )  มายึดติดกับสายไฟ ด้วยห้วย้ำสายเช่นหางปลากลม หรือสลิปต่อตรง   โดยใช้กาวหุ้มสายไฟและโลหะย้ำสายไฟ ทำให้กันน้ำไม่ให้น้ำเข้าสายไฟทองแดงฝอย  (**แนะนำเป็นกาวซิลิโคน**)  เหลือแต่เพียงปลายสเตนเลสโผล่ออกมาเท่านั้น เพื่อเอาไว้เป็นตัวรับส่งสัญญาณในน้ำ  --

    สายไฟขนาด0.75-1สแควร์มิล ควรใช้สายไฟอ่อน ชนิดTHWฝอย(VSFเดิม)  หรือสายVCT   สายแข็งTHWหรือVAFก็ใช้งานได้แต่ย้ำสายไฟกับหัวย้ำสายต้องทำให้ดี   การต่อสายไฟที่สั้นไปในน้ำต้องมีการซีลจุดเชื่อมด้วยกาวหรือท่อหดกันน้ำด้วย  วัสดุอิเล็กโทรดสเตนเลส ถ้าหาไม่ได้ง่าย อาจจะใช้อลูมิเนียม หรือปลายสายไฟแข็งเปลือยก็ได้ แต่ต้องหมั่นตรวจเช็กสภาพและทำความสะอาดคราบสกปรกยังให้นำไฟฟ้าได้ดีอยู่ตลอดการใช้งาน ถ้ามีการเก็บสายไฟหรือมีการเคลื่อนที่บ่อยๆควรตรวจสภาพฉนวนก่อนใช้งาน ---

---

หลักคิดของการใช้ตัวแยกกันช็อตในน้ำสะอาด  ตัวอย่างรูปแบบสายไฟอิเล็กโทรดใช้น้ำตื้น2เมตร และน้ำลึก20เมตร   --

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

     ด้านบนแสดงเพียงแนะนำการใช้งานตัวแยกเท่านั้น เราสามารถทำเป็นอย่างอื่นให้ง่ายกว่านี้ก็ได้   รูปมุมขวาบนแสดงว่าไม่ควรใช้นั้นถ้าเรามีกำสายไฟปลายอิเล็กโทรด4เส้นถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำลดลงนั้นน้ำอาจจะย้อนขี้นสายไฟไปช็อตกันระหว่างอิเล็กโทรดได้เนื่องจากแรงดูดในลักษณะแรงตึงผิวสะสมตามช่องว่างสายไฟ วิธีแก้ก็เพียงแค่เราเอาอะไรไปแยกให้ปลายอิเล็กโทรดสายไฟสีแดงออกห่างจากกำสายไฟก็ใช้งานได้แล้ว เช่นเอาอะไรมัดปลายขั้วให้ห่างออกจากกำสายไฟเป็นต้น  ---

กรณีน้ำโคลนมีเมือกสกปรก การใช้ตัวแยกต้องอยู่เหนือของเหลว

มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

    กรณีน้ำ ที่มีลักษณะ มีเมือกหรือโคลนหรือน้ำมีความนำไฟฟ้าสูง น้ำกรดอ่อน หรือด่างอ่อน น้ำเกลือ น้ำทะเล ของเหลวพวกนี้อาจจะต้องทำสายไฟจุ่มแยกกันคนละสายในแนวดิ่งสายไฟแต่ละสายจะอยู่ห่างกัน10-20 เซนติเมตรโดยที่เส้นคอมม่อนควรอยู่ตรงกลาง และไม่ควรใช้ตัวแยกสายSeparator จุ่มลงในของเหลว เพราะน้ำทีอยู่ในเมือกหรือโคลนที่เกาะตามสายไฟอาจวิ่งลัดข้ามตัวแยกสายได้ อาจทำหลักยึดอยู่บนเหนือโคลนแล้วใช้แท่งโลหะห้อยลงล่างเป็นอิเล็กโทรดก็ได้หรือผูกสายไฟตามหลักที่เราสร้างห้อยหัวลงก็ได้ แต่หลักยึดไม่ควรใช้แบบปักลงโคลน3แท่งมันอาจจะช็อต3แท่งตลอดเวลา---

---

---

---

---

---

---

---

---

---

---

---

---

---

---

---

---

5. ตัวอย่างการต่อไฟใช้งาน Wiring example

---

---

---

---

---

       เนื่องจากต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ......นำไปต่อใช้งานไฟบ้าน220VAC ผู้ที่มีความชำนาญด้านช่างไฟฟ้ามาก่อนไม่มีปัญหา แต่ผู้ที่ไม่เคยต่อปลั๊กไฟ ต่อหลอดไฟใช้งาน ซึ่งเป็นพื้นฐานไฟฟ้าระดับมัธยมต้นมาก่อนจะน่าเป็นห่วงมาก อันตรายจากไฟฟ้าดูด ไฟช็อต ไฟเกิน ที่เป็นอันตรายต่อคนและทรัพย์สินจึงไม่แนะนำให้ทำงานประเภทนี้สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องช่างไฟในหัวมาก่อน

       แต่ถ้าต้องการจะเรียนรู้ โดยค่อยๆเรียนรู้ไปจากพื้นฐานจริงๆ ต้องรู้ไฟฟ้าพื้นฐานทั่วไปในบ้านให้เข้าใจก่อน และต้องเคยลงมือปฏิบัติงานทั้งต่อปลั๊ก ต่อหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ใช้งาน โดยต้องทำความเข้าใจถึงอุปกรณ์ตัดตอนไฟประเภทต่างๆ รวมถึงเข้าใจอันตรายและความรุนแรงจากไฟดูดก่อน จึงค่อยแนะนำให้มาสนใจงานประเภทนี้

   หาความรู้พื้นฐานไฟฟ้าบ้านก่อนนะครับที่ข้างล่างเลย

       อย่างไรก็ตามผมจะเขียน เรื่อง วงจรไฟของ.....แยกออกไปต่างหาก หนักไปทางบทความออกไปทางไฟฟ้าโรงงานแต่จะนำไปประยุกต์ใช้ในบ้านเรือนเกษตร ไร่ นา สวน ซึ่งจะเขียนให้ละเอียดและอธิบายวิธีการเดินสายไฟคอนโทรลอย่างถูกต้องปลอดภัย และสมความตั้งใจในการใช้งานประเภทต่างๆ เพียงแค่มีความรู้เรื่องไฟฟ้าพื้นฐานในบ้าน และรู้จักอุปกรณ์ตัดตอนไฟต่างๆ รู้จักรีเลย์ คอนแท็กเตอร์  ก็สามารถต่อวงจรไฟประเภทนี้ได้อย่างสบาย เพราะแต่ละที่แต่ละจุดความต้องการในงานจริงๆแตกต่างกันออกไปจึงไม่มีสูตรตายตัว

ต่อไปนี้เป็นแนวทางการต่อวงจรควบคุม กับ ........ ใช่ครับเอาว่าพอเป็นแนวทางเท่านั้น

ภาพการ์ตูนแสดงตัวอย่างการลากสายไฟ ไปยังตู้คอนโทรลขนาดเล็ก จาก LNG ตู้เมน ปลั๊ก --ลิขสิทธิ์ภาพถูกต้อง ท่านสามารถนำไปใช้งานได้ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับการค้า โดยต้องระบุว่า CC-NC by pui108diystore