วัยหมดประจําเดือนของเพศหญิงอยู่ในช่วงวัยใด

              โรคของหญิงวัยหมดประจำเดือน Menopausal Syndrome ลักษณะทั่วไป โรคของหญิงวัยหมดประจำเดือน มักพบในผู้หญิงที่ใกล้ประจำเดือนหมด หรือหมดไปแล้ว (อายุประมาณ 45-55 ปี) ผู้หญิงในวัยนี้ประมาณ 25% จะไม่มีอาการอะไรทั้งสิ้น ประมาณ 50% อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย และอีก 25% จะมีอาการไม่สบายต่าง ๆ


ลักษณะทั่วไป             

โรคของหญิงวัยหมดประจำเดือน มักพบในผู้หญิงที่ใกล้ประจำเดือนหมด หรือหมดไปแล้ว (อายุประมาณ 45-55 ปี) ผู้หญิงในวัยนี้ประมาณ 25% จะไม่มีอาการอะไรทั้งสิ้น ประมาณ 50% อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย และอีก 25% จะมีอาการไม่สบายต่าง ๆ


สาเหตุ
มีสาเหตุมาจากการลดลงของฮอร์โมน เอสโตรเจนในร่างกายร่วมกับความแปรปรวนทางด้านจิตใจและอารมณ์


อาการ
ก่อนประจำเดือนจะหมดอย่างถาวร มักมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอหรือประจำเดือนมาน้อย แล้วต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการร้อนซู่ซ่าตามผิวกาย เช่น บริเวณหน้าอก คอ และใบหน้า มีเหงื่อออก ใจสั่น ปวดตามข้อ ปวดศีรษะ บางคนอาจมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย ขี้วิตกกังวล ซึมเศร้า ไม่มีสมาธิและนอนไม่หลับ อาการอาจเป็นอยู่เพียง 2-3 สัปดาห์ หรือนานที่สุดถึง 5 ปี (เฉลี่ยประมาณ 2-3 ปี) แล้วจะหายไปได้เอง


อาการแทรกซ้อน

           เยื่อบุช่องคลอดบางและแห้ง ผิวหนังบาง และอาจมีภาวะกระดูกพรุนหรือกระดูกผุ (Osteoporosis) และย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ อาจมีการแตกหักของกระดูกง่ายการรักษา
1. ถ้าผู้ป่วยมีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่ต้องให้ยารักษาแต่อย่างใด ควรให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่า อาการที่เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามธรรมชาติและจะหายได้เองในไม่ช้า
2. ถ้ามีอาการไม่สบายมาก ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ถ้าหงุดหงิด นอนไม่หลับ ให้คลายเครียด หรือยานอนหลับ ถ้าปวดข้อหรือปวดศีรษะ ให้ยาแก้ปวด เป็นต้น
3. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือสงสัยว่ามีเหตุอื่น ควรปรึกษาแพทย์ อาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติม ถ้าเป็นโรคของหญิงวัยหมดประจำเดือน อาจให้กินฮอร์โมนเอสโตเจนทดแทน เพื่อลดอาการไม่สบายต่าง ๆ รวมทั้งป้องกันอาการเยื่อบุช่องคลอดบาง และภาวะกระดูกพรุน การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน อาจเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
- ทานฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยคำสั่งแพทย์ วันที่ 1-25 ของแต่ละเดือน ร่วมกับ ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน ในวันที่ 14-25 ของเดือน หยุดกินทั้ง 2 ชนิด ตั้งแต่วันที่ 26 จนถึงสิ้นเดือน ผู้ป่วยจะมีเลือดประจำเดือนมาช่วงปลายเดือน
- ทานฮอร์โมนเอสโตรเจน และโพรเจสเตอโรน ร่วมกันทุกวันไม่มีเว้น ในระยะ 2-3 เดือนแรก อาจมีเลือดออกกระปริดกระปรอย หลังจากนั้นเลือดจะหยุดและไม่ออกอีกเลย
- ในกรณีที่ได้รับการผ่าตัด เอามดลูกออกไปแล้วให้ทานฮอร์โมนเอสโตเจนทุกวัน


      ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สูติ-นรีเวช รพ.วิภาวดี

“วัยทอง” หมายถึง วัยของผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุในช่วง 40-59 ปี ซึ่งอยู่ระหว่างวัยเจริญพันธุ์และวัยผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ความสามารถในการผลิตฮอร์โมนเพศลดน้อยลงจนเกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพได้ง่าย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น

“สตรีวัยทอง” หรือสตรีวัยหมดประจำเดือน หรือวัยหมดระดู หมายถึง สตรีในวัย 40 – 59 ปี ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงเนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน ซึ่งทำให้สิ้นสุดการมีประจำเดือนอย่างถาวรร่วมด้วยกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามมา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

  1. ระยะก่อนหมดประจำเดือน (perimenopause) เป็นระยะเริ่มของการหมดประจำเดือนทำให้สตรีมีประจำเดือนมาผิดปกติ ร่วมกับมีอาการทางร่างกาย เช่น ร้อนวูบวาบ มึนศีรษะ อ่อนเพลีย อารมณ์จะแปรปรวน ซึ่งระยะนี้จะเกิดประมาณ 2-3 ปี
  2. ระยะหมดประจำเดือน (menopause) เป็นระยะที่เริ่มตั้งแต่การหมดประจำเดือนมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี
  3. ระยะหลังหมดประจำเดือน (postmenopause) เป็นระยะที่เริ่มตั้งแต่หลังหมดประจำเดือนมาแล้ว 1 ปี ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ช่องคลอดตีบแคบ กระดูกพรุน และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆได้ง่าย

 

อาการผู้หญิงวัยทอง

อาการระยะสั้น

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ มาติดกันหรือห่างจากกันมาก บางรายอาจมีเลือดออกผิดปกติ
  • อาการร้อนวูบวาบ จากการแปรปรวนของระดับฮอร์โมนทำให้ร่างกายควบคุมอุณหภูมิผิดปกติ โดยจะมีอาการมากในช่วง 2-3 ปี แรก หลังหมดประจำเดือน และจะค่อยๆ ลดลงใน 1-2 ปี
  • นอนไม่หลับ อันเป็นผลของอาการร้อนวูบวาบ
  • ด้านจิตใจ มักพบเกิดอาการซึมเศร้า อารมณ์หงุดหงิด มีความวิตกกังวลง่าย
  • ช่องคลอดแห้ง จากระดับเอสโตรเจนที่ลดลง ทำให้มีปัญหาในการร่วมเพศ มีอาการคัน อาการการอักเสบของช่องคลอด มดลูก และช่องคลอดหย่อน ความต้องการทางเพศลดลง
  • โอกาสมีลูกน้อยลง จากการตกไข่ที่ไม่แน่นอน และไม่สามารถมีลูกได้อย่างถาวร หลังประจำเดือนไม่มาเต็ม 1 ปี
  • ผิวหนังเหี่ยวแห้ง ขาดความยืดหยุ่น เป็นแผล และกระได้ง่าย
  • เต้านมเล็กลง หย่อน ไม่เต่งตึง

อาการระยะยาว

  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด
    หลังหมดประจำเดือน ร่างกายจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันมากขึ้น เนื่องจากจากการขาดเอสโตรเจน เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนทำหน้าที่สำคัญในการลดไขมันไม่ดี LDL
  • กระดูกพรุน
    การขาดเอสโตรเจนของวัยหมดประจำเดือนจะทำให้มีการทำลายเนื้อกระดูกมากขึ้นถึงร้อยละ 5 ต่อปี จนเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนตามมา โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ และกระดูกสะโพก เป็นต้น
  • ปัญหาของทางเดินปัสสาวะ
    ผลจากระดับกระดูกสันหลังที่ลดลงทำให้เยื่อบุผนังท่อปัสสาวะบางลง และกระเพาะปัสสาวะหย่อนยาน ทำให้มีอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ และมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • น้ำหนักขึ้นและเริ่มอ้วน
    ผลของการลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้มีผลต่อระบบการเผาผลาญอาหาร ทำให้มีการสะสมไขมันบริเวณหน้าท้องมากขึ้น

 

การรักษา

1. อาการร้อนวูบวาบ

  • สังเกตและจดจำสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบและหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่หรือการสัมผัสกับอากาศที่ร้อนมาก
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารร้อน เครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นให้เส้นเลือดขยายตัว เช่น คาเฟอีน และแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารที่มีวิตามินอี และบี คอมเพล็กซ์ รวมถึงอาหารเสริมของสารเหล่านี้
  • งดสูบบุหรี่
  • ผ่อนคลายจิตใจ และหลีกเลี่ยงความเครียด เพราะความเครียดมีผลทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น

2. ช่องคลอดแห้งและปัสสาวะบ่อย

  • ใช้สารหล่อลื่น เช่น K-Y Jelly เป็นต้น
  • ใช้ครีมเอสโตรเจนทาเพื่อกระตุ้นให้เลือดมาหล่อเลี้ยงช่องคลอดมากขึ้น
  • ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติขณะมีเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยกระตุ้นสภาวะการไหลเวียนเลือดที่ดีในช่องคลอด และทำให้ช่องคลอดยืดหยุ่นมากขึ้น

3. อาการนอนไม่หลับ และอารมณ์แปรปรวน

  • ใช้ยาลดอาการซึมเศร้า เช่น ยาในกลุ่ม SSRI รวมถึงทำกิจกรรมนันทนาการเพื่อผ่อนคายความเครียด และทำให้จิตใจแจ่มใส

4. กระดูกพรุน

  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือการทำงานหนัก
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินดีสูง
  • การใช้ฮอร์โมนเสริม แต่อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น

5. ผมร่วง

  • รับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจน เพื่อยับยั้งการสร้างไดไฮโดรเทสโทสเตอโรนที่เป็นสาเหตุทำให้รากผมอ่อนแอ
  • สระผมอย่างสม่ำเสมอเพื่อกำจัด และป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่อาจเป็นสาเหตุการทำลายรากผม และหนังศีรษะ รวมถึงใช้ยาสระผมที่มีสารกระตุ้นการงอกใหม่หรือสารที่ช่วยบำรุงเส้นผม

 

ฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง

ผู้หญิงในช่วงวัยทองจะมีการลดลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมาก ทำให้เกิดอาการต่างๆตามมา ปัจจุบันผู้หญิงบางกลุ่มจึงหันมาใช้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อลดปัญหาจาการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และทางด้านอารมณ์ดังกล่าว รวมถึงช่วยป้องกันโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ อาทิ โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็ง เป็นต้น

ฮอร์โมนทดแทนที่มีการใช้ในวัยทอง คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ร่างกายขาดไปนั่นเอง นอกจากนั้น ยังใช้สารอื่นที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ โปรเจสเตอโรน

อายุเท่าไรถึงจะหมดประจําเดือน

โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้หญิงไทยจะหมดประจำเดือนกันที่อายุประมาณ 50 ปี แต่ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกายจะเริ่มประมาณกลาง ๆ อายุ 30 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นไปอย่างช้า ๆ จนกระทั่งอายุประมาณ 40 ที่ระดับฮอร์โมนผันผวนอย่างชัดเจนมากขึ้น เป็นที่มาของอาการผิดปกติต่าง ๆ

ระยะวัยทองในผู้หญิงพบได้ในช่วงใดมากที่สุด

สตรีวัยทอง หรือ สตรีวัยหมดระดู คือสตรีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจอันเนื่องมาจากการขาดฮอร์โมนเอสโทรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิง โดยจะวินิจฉัยเมื่อขาดระดูไปนาน 1 ปี อายุเฉลี่ยของสตรีที่เข้าสู่วัยหมดระดูคือ 50 ปี โดยสตรีร้อยละ 95 จะหมดระดูในช่วงอายุระหว่าง 45-55 ปี รวมถึงสตรีที่หมดระดูก่อนวัยอันเนื่องมาจากถูกผ่าตัดเอา ...

เพศหญิงเมื่อมีอายุประมาณ 45

โรคของหญิงวัยหมดประจำเดือน มักพบในผู้หญิงที่ใกล้ประจำเดือนหมด หรือหมดไปแล้ว (อายุประมาณ 45-55 ปี) ผู้หญิงในวัยนี้ประมาณ 25% จะไม่มีอาการอะไรทั้งสิ้น ประมาณ 50% อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย และอีก 25% จะมีอาการไม่สบายต่าง ๆ สาเหตุ มีสาเหตุมาจากการลดลงของฮอร์โมน เอสโตรเจนในร่างกายร่วมกับความแปรปรวนทางด้านจิตใจและอารมณ์ อาการ

ผู้หญิงวัยหมดประจําเดือนท้องได้ไหม

ผู้หญิงเมื่อายุมากกว่า 35 ปี ปริมาณไข่และคุณภาพของไข่จะเสื่อมถอยลงอย่างมีนัยสำคัญทำให้มีบุตรยากมากขึ้น เมื่อเข้าวัยหมดประจำเดือนรังไข่หยุดการทำงานไปแล้วหากต้องการตั้งครรภ์ต้องใช้เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ โดยอาศัยไข่บริจาคเพื่อทำเด็กหลอดแก้ว แต่วิธีดังกล่าวเหมาะสำหรับผู้หญิงที่เข้าวัยทองตั้งแต่อายุน้อยเท่านั้นค่ะ ส่วน ...