ภาษามีความสําคัญต่อมนุษย์อย่างไร

ภาษามีความสําคัญต่อมนุษย์อย่างไร

Advertisement

 

การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

สาระสำคัญ
              ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการสื่อสารของมนุษย์ไม่ว่าในฐานะของผู้ส่งสารหรือผู้รับสาร ดังนั้นในการสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผลผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถเลือกใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมรวมทั้งมีคุณธรรมและมารยาทที่ดีในการสื่อสารเป็นสำคัญ

เนื้อหา
             การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารผ่านสื่อต่าง ๆที่อาจเป็นการพูด การเขียน การแสดงการจัดกิจกรรม ฯลฯไปยังผู้รับสารอย่างมีวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับบริบททางการสื่อสารเพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล 

ความสำคัญของการสื่อสาร 
      
 
๑) การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่มีใครที่ดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลาพัฒนาการทางสังคมจึงดำเนินไปพร้อมๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร 
 
๒)การสื่อสารช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ ประเพณี กฎเกณฑ์ทางสังคมและความรู้ต่างๆจำเป็นต้องรับการถ่ายทอดเพื่อให้เป็นมรดกทางสังคมตกลงใช้ร่วมกันอย่างสันติ 
 
๓)การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งในการสื่อสารจำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและต้องใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่นการใช้สื่อโสตฯ หรือสื่อ  อิเล็คทรอนิกส์ในงานสาธารณสุข เป็นต้น

ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร
         ๑.  ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร  ผู้ส่งสารใช้ภาษาถ่ายทอดเรื่องราว  ความรู้  ความคิด  ความรู้สึกไปยังผู้ส่งสาร  ภาษาแบ่งออกได้  เป็น  ๒ ชนิด  คือ
               
๑.๑  วัจนภาษา  (verbal  languaye)  เป็นภาษาถ้อยคำ  อาจเป็นคำพูดหรือตัวอักษรก็ได้  การใช้วัจนภาษาจะต้องชัดเจนและถูกต้องทั้งการเขียน  การออกเสียงคำ  และการเรียงเรื่องประโยค  นอกจากนี้ยังต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมกับลักษณะของการสื่อสาร  ลักษณะงาน   สื่อ  และผู้รับสารด้วย
               
๑.๒  อวัจนภาษา  (non-verbal  languaye)  คือภาษาที่ไใม่ใช้ถ้อยคำ  แต่แฝงอยู่ในถ้อยคำ  ได้แก่  สีหน้า  สายตา  ท่าทาง  น้ำเสียง  วัตถุ  ช่องว่าง  เวลา การสัมผัส  กลิ่น  รส  ภาพและลักษณะของอักษร  เป็นต้น เราอาจใช้อวัจนภาษาเพื่อเสริม   เน้นหรือแทนคำพูดก็ได้  ผู้ใช้ภาษาต้องเลือกใช้อวัจนภาษาให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
     
ระดับภาษาในการสื่อสาร
               การใช้ภาษาต้องคำนึงถึงระดับของภาษา  ซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส  สถานการณ์และบุคคล  ระดับภาษามี    ระดับ  คือ 
               
๑.  ระดับพิธีการ 
เป็นระดับภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์  เช่น   ภาษาในศาล  การประชุมรัฐสภา  และในพิธีการต่าง ๆ 
ตัวอย่าง  ข้าพระพุทธเจ้าของพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูลอัญเชิญใต้ผ่าละอองธุลีพระบาทพระราชทาน    ปริญญาบัตร  
               
๒.   ระดับทางการ 
เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้ในโอกาสหรือเรื่องสำคัญ  ได้แก่ภาษาในบทความวิชาการ  เอกสารทางราชการ  สุนทรพจน์  การประชุมทางการ  ตัวอย่าง ประธานขอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย
               
๓.  ระดับกึ่งทางการ 
เป็นระดับภาษาที่ใช้ปรึกษาหารือกิจธุระ  การประชุมไม่เป็นทางการ  บทความแสดงความคิดเห็น  สารคดีกึ่งวิชาการ 

ภาษามีความสําคัญต่อมนุษย์อย่างไร อธิบาย

ภาษาเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่ในสังคมต่อไปมิให้สูญหาย.
ภาษาสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชนในชาติ ซึ่งบันทึกไว้ในวรรณคดีมุขปาฐะ (เล่าต่อๆ กันมา) และวรรณคดีลายลักษณ์.
ภาษาแสดงให้เห็นพัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมของแต่ละสังคม.
ภาษาเป็นเครื่องแสดงระดับวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษา.
ภาษาถือเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ.

ภาษาไทยมีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไร

ภาษาไทยเป็นภาษาประจ าชาติไทย เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารของชนในชาติ เป็น เครื่องมือในการศึกษาวิชาการและประกอบอาชีพ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้และวัฒนธรรม ไทยไปสู่ชนรุ่นหลัง และโดยที่ความมั่นคงแห่งชาติหมายถึงสภาวะที่ประชาชนในสังคมมีสวัสดิภาพ มีความ ปลอดภัยและความผาสุก ปราศจากภัยคุกคามต่าง ๆ ซึ่งความ ...

ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนาอย่างไรบ้าง

ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนาความรู้ ความคิดอย่างต่อเนื่องไปโดยไม่มีวันสิ้นสุด การอภิปรายโต้แย้ง ล้วนช่วยขยายความรู้และความคิดของมนุษย์ให้เจริญงอกงาม ประสบการณ์ และความคิดเห็นของมนุษย์ประมวลกันเป็นความรู้และวิทยาการที่เราเรียนกันอยู่ทุกวันนี้ ภาษาทำหน้าที่รวบประมวลประสบการณ์ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคตเข้าไว้ด้วยกัน แล้วอาศัย ...

ภาษาไทยมีความสําคัญอย่างไร จงอธิบายและยกตัวอย่าง

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาชาติได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ...