ประเภท ของ SSD มี อะไร บ้าง

ตอนซื้อ SSD นั้นไม่ใช่แค่เรื่อง PCIe รุ่นไหน ความเร็วเท่าไหร่ เพราะสเปค SSD นั้นเขียนรายละเอียดอื่น ๆ ที่มีผลต่อการใช้งานเอาไว้เยอะมากจนผู้ใช้ทั่วไปอาจจะเลือกมองข้าม เพราะดูแล้วยุ่งยากมากเกินไปเลยเลือกแค่ดูเรื่องความเร็วอย่างเดียวแล้วจบ เพราะถ้าเราดูข้อมูลในหน้ากระดาษสเปคของผู้ผลิตจะเห็นว่า SSD ไม่ว่าจะเป็น SATA, NVMe หรือแม้แต่ External SSD จะมีรายละเอียดอยู่มากมายทีเดียว

สำหรับคนที่ไม่มีความรู้เรื่อง SSD หรือคนที่เคยเลือกซื้อ SSD ด้วยวิธีการดูแค่ความเร็วอย่างเดียวแล้วมีความสนใจอยากรู้ว่าในสเปคจากผู้ผลิตเขียนอะไรเอาไว้บ้าง เราจะมาไล่ดูรายละเอียดทีละส่วนในบทความนี้กัน

ประเภท ของ SSD มี อะไร บ้าง

สเปคข้างใน SSD สักตัวบอกเลยว่าสำคัญกว่ามีไฟ RGB เป็นไหน ๆ

สเปค SSD มีเรื่องสำคัญกว่าแค่ดูความเร็ว Read/Write และไฟ RGB

ประเภท ของ SSD มี อะไร บ้าง

จากในบทความเกี่ยวกับ SSD ที่ผ่านมานั้น ผู้เขียนก็ได้สอดแทรกข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับ SSD ในส่วนต่าง ๆ เอาไว้บ้างแล้ว แต่ก็เป็นรายละเอียดประกอบการตัดสินใจซื้อ SSD และอุปกรณ์อื่น ๆ อยู่เป็นระยะ ๆ ทั้งประเภทของ flash memory ในบทความ “ไขข้อข้องใจ SSD กี่ GB ดี? 256GB หรือ 512GB? หรือ 1TB เลยจบๆ”, จุดเด่นของ SSD ทั้งแบบ SATA และ NVMe ใน “SSD รุ่นไหนดี มาดู NVMe 6 รุ่นนี้ได้เลย สเปคดีฟีเจอร์เด็ดแน่” และคีย์แบบต่าง ๆ ของ NVMe ในบทความ “แนะนำ 4 กล่อง SSD ใส่ NVMe ใช้เซฟงานได้ Clone Windows ก็ดี”

แต่ทั้งหมดนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของการเลือก SSD ทั้ง SATA และ NVMe เท่านั้น นั่นเพราะหน้าสเปคจากผู้ผลิตนั้นยังมีรายละเอียดสเปค SSD รุ่นนั้น ๆ เขียนเอาไว้อีกหลายส่วนซึ่งผู้ใช้เช่นเราอาจจะมองข้ามไปเพราะไม่เข้าใจว่าจริง ๆ แล้วมันคืออะไร ทั้งที่จริง ๆ แล้วสำคัญไม่แพ้เรื่องความเร็ว Read/Write ซึ่งถูกนำมาโฆษณาอยู่เป็นประจำ

ประเภท ของ SSD มี อะไร บ้าง

อย่างไรก็ตามถ้าเรากดเข้าไปดูหน้าสเปค SSD ตามหน้าเว็บไซต์ผู้ผลิตต่าง ๆ เช่น Western Digital ในหน้าสเปคของ WD Blue SN550 ก็อาจจะเห็นข้อมูลเพียงแค่ Sequential Read Performance และ Sequential Write Performance สูงเท่าไหร่เท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งซึ่งเข้าใจได้ง่ายที่สุด แต่จริง ๆ แล้วถ้าเราคลิกในส่วนของ Spec โดยละเอียดของ SSD รุ่นนั้น ๆ ขึ้นมาอ่าน ก็จะเป็นหน้าเอกสาร PDF แสดงสเปค SSD รุ่นนั้นโดยละเอียด

ประเภท ของ SSD มี อะไร บ้าง

จะเห็นว่าในหน้าข้อมูลจำเพาะจะมีข้อมูลแสดงรายละเอียดทั้งหมดของ SSD รุ่นนั้น ถ้าดูในส่วนของอินเตอร์เฟส จะเห็นข้อมูลส่วนแรกคือ M.2 2280 คือเป็น SSD แบบ M.2 NVMe ขนาด 2280 (กว้าง 22 มม. ยาว 80 มม.) และเป็น NVMe ที่ใช้อินเตอร์เฟส PCIe Gen3 มีความเร็วในการอ่านเขียนไฟล์ที่ 8Gb/s

สำหรับคนที่สงสัยว่า PCIe Gen3 เอาไปใช้กับเมนบอร์ดที่มีช่อง M.2 PCIe Gen4 ได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ แต่จะทำงานที่ความเร็วสูงสุดเท่ากับ PCIe รุ่นที่ต่ำกว่า นั่นคือจะวิ่งได้ความเร็วสูงสุดที่ PCIe Gen 3 เท่านั้น

จะเห็นว่า ความเร็วในการอ่านอ่านตามลำดับสูงสุด (Max Sequential Read Performance) และความเร็วในการเขียนตามลำดับสูงสุด (Max Sequential Write Performance) ของ WD Blue SN550 จะเป็นความเร็วเดียวกันกับที่เขียนเอาไว้ตรงหน้าแรกของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ 

ประเภท ของ SSD มี อะไร บ้าง

สำหรับการเขียนและอ่านข้อมูลเข้าออก SSD นั้นจะแบ่งออกเป็นสองแบบคือ Sequential (เรียง) และ Random (สุ่ม) โดย Sequential จะเป็นผลความเร็วในการอ่านเขียนไฟล์ขนาดใหญ่ที่ทางผู้ผลิตนำมาเสนอในหน้าแสดงสเปคให้ผู้ใช้เห็นนั่นเอง

โดยไฟล์ที่ SSD จะอ่านแบบ Sequential คือไฟล์ขนาดใหญ่เกิน 128 kB ขึ้นไป ส่วนการอ่านแบบ Random จะใช้กับไฟล์ขนาดเล็ก เช่นไฟล์ 4KB เป็นพวกไฟล์ cache, Cookies ต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้เช่นเราก็จะได้ใช้งานทั้งสองแบบนี้สลับกันไปมา

ประเภท ของ SSD มี อะไร บ้าง

อิงจากรีวิว WD Blue SN550 ความจุ 1TB ที่ Notebookspec เคยรีวิว จะได้ผล Benchmark ก็จะเห็นว่าการอ่านแบบ Sequential Read Performance จะได้อยู่ 2,432MB/s และ Sequential Write Performance อยู่ที่ 2,033MB/s ซึ่งถ้าใช้งานกับโปรแกรมและไฟล์ขนาดใหญ่ก็จะอ่านเขียนได้เร็วทีเดียว

ส่วนไฟล์แคชขนาดเล็กในส่วน 4KiB จะได้ Read 1,036MB/s และ Write 1,231MB/s ซึ่งถ้าเป็นไฟล์แคชขนาดเล็กก็จะเห็นว่าประสิทธิภาพลดลงไปครึ่งหนึ่ง

ประเภท ของ SSD มี อะไร บ้าง

หัวข้อ IOPS (Input/Output Operations per second) หรือความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลเข้าและออก SSD แบบสุ่มในความเร็วต่อวินาที ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ควรโฟกัสเวลาอ่านรีวิว SSD รุ่นต่าง ๆ เพราะเป็นความเร็วตอนเขียนอ่านไฟล์เช่น cache file, cookies, pages file, ความเร็วในการเซฟและโหลดเซฟเกม ฯลฯ ซึ่งถ้ามีค่ามากก็จะยิ่งทำให้ SSD อันนั้นสามารถอ่านเขียนข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้นนั่นเอง เรียกว่าเป็นค่าความเร็วจริงของ SSD รุ่นนั้น ๆ 

ดังนั้นในส่วนนี้ถ้ามีค่า IOPS สูง ก็จะทำให้ NVMe ลูกนั้น ๆ สามารถจัดการคำสั่งต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ทำได้เร็วยิ่งขึ้นนั่นเอง และ IOPS จะมีความเกี่ยวข้องกับส่วนของ 4KB Random Read, 4KB Random Write ด้วย

ประเภท ของ SSD มี อะไร บ้าง

หัวข้อ TBW หรือ Terabytes Written เป็นส่วนแสดงอายุการใช้งานของ SSD นั้น ๆ ว่ามีอายุการใช้งานมากน้อยเท่าไหร่ เช่นของ WD Blue SN550 ตัวนี้จะอยู่ที่ 600TBW คือสามารถเขียนไฟล์ทับลงไปใน flash memory ของ SN550 ได้ 600TB

หากเทียบพื้นที่ขนาด 1TB เป็นจำนวนเพลง เราจะสามารถจุเพลงเอาไว้ได้ 200,000 เพลง ถ้าใช้ลง Windows 10 Home ขนาด 32GB (คิดจากตอนไฟล์ทั้งหมดติดตั้งลงเครื่องและบูตขึ้นมาพร้อมใช้งานแล้ว) ก็จะลง Windows 10 Home ซ้ำ ๆ ใน SSD ลูกนั้นได้ 31.25 ครั้ง ถึงจะครบ 1TB ดังนั้นอายุการใช้งาน 600TBW นั้นถือว่ายาวนานมาก

หัวข้อความเชื่อถือได้ ในข้อมูลของสเปค SSD นั้น จะเป็นการประเมินชั่วโมงการใช้งานของ SSD ลูกนั้นโดยผู้ผลิตจะเขียนทั้ง MTTF (Mean Time To Failure) และ MTBF (Mean Time Between Failure) ซึ่งทั้งสองหัวข้อนี้จะมีความหมายใกล้เคียงกันแต่ไม่เหมือนเสียทีเดียว โดย

  • MTTF (Mean Time To Failure) – เป็นการประเมินอายุการใช้งานโดยรวม ตั้งแต่เริ่มใช้งานจนกระทั่งเสียหายและใช้งานไม่ได้อีกเลยและซ่อมให้กลับมาใช้งานไม่ได้
  • MTBF (Mean Time Between Failure) – เป็นการประเมินอายุการใช้งาน ซึ่งจะเป็นเวลาใช้งานโดยเฉลี่ยจนกว่าจะเกิดปัญหาระหว่างใช้งาน แต่ยังซ่อมกลับมาใช้งานได้

ซึ่งค่า MTTF และ MTBF จะเขียนหน่วยในหน้าสเปคเอาไว้ระดับล้านชั่วโมง จะเห็นว่า SN550 นี้เขียนเป็น MTTF นั่นคือผู้ผลิตประเมินอายุการใช้งานเอาไว้ที่ 1.7 ล้านชั่วโมง ถ้าคำนวนเป็นเวลา 24 ชั่วดมง (1 วัน) จะอยู่ที่ 70,833 วัน หรือราว 190 ปี แต่อย่างไรก็ตามการประเมินนี้จะเป็นการคำนวนจากระบบและอัลกอริธึ่มของผู้ผลิต ซึ่งถ้าใช้งานจริงอาจจะมีตัวแปรอื่น ๆ ทำให้อายุการใช้งานสั้นลงได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการจ่ายไฟฟ้าไม่เสถียร, สภาพอากาศและอื่น ๆ

ประเภท ของ SSD มี อะไร บ้าง

หัวข้อสภาพแวดล้อม จะเป็นเรื่องอุณหภูมิระหว่างการใช้งาน SSD ลูกนั้น ๆ ซึ่งถ้าอยู่ในระดับความร้อนที่เหมาะสมก็จะทำให้ใช้งานได้นานขึ้นนั่นเอง ซึ่งในตัวอย่างจะเห็นว่าอุณหภูมิการตอนทำงานอยู่ที่ 0-70 องศาเซลเซียส และตอนไม่ใช้ทำงาน อยู่ที่ -55 ถึง 85 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าเราใช้งานตามปกติก็จะไม่มีปัญหาใด ๆ กับตัว SSD อย่างแน่นอน

หัวข้อการรับประกันแบบจำกัดเงื่อนไข จะเห็นว่าตัว SSD นี้จะมีอายุรับประกันที่ 5 ปี แต่ตรงหัวข้อถูกเขียนตัวเลขหมายเหตุเอาไว้ จะเห็นว่าผู้ผลิตนั้นกำหนดเงื่อนไขรับประกันเอาไว้ว่าถ้า SSD ลูกนี้มีอายุการใช้งานที่ 5 ปี หรือ ค่าความทนทานการใช้งาน (Terabytes Written) เขียนถึงกำหนดก่อน ก็จะหมดประกันการใช้งานไปโดยปริยาย ซึ่งส่วนตัวผู้เขียนมองว่าถ้า SSD ลูกนั้นไม่ถูกนำไปทำเป็น Server หรือฮาร์ดดิสก์ที่ถูกเขียนอ่านข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ค่า TBW ก็จะไม่เต็มง่าย ๆ อย่างแน่นอน แต่ประกันตามอายุการใช้งานที่กำหนดน่าจะหมดก่อนเสียมากกว่า

นอกจากนี้ถ้าผู้อ่านคนไหนเห็นคำว่า 3D NAND อยู่ในหน้าสเปค นั่นคือ SSD แบบที่ใช้วิธีการผลิตโดยซ้อน cell ของ flash memory ลงไป 32 เลเยอร์ เพื่อเพิ่มความหนาแน่นของ flash memory ให้ SSD มีความจุมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็น SSD ที่ใช้ 3D NAND มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยใช้ flash memory แบบ TLC และ QLC มากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย

ประเภท ของ SSD มี อะไร บ้าง

เมื่ออ่านข้อมูลสเปค SSD ว่าแต่ละหัวข้อหมายถึงอะไรบ้างมาถึงจุดนี้แล้ว จะเห็นว่าในหน้าข้อมูลของ SATA SSD ก็จะเขียนข้อมูลแบบเดียวกันกับ NVMe SSD แต่จะต่างกันตรงอินเตอร์เฟสที่เปลี่ยนจาก PCIe 3.0 หรือ 4.0 ไปเป็น SATA III ความเร็ว 6Gb/s แทน

ประเภท ของ SSD มี อะไร บ้าง

แต่จุดสังเกตในสเปค SSD แบบ SATA คือ อินเตอร์เฟสจะมีแบบ M.2 2280 ด้วย ซึ่งมีหน้าตาคล้ายกับ M.2 NVMe เป็นอย่างมากและใช้หน้าพิน เป็น M-Key แบบเดียวกันได้ด้วยเช่นที่เคยอธิบายไปในบทความที่แล้ว 

ประเภท ของ SSD มี อะไร บ้าง

ถ้าสังเกตหน้ากล่องตรงตัว SSD ที่สกรีนเอาไว้ จะมีคำว่า SATA M.2 2280 เขียนอยู่

ตัวอย่างเช่น WD Green PC SSD SATA M.2 2280 ในตัวอย่างจะเขียนคำว่า SATA เอาไว้ตรงภาพ SSD ที่หน้ากล่อง หรือไม่ก็สังเกตว่าตรงอินเตอร์เฟสที่เอามาต่อกับคอมพิวเตอร์เป็น B & M Key ก็จะรับส่งข้อมูลได้ที่ระดับ PCIe x2 เท่านั้น ดังนั้นจะมีความเร็วระดับ SATA เท่านั้น อย่างที่ทางเว็บไซต์เคยรีวิวไปก่อนหน้านี้ 

ดังนั้นเราจะเห็นแล้วว่าในหน้าสเปค SSD ถ้าอ่านโดยละเอียดและสังเกตดี ๆ ก็จะเห็นว่ามีรายละเอียดต่าง ๆ ให้อ่านมากมายทำให้เรารู้ว่า SSD รุ่นนั้น ๆ มีประสิทธิภาพดีอย่างที่เราต้องการหรือไม่ และก่อนซื้อก็ควรเช็คเมนบอร์ดของเราเสมอว่าสามารถใช้ SSD แบบไหนบ้าง จะได้เลือกซื้อ SSD อันใหม่มาอัพเกรดเครื่องของเราได้โดยไม่เสียเงินฟรีนั่นเอง