การเสด็จประพาสต่างประเทศของรัชกาลที่ 5 ก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศไทยอย่างไร

พระรา
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ไม่มีการเสด็จ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

 ไม่มีการเสด็จ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ไม่มีการเสด็จ

ไม่มีการเสด็จ

1.  การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2440  นับเป็นครั้งแรกของพระมหากษัตริย์ในภูมิภาคนี้ที่เสด็จประพาสยุโรป  โดยมีจุดประสงค์สำคัญ  คือ  เพื่อทำความเข้าใจกับชาติที่คุกคามไทย  เพื่อเจรจาโดยตรงกับผู้นำของฝรั่งเศสเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในกรณีที่สืบเนื่องจากวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)  รวมทั้งเพื่อแสวงหาชาติพันธมิตรมาช่วยส่งเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ  การเสด็จประพาสยุโรปครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซียในรัชสมัยซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
          ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถไปศึกษาที่ประเทศรัสเซียด้วย  และในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งนี้ได้ทรงเจรจาและปรับความเข้าใจกับฝรั่งเศส  ซึ่งคุกคามไทยอย่างหนัก  รวมทั้งมีจุดประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง  คือ  เพื่อทอดพระเนตรความเจริญของยุโรป  จะได้นำมาเป็นแบบอย่างในการปรับปรุงบ้านเมือง

2.  การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2450  ทรงมีจุดประสงค์สำคัญ  คือ  เพื่อรักษาพระอาการประชวรเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและพระวักกะ (ไต)  และเพื่อเจรจาราชการบ้านเมืองกับชาติตะวันตกต่าง ๆ ทั้งเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต  ปัญหาเรื่องคนในบังคับฝรั่งเศส  อำนาจการปกครองเหนือดินแดนเมืองหลวงพระบางบนฝั่งขวาแม่น้ำโขงและเขตปลอดทหาร (ไทย)  ระยะ 25 กิโลเมตรบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตลอดแนวชายแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส  ปัญหาภาษีร้อยชัก 3  เป็นร้อยชัก 10  และโครงการสร้างทางรถไพสายใต้  ทรงให้สัตยาบันในสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส  พ.ศ. 2449  การเจรจากับปลัดกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษซึ่งส่งผลให้เกิดสนธิสัญญาแลกเปลี่ยน 4 รัฐมลายูในเวลาต่อมา  และการเสด็จพระราชดำเนินทรงรับปริญญาด็อกเตอร์ออฟลอว์  (Doctor of Law)  ณ  บ้านของอธิการบดีมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
          นอกจากนี้ทรงมีลายพระราชหัตถเลขาพระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  เจ้าฟ้านิภานภดล  วิมลประภาวดีเล่าเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่สภาพดินฟ้าอากาศ  สภาพบ้านเมือง  การรักษาพระองค์  สังคมและวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายของคนในประเทศที่เสด็จพระราชดำเนินเยือน  พระราชภารกิจ  พระราชดำริ  และพระราชวินิจฉัยส่วนพระองค์ที่ทรงมีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ลายพระราชหัตถเลขานี้ต่อมาพิมพ์เป็นหนังสือ  "ไกลบ้าน"
          ในการเสด็จประพาสหัวเมือง  รัชกาลที่ 5  โปรดประพาสตามมณฑลหัวเมืองเพื่อดูสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร  มีทั้งที่เสด็จไปตรวจราชการอย่างเป็นทางการและเสด็จประพาสเป็นการส่วนพระองค์  หรือ  "เสด็จประพาสต้น"  ทั้งเสด็จทางเรือ  เสด็จทางรถไฟอย่างสามัญชน  ทรงแต่งพระองค์อย่างคนธรรมดา  เช่น  เป็นคหบดี  ทำให้ได้พบปะพูดคุยกับชาวบ้านโดยที่ชาวบ้านบางคนไม่รู้ว่าพระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน  บางครั้งทรงได้รับเลี้ยงอาหารจากชาวบ้าน  ซึ่งการคบหาสมาคมกับราษฎรอย่างใกล้ชิด  ทำให้พระองค์ทราบทุกข์สุขและความเป็นไปของราษฎรตลอดจนทางปฏิบัติงานของข้าราชการในส่วนท้องถิ่น

1) การเปิดทางรถไฟสาย คลองสาน - มหาชัย 29 ธันวาคม 2447 

2) การเสด็จมณฑลพายัพ ปี 2449 ( นิราศพายัพ ) - เสด็จทรงวางศิลารากอาคารบัทเลอร์ โรง 
เรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ.1906 

3) การประทับที่พระราชวังสนามจันทร์ เช่น ตอนช่วงก่อนพิธีบรมราชาภิเษก ปลายปี 2453 และ ปี 2461 เป็นต้น 

4) การเสด็จเมืองชะอำ ปี 2464 

5) การเสด็จเปิดโรงแรมรถไฟหัวหิน ปี 2466 

6) การเสด็จเยือนสหรัฐมลายู ปี 2467 

7) การเสด้จประทับพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ปี 2467 - 2468 

ไม่มีการเสด็จ

ไม่มีการเสด็จ

ประเทศแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินอย่างเป็นทางการ คือ ประเทศเวียดนามใต้ ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ และครั้งล่าสุด ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ ๘ - ๙ เมษายน

การเสด็จเยือนต่างประเทศครั้งยิ่งใหญ่และถือเป็นปรากฏการณ์โลก คือ การเสด็จพระราชดำเนินสหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆ ในยุโรป รวม ๑๔ ประเทศ และ ๑ รัฐ ระหว่างวันที่ ๑๔ มิถุนายน ถึง ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๓

เมื่อเสร็จสิ้นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ แล้ว ก็ได้ทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ที่เป็นประมุขของประเทศต่างๆ ที่เสด็จและเดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นการตอบแทน และบรรดาพระราชอาคันตุกะทั้งหลาย ต่างก็ประทับใจในพระราชวงศ์ของไทย ตลอดจนประชาชนชาวไทยอย่างทั่วหน้า

การเสด็จประพาสต่างประเทศของรัชกาลที่ 5 ก่อให้เกิดผลดีต่อชาติอย่างไร

การเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรปด้วยพระองค์เองในครั้งนั้น เปรียบเสมือนท่านทรงใช้ตนเองเป็นสื่อบุคคล อีกทางหนึ่ง เป็นการประชาสัมพันธ์ประเทศ ให้ต่างประเทศจดจำและยอมรับสยามในฐานะชาติที่มีความศิวิไลซ์ มากกว่าที่เขาได้พบได้อ่านจากบันทึกของคนที่เดินทางเข้ามาในสยามหรือภาพเขียนในยุคนั้น ส่งผลให้ไม่เพียงแต่เฉพาะคนในระดับสูงของยุโรป ...

การเสด็จประพาสยุโรปของรัชกาลที่ 5 มีผลดีต่อไทยในยุคปรับปรุงและปฏิรูปประเทศอย่างไร

สำหรับการเสด็จประพาสยุโรปในครั้งนั้น นอกเหนือไปจากการเรียนรู้ความเจริญก้าวหน้าของโลกตะวันตกเพื่อนำมาปรับปรุงบ้านเมืองแล้ว วัตถุประสงค์สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การสร้าง “ภาพลักษณ์” ของ “ความศิวิไลซ์” ของไทยในการรับรู้ของมหาอำนาจและสาธารณชนในประเทศชาติตะวันตก แม้ว่าในทางการเจรจาอาจจะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติทางการเมือง ...

การเสด็จประพาสของร 5 มีผลประโยชน์อะไรบ้าง

การเสด็จประพาสต้นนอกจากจะทำให้เห็นมุมมองของพระมหากษัตริย์ ข้าราชการ และประชาชนแล้ว การเสด็จประพาสต้นยังก่อให้เกิดผลต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหายประชวร เพราะจุดมุ่งหมายของการเสด็จประพาสต้นก็คือให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พักผ่อน

การเสด็จประพาสต่างประเทศมีจุดประสงค์ใด

การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปยังต่างประเทศในทวีปยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสานสัมพันธไมตรีแก่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป เพื่อให้ประเทศที่พระองค์เสด็จประพาสเหล่านั้นมองเห็นว่าประเทศ ...