จุดมุ่งหมายในการแต่งเรื่องพระบรมราโชวาทคืออะไร

รหัสข้อมูล

TLD-001-138

ชื่อเรื่องหลัก

พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ 4 พระองค์

ยุคสมัย

วันที่แต่ง

พ.ศ.2428

ผู้แต่ง

คำประพันธ์

ร้อยแก้ว 

ฉันทลักษณ์

ความเรียง 

เนื้อเรื่องย่อ

สาระสำคัญของพระบรมราโชวาทเน้นให้ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในการวางพระองค์ให้เหมาะสมเมื่อไปศึกษาต่างประเทศ เช่น ไม่ไว้ยศว่าเป็นเจ้าเพราะจะต้องรักษายศศักดิ์  ระวังพระองค์มาก นอกจากนั้นยังให้เป็นผู้อ่อนน้อมว่าง่ายสอนง่าย ความในพระบรมราโชวาทที่ทรงย้ำอย่างยิ่ง คือมิให้ถือพระองค์ว่าเป็นพระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินแล้วใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเกินไปจนเป็นหนี้ ทรงเน้นในเรื่องการประหยัดค่าใช้สอยทุกด้าน และทรงย้ำให้ตระหนักว่า ค่าใช้จ่ายที่โปรดเกล้าฯ  พระราชทานให้ไปทรงศึกษานั้นแม้จะเป็นพระราชทรัพย์ในส่วนที่เป็นเงินพระคลังข้างที่  แต่ก็เป็นเงินส่วนแผ่นดินที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงใช้สอยด้วยทรงเป็นผู้ทำนุบำรุงรักษาบ้านเมือง 

วัตถุประสงค์

ผู้เรียบเรียง

เอกสารอ้างอิง

พระบรมราโชวาทและโคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ธนบุรี : โรงพิมพ์สุทธิสารการพิมพ์, 2505. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ  พระผจงธนสาร (สิง  ยุวชิต) วันจันทร์ที่  30  เมษายน  พ.ศ.2505)

คำสำคัญ

หมายเหตุ

พระบรมราโชวาทนี้แม้จะทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอเป็นการส่วนพระองค์ แต่เนื้อความเป็นคำสอนที่มีความลึกซึ้งกินใจเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทั่วไปด้วย จึงได้รับความนิยมอัญเชิญมาพิมพ์เป็นแบบเรียนบ้าง เป็นหนังสืออ่านประกอบวิชาภาษาไทยบ้าง รวมทั้งพิมพ์เผยแพร่แก่ผู้อ่านทั่วไปอยู่เป็นนิจ เนื่องจากอ่านเมื่อใดก็ประทับใจเพราะเป็นคำสอนที่เหมาะแก่สังคมทุกยุคทุกสมัย

จุดมุ่งหมายในการแต่งเรื่องพระบรมราโชวาทคืออะไร

พระบรมราโชวาท เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง ๔ เมื่อครั้งเสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ ซึ่งแม้ว่าจะผ่านมาหลายสิบปีแล้ว แต่คำสอนของพ่อที่มีต่อลูก กลับยังใช้ได้และไม่เสื่อมคลายไปตามกาลเวลา มาติดตามเรื่องพระบรมราโชวาทไปกับ StartDee กันเลย นอกจากอ่านในบทความนี้แล้ว เพื่อน ๆ ยังสามารถไปเรียนในรูปแบบวิดีโอได้กับครูออฟ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee หรือคลิกด้านล่างได้เลย

จุดมุ่งหมายในการแต่งเรื่องพระบรมราโชวาทคืออะไร


ความหมายของพระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท หมายถึง ถ้อยคำหรือคำสั่งสอนของพระมหากษัตริย์

รายนามพระเจ้าลูกยาเธอทั้ง ๔ ในรัชกาลที่ ๕

๑. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมพระจันทบุรีนฤนาถ หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติและเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ อีกทั้งยังทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี (ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์) ในสมัยรัชกาลที่ 7 และต่อมาทรงเป็นต้นราชสกุล “กิติยากร” ซึ่งมาจากพระนามของพระองค์นั่นเอง

๒. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมและเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ทรงได้รับยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” จึงเกิดวันรพีขึ้นนั่นเอง นอกจากนั้น ยังทรงเป็นต้นราชสกุล “รพีพัฒน”

๓. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงปราจิณกิติบดี และทรงดํารงตําแหน่งราชเลขาธิการ (หมายถึงเลขาธิการของพระมหากษัตริย์) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นต้นราชสกุล “ประวิตร” อีกด้วย

๔. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก รวมถึงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม และยังทรงเป็นต้นราชสกุล “จิรประวัติ” 

จุดมุ่งหมายในการแต่งเรื่องพระบรมราโชวาทคืออะไร

ขอบคุณรูปภาพจาก wikipedia จากซ้าย พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ (กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์) พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม (กรมหลวงปราจิณกิติบดี) พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ (กรมพระจันทบุรีนฤนาถ) พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช (กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช)

พระราชประสงค์ของเรื่อง พระบรมราโชวาท

๑. เพื่อให้พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง ๔ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน

๒. การประพฤติปฏิบัติตนเมื่ออยู่อาศัยที่ต่างประเทศ

เนื้อเรื่องพระบรมราโชวาท

เนื้อเรื่องพระบรมราโชวาทแบ่งออกเป็น ๗ องค์ด้วยกัน โดยมีเนื้อหาในแต่ละองค์ดังนี้

องค์ที่ ๑

พูดถึงจุดประสงค์ของการส่งพระเจ้าลูกยาเธอไปศึกษาต่อต่างประเทศ ดังนี้

๑. อย่าให้ไว้ยศไว้เจ้า

ห้ามไม่ให้ใช้ฮิสรอแยลไฮเนสปรินซ์นำหน้าชื่อ (His Royal Hoghness Princes)  เพราะไม่ว่าลูก ๆ ทั้งสี่จะทำสิ่งใด เมื่อคนรู้ว่าเป็นลูกของกษัตริย์

 ก็ย่อมจับจ้อง ส่งผลให้การใช้ชีวิตของลูก ๆ นั้นยากลำบาก อีกทั้งจะซื้อจ่ายสิ่งของต่าง ๆ ก็อาจถูกตั้งราคาแพงกว่า เพราะผู้คนคิดว่าเป็นคนร่ำรวย

อย่างไรก็ตาม การเป็นลูกของกษัตริย์ มีข้อดีที่ทำให้สามารถเข้าประชุมในที่สูง ๆ ได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า ลูกผู้ดีมีตระกูลของประเทศอังกฤษก็สามารถเข้าได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น แม่จะเป็นประโยชน์ แต่ก็ไม่ได้มากมายนัก ดังนั้น จึงไม่ควรไปอวดกับผู้อื่นว่าตัวเองเป็นลูกของกษัตริย์

๒. ให้ปฏิบัติตามธรรมเนียมอังกฤษ 

โดยสามารถวางมิสเตอร์นำหน้าชื่อ และวางเอสไควร์ด้านหลังชื่อตัวได้ นอกจากนั้น ยังไม่ต้องใช้คำว่า “นาย” เพราะลูก ๆ ทั้งสี่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ต่างชาติย่อมฟังไม่เข้าใจ

องค์ที่ ๒

พูดถึงเงินที่ใช้สอยในการเล่าเรียน รวมถึงการใช้สอยต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันนั้นเป็น เงินพระคลังข้างที่ คือเงินที่เป็นสิทธิ์ขาดแก่ตัวรัชกาลที่ ๕ เอง ไม่ใช่เงินของแผ่นดินใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งก็คือเงินตอบแทนจากการทำงานให้กับประเทศในฐานะพระมหากษัตริย์นั่นเอง โดยเป็นเงินที่สามารถใช้ในกิจการส่วนตัวใด ๆ ก็ได้

เมื่อลูก ๆ ไปเรียนต่อยังต่างประเทศ รัชกาลที่ ๕ ทรงฝากเงินไว้ที่ธนาคาร เพราะทรงเล็งเห็นแล้วว่าจะได้ดอกเบี้ย ซึ่งสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์ของลูก ๆ แต่ละคนได้ โดยมอบหมายให้ราชทูตเป็นผู้ถอนเงินออกมาเป็นค่าใช้จ่าย โดยเป็นเงินสำหรับวิชาชั้นต้น ๕ ปี ปีละ ๓๒๐ ปอนด์ รวมเป็น ๑,๖๐๐ ปอนด์ และเงินสำหรับวิชาชั้นหลังอีก ๕ ปี ปีละ ๔๐๐ ปอนด์ รวมเป็น ๒,๐๐๐ ปอนด์ โดยพระองค์ทรงคำนวณแล้วว่า ลูก ๆ จะใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนอย่างน้อย ๑๐ ปี

การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงมอบหมายให้ราชทูตเป็นผู้ถอนเงินนั้น เนื่องจากไม่มีพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใดอายุครบ ๒๑ ปีเต็ม จึงไม่สามารถถอนเงินมาใช้จ่ายเองได้

นอกจากนั้น รัชกาลที่ ๕ ยังได้พระราชทานพระบรมราโชวาทที่มีความสำคัญ ดังนี้

เห็นว่าพ่อมีลูกมากด้วยกัน การซึ่งให้มีโอกาสและให้ทุนทรัพย์ซึ่งจะได้เล่าเรียนวิชานี้เป็นหลักทรัพย์มรดกอันประเสริฐกว่าทรัพย์สินเงินทองอื่นๆ ด้วยเป็นของติดตัวอยู่ได้ไม่มีอันตรายที่จะเสื่อมสูญ ลูกคนใดที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดก็ดี หรือไม่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดก็ดี ก็ต้องส่งไปเรียนวิชาทุกคน ตลอดโอกาสที่จะเป็นไปได้ เหมือนหนึ่งได้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ลูกเสมอ ๆ กันทุกคน

การที่ให้ลูกไปเรียนต่างประเทศ ก็เหมือนการแบ่งมรดกให้ลูกๆ เท่ากันทุกคน ไม่ว่าสติปัญญาจะเป็นอย่างไรก็ตาม ลูก ๆ ทุกคนจะได้โอกาสในการไปศึกษาหาความรู้ และสามารถนำมาต่อยอดใช้ในอนาคต

ก็ถ้าจะใช้เงินแผ่นดินสำหรับให้ไปเล่าเรียนแก่ผู้ซึ่งไม่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด กลับมาไม่ได้ทำราชการคุ้มกับเงินแผ่นดินที่ลงไป ก็จะเป็นที่ติเตียนของคนบางจำพวกว่า มีลูกมากเกินไปจนต้องใช้เงินแผ่นดินเป็นค่าเล่าเรียนมากมายเหลือเกิน แล้วซ้ำไม่เลือกเฟ้นเอาที่เฉลียวฉลาดจะได้ราชการ คนโง่ คนเง่า ก็เอาไปเล่าเรียนให้เปลืองเงิน

หากรัชกาลที่ ๕ ใช้เงินของแผ่นดินในการส่งลูก ๆ ไปศึกษาเล่าเรียน ก็จะเกิดคำถามมากมาย เนื่องมาจากลูกแต่ละคนเก่งไม่เท่ากัน ผู้คนอาจมองว่าเงินที่ใช้จ่ายไปไม่คุ้มค่า รัชกาลที่ ๕ จึงตัดสินใจใช้เงินพระคลังข้างที่แทน เพื่อป้องกันตนเองและลูกทั้ง ๔ พระองค์จากการถูกติฉินนินทา

จุดมุ่งหมายในการแต่งเรื่องพระบรมราโชวาทคืออะไร

องค์ที่ ๓

พระบรมราโชวาทองค์ที่ ๓ พูดถึงการเกิดมามีเจ้านายมีบรรดาศักดิ์ ที่ดูเผิน ๆ เหมือนสุขสบาย แต่จริงๆ แล้วการเป็นเจ้านายจะหาช่องทางในการทำงานราชการได้ยากกว่าลูกขุนนางทั่วไป เพราะ หากไปรับราชการในตำแหน่งต่ำๆ ที่เรียกว่าเป็น “กระไดขั้นแรก” อย่างตำแหน่งนายรองหุ้มแพรมหาดเล็ก ก็ดูไม่เหมาะสมและเป็นไปไม่ได้

ในขณะเดียวกัน ถ้าจะแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งสูง ๆ แต่ความรู้ความสามารถยังไม่เพียงพอ หรือไม่มีสติปัญญา ก็จะถูกติฉินนินทาได้ เพราะฉะนั้น รัชกาลที่ ๕ จึงทรงกำชับให้ลูก ๆ ทั้งสี่ตั้งใจศึกษาหาความรู้ เพราะตั้งการให้ลูกกลับมาสร้างคุณสร้างประโยชน์ให้ ได้นำความรู้มาพัฒนาประเทศไทยสืบไป

พระบรมราโชวาทที่สำคัญในองค์ที่ ๓ มีดังนี้

ถ้าจะถือว่าเกิดมาเป็นเจ้านายแล้วนิ่ง ๆ อยู่จนตลอดชีวิตก็เป็นสบาย ดังนั้นจะไม่ผิดอันใดกับสัตว์ดิรัจฉานอย่างเลวนัก สัตว์ดิรัจฉานมันเกิดมากิน ๆ นอน ๆ แล้วก็ตาย แต่สัตว์บางอย่างยังมีหนัง มีเขา มีกระดูก เป็นประโยชน์ได้บ้าง แต่ถ้าคนประพฤติอย่างสัตว์ดิรัจฉานแล้วจะไม่มีประโยชน์อันใดยิ่งกว่าสัตว์ดิรัจฉานบางพวกไปอีก

อย่าประพฤติตนเฉกเช่นเดียวกับสัตว์เดรัจฉาน ที่เอาแต่กิน ๆ นอน ๆ นอกจากนั้น สัตว์บางประเภทยังมีประโยชน์มากกว่าคนที่เอาแต่นั่งเฉย วัน ๆ ไม่ทำสิ่งใดเลย เพราะยังมีเขา และส่วนของร่างกายส่วนอื่น ๆ ที่นำไปทำประโยชน์ได้

องค์ที่ ๔

พูดถึงเรื่องการอย่าถือตัวว่าเป็นลูกเจ้าแผ่นดิน แม้ว่ารัชกาลที่ ๕ จะมีอำนาจยิ่งใหญ่สำหรับการปกครองบ้านเมือง แต่ลูก ๆ ก็ไม่ควรทำตัวเกะกะระรานคนอื่น เพราะเขาเหล่านั้น ย่อมไม่กล้าโต้ตอบ

ดังนั้น หากลูก ๆ ทำผิดเมื่อใด จะต้องได้รับโทษทันที โดยที่รัชกาลที่ ๕ จะไม่ช่วยเหลือเป็นอันขาด 

พระบรมราโชวาทที่สำคัญในองค์ที่ ๔ มีดังนี้

ชีวิตสังขารของมนุษย์ไม่ยั่งยืนยืดยาวเหล็กเหมือนศิลา ถึงโดยว่าจะมีพ่ออยู่ในขณะหนึ่งก็คงจะมีเวลาที่ไม่มีได้ขณะหนึ่งเป็นแน่แท้ ถ้าประพฤติความชั่วเสียแต่ในเวลาที่พ่ออยู่แล้ว โดยจะปิดบังซ่อนเร้นอยู่ได้ด้วยอย่างหนึ่งอย่างใด เวลาไม่มีพ่อ ความชั่วนั้นคงจะปรากฏเป็นโทษติดตัวเหมือนเงาตามหลังอยู่ไม่ขาด

สรุปได้ว่า หากลูก ๆ ไปรังแกคนอื่นในวันที่รัชกาลที่ ๕ ยังคงมีชีวิตอยู่ คงไม่มีใครกล้าทำอันตรายลูก แต่ถ้าวันหนึ่งรัชกาลที่ ๕ ไม่อยู่แล้ว คนที่ลูก ๆ เคยรังแกย่อมต้องกลับมาเปิดเผยว่าลูก ๆ เคยทำอะไรไว้บ้าง ไม่ต่างอะไรจากเงาตามตัว หรือความชั่วที่ติดตัวมา

องค์ที่ ๕

พูดถึงเรื่องการใช้เงินเป็นสำคัญ โดยรัชกาลที่ ๕ แนะนำให้ใช้เงินอย่างเขม็ดแขม่ ซึ่งหมายถึงให้ใช้เงินอย่างมัธยัสถ์อดออม ไม่ควรใช้เงินมือเติบและสุรุ่ยสุร่าย รวมไปถึงไม่ควรสร้างหนี้อีกด้วย

หากผู้ใดไปก่อหนึ้ รัชกาลที่ ๕ จะไม่ใช้คืนให้เด็ดขาด ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้หนี้แทนลูก เพราะไม่ต้องการให้เจ้าหนี้เดือดร้อน แต่ลูกต้องรับผิดชอบด้วยการจ่ายหนี้นั้นกลับให้พ่อ และต้องรับโทษด้วย อย่าประพฤติตัวอย่างลูกขุนนางคนอื่น ๆ ที่จะใช้จ่ายเงินเท่าใดก็ได้ ให้นึกเสมอว่าเราเป็นคนจน ไม่ใช่ผู้ดีฝรั่งที่สืบสกุลต่อกันมา ที่ได้เงินจากดอกเบี้ย และค่าเช่าต่าง ๆ

นอกจากนั้น การนำเอาเงินเบี้ยหวัดและเงินกลางปีไปใช้หนี้ถือเป็นวิธีคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะควรเก็บไว้ใช้ในอนาคตมากกว่า แน่นอนว่ายิ่งโตเป็นผู้ใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้เงินมากขึ้น จะเป็นการดีกว่าถ้านำเงินไปต่อยอดเพื่อทำในสิ่งที่อยากจะทำหรือประกอบอาชีพอื่น ๆ

องค์ที่ ๖

ว่าด้วยเรื่องของวิชาที่ลูก ๆ ควรศึกษาเล่าเรียน โดยรัชกาลที่ ๕ ต้องการให้ลูกทุกคนที่ไปศึกษาต่างประเทศ เรียนวิชาเลข และแตกฉานทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนถึง ๓ ภาษาด้วยกัน ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน โดยควรที่จะแต่งหนังสือ ๒ ภาษาได้เป็นอย่างน้อย

นอกจาก ๒ วิชาที่กล่าวไปแล้ว รัชกาลที่ ๕ ไม่ได้กำหนดวิชาชำนาญหรือวิชาเฉพาะ ด้วยเห็นว่าควรจะกำหนดภายหลังจากที่ศึกษาเล่าเรียนวิชาหลักก่อน อย่างไรก็ตาม ลูก ๆ ก็ไม่ควรละเลยภาษาไทย ควรฝึกฝนภาษาไทยอยู่เสมอ เพราะต้องใช้เมื่อกลับมาทำงานที่ประเทศไทย

พระบรมราโชวาทที่สำคัญในองค์ที่ ๖ มีดังนี้

จงเข้าใจว่าภาษาต่างประเทศนั้นเป็นแต่พื้นของความรู้ เพราะวิชาความรู้ในหนังสือไทยที่มีผู้แต่งไว้นั้นเป็นแต่ของเก่า ๆ มีน้อย เพราะมิได้สมาคมกับชาติอื่นช้านานเหมือนวิชาการยุโรปที่ได้สอบสวนซึ่งกันและกันจนเจริญรุ่งเรืองมากแล้วนั้น ฝ่ายหนังสือไทยจึงไม่พอที่จะเล่าเรียน จึงต้องไปเรียนภาษาอื่นเพื่อจะได้เรียนวิชาให้กว้างขวางออก แล้วจะเอากลับลงมาใช้เป็นภาษาไทยทั้งสิ้น

เหตุผลที่รัชกาลที่ ๕ ต้องการให้ลูก ๆ ได้ศึกษาภาษาต่างประเทศ เพราะวิทยาการต่าง ๆ ของประเทศไทยมีน้อย เนื่องจากไม่ได้ติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้กับประเทศอื่น ๆ จึงหวังให้ลูก ๆ นำความรู้ที่ได้มาแปลและจัดทำหนังสือ เพื่อให้คนไทยศึกษาเล่าเรียน จนความรู้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ

นอกจากนั้น รัชกาลที่ ๕ ยังทรงแนะให้ละเว้นการพูดไทยคำอังกฤษคำ เนื่องจากไม่อยากให้เห็นว่าเป็น “การเก๋การกี๋” ซึ่งแปลว่าทันสมัย โดยรับสั่งให้เขียนจดหมายหารัชกาลที่ ๕ เดือนละ ๑ ฉบับ โดยในช่วงแรก ๆ ให้เขียนภาษาไทยมาก่อน โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเขียนผิด เพราะรัชกาลที่ ๕ ทรงทราบดีว่าลูก ๆ ทั้งสี่ยังไม่แตกฉานภาษาไทย แต่เมื่อเริ่มเขียนภาษาอังกฤษได้แล้ว ให้เขียนทั้ง ๒ ภาษาอย่างละ ๑ ฉบับ และถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับภาษาไทยให้สอบถามครูไทยหรือหนังสือภาษาไทยที่ได้จัดส่งไปไว้ได้ 

Did you know ?

มารู้จักเงินปอนด์กันในแบบสั้น ๆ เข้าใจง่ายกันเถอะ...เงินปอนด์ เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Pound (อ่านว่า เพาวดฺ) มีชื่อเต็มว่า Pound Sterling ถือเป็นสกุลเงินอย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักร อันประกอบไปด้วยประเทศอังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ และแคว้นไอร์แลนด์เหนือ

แม้เราจะรู้จักเงินปอนด์อังกฤษมากที่สุด แต่จริง ๆ แล้วมีอีกหลายดินแดนที่มีเงินปอนด์ใช้เป็นของตัวเอง แต่มีหน้าตาแตกต่างจากเงินปอนด์อังกฤษ เช่น ดินแดนปกครองตนเองเจอร์ซีย์ (Jersey) ดินแดนโพ้นทะเลเกาะเซาท์จอร์เจียนและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช (South Georgian and The South Sandwich Islands) ซึ่งต่างก็เป็นดินแดนของสหราชอาณาจักรทั้งคู่ 

อ่านมาจนครบองค์ที่ ๖ เกือบจบแล้วนะเพื่อน ๆ StartDee ขอแนะนำให้ไปเรียนองค์ที่ ๗ และทำข้อสอบแม่น ๆ ในแอปพลิเคชัน StartDee กันได้เลย

สำหรับเพื่อน ๆ ชั้น ม.๓ คนไหนที่อยากเรียนวรรณคดีไทยกันต่อ คลิกอ่าน บทพากย์เอราวัณ และอิศรญาณภาษิต ได้เลย หรือจะเรียนวิชาสังคมกับมหากาพย์สงครามโลกครั้งที่ ๑ สงครามโลกครั้งที่ ๒ และสงครามเย็นก็ได้นะ

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.trendingtalkuk.com/archives/421

https://adaybulletin.com/know-world-wide-words-pound/45445

 

ข้อใดคือจุดมุ่งหมายในการแต่งเรื่องพระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นงานเขียนรูปแบบจดหมายร้อยแก้วที่พระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง ๔ พระองค์ที่เสด็จไปศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศ แสดงให้เห็นความรักความห่วงใยของพ่อที่มีต่อลูก และแนวคิดในฐานะกษัตริย์ ซึ่งสามารถน้อมนำไปใช้ในหลักการดำเนินชีวิตได้

พระบรมราโชวาทของรัชกาลที่ 5 มีจุดมุ่งหมายใด

เนื่องจากพระองค์มีพระราชประสงค์ส่งพระราชโอรสไปศึกษา เพื่อนำความรู้และวิทยาการกลับมา พัฒนาสยามประเทศให้ก้าวหน้าทันสมัย และเพื่อป้องกันแผ่นดินจากจักรวรรดินิยมตะวันตกที่มักอ้างความชอบธรรมในการยึดครองเมืองอื่นว่า การทำให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้านั้นเป็น 'ภาระของคนขาว'

คุณค่าที่ได้รับจากเรื่องพระบรมราโชวาทมีอะไรบ้าง

ข้อคิดที่ได้รับจากเรื่องร้อยแก้วพระบรมราโชวาท ได้แก่ 1) คนเราควรอุตสาหะเล่าเรียนด้วยความเพียร เพื่อนำ ความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ 2) ให้เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย อย่ามีทิฐิมานะในทางที่ผิด 3) รูจั้กใช้เงินอย่างคุ้มค่าโดยเฉพาะ

เรื่องพระบรมราโชวาทใช้โวหารการเขียนชนิดใด

ลักษณะค้าประพันธ์ จดหมายร้อยแก้ว และใช้เทศนาโวหาร พระบรมราโชวาท เป็นค้าสอนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง ๔ พระองค์ ทีเสร็จไปทรงกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศ ได้แก่