ปฏิบัติตนตามหลักธรรมอัตถะ 3 อย่างไรบ้าง

ปรมัตถะ ประโยชน์สูงสุด คือ พระนิพพาน อันเป็นธรรมที่ดับทุกข์นั่นเอง การที่พระนิพพานได้ชื่อว่า มีประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ที่แท้จริง เป็นการหลุดพ้นจากสังสารวัฏ อันเกิดจากการปฏิบัติทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทาหรือมรรค 8 นั่งเอง

ทิฏฐธัมมิกัตถะ ก็คือ ประโยชน์ปัจจุบัน หรือประโยชน์อย่างที่เห็นๆ เพราะทิฏฐธัมมะแปลว่า เรื่องที่เห็นๆ กันอยู่ เรื่องที่มองเห็นได้ในแง่กาละ ก็คือปัจจุบัน หรือถ้าพูดในแง่ของเรื่องราวก็คือเรื่องทั่วๆ ไป เรื่องการดำเนินชีวิต การเป็นอยู่ที่ปรากฏ เรื่องทางวัตถุที่เห็นกันได้ สภาพภายนอก เช่น การมีปัจจัย ๔ มีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย มีฐานะ มีลาภ มีเกียรติ มียศ มีสรรเสริญ เรื่องชีวิตคู่ครอง ความมีมิตรไมตรี อะไรต่างๆ ในชีวิตปัจจุบันนี้ ในชีวิตที่มองเห็นๆ กันอยู่ นี้เป็นประโยชน์ปัจจุบัน ซึ่งพระพุทธศาสนาก็สอน ว่าเป็นจุดหมายประการหนึ่งในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรือการปฏิบัติตามธรรมในพระพุทธศาสนา

สัมปรายิกัตถะ ก็คือ ประโยชน์ที่เลยออกไปหรือต่อออกไป สัมปราย แปลว่า เลยออกไป ก็หมายถึงเบื้องหน้า เลยออกไปไกลๆ ก็คือ ภพหน้า ชาติหน้า จะไปเกิดที่ดีๆ ไม่ไปเกิดที่ชั่วๆ นี่เป็นประโยชน์หรือเป็นจุดหมายขั้นสัมปรายะ หรือถ้าไม่มองไกลมากอย่างนั้น ก็ได้แก่สิ่งที่เป็นหลักประกันชีวิตในเบื้องหน้าหมายถึงสิ่งที่ลึกเข้าไปทางจิตใจ คือ พ้นจากเรื่องทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การมีฐานะ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ชั้นภายนอกแล้วก็มาถึงเรื่องจิตใจ เรื่องคุณธรรมต่างๆ การที่จะมีจิตใจที่สุขสบาย ซึ่งท่านบอกว่าต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ มีศรัทธา มีความประพฤติซึ่งทำให้มั่นใจตนเอง มีศีล มีจาคะ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีสุตะ มีความรู้ได้เล่าเรียนศึกษาและมีปัญญา มีความเข้าใจรู้จักสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง อะไรพวกนี้ นี้เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งเข้าไปในจิตใจ ซึ่งเมื่อมีแล้วก็เป็นเครื่องรับประกันชีวิตในเบื้องหน้าได้ทีเดียวว่า คติชีวิตจะเป็นไปในทางที่ดี นี้ก็เป็นจุดหมายประการหนึ่งในทางพุทธศาสนา ยกตัวอย่างเรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล สมัยหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทางเสวยมากจนกระทั่งอ้วนอึดอัด พระพุทธเจ้าก็ทรงตักเตือน พระเจ้าปเสนทิโกศลถึงกับได้ทูลพระพุทธเจ้าว่าพระองค์นี้ทรงอนุเคราะห์ข้าพระองค์ ไม่เฉพาะเรื่องสัมปรายิกัตถะเท่านั้น ทรงอนุเคราะห์แม้แต่ในเรื่องทิฏฐธัมมิกัตถะด้วย

ส่วนปรมัตถะ ก็คือประโยชน์สูงสุด ถ้าพูดกันง่ายๆ ก็คือเรื่องนิพพาน หรือความมีใจเป็นอิสระ ความมีจิตหลุดพ้น มีจิตใจปลอดโปร่งผ่องใสเบิกบานอยู่ได้ตลอดเวลา เพราะปราศจากกิเลส

จุดหมายนี้แบ่งเป็น ๓ อย่าง หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น ๓ ระดับ ซึ่งอยู่ในวงหรือขอบเขตของพระพุทธศาสนา เป็นลักษณะทั่วไปอย่างหนึ่ง ซึ่งช่วยให้ได้ระมัดระวังว่าเราจะสอนหรือแสดงหลักการของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่ว่าจะต้องจำกัดเอาอย่างเดียว เมื่อใครพูดถึงเรื่องระดับอื่น ประโยชน์ระดับอื่นแล้ว ไม่ยอมรับเลย บอกว่าอันนี้ไม่ใช่พุทธศาสนา มิใช่อย่างนั้น พระพุทธศาสนาครอบคลุมได้ทั้ง ๓ ระดับอย่างนี้ อนึ่ง ถ้าหากจะไม่แบ่งในแง่ระดับ จะแบ่งในแง่ประโยชน์ หรือจุดหมายที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เป็นด้านๆ ท่านก็แบ่งไว้อีก บอกว่าประโยชน์มี ๓ อย่าง หรืออัตถะ ๓ อย่าง คือ

๑. อัตตัตถะ ประโยชน์ตน

๒. ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น

๓. อุภยัตถะ ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย หรือ ประโยชน์ร่วมกัน

คำสอนประเภทนี้ก็มีเน้นอยู่มากมายในพระไตรปิฎก เช่น เน้นเรื่องการไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่นก็แน่ละ แถมไม่เบียดเบียนตนอีกด้วย พระพุทธศาสนาย้ำ ซึ่งอันนี้เป็นลักษณะที่แปลก บางทีเราไม่ได้สังเกต ท่านให้มองตัวเราไม่ใช่ในแง่ตัวตน แต่มองเป็นชีวิตหนึ่งเหมือนกับชีวิตทั้งหลาย ชีวิตคนอื่นเราไม่เบียดเบียนฉันใด ตัวเราในฐานะที่เป็นชีวิตหนึ่งซึ่งใกล้ชิดที่สุด ต้องรับผิดชอบก่อน เราก็ไม่ควรเบียดเบียนเหมือนกัน แม้แต่การจำกัดความ ความเป็นพาลเป็นบัณฑิต อะไรนี้ ท่านก็ให้มองดูที่การเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่นหรือไม่ ต่อจากนั้นก็ขยายออกไปในระดับปรัตถะอย่างกว้าง

February 7, 2014อัตถะ 3

อัตถะ  หมายถึง ประโยชน์ ผลที่ได้ มี 3 ประการ คือ

  1. ทิฏฐธัมมิกัตถะ  ประโยชน์ในภพนี้ได้เห็นในชาติปัจจุบัน เช่น สุขจากการมีทรัพย์ ใช้จ่ายทรัพย์ ไม่เป็นหนี้ ทำงานที่สุจริต
  2. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ในภพหน้าคือสุขขั้นเลยตาเห็น เป็นประโยชน์ที่สร้างคุณค่าในภพปัจจุบันยังเป็นหลักประกันถึงภพหน้าที่่จะได้จากมนุษยสมบัติหรือสวรรคสมบัติ
  3. ปรมัตถะ  เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง นั่นคือ นิพพาน เป็นสุขอย่างแท้จริงยั่งยืนหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งมวล

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

Related

Written by papatsro Posted in Dhamma Tagged with ธรรมวิภาคโท, นักธรรมโท

อัตถะ แปลว่า ประโยชน์ ผลที่มุ่งหมาย จุดหมาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสั่งสอนพุทธบริษัททั้งหลาย ก็เพื่อให้พุทธบริษัทนั้นได้รับประโยชน์ 3 ประการ คือ

1. ทิฏฐธัมมิกัตถะ

ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในภพนี้ ประโยชน์ในโลกนี้ หรือประโยชน์ในปัจจุบัน คือประโยชน์ที่จะได้รับในปัจจุบันชาตินี้ มุ่งถึงประโยชน์ในการแสวงหาทรัพย์และการมีฐานะที่มั่นคง จะเกิดมีขึ้นได้ด้วยการมีคุณลักษณะ 4 ประการ คือ

1) อุฏฐานสัมปทา ประกอบพร้อมด้วยความขยันในการประกอบกิจแสวงหาทรัพย์สิน

2) อารักขสัมปทา การรักษาทรัพย์ที่หามาได้ไม่ให้สูญไปโดยไร้ประโยชน์

3) กัลยาณมิตตตา การคบคนดีเป็นมิตร

4) สมชีวิตา การเลี้ยงชีพพอสมควรแก่ฐานะ

2. สัมปรายิกัตถะ

สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ในภพหน้า คือประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากตายไปแล้วไปเกิดในภพหน้าต่อ ๆ ไป มุ่งถึงการบำเพ็ญคุณธรรมในปัจจุบันชาติ อันจะส่งผลดีให้ได้รับในชาติต่อไป ซึ่งคุณธรรมดังกล่าวนั้นมี 4 ประการ คือ

1) สัทธาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา มีศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา

2) สีลสัมปทา สมบูรณ์ด้วยศีล คือรักษาศีลให้บริสุทธิ์หมดจด

3) จาคสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยจาคะคือการเสียสละ คือการยอมสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น

4) ปัญญาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือการศึกษาธรรมะให้รู้แจ้ง เพื่อความเป็นสัมมาทิฏฐิ รู้ทางแห่งความเสื่อมและความเจริญ และดำเนินตามทางแห่งความเจริญ

3. ปรมัตถะ

ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง หมายเอาเป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน เพราะพระนิพพานถือว่าเป็นประโยชน์สูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นประโยชน์ที่ยิ่งยวดกว่าประโยชน์ทั้งหมด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสั่งสอนเหล่าสาวกก็เพื่อประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพานนี้


  • รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
  • คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
  • อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
  • โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
  • ทุจริต 3 ประการ
  • สุจริต 3 ประการ
  • สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
  • สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
  • พระโสดาบัน 3 ประเภท
  • อกุศลมูล 3 ประการ
  • กุศลมูล 3 ประการ
  • สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
  • อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
  • บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
  • สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
  • อกุศลวิตก 3 ประการ
  • กุศลวิตก 3 ประการ
  • อัคคิ 3 ประการ
  • อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
  • อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
  • อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
  • อธิปไตย 3 ประการ
  • อนุตตริยะ 3 ประการ
  • อภิสังขาร 3 ประการ
  • อาสวะ 3 ประการ
  • กรรม 3 ประการ
  • ทวาร 3 ประการ
  • ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
  • ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
  • ตัณหา 3 ประการ
  • ทิฏฐิ 3 ประการ
  • เทพ 3 ประเภท
  • ธรรมนิยาม 3 ประการ
  • นิมิต 3 ประการ

  • ภาวนา 3 ประการ
  • ปริญญา 3 ประการ
  • ปหาน 3 ประการ
  • ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
  • ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
  • พุทธจริยา 3 ประการ
  • ภพ 3 ประการ
  • วัฏฏะ 3 ประการ
  • วิชชา 3 ประการ
  • โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
  • โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
  • โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
  • วิโมกข์ 3 ประการ
  • วิเวก 3 ประการ
  • สังขตลักษณะ 3 ประการ
  • อสังขตลักษณะ 3 ประการ
  • สังขาร 3 ประการ
  • สัทธรรม 3 ประการ
  • สมบัติ 3 ประการ
  • ทานสมบัติ 3 ประการ
  • สิกขา 3 ประการ
  • โกศล 3 ประการ
  • ทุกขตา 3 ประการ
  • เทวทูต 3 ประการ
  • ธรรม 3 ประการ
  • บุตร 3 ประเภท
  • ปปัญจะ 3 ประการ
  • ปัญญา 3 ประการ
  • ปาปณิกธรรม 3 ประการ
  • ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
  • วิรัติ 3 ประการ
  • เวทนา 3 ประการ
  • สรณะ 3 ประการ
  • สันโดษ 3 ประการ

สนใจเรื่องเหล่านี้ไหม:

ปฏิบัติตนตามหลักธรรมอัตถะ 3 อย่างไรบ้าง
บุคคลไม่ควรพร่าประโยชน์ของตน เพราะประโยชน์ของผู้อื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน.