เราสามารถป้องกันภัยพิบัติได้อย่างไรบ้าง

เราไม่รู้ว่าภัยพิบัติจะเกิดขึ้นเมื่อไร แต่เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นแล้ว เราจะปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องและมีสติไม่ตื่นตระหนกได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่าเรามีการเตรียมตัวให้พร้อมรับมืออยู่เสมอหรือไม่ เราต้องเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติอย่างไรบ้าง? มีวิธีการรับมือเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นได้อย่างไรบ้าง?

ปกป้องเพื่อนบ้านและชุมชน

มาตรการป้องกันแผ่นดินไหวของเขตชินจูกุ

สำนักงานเขตชินจูกุดำเนินมาตรการต่างๆเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทุกคนในเขตชินจูกุจากภัยพิบัติ เช่น การเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่

ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการสั่นสะเทือนกระจายไปโดยรอบเป็นผลรวมของคลื่นที่มีความถี่ขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งมีผลกระทบต่ออาคารสูง แรงสั่นสะเทือนจะทำให้เกิดการเลี่ยนแปลงเช่น การเคลื่อนไหวของแผ่นดิน การยุบตัวของแผ่นดิน แผ่นดินเลื่อน แผ่นดินถล่ม เป็นปรากฏการณ์ที่สลับซับซ้อน และมีผลต่ออาคารบ้านเรือน และอื่น ๆ

เราสามารถป้องกันภัยพิบัติได้อย่างไรบ้าง

องค์ประกอบที่ทำให้เกิดอันตรายและความเสียหายจากแผ่นดินไหว

อันตรายจะมีมากหรือน้อยเพียงใดที่เกิดจากแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับสาเหตุหลายประการ ดังนี้ 1. ขนาดของการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นริกเตอร์

2. ความรุนแรงของแผ่นดินไหว วัดจากความรู้สึกของ คน สัตว์ หรือผลกระทบที่มีต่ออาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้าง

เราสามารถป้องกันภัยพิบัติได้อย่างไรบ้าง

อันตรายและความเสียหายจากการเกิดแผ่นดินไหว

ความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดรุนแรงมาก ก่อให้เกิดอันตรายและผลเสียหาย ดังนี้

1. ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวเกิดความตื่นตระหนก เสียขวัญ อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือได้รับบาดเจ็บถึงเสียชีวิตได้ จากอาคารบ้านเรือนหล่นทับ และจากอัคคีภัย อุทกภัย เป็นต้น

2. อาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ เกิดการโยกคลอน สั่นไหว หักพังทลาย สาธารณูปโภคถูกทำลาย แผ่นดินอาจเกิดการทรุดตัว เป็นต้น

3. เมื่อเกิดแผ่นดินไหว เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ อาจหล่นลงมา หรือไฟ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ ก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้ ถ้าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบริเวณใกล้ฝั่งหรือในท้องทะเลมักทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำลูกใหญ่ พัดเข้าฝั่งกวาดบ้านเรือนและคนจมน้ำสูญหายเป็นจำนวนมาก

เราสามารถป้องกันภัยพิบัติได้อย่างไรบ้าง

4. หลังจากการเกิดแผ่นดินไหวทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นเงินจำนวนมาก ทำให้การติดต่อสื่อสารมีความล่าช้าย่อมส่งผลต่อธุรกิจการค้าต่าง ๆ เป็นอย่างมาก

การป้องกันเพื่อลดภัยพิบัติจากการเกิดแผ่นดินไหว

ควรมีการป้องกันหรือลดการเกิดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว ดังนี้

1. การจัดทำแผนการป้องกันอันตรายจากการเกิดแผ่นดินไหว วิธีการดำเนินการในการป้องกันช่วยเหลือผู้ประสบภัย การให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากแผ่นดินไหว

2. กำหนดมาตรการทางกฎหมาย กำหนดเขตความเสี่ยงแผ่นดินไหว การแบ่งเขตการใช้ที่ดิน หรือบริเวณที่มักเกิดแผ่นดินไหว และออกกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรงเป็นพิเศษเพื่อรองรับการเกิดแผ่นดินไหว

3. การทำประกันวินาศภัยและประกันชีวิต ให้กับประชาชนที่อยู่ในบริเวณที่อาจเกิดแผ่นดินไหว เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้ประสบภัยจะได้รับความช่วยเหลือและค่าชดเชยกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

เราสามารถป้องกันภัยพิบัติได้อย่างไรบ้าง

4. ควรตั้งาสถานีตรวจแผ่นดินไหวขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ ให้ทั่วประเทศ เพื่อตรวจวัดความสั่นสะเทือนของพื้นดิน และแจ้งข่าวให้ประชาชนได้ทราบถึงอันตรายที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ

ข้อควรปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเกิดแผ่นดินไหว

ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดแผ่นดินไหว โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อย ๆ ควรพึงปฏิบัติ ดังนี้

1. ให้ทุกคนในบ้านรู้ถึงวิธีการว่าจะต้องทำอะไรเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

2. ควรมีความรู้และรู้จักวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

เราสามารถป้องกันภัยพิบัติได้อย่างไรบ้าง

3. ต้องมีการวางแผนในการเรื่องของจุดนัดพบการกลับมารวมตัวกันหลังเกิดแผ่นดินไหวในกรณีที่หนีไปคนละทาง

4. ควรจัดเตรียมไฟฉาย ถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาไว้ และทุกคนต้องรู้ที่เก็บด้วย

5. คนในบ้านควรทราบตำแหน่งวาล์วปิดน้ำ วาล์วแก๊ส สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟ

6. ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักไว้บนชั้น หรือ หิ้งสูง ๆ เพราะถ้าเกิดแผ่นดินไหวจะทำให้หล่นเสียหายได้

7. ควรยึดเครื่องใช้ หรือเครื่องประดับบ้านที่หนัก ๆ ไว้กับพื้นหรือผนังบ้าน

ข้อควรปฏิบัติขณะที่เกิดแผ่นดินไหว

1. ไม่ควรตื่นเต้นตกใจ ตั้งสติ และระมัดระวังสิ่งของอาจหล่นลงมาโดนเราได้ ถ้าอยู่นอกอาคารให้อยู่ในที่โล่งแจ้ง และให้ยืนห่างจากอาคาร เสาไฟฟ้า หรือสี่งที่ห้อยแขวนต่าง ๆ อยู่ในบ้านให้รีบออกมานอกบ้านทันที

2. ถ้าไม่สามารถออกมาจากบ้านได้ทันให้อยู่ในส่วนที่มีโครงสร้างแข็งแรง ห่างจากประตูหน้าต่างและระเบียง ควรดับไฟในเตา ไฟตะเกียง เครื่องใช้ไฟฟ้า กล้องวงจรปิด CCTV และไม่ควรใช้ไม้ขีด หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟอื่น ๆ

3. หากกำลังขับรถอยู่ให้หยุดรถก่อน และอยู่ภายในรถจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง

4. ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดในขณะที่เกิดแผ่นดินไหว 5. ถ้าอยู่ใกล้ทะเลหรือชายหาดให้รีบออกห่างทันที เพราะอาจมีคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าฝั่งทำให้เกิดอันตรายได้

ดูสถานการณ์รอบข้างก่อนจะขยับตัวอย่างใจเย็น

▶ ไม่ว่าจะอยู่โรงแรม ซื้อของที่ห้าง ซุปเปอร์มาร์เก็ต อยู่ในโรงละครหรืออยู่ในหอประชุม
ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่หรือเสียงประกาศตามสายภายในอาคาร (อาจมีการเคลื่อนย้ายคนให้ไปในที่ปลอดภัย)
▶ รับข้อมูลที่ถูกต้องจากเว็บไซต์แล้วนำมาปฏิบัติ