ใบ งาน ความ ปลอดภัย ในชุมชน

ชุมชน คือ กลุ่มคนในขอบเขตพื้นที่ในอาณาเขตเดียวกัน ที่มีจำนวนครัวเรือนหลายๆครัวเรือนอยู่ร่วมกันในพื้นที่แห่งนั้น ซึ่งชุมชนนั้นจะมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่

ลักษณะของชุมชนขนาดเล็ก : มีครอบครัวอยู่กันจำนวนน้อย รู้จักกันทั่ว ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแน่นแฟ้น

ลักษณะของชุมชนขนาดใหญ่ : มีครอบครัวอยู่กันจำนวนมาก อาจกลายเป็นชุมชนแออัดได้ และมักมีสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยดี

การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนนั้นควรจะทำหลายๆด้าน ซึ่งทุกๆคนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยต่างๆของตนเอง และบุคคลอื่น

 

การสร้างเสริมความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต

การสร้างเสริมความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตที่มีความสุขได้ ซึ่งมีหลักการดังนี้

1. เป็นผู้ที่มีสติมั่นคง ไม่ตื่นเต้นตกใจง่าย เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีเฉพาะหน้าขึ้น ก็ควรตั้งสติ และพิจารณาว่าควรจะแก้ปัญหานั้นอย่างไรดี

2. เป็นคนช่างสังเกต ว่าจะมีเหตุการณ์ที่ผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่

3. อย่าไว้ใจคนง่าย พึงระวังคนแปลกหน้า

4. อย่าละโมบโลภมาก เพราะคนโลภมากมักตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

5. ไม่เป็นคนสะเพร่ามักง่าย เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ตนเอง

6. ต้องมีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถสร้างความปลอดภัยให้กับตนเองได้ อย่าปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามยถากรรม หรือโทษเรื่องของเคราะห์เมื่อเกิดเหตุร้ายกับตนเอง

7. จงยึดคำขวัญที่ว่าปลอดภัยไว้ก่อน

 

การสร้างเสริมความปลอดภัยในการใช้ยานพาหนะ

1. การใช้จักรยาน

1.1 ตรวจดูสภาพรถจักรยานว่ามีส่วนใดชำรุดหรือไม่

1.2 ขี่ชิดริมถนนด้านซ้ายและขี่ในทิศทางที่ถูกต้อง

1.3 เคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

1.4 ไม่ประมาท

 

2. รถจักรยานยนต์และรถยนต์

2.1 ตรวจดูสภาพรถ

2.2 ขับขี่ชิดริมถนนด้านซ้าย

2.3 เคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

2.4 สวมหมวกนิรภัย หากเป็นรถยนต์ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย

2.5 ไม่แข่งขันรถกันบนถนน

2.6 ไม่ประมาท

2.7 ไม่ขับขี่ขณะมึนเมา

 

การสร้างเสริมความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยว

1. ศึกษาสภาพพื้นที่ภูมิประเทศ และภูมิอากาศของสถานที่ที่จะไปท่องเที่ยว ถ้าเห็นว่าอาจเกิดอันตรายได้ ก็ควรงดเว้นการเดินทาง

2. ควรเตรียมยา เครื่องเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเดินทางติดตัวไปด้วย

3. ไม่ดื่มสุรา หรือใช้ยาเสพติดในขณะท่องเที่ยว

4. การไปเที่ยวต้องมีสภาพร่างกายที่พร้อมต่อลักษณะการไปเที่ยวในสถานที่นั้นๆ

5. ระมัดระวังพวกมิจฉาชีพ

 

การสร้างเสริมความปลอดภัยจากสัตว์ร้าย

1. ภัยจากวัวหรือควาย ถ้านักเรียนถูกวัวหรือความวิ่งไล่ ควรรีบถอดเสื้อ หรือถ้ามีผ้าถือไว้ให้โยนทิ้ง วัวหรือควายจะหยุดดมของที่เราทิ้งไว้ หรือถ้าว่ายน้ำ

เป็น ให้วิ่งลงน้ำ

2. ภัยจากสุนัข การเตรียมไม้เพื่อป้องกันตัวจากการถูกสุนัขกัดเป็นสิ่งที่ควรทำ

3. ภัยจากงู ควรหลีกเลี่ยงการเดินไปในที่มืด ที่รก หากมีความจำเป็นควรสวมร้องเท้าบูทแล้วใช้ไม้ตีต้นหญ้าหรือพุ่มไม้ไปตลอดทาง เพื่อให้งูเลื่อยหนีไป

 

การสร้างเสริมความปลอดภัยจากอาชญากรรม

1. การป้องกันการลักทรัพย์ในที่พักอาศัย

1.1 ก่อนออกจากบ้าน ควรมีคนที่ไว้ใจได้อยู่ดูแลที่พักอาศัย, ควรเปิดไฟบางห้องไว้

1.2 ก่อนเปิดประตูบ้าน ก่อนเปิดประตูบ้านรับแขก ควรดูให้ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใด, ตรวจสอบบัตรประจำตัวช่างซ่อมหรือตัวแทนบริษัทต่างๆที่จะเข้ามาในบ้าน

1.3 นอนหลับตอนกลางคืน เมื่อพลบค่ำควรรูดม่านปิด ไม่ให้คนนอกมองเห็นด้านใน

1.4 ข้อควรปฏิบัติ ไม่ปล่อยให้ที่พักอาศัยมีต้นไม้สูง, ควรผูกมิตรกับเพื่อนบ้าน, ไม่ควรเก็บของมีค่าไว้ที่บ้าน

การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน

การส่งเสริมความปลอดภัย เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากถึงแม้ว่าองค์กรนั้นจะมีการออกแบบ ด้านความปลอดภัยเป็นอย่างดี หรือผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมอย่างทั่วถึง หรือขั้นตอนปฏิบัติงาน (Task Procedure)  จะ ปลอดภัยและได้บังคับใช้อย่างต่อเนื่องก็ตาม  การส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพมีความสำคัญยิ่ง เพราะการป้องกันอุบัติเหตุขึ้นอยู่กับการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานด้วย ความปลอดภัย  ผู้ปฏิบัติงานต้องอาศัยความคิดของตัวเองและต้องรักษาระเบียบวินัย เพื่อป้องกันตัวผู้ปฏิบัติงานเอง  พฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานสามารถถูกกระตุ้นหรือบังคับให้เกิดได้ด้วยการส่ง เสริมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพแรงจูงใจภายใต้การส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพ คือแนวคิดที่ว่าพฤติกรรมสามารถและควรจะเปลี่ยนแปลงได้  การส่งเสริมความปลอดภัยไม่ควรจะดำเนินการแต่เพียงผิวเผินด้วยการให้รางวัล ที่ไม่มีที่สิ้นสุดเท่านั้น  แต่การส่งเสริมความปลอดภัยควรจะถูกจัดการและมุ่งหวังผลการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่ต้องการให้ได้  ระบบการส่งเสริมที่มั่นคง เฉพาะเจาะจง เข้มข้น และที่ได้วางแผนเป็นอย่างดี คือรากฐานภายใต้ความสำคัญที่ว่า
  • จิตสำนึกใดที่ต้องใส่ใจ ต้องพิจารณา
  • จิตสำนึกใดที่ไม่ต้องใส่ใจ, ให้ยกเลิกไป
  • จิตสำนึกใดที่ใส่ใจกระทำอยู่เสมอ มันเป็นความเชื่อ
  • จิตสำนึกใดที่เป็นความเชื่อ มันจะแสดงออกที่การกระทำ
  • จิตสำนึกใดที่กระทำอย่างสม่ำเสมอ มันจะกลายเป็นนิสัย   
 การเริ่มต้นการส่งเสริมความปลอดภัยนั้น ผู้นำควรจะ
  • ชี้บ่งพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ ซึ่งปรากฏอยู่อย่างเด่นชัด
  • วางแผนและจัดระบบสำหรับกลยุทธ์ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยแรงกระตุ้นเชิงบวก (Positive reinforement)
  • กำหนดระบบการติดตามเพื่อวิเคราะห์เมื่อพฤติกรรมได้เปลี่ยนแปลงแล้วว่าได้เปลี่ยนแปลงอย่างไรและจะมีลักษณะนิสัย (Habit) ใหม่อย่างไร
  • วางแผนและจัดระบบสำหรับกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ในการส่งเสริมครั้งต่อๆ ไป

  • แนวทางสำหรับการส่งเสริมความปลอดภัยให้ประสบความสำเร็จ
  • การผสมผสานกิจกรรมการส่งเสริมทั่วไปเข้ากับองค์ประกอบของระบบการบริหารเพื่อควบคุมความสูญเสีย  การติดโปสเตอร์ การประกวด และโปรแกรมการส่งเสริมที่เกี่ยวข้องกัน คือหนึ่งในองค์ประกอบของระบบบริหารความปลอดภัย  กิจกรรมการนิเทศความปลอดภัย (Safety oriented activities) เพื่อสร้างการตระหนักให้มากขึ้น จะต้องกระทำควบคู่ไปกับองค์ประกอบการควบคุมความสูญเสียอื่นๆ
  • ให้ความสำคัญกับข่าวสารด้านสาเหตุของอุบัติเหตุเฉพาะ (Specific accident causes) และการป้องกัน (preventive actions)  ข่าวสารทั่วๆ ไป เช่น ต้องปลอดภัย (be safety) ขับรถให้ปลอดภัย (drive safety)  หรือเพิ่มความระมัดระวัง อาจไม่ชัดเจน และมีประโยชน์ค่อนข้างน้อย แต่ข่าวสารเฉพาะ เช่น “  ยกย่อเข่าเพื่อป้องกันหลังของคุณ”  จะมีประโยชน์มากกว่า
  • กำหนดเป้าหมายการส่งเสริมที่เฉพาะเจาะจง  มีการออกแบบกิจกรรมการส่งเสริมทั่วไป 
  • เพิ่มความเข้มข้นด้วยความหลายหลาย  
  • การรณรงค์ของบริษัทและโปรแกรมต่างๆ     ซึ่งอาจใช้วิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้
    • การสนทนาความปลอดภัย (Safety talks)
    • การส่งแผ่นพับ
    • โปสเตอร์
    • ป้ายโฆษณา (Banner buttons and badges)
    • การสังเกตพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
    • นิทรรศการ
    • การตรวจสอบหรือตรวจเยี่ยมพิเศษ
    • การประกวด
    • การแข่งขัน
    • ภาพถ่าย สไลด์ ภาพยนตร์ และวีดีโอ
    • การใช้แบบสอบถาม
    • ข่าวสารความปลอดภัย วารสาร และจดหมายข่าว
    การมีบุคคลจากหลากหลายรูปแบบในแต่ละทีม  จะทำให้สมาชิกซึ่งเป็นผู้บริหาร
    ทุก คนมีส่วนร่วมในระบบการบริหารความสูญเสีย  การปฏิบัติเหล่านี้เปรียบเสมือนการที่ผู้บริหารแสดงให้เห็นถึงพันธะสัญญา (Commitment) ด้านความปลอดภัยของเขาต่อผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด 
  • เน้นเชิงบวก (Accentuate the Positive)  กิจกรรมการส่งเสริมที่เน้นให้ทำอะไร (what to do) จะทำให้ขบวนการด้านความปลอดภัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การส่งเสริมบริเวณที่ต้องการการควบคุมปัญหาเฉพาะจุด (Practice “point-of-control” Promotion)  จากการศึกษาพบว่าการใช้โปสเตอร์จะมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อติดที่จุดของปัญหา  ตัวอย่างเช่น โปสเตอร์เตือนให้บุคคลจับราว (handrails) สำหรับบันไดควรตัดบริเวณที่บุคคลจะขึ้นหรือลงบันได เหมือนกับอุปกรณ์ช่วยงาน (job aids) เช่น MSDS หรือแบบเช็คลิสต์งานวิกฤต (Critical Task Checklist) และขั้นตอนปฏิบัติงานวิกฤตก็ต้องติดบริเวณที่จะปฏิบัติงาน เป็นต้น
  • การยึดหลักการส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพบนหลักการของการป้องกัน (Use proven principle for effective promotion)  ซึ่งจะมี 5 ข้อ ดังนี้
        -หลักการของการให้ข้อมูลข่าวสาร (Principle of Information) การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะเพิ่มการจูงใจ
        -หลักการของการมีส่วนร่วม (Principle of Involvement การมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายจะเพิ่มการจูงใจและการสนับสนุน
        -หลักการของการตอบสนองซึ่งกันและกัน (Principles of Mutual Interest) โปรแกรม โครงการ ความคิดต่างๆ จะเป็นจุดขายที่ดี  ถ้าเป็นสิ่งที่เชื่อมความพึงพอใจของทั้งองค์กรและผู้ปฏิบัติงาน
        -หลักการของการเติมเสริมพฤติกรรม (Principles of Beharior Deinforement)  พฤติกรรมเชิงบวกมีแนวโน้มที่จะต่อเนื่องหรือเพิ่มขึ้น เมื่อได้รับการส่งเสริมอยู่เรื่อยๆ
        -หลักการของการกระทำซ้ำๆ (Principle of Repetition)        ยิ่งให้ได้รับข้อมูลบ่อยเท่าไร ยิ่งทำให้เกิดความจดจำได้มากขึ้นเท่านั้น
  • การมุ่งเน้นที่ปัญหาวิกฤต (Focus on critical Problem) 
  • ประเมินผลการส่งเสริม (Evaluate promotion results)
          ในการประยุกต์ใช้วิธีการทั้ง 10 วิธีข้างต้นนี้จะต้องหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลที่มากจนเกินไป  ห้ามส่งเสริมในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง และต้องจริงใจ (be honest) ในท้ายที่สุดพึงจดจำไว้เสมอว่าสองคำของการส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพคือ ง่ายๆ และซ้ำๆ (simplify and repeat) ง่ายๆ และซ้ำๆ  ง่ายๆ และซ้ำๆ
  • ชุมชนกับความปลอดภัย
    ชุมชน คือ กลุ่มคนในขอบเขตพื้นที่ในอาณาเขตเดียวกัน ที่มีจำนวนครัวเรือนหลายๆครัวเรือนอยู่ร่วมกันในพื้นที่แห่งนั้น ซึ่งชุมชนนั้นจะมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ลักษณะของชุมชนขนาดเล็ก : มีครอบครัวอยู่กันจำนวนน้อย รู้จักกันทั่ว ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแน่นแฟ้นลักษณะของชุมชนขนาดใหญ่ : มีครอบครัวอยู่กันจำนวนมาก อาจกลายเป็นชุมชนแออัดได้ และมักมีสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยดีการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนนั้นควรจะทำหลายๆด้าน ซึ่งทุกๆคนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยต่างๆของตนเอง และบุคคลอื่น
    การสร้างเสริมความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
    การสร้างเสริมความปลอดภัยในการดำเนิน ชีวิตถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตที่มีความสุขได้ ซึ่งมีหลักการดังนี้
        1. เป็นผู้ที่มีสติมั่นคง ไม่ตื่นเต้นตกใจง่าย เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีเฉพาะหน้าขึ้น ก็ควรตั้งสติ และพิจารณาว่าควรจะแก้ปัญหานั้นอย่างไรดี
        2. เป็นคนช่างสังเกตว่าจะมีเหตุการณ์ที่ผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่
        3. อย่าไว้ใจคนง่าย พึงระวังคนแปลกหน้า
        4. อย่าละโมบโลภมาก เพราะคนโลภมากมักตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
        5. ไม่เป็นคนสะเพร่ามักง่าย เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ตนเอง
        6. ต้องมีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถสร้างความปลอดภัยให้กับตนเองได้ อย่าปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามยถากรรม หรือโทษเรื่องของเคราะห์เมื่อเกิดเหตุร้ายกับตนเอง
        7. จงยึดคำขวัญที่ว่าปลอดภัยไว้ก่อน
    การสร้างเสริมความปลอดภัยในการใช้ยานพาหนะ
    1. การใช้จักรยาน 

                1.1 ตรวจดูสภาพรถจักรยานว่ามีส่วนใดชำรุดหรือไม่
                1.2 ขี่ชิดริมถนนด้านซ้ายและขี่ในทิศทางที่ถูกต้อง
                1.3 เคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
                1.4 ไม่ประมาท
     2. รถจักรยานยนต์และรถยนต์ 

                2.1 ตรวจดูสภาพรถ
                2.2 ขับขี่ชิดริมถนนด้านซ้าย
                2.3 เคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
                2.4 สวมหมวกนิรภัย หากเป็นรถยนต์ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย
                2.5 ไม่แข่งขันรถกันบนถนน
                2.6 ไม่ประมาท
                2.7 ไม่ขับขี่ขณะมึนเมา


    การสร้างเสริมความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยว
            1. ศึกษาสภาพพื้นที่ภูมิประเทศ และภูมิอากาศของสถานที่ที่จะไปท่องเที่ยว ถ้าเห็นว่าอาจเกิดอันตรายได้ ก็ควรงดเว้นการเดินทาง
            2. ควรเตรียมยา เครื่องเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเดินทางติดตัวไปด้วย
            3. ไม่ดื่มสุรา หรือใช้ยาเสพติดในขณะท่องเที่ยว
            4. การไปเที่ยวต้องมีสภาพร่างกายที่พร้อมต่อลักษณะการไปเที่ยวในสถานที่นั้นๆ
            5. ระมัดระวังพวกมิจฉาชีพ
    การสร้างเสริมความปลอดภัยจากสัตว์ร้าย 
            1. ภัยจากวัวหรือควาย ถ้านักเรียนถูกวัวหรือความวิ่งไล่ ควรรีบถอดเสื้อ หรือถ้ามีผ้าถือไว้ให้โยนทิ้ง วัวหรือควายจะหยุดดมของที่เราทิ้งไว้ หรือถ้าว่ายน้ำเป็น ให้วิ่งลงน้ำ
            2. ภัยจากสุนัข การเตรียมไม้เพื่อป้องกันตัวจากการถูกสุนัขกัดเป็นสิ่งที่ควรทำ
            3. ภัยจากงู ควรหลีกเลี่ยงการเดินไปในที่มืด ที่รก หากมีความจำเป็นควรสวมร้องเท้าบูทแล้วใช้ไม้ตีต้นหญ้าหรือพุ่มไม้ไปตลอดทาง เพื่อให้งูเลื่อยหนีไป
    การสร้างเสริมความปลอดภัยจากอาชญากรรม
        1. การป้องกันการลักทรัพย์ในที่พักอาศัย
            1.1 ก่อนออกจากบ้าน ควรมีคนที่ไว้ใจได้อยู่ดูแลที่พักอาศัย, ควรเปิดไฟบางห้องไว้
            1.2 ก่อนเปิดประตูบ้าน ก่อนเปิดประตูบ้านรับแขก ควรดูให้ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใด, ตรวจสอบบัตรประจำตัวช่างซ่อมหรือตัวแทน   บริษัทต่างๆที่จะเข้ามาในบ้าน 

            1.3 นอนหลับตอนกลางคืน เมื่อพลบค่ำควรรูดม่านปิด ไม่ให้คนนอกมองเห็นด้านใน
            1.4 ข้อควรปฏิบัติ ไม่ปล่อยให้ที่พักอาศัยมีต้นไม้สูง, ควรผูกมิตรกับเพื่อนบ้าน, ไม่ควรเก็บของมีค่าไว้ที่บ้านถ้ามีโทรศัพท์ซักถามว่ามีคนอยู่บ้านไหม ให้ตอบว่าอยู่กันหลายคน, เมื่อเกิดเหตุร้ายไม่ควรพยายามจับผู้ร้ายด้วยตนเอง(โทร. 191)
        2. การป้องกันการล่วงกระเป๋า 

            2.1 ไม่นำทรัพย์สินมีค่าพกติดตัวจำนวนมาก
            2.2 พกกระเป๋าเงินไว้ในที่ปลอดภัย
            2.3 กระเป๋าถือสตรี ควรถือกระชับมือไว้
            2.4 พึงระลึกไว้ว่า คนร้ายเป็นได้ทุกเพศทุกวัย
            2.5 หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มักเกิดเหตุร้าย
            2.6 เมื่อถูกล่วงกระเป๋า ควรตะโกนขอความช่วยเหลือ
    3. การป้องกันการถูกล่อลวงข่มขืน 

            3.1 อย่าแต่งตัวล่อแหลม
            3.2 อย่าดื่มสุราและของมึนเมาทุกชนิด
            3.3 อย่าหลงเชื่อคนแปลกหน้า
         ตัวอย่างการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
                   การ สร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนส่งผลดีต่อประชาชนที่อาศัยในชุมชน ช่วยทำให้บุคคลมีสวัสดิภาพในการดำรงชีวิต ปราศจากการเจ็บป่วย และการได้รับอันตรายจากภัยอันตรายต่างๆ ซึ่งนักเรียนสามารถนำตัวอย่างการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนต่อไปนี้ มาปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชนตนเอง เพื่อการเป็นชุมชนที่ปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดีของทุกคน
                  1. กิจกรรมหรือโครงการด้านความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ เช่น
                  - กิจกรรมรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในวันปีใหม่ เป็นโครงการกิจกรรมด้านความปลอดภัยของเครือข่ายชุมชนปลอดภัย ซวยสวนเงิน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนกับเด็กและคนในชุมชน ในวันปีใหม่ และเพื่อสร้างความตระหนักในการขับขี่อย่างปลอดภัย มีแนวทางการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ เช่นจัดป้ายรณรงค์เพื่อเผยแพร่วิธีการป้องกันอุบัติเหตุ การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการขับขี่อย่างปลอดภัยการจัดการแข่ง ขันตอบคำถามเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ เป็นต้น
            - โครงการ จักรยานปลอดภัย สุขภาพสดใส เป็นโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางการจราจร โดยคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่สนับสนุนให้เกิดกลไกการดำเนินงานในระดับชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการชุมชนให้ตระหนักถึงการป้องกันอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บจากการจราจรในเด็ก สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย และเพื่อสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยแก่เด็ก ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน มีกลุ่มเป้าหมายและเครือข่ายเป็นเด็กในกรุงเทพมหานคร ชุมชนปลอดภัย 10 ชุมขน และโรงเรียนปลอดภัย 20 แห่ง มีแนวทางการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ เช่น การสร้างค่านิยมในการใช้รถจักยานและการขับขี่อย่างปลอดภัยในชุมชนเสริมสร้าง ให้มีมาตรฐานของการขับขี่และการใช้อุปกรณ์เสริมป้องกันการบาดเจ็บในการขับ ขี่รถจักรยานเป็นต้น
             - โครงการเผยแพร่ความรู้เพื่อความปลอดภัยสู่ชุมชน เป็นโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยของชมรมยุวชนบ้านตลาดเกรียบ อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความตระหนักถึงปัญหาอันตรายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในชุมชน โดยกลุ่มชนรมเยาวชนของบ้านตลาดเกรียบได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนโดยมีวิธีการดำเนินการเผยแพร่ความรู้ผ่าน การประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของชุมชน เพื่อให้ความรู้แก่เยาวชนในเรื่องความปลอดภัย เช่น รณรงค์เมาไม่ขับ วิธีป้องกันการจมน้ำ และการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์เรื่องการสวมหมวกนิรภัยอย่างปลอดภัย รวมทั้งการจัดป้ายเตือนภัยตามจุดอันตรายต่างๆ อีกทั้งประสานกับหน่วยงาน เช่น สายตรวจชุมชน ในการเตรียมแผนเฝ้าระวังภัยในช่วงเทศกาลวันปีใหม่
    คุณค่าของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชน
    การสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชนต้องทำอย่างเป็นกระบวนการ คือ มีการวางแผน การปฏิบัติตามแผน และการประเมินผล ซึ่งจะให้คุณค่าต่อตนเองและต่อคนใน
    ชุมชน ดังนี้ 

                    1. ส่งเสริมสุขภาพกาย เมื่อมนุษย์มีความปลอดภัยจากสิ่งต่างๆ เพราะไม่มี
    อันตรายเกิดขึ้น ก็จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี เมื่อมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ชุมชนก็จะเข้มแข็ง
    เพราะคนในชุมชนมีสุขภาพดี

                    2. ส่งเสริมสุขภาพจิต เมื่อชุมชนมีความปลอดภัย ไม่มีโจรผู้ร้าย คนขายยาบ้า
    หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนก็มีความสุข นั่นคือ มีสุขภาพ
    จิตที่ดี

                    3. ส่งเสริมเศรษฐกิจ เมื่อไม่มีการเจ็บป่วย ไม่มีโจรผู้ร้าย ก็จะทำให้ไม่ต้องเสีย
    เงินค่ารักษาพยาบาล และไม่ถูกโจรผู้ร้ายโจรกรรมหรือปล้น เงินทองไม่รั่วไหล ก็จะทำให้
    เศรษฐกิจของตนเองและครอบครัวดี และมีความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิต

                    4. สังคมเข้มแข็ง เมื่อชุมชนมีความปลอดภัย คนในชุมชนมีสุขภาพดี ย่อมทำให้
    ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง นั่นคือ สังคมก็เข้มแข็งไปด้วย เป็นชุมชนที่น่าอยู่อาศัยสำหรับ
    ทุกคน