“พึงเกลียดพึงหน่าย อันใดอันอื่น เจ็บเนื้อเจ็บตน” ข้อความนี้แสดงถึงการใช้ภาษาอย่างไร

ไตรภูมิพระร่วง

ประวัติความเป็นมา
                ไตรภูมิพระร่วง   เป็นหนังสือสำคัญสมัยกรุงสุโขทัยตกทอดมาถึงปัจจุบัน  เป็นวรรณคดีทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมาก   เดิมเรียกว่า "เตภูมิกถา" หรือ "ไตรภูมิพระร่วง" ต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "ไตรภูมิพระร่วง" เพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่พระร่วงเจ้ากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย (พระยาลิไท)  ซึ่ง เป็นผู้พระราชนิพนธ์ นับว่าเป็นหนังสือวรรณคดีเล่มแรกที่เกิดจากการค้นคว้าจากคัมภีร ์พุทธศาสนาถึง ๓๐ คัมภีร์ และมีลักษณะเป็นหนังสือที่สมบูรณ์ คือ บอกชื่อ วัน เดือน ปี และความมุ่งหมายในการแต่งไว้อย่างครบถ้วน
                หอพระสมุดวชิรญาณได้ต้นฉบับไตรภูมิพระร่วงมาจากจังหวัดเพชรบุรี เป็นใบลาน ๑๐ ผูก  จารด้วยอักษรขอม  ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  โดยบอกไว้ในตอนจบว่า  
พระมหาช่วยจารพระไตรภูมิกถา  วักปากน้ำ  ชื่อวัดกลาง  แล้วแต่ในเดือน ๔ ปีจอ  วันอาทิตย์  เมื่อเวลาตะวันบ่าย  สามโมงเศษ  เมื่อพระพุทธศักราชลางไปได้ ๒๓๒๑ พระวรรษา เศษสังขยาเดือนได้ ๙ เดือน ๒๖วัน  เป็นสำเร็จแล้วแล  พระมหาช่วยผู้คัดลอกจะได้ต้นฉบับมาจากที่ใดไม่ปรากฏ  หอพระสมุด
วชิรญาณได้ถอดความออกเป็นอักษรไทย  โดยมิได้แก้ไขถ้อยคำให้ผิดไปจากต้นฉบับเดิม
ผู้แต่ง
      พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท)
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
               
 กล่าวไว้ในบานแผนกว่า "ใส่ เพื่อมีอัตถพระธรรม และจะใคร่เทศนาแก่พระมารดาท่าน..... ผู้ใดปรารถนาเถิงทิพยสมบัติปัตถโมกขนิพพาน ให้สดับพระไตรภูมิกถานี้ ด้วยทำนุบำรุง ด้วยใจศรัทธา"   ดังนั้นจึงมีจุดมุ่งหมายในการแต่ง ๒ ประการ คือ
          ๑. เพื่อเทศน์โปรดพระมารดา เป็นการเจริญธรรมความกตัญญู
          ๒. เพื่อใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรม และเข้าใจพุทธศาสนา จะได้ช่วยดำรงพระพุทธศาสนาไว้ให้ยั่งยืน
ลักษณะคำประพันธ์
     เป็นร้อยแก้ว แบบเทศนาโวหาร และพรรณนาโวหาร
เนื้อเรื่อง

                   เริ่มต้นบอกชื่อผู้แต่ง วัน เดือน ปี และความมุ่งหมายในการแต่ง หลักฐานประกอบการเรียบเรียง จากนั้นกล่าวถึงภูมิทั้งสาม (เตภูมิ) คือ
               ๑. กามภูมิ พรรณนาถึงที่อยู่ของมนุษย์ เทวดา และอื่น ๆ รวม ๑๑ ภูมิ ได้แก่   สวรรค์ ๖ ภูมิ มนุษย์ ๑ ภูมิ   และอบาย ๔ ภูมิ   กามภูมิเป็นที่กำเนิดของชีวิตทั้งหายที่ยังลุ่มหลงอยู่ในกาม มีแดน
สุขสบายและแดนที่เป็นทุกข์ปะปนกันผู้ที่เกิดในภูมิต่าง ๆ เหล่านี้
    เป็นเพราะผลกรรมของตนเป็นใหญ่
               ๒. รูปภูมิ หมายถึงที่อยู่ของพรหมมีรูปร่าง รวมทั้งหมด ๑๖ ชั้น เป็นแดนที่อยู่ของพรหม ซึ่งมีสมาธิ มีจิตสูงขึ้นไปโดยลำดับ
               ๓. อรูปภูมิ ได้แก่สวรรค์อันเป็นที่อยู่ของพรหมไม่มีรูปร่างมีแต่จิตใจเท่าน ั้น มี ๔ ชั้น
               หนังสือนี้กล่าวเริ่มตั้งแต่การกำเนิดของชีวิตต่าง ๆ ว่าเกิดขึ้นอย่างไร แล้วพรรณนาถิ่นที่เกิดคือ  ภูมิ ต่าง ๆ ทั้ง ๓๑ อย่างละเอียด เช่น ตอนที่ว่าด้วยมนุษย์ภูมิ และะโลกสัณฐาน ได้เล่าอย่างละเอียดว่า ลักษณะของโลกเป็นอย่างไร ทวีปต่าง ๆ ภูเขา แม่น้ำ คน และสัตว์เป็นอย่างไร และจบลงด้วย การเน้นเรื่องทางไปถึงการดับทุกข์ คือ  นิพพาน  ว่าเป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุดของชีวิต
คุณค่าของหนังสือ

               ๑.  ด้านศาสนา เป็นหนังสือสอนศีลธรรม เนื้อเรื่องกล่าวถึงบาปบุญคุณโทษ การเกิด
การตาย เกี่ยวกับโลกทั้งสาม
 (ไตรภูมิ)
               ๒. ด้านภาษาและวรรณคดี ใช้ พรรณนาโวหารอย่างละเอียดลออ จนทำให้นึกเห็นสมจริง ให้เห็นสภาพอันน่าสยองขวัญของนรก สภาพอันสุขสบายของสวรรค์ จนทำให้จิตรกรสามารถถ่ายทอดบทพรรณนานั้งลงเป็นภาพได้นอกจากนี้ย ังมีอิทธิพล ต่อวรรณคดียุคหลังได้นำเอาความเชื่อต่าง ๆ มาอ้างอิงในวรรณคดีไทย เช่น ประวัติของเทวดา เขาพระสุเมรุ ช้างเอราวัณ ช้างทรงของพระอินทร์ ป่าหิมพานต์ เป็นต้น
               ๓. ด้านสังคมและวัฒนธรรม มุ่งใช้คุณธรรมความดี เป็นพื้นฐานการสร้างสรรค์ความสุขในสังคม
                     ๓.๑  คำสอนทางศาสนา  ไตรภูมิพระร่วงสอนให้คนทำบุญละบาป  เป็นเสมือนแนวการสอนศีลธรรมของสังคมให้คนประพฤติดีประพฤติชอบ
                     ๓.๒  ค่านิยมเชิงสังคม  อิทธิพลของหนังสือเล่มนี้ให้ค่านิยมเชิงสังคมต่อคนไทยให้
ตั้งมั่นและยึดมั่นในการเป็นคนใจบุญ  มีเมตตากรุณา  รักษาศีล  บำเพ็ญทาน  เชื่อมั่นกฎแห่งกรรม
                     ๓.๓  ศิลปกรรม  จิตรกรนิยมนำเรื่องราวและความคิดในไตรภูมิพระร่วงไปเขียนภาพสีไ ว้ในโบสถ็วิหาร เช่น ภาพนรกสวรรค์ เพื่อให้ประชานชนเกรงกลัวต่อบาปและมุ่งทำความดี
               ๔.  ด้านอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น  ไตรภูมิพระร่วงมีอิทธิพลสำคัญต่อแนวความคิดของกวีรุ่นหลัง  โดยนำความคิดในไตรภูมิพระร่วงสอดแทรกในวรรณคดีต่าง ๆ เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ  มหาเวสสันดรชาดก  รามเกียรติ์  กากีคำกลอน  ขุนช้างขุนแผน  เป็นต้น  และยังก่อให้เกิดวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ อีกด้วย

แบบทดสอบ เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง

คำสั่ง  ให้นักเรียน เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

ไตรภูมิพระร่วงมีชื่อเดิมว่าอะไร

ก. เตภูมิกถา                           ข. ไตรภูมิวิทยา                     ค. ไตรภูมิศาตร์                      ง.ไตรภูมิกถา
ไตรภูมิพระร่วงเป็นบทพระราชนิพนธ์ของใคร

ก. พ่อขุนศรีอินทรทิตย์        ข. พ่อขุนรามคำแหง              ค. พญาลิไท                           ง.พระร่วง

๓.บุคคลในข้อใดเป็นผู้เปลี่ยนชื่อจากเตภูมิกถา มาเป็น ไตรภูมิพระร่วง

ก. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี                                                               ข. สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ค. พระมหานาค วัดท่าทราย                                                 ง. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ไตรภูมิหมายถึงอะไร

ก. สวรรค์ โลกมนุษย์ และนรก                                           ข. กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
ค. ความสุข ความทุกข์ และนิพพาน                                    ง.สวรรค์  นรก  บาดาล

๕.เรื่องนี้แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด

ก.  ความเรียงร้อยแก้ว           ข. ร่ายสุภาพ                           ค. กาพย์ยานี ๑๑                    ง. กลอนสุภาพ

๖.ไตรภูมิพระร่วง มีลักษณะการแต่งพิเศษอย่างไร

ก. บอกชื่อผู้แต่ง                    ข. บอกศักราชที่แต่ง             ค. เขียนด้วยอักษรขอม         ง. อ้างคัมภีร์ที่ใช่ประกอบในการแต่ง๗.ข้อใดกล่าวถึงไตรภูมิพระร่วงไม่ถูกต้อง

ก.       ชี้ให้เห็นว่าแดน ๓ โลกนี้ไม่น่าอยู่เลย                     

ข.       ความสุขในอุตรกุรุทวีปเป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่เป็นอมตะ

ค.       อนิจจลักษณะคือความเป็นอนิจจังของสรรพสิ่งในโลก

ง.       ถูกทุกข้อ

๘.พึงเกลียดพึงหน่าย  อันใดอันอื่น  เจ็บเนื้อเจ็บตน  ข้อความนี้แสดงถึงการใช้ภาษาอย่างไร

ก.       การใช้คำเห็นภาพพจน์                                 ข.       การใช้คำที่เป็นจังหวะน่าฟัง 

ค.       การใช้คำที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจ                           .       การใช้คำเปรียบเทียบทำให้รู้สึกเข้าใจยิ่งขึ้น

๙.ข้อใดไม่มีอุปมาโวหาร

ก.       จะงอยไส้ดือนั้นกลวงขึ้นไปเบื้องบนติดหลังท้องแม่

ข.       แลสองแก้มเขานั้นไสร้งามเป็นนวลดั่งแกล้งเอาแป้งผัด

ค.       อันว่าสายสะดือแห่งกุมารนั้นกลวงดั่งสายก้านบัวอันมีชื่อว่าอุบล

ง.       ถ้าจะเอามาเปรียบด้วยสมบัตินิพพานนั้น ประดุจเอาหิ่งห้อยมาเปรียบด้วยพระจันทร์

๑๐.“...แลท้าวพระญาองค์ใดกระทำความอันบ่มิชอบคลองธรรมไสร้ เทวดาฟ้าฝนนั้นก็พิปริต  แม้นทำไร่ไถนาก็บันดาลให้เสียหายตายแล้งแลฝนแล   จากข้อความนี้หมายความว่าอย่างไร

ก.       เทวดาย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติดี                

ข.       ผู้ปกครองประเทศต้องมีคุณธรรม

ค.       หากพระมหากษัตริย์มีคุณธรรมบ้านเมืองจะสงบสุข

ง.       ผู้ปกครองประเทศที่ขาดคุณธรรมบ้านเมืองจะเกิดวิปริต