งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด

ในปัจจุบัน รูปภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในการสื่อความหมายถึงกัน ยิ่งเมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยด้วยแล้ว การสร้างสรรค์งานที่เกี่ยวข้องกับภาพที่เรียกว่างานกราฟิกก็ยิ่งกระทำได้ง่ายและหลากหลายแบบ ตามจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ ดังนั้นการเรียนรู้ถึงงานกราฟิก และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกจึงเป็นเรื่องจำเป็น 

คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้างและการจัดการภาพกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ การตกแต่งแก้ไขภาพ หรือการจัดการเกี่ยวกับภาพ เช่น ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ การตกแต่งภาพถ่าย การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายให้ชัดเจนและทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม เช่น การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภาพหรือกราฟ แทนที่จะเป็นตารางของตัวเลข ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการศึกษา งานด้านธุรกิจ งานด้านการออกแบบ งานด้านบันเทิง หรืองานด้านการแพทย์ เป็นต้น

 

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด

1.  มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก

2.  มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทและหลักการทำงานของกราฟฟิก

3.  สามารถเลือกใช้ซอฟแวร์ที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบกราฟิกได้

4.  ประยุกต์ใช้งานซอฟแวร์ต่างๆ ในการออกแบบกราฟิกในชีวิตประจำวันได้

5.  มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และมีเจตคติที่ดีในการใช้งานโปรแกรมสำหรับออกแบบกราฟิก

 

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด

 

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด
  บทนำ

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด
  1.1   กราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด
  1.2   หลักการทำงานของกราฟิก

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด
  1.3   ประเภทของภาพกราฟิก

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด
  1.4   ซอฟแวร์ที่ใช้งานทางด้านกราฟิก

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด
  1.5   คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานต้านต่างๆ

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด
  สรุปหน่วยที่ 1 : ความรู้เกี่ยวกับกราฟฟิก

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด
  ใบงานที่ 1.1

 


งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด

แผนที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับกราฟิก

บทนำ

             ปัจจุบันคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามามีบทบาทกับงานด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมากมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิก มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบภาพ และการปรับแต่งสีภาพ มีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิก ไปใช้กับงานด้านต่างอาทิเช่น งานสิ่งพิมพ์ งานโฆษณา งานออกแบบ งานนำเสนอข้อมูล งานสร้างภาพการ์ตูน งานสร้างสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น โดยภาพกราฟิกจะทำให้งานที่ได้มีความสวยงามและน่าสนใจยิ่งขึ้น การศึกษา และ ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของคอมพิวเตอร์กราฟิก จัดว่าเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อช่วยให้การออกแบบ หรือการตกแต่งภาพกราฟิกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 


 

1.1  กราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก

 

          ความหมายของกราฟฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟฟิก

 

            กราฟิก  มาจากภาษากรีก ซึ่งหมายถึง การวาดเขียน (Graphikos) และการเขียน (Graphein) กราฟิก จึงหมายถึง ศิลปะหรือศาสตร์แขนงหนึ่ง ที่สื่อความหมายโดยใช้เส้น ภาพเขียน สัญลักษณ์ ภาพถ่าย ซึ่งมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน เข้าใจความหมายได้ทันที และถูกต้องตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ

 

            คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้างและการจัดการภาพกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ การตกแต่งแก้ไขภาพ หรือการจัดการเกี่ยวกับภาพ เช่น ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ การตกแต่งภาพถ่าย การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายให้ชัดเจนและทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม เช่น การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภาพหรือกราฟ แทนที่จะเป็นตารางของตัวเลข ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการศึกษา งานด้านธุรกิจ งานด้านการออกแบบ งานด้านบันเทิง หรืองานด้านการแพทย์ เป็นต้น

 

 

[ กลับด้านบน ]

 


 

1.2 หลักการทำงานของภาพกราฟิก

            หลักการทำงานของภาพกราฟิก แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

 

           1.2.1 ภาพกราฟิกแบบราสเตอร์ (Raster)  หรือบิตแมพ (Bitmap)

            ภาพกราฟิกแบบราสเตอร์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) มีการเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่งจนเกิดเป็นภาพในลักษณะต่าง ๆ เช่น ภาพถ่าย ดังนั้นภาพแบบราสเตอร์มีข้อดีและข้อเสีย ดังนี้

            ข้อดี     คือ  เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการสร้างสีหรือกำหนดสีที่ต้องการความละเอียดและสวยงามน
            ข้อเสีย  คือ  หากมีการขยายขนาดภาพซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนจุดสีให้กับภาพ ส่งผลให้คุณภาพของภาพนั้นสูญเสียไปความละเอียดของภาพจะลดลงมองเห็นภาพเป็นแบบ จุดสีชัดเจนขึ้นไฟล์ภาพจะมีขนาดใหญ่และใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บมากตามไปด้วย โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้างภาพแบบราสเตอร์ ได้แก่ โปรแกรม Paintbrush โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นต้น  ดังแสดงในภาพที่ 1.1 

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด

ภาพที่ 1.1  ภาพแบบราสเตอร์

 

           1.2.2  ภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์ (Vector)

 

            ภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์ เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการประมวลผลโดยอาศัยหลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์ มีสีและตำแหน่งที่แน่นอน ภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง หรือรูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพ จะไม่ลดลง เช่น ภาพการ์ตูนเมื่อถูกขยายภาพออกมา ภาพที่ได้ก็จะยังคงรายละเอียดและความชัดเจนไว้เหมือนเดิม และขนาดของไฟล์ภาพจะมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบราสเตอร์ โปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบเวคเตอร์ ได้แก่ โปรแกรม Illustrator โปรแกรม CorelDraw เป็นต้น  ดังแสดงในภาพที่ 1.2

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด

ภาพที่ 1.2  ภาพแบบเวคเตอร์

 

[ กลับด้านบน ]


 

1.3  ประเภทของภาพกราฟิก

            ประเภทของภาพกราฟิก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่


            1.3.1  ภาพกราฟิกประเภท 2 มิติ


            เป็นภาพกราฟิกที่มีแต่ความกว้างและความยาว แต่จะไม่มีความหนาหรือความลึก ได้แก่ ภาพสามเหลี่ยม ภาพสี่เหลี่ยม ภาพถ่าย ภาพลายเส้น ภาพวาด เป็นต้น โดยทั่วไปเรียกภาพกราฟิกประเภท 2 มิติว่า ภาพร่าง ดังแสดงในภาพที่ 1.3 

  

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด
ภาพที่ 1.3 ภาพกราฟฟิกประเภท 2 มิติ

 

             1.3.2   ภาพกราฟิกประเภท 3 มิติ


             เป็นภาพที่เกิดจากการใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ ภาพที่ได้จะมีลักษณะเหมือนภาพที่มองจากตาคน โดยภาพกราฟิกประเภท 3 มิติจะมีส่วนโค้ง เว้า มุม แสง ความลึก
และรายละเอียดที่สูงขึ้นจากภาพกราฟิกประเภท 2 มิติ มีลักษณะการมองภาพที่เหมือนจริง ดังแสดงในภาพที่ 1.4

 

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด
ภาพที่ 1.4  ภาพกราฟิกประเภท 3 มิติ

 

           1.3.3    ความแตกต่างของภาพกราฟิก 2 มิติแบบราสเตอร์และแบบเวคเตอร์ 

 

     ความแตกต่างของภาพกราฟิก 2 มิติ แบบราสเตอร์และเวคเตอร์  ดังแสดงในตารางที่ 1.1

 

ภาพกราฟิก 2 มิติแบบราสเตอร์ 

ภาพกราฟิก 2 มิติแบบเวคเตอร์

1. เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) โดยจะเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่ง จนเกิดเป็นภาพในลักษณะ ต่าง ๆ 

1. เป็นการประมวลผลโดยอาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ มีสีและตำแหน่งของสีที่แน่นอนภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน 

2. การขยายภาพจะมีการเพิ่มจำนวนจุดของภาพ ทำให้ความละเอียดลดลง มองเห็นภาพเป็นแบบจุด คุณภาพของภาพนั้นสูญเสียไป 

2. เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง ยังคงรายละเอียดและความชัดเจนของภาพไว้เหมือนเดิม 

3.การตกแต่งและแก้ไขภาพสามารถทำได้ง่ายและสวยงาม มีความเหมือนจริง เช่น การลบรอยตำหนิบนภาพเพื่อให้ ภาพดูสวยงามขึ้น 

3. นิยมใช้กับงานด้านสถาปัตยกรรมตกแต่งภายใน และงานด้านการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบการ์ตูน 

4. การประมวลผลภาพสามารถทำได้รวดเร็ว

4. การประมวลผลภาพใช้เวลานานเนื่องจากใช้คำสั่ง
ในการทำงาน

[ กลับด้านบน ]


1.4  ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทางด้านกราฟฟิก

            ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมสำหรับกราฟฟิกถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากของผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับภาพถ่าย การออกแบบ เราจะไปดูว่า ซอฟต์แวร์กราฟฟิกมีอะไรบ้าง และนิยมนำไปใช้ในงานประเภทใด

 

             1.4.1 โปรแกรม Adobe Photoshop

 

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด

 

        สำหรับโปรแกรมนี้ในปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในโปรแกรมคลาสิกที่่เกือบทุกเครื่อง จำเป็นต้องติดตั้งไว้ เพราะ Photoshop เป็นโปรแกรมในการออกแบบ การแต่งภาพ การใส่เอ็ฟเฟ็กยอดนิยม ด้วยความที่ใช้งานง่ายและมีเครื่องมีในการใช้งานมากมาย สามารถผลิกแผลงได้สารพัดประโยชน์ โดยส่วนใหญ่จะใช้ในการตัดต่อภาพ การแต่งภาพให้สวยขึ้น คมชัดขึ้น ขาวขึ้น ในปัจจุบันโปรแรกมAdobe Photoshop มีออกมาหลายเวอร์ชัน และยังคงพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง

 

             1.4.2 โปรแกรม Adobe Flash

 

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด

 

        สำหรับโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้ทำ Animation หรือภาพเคลื่อนไหว ซึ่งใช้งานง่าย เพราะโปรแกรมไม่มีความซับซ้อนมากนัก ถือเป็นโปรแกรมพื้นฐานในการหัดออกแบบภาพเคลื่อนไหว

 

                  1.4.3  โปรแกรม Adobe Illustrator

 

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด
 

 

       โปรแกรมออกแบบภาพเวคเตอร์ ใช้ในการออกแบบโลโก้ ออกแบบภาพ เสริม เติม แต่งภาพ ระดับมืออาชีพ  มีฟังก์ชันคล้ายกับ Photoshop แต่มีการทำงานที่เหนือชั้นกว่าในการออกแบบ โปรแกรมนี้อาจต้องลองศึกษาเพิ่มเติม แต่รับประกันว่าเป็นโปรแกรมที่ออกแบบภาพได้ดีเยี่ยมโปรแกรมหนึ่ง

 

                       1.4.4  โปรแกรม Adobe InDesign

 

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด

 

        โปรแกรมนี้ผมนิยมใช้ในการออกแบบวารสาร นิตยสาร หน้าสืออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในตระกลู Adobe เหมือนกัน

 

                       1.4.5  โปรแกรม Sweet Home 3D

 

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด

 

        โปรแกรมที่สำหรับการออกแบบบ้าน ที่มีลักษณะการใช้งานง่ายๆ และไม่ยุ่งยากเลย โดยจะมีอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ให้เราได้เลือกจำนวนมากมาย และยังสามารถที่จะนำอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มได้ตลอด ซึ่งโปรแกรมรองรับไฟล์การ Import ได้หลายแบบ

 

                    1.4.6 โปรแกรม Google SketchUp

 

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด

 

        เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งในการใช้ออกแบบแปลนบ้าน ออกแบบโครงสร้างการก่อสร้าง เหมาะสำหรับนักสถาปนิคในการออกแบบ

 

                           1.4.7 โปรแกรม PhotoScape

 

งานกราฟิก เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ตาม ข้อใด
 

 

       โปรแกรมตัดต่อภาพ เปลี่ยนแปลงภาพ เพิ่มแสงเงา ใส่กรอบ เพิ่มข้อความ สัญลักษณ์ ลดขนาดไฟล์ภาพ ออกแบบโลโก้อย่างง่าย