จากข้อความในศิลาจารึก

จากข้อความในศิลาจารึก

จากข้อความในศิลาจารึก
สำหรับผู้สูงอายุ

ลายสือไทย

อักษรไทย สุโขทัย หรือลายสือไทย

จากข้อความในศิลาจารึก

กำเนิดอักษรไทย

     เมื่อปีพ.ศ. 2376 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะยังทรงผนวชได้เสด็จประพาสนมัสการเจดีย์สถานต่างๆ ทางเมืองเหนือ ทรงพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงพร้อมแท่นมนังคศิลา ที่เนินปราสาทเก่าเมืองสุโขทัย มีลักษณะเป็นแท่นศิลารูปสี่เหลี่ยม มียอดแหลมมน สูง 1 เมตร 11เซนติเมตร มีจารึกทั้ง 4 ด้าน สูง 59 เซนติเมตร กว้าง 35 เซนติเมตร ด้านที่ 1 และด้านที่ 2 มี 35บรรทัด ด้านที่ 3 และ 4 มี 27 บรรทัด

     ศิลาจารึกนี้นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่ใช้อ้างอิงได้ว่า รูปอักษรไทยได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 1826 จากข้อความจารึกตอนหนึ่ง บนด้านที่ 4 บรรทัดที่ 8-11ความว่า“เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้....”

จากข้อความในศิลาจารึก

     จากข้อความดังกล่าวบ่งชัดว่าก่อนปีพ.ศ. 1826 ไม่เคยมีรูปอักษรไทยมาก่อน พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์รูปอักษรไทยขึ้นนับแต่พุทธศักราชนั้น ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดให้รูปอักษรแตกต่างไปจากรูปอักษรโบราณอื่นๆ ที่มีใช้มาก่อน และเรียกตัวอักษรไทยนั้นว่า“ลายสือไทย” พระองค์ทรงกำหนดให้อักษรแต่ละตัวแยกกันเป็นอิสระ วางรูปสระไว้หน้าพยัญชนะอยู่ในแนวเดียวกัน พร้อมกับมีวรรณยุกต์กำกับการออกเสียงตามคำศัพท์ภาษาไทย นอกจากนี้พระองค์ยังได้ออกแบบรูปอักษรให้มีวิธีการเขียนเส้นอักษรแต่ละตัวลากสืบต่อกันโดยไม่ต้องยกมือขึ้น โดยเริ่มต้นลากจากหัวอักษรที่เป็นเส้นโค้งงอเหมือนขอเบ็ด แล้วลากไปจนสุดปลายเส้นอักษรซึ่งมีลักษณะงอโค้งเล็กน้อยเช่นกัน มีพยัญชนะ 39 รูป สระ 20 รูป วรรณยุกต์ 2 รูป รวมทั้งหมด61 รูป

วิวัฒนาการของรูปอักษรไทย

     นับจากอดีตถึงปัจจุบัน มีเพียงหลักศิลาจารึกเพียงหลักเดียวเท่านั้นที่ค้นพบว่ามีรูปอักษรไทยแบบที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้นในปีพ.ศ. 1826 ส่วนจารึกหลักอื่นๆ ที่จารึกขึ้นในสมัยสุโขทัย จะมีระยะเวลาห่างออกไปประมาณ 60-70 ปี ซึ่งรูปแบบอักษรได้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่บางตัวยังคงรูปเดิม นอกจากนี้การจารึกรูปอักษรต่างๆ มิได้คงไว้แต่บนหลักศิลาแต่ยังมีการจารึกบนแผ่นหินรูปอื่นๆ เช่น จารึกวัดสรศักดิ์ พ.ศ. 1960 บนแผ่นหินรูปใบเสมา

จากข้อความในศิลาจารึก

     ตลอดช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 การแพร่ขยายอารยธรรมของอาณาจักรสุโขทัยไปสู่อาณาจักรล้านนา ทำให้รูปอักษรได้เปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการไปเป็นรูปอักษรอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า อักษรไทยล้านนา ส่วนอาณาจักรศรีอยุธยาก็ได้รับอิทธิพลรูปอักษรที่วิวัฒนาการมาเป็นรูปอักษรไทยปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะ 44 รูป สระ 26 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป (5 เสียง) รวมทั้งหมด 74 รูป ซึ่งสระและวรรณยุกต์ไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกับพยัญชนะอีก มีทั้งที่อยู่หน้า หลัง ด้านบน และด้านล่างของพยัญชนะ

คำอธิบายประกอบภาพ

สำหรับส่วนของรูปอักษรไทย สุโขทัย หรือลายสือไทย ใช้สีอักษรแทนสัญลักษณ์ดังนี้
ตัวอักษรสีดำ ตัวอักษรที่ใช้ในปัจจุบัน
ตัวอักษรสีน้ำตาล ตัวอักษรลายสือไทยที่ปรากฏบนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พ.ศ. 1835 ตัวอักษรเทา ตัวอักษรที่ปรากฏบนจารึกวัดป่ามะม่วง พ.ศ. 1904

จากข้อความในศิลาจารึก

ขอขอบคุณเนื้อเรื่องและภาพถ่ายจาก

     องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร (อพท.๔)

มิวเซียมในจังหวัดสุโขทัย

จากข้อความในศิลาจารึก

18 พฤศจิกายน 2562

16,101

569

จากข้อความในศิลาจารึก

28 มิถุนายน 2562

7,512

482

จากข้อความในศิลาจารึก

01 มีนาคม 2563

11,037

594

จากข้อความในศิลาจารึก

02 กรกฎาคม 2562

13,861

515

จากข้อความในศิลาจารึก

25 พฤศจิกายน 2564

9,796

563

จากข้อความในศิลาจารึก

จากข้อความในศิลาจารึก

28 มิถุนายน 2562

4,143

505

จากข้อความในศิลาจารึก

28 มิถุนายน 2562

5,761

271

จากข้อความในศิลาจารึก

28 มิถุนายน 2562

4,010

245