รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของการจัดการศึกษาของหลักสูตรที่กำหนดไว้ ผู้สอนจะต้องหากลยุทธ์และวิธีการในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบถ้วนตามองค์ประกอบสำคัญว่าจัดทำแผนอย่างไร เพื่อใคร มีเทคนิคและวิธีการอย่างไร ผลที่ได้รับจะเป็นอย่างไร ดังนั้นแผนการจัดการเรียนรู้จึงเปรียบเสมือนเป้าหมายความสำเร็จที่ผู้สอนคาดหวังไว้


ขั้นตอนการจัดการทำแผนการจัดการเรียนรู้

            1.  วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา  เพื่อประโยชน์ในการกำหนดหน่วยการเรียนรู้และรายละเอียดของแต่ละหัวข้อของแผนกการจัดเรียนรู้

            2.  วิเคราะห์จุดประสงค์รายวิชาและมาตรฐานรายวิชา  เพื่อนำมาเขียนเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยให้ครอบคลุมพฤติกรรมทั้งด้านความรู้ ทักษะ / กระบวนการ เจตคติและค่านิยม

            3.  วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ โดยเลือกและขยายสาระที่เรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่น รวมทั้งวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน

            4.  วิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้(กิจกรรมการเรียนรู้) โดยเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

            5.  วิเคราะห์กระบวนการประเมินผล  โดยเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้

            6.  วิเคราะห์แหล่งการเรียนรู้  โดยคัดเลือกสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียนให้เหมาะสมสอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้


องค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้

            องค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ อย่างน้อยต้องมีสิ่งต่อไปนี้

            1.  สาระสำคัญ

            2.  จุดประสงค์การเรียนรู้

            3.  สาระการเรียนรู้

            4.  กิจกรรมการเรียนรู้

            5.  สื่อ / อุปกรณ์ / แหล่งการเรียนรู้

            6.  การวัดและประเมินผล

7.   บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้



แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี

            ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี  ควรมีดังนี้

            1.  มีความละเอียด  ชัดเจน  มีหัวข้อและส่วนประกอบต่าง ๆ ครอบคลุมตามศาสตร์ของการสอนโดยสามารถตอบคำถามต่อไปนี้

                1.1  สอนอะไร (หน่วย หัวเรื่อง ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ)

                1.2  เพื่อจุดประสงค์อะไร (จุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งควรเขียนเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม)

                1.3  ด้วยสาระอะไร (เนื้อหา / โครงร่างเนื้อหา)

                1.4  ใช้วิธีการใด (กิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ)

                1.5  ใช้เครื่องมืออะไร (วัสดุอุปกรณ์ สื่อและแหล่งการเรียนรู้)

                1.6  ทราบได้อย่างไรว่าประสบความสำเร็จ (การวัดผลและประเมินผล)

            2.  แผนการจัดการเรียนรู้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

            3.  ส่วนประกอบต่าง ๆ ของแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องสัมพันธ์เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เช่น

                3.1  จุดประสงค์การเรียนรู้ครอบคลุมสาระ / เนื้อหา และเป็นจุดที่พัฒนาผู้เรียนในด้านความรู้  ทักษะ กระบวนการและเจตคติ

                3.2  กิจกรรมการเรียนรู้  ควรสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหา / สาระ

                3.3  วัสดุอุปกรณ์ สื่อ และแหล่งการเรียนรู้ ควรสอดคล้องสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้

                3.4  การวัดผลและประเมินผล ควรสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้

            แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์อาจารย์ 3 ต้องเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้

            1.  มีการวิเคราะห์หลักสูตร  จัดทำตารางวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา หรือวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ จัดทำหน่วยการเรียนรู้ และจัดทำกำหนดการสอนหรือโครงการสอน

            2.  มีการวิเคราะห์ผู้เรียน  โดยการจัดกลุ่มผู้เรียนตามความรู้ ความสามารถ ความสนใจ และความถนัด แล้วนำไปเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียนเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

            3.  มีการกำหนดเนื้อหาสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ศักยภาพของผู้เรียน และความต้องการของท้องถิ่น รวมทั้งการบูรณาการระหว่างวิชา

            4.  มีการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน มีการบูรณาการ เน้นการคิด (ทักษะการคิด ลักษณะการคิด และกระบวนการคิด) การฝึกทักษะ การปฏิบัติจริง และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

            5.  มีการกำหนดสื่อ /นวัตกรรม/แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  กิจกรรมการเรียนรู้  วัยและความสามารถของผู้เรียน  และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือก จัดหาและจัดทำสื่อ/แหล่งการเรียนรู้

            6.  มีการกำหนดการวัดผลและประเมินผล  สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและกิจกรรมการเรียนรู้ มีการวัดผลตามสภาพจริง ให้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ

            7.  มีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เน้นคุณธรรม จริยธรรม และมีการบูรณาการตามความเหมาะสม

            8.  มีความสมบูรณ์ถูกต้อง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ


รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้

            แผนการจัดการเรียนรู้สามารถเขียนได้ทั้งแบบความเรียงและแบบตาราง โดยมีส่วนประกอบสำคัญดังนี้

            ส่วนที่ ส่วนนำ  ประกอบด้วยรายละเอียดทั่วไป  ได้แก่ ชื่อหลักสูตร  ประเภทวิชา  สาขาวิชา  รหัสวิชา  ชื่อวิชา  หน่วยกิต  จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์  จุดประสงค์รายวิชา  มาตรฐานรายวิชา  และคำอธิบายรายวิชา

            ส่วนที่  โครงสร้างการจัดการเรียนรู้  ประกอบด้วย ตารางวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา และการกำหนดหน่วยการเรียนรู้และเวลาที่ใช้

            ส่วนที่  แผนการจัดการเรียนรู้  ประกอบด้วย  สาระสำคัญ  จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้  สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้  การวัดและประเมินผล  และบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้


 ใบช่วยสอน

            ใบช่วยสอน (Instruction Sheet) คือ สื่อประเภทสิ่งพิมพ์เฉพาะเรื่องที่ช่วยสอนหรือใช้เสริมให้การจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่

            1.  ใบความรู้  (Information Sheet) คือ ประเภทสิ่งพิมพ์เฉพาะเรื่องที่ช่วยหรือใช้เสริมให้การจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่

            2.  ใบงาน (Job Sheet) เอกสารที่ระบุชนิดของงาน ซึ่งจะต้องนำไปปฏิบัติตามรูปแบบที่กำหนด โดยมีลำดับขั้นการปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจน ส่วนใหญ่จะใช้กับการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพ ส่วนการปฏิบัติงานทางด้านวิชาการอาจใช้ใบกิจกรรม

รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้ มีอะไรบ้าง

จากการศึกษาวิเคราะห์ รูปแบบในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยทั่วไปมี 3 รูปแบบ มี ดังนี้ 1) แบบความเรียง เป็นการเขียนองค์ประกอบต่าง ๆ ของแผนการจัดการเรียนรู้โดยเขียนร้อย เรียงกันเป็นความเรียงตามลาดับ 2) แบบตาราง เป็นการเขียนองค์ประกอบในรูปแบบตาราง ซึ่งจะท าให้มองเห็นภาพรวมของ องค์ประกอบต่าง ๆ ได้เข้าใจง่าย 3) แบบผสมผสาน ...

รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้แบบใดที่ครูผู้สอนนิยมใช้กันมากที่สุด

รูปแบบการเรียนการสอนตรงเป็นรูปแบบพื้นฐานที่สุด จัดอยู่ในกลุ่มรูปแบบการเรียนการสอนที่ครูเป็นศูนย์กลาง เป็นรูปแบบที่สามารถประยุกต์ไปใช้กับการสอนที่มีจุดประสงค์การเรียนรู้ทั้งด้านความรู้และทักษะ และนาไปใช้กับการสอนเนื้อหาได้หลากหลายสาระ จึงเป็นรูปแบบที่มีการนาไปใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

แผนการจัดการเรียนรู้คืออะไร

แผนการสอน คือ การน าเนื้อหาในรายวิชา หรือการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้กับผู้เรียน ที่ต้องท า การสอนจริง ตลอดภาคการศึกษา หรือรายชั่วโมง มาสร้างเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อ อุปกรณ์ การสอน การวัดและการประเมินผล ส าหรับเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนการสอนย่อยๆ ให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์หรือจุด ...

องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ มีอะไรบ้าง

องค์ประกอบ ในการเขียนแผนการสอน หรือเอกสารประกอบการสอน.
มาตรฐานการเรียนรู้.
สาระสำคัญ.
จุดประสงค์การเรียนรู้.
จุดประสงค์ปลายทาง.
จุดประสงค์นำทาง.
เนื้อหาสาระ.
สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน.
ลำดับกิจกรรมการเรียนการสอน.