การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน pdf

ความหมายของการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน

            “การพัฒนา” คือ การทำให้เจริญ แต่เมื่อมาใช้เป็นคำแปลของ (Development) ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายกินความลึกไปถึงการทำให้ดีขึ้นจากที่เป็นอยู่ โดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือการนำวิชาการแปลกใหม่เข้ามาใช้ การพัฒนามีความหมายถึงการพัฒนาวัตถุและ           การพัฒนาบุคคลทั้งในด้านจิตใจและความคิดด้วย

การพัฒนาชุมชน หมายถึง การพัฒนาความคิด ความสามารถของประชาชนให้เกิดความเชื่อมั่น ช่วยเหลือตนเอง เพื่อนบ้าน และชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยความร่วมมือของราษฎรและภาครัฐ

การจัดการศึกษาของชุมชนมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้ชุมชนมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ภูมิปัญญาในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตบนพื้นฐานของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนนั้น ทำให้ชุมชนมีความสามารถในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของสมาชิกในชุมชนในการแก้ไขปัญหาของตนเองและชุมชน โดยใช้ภูมิปัญญาของตนเองได้ และทำให้ชุมชนมีความสามารถในการถ่ายทอดความเชื่อและค่านิยมของชุมชน ทำให้สมาชิกมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนนั้นๆ และทำให้คุณลักษณะเอกลักษณ์ของชุมชนได้สืบสานต่อเนื่องยั่งยืน

 การศึกษาเพื่อชุมชน

การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน pdf

“การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน”   เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของประชาชนในการแสวงหาความรู้ สร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักการจัดการความรู้ และการวิจัยชุมชนบูรณาการอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรวม ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยให้ประชาชน ชุมชนร่วมกันรับผิดชอบและเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ ประสบการณ์  และทักษะอาชีพ  เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง  มีความเอื้ออาทรต่อกัน  และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาชุมชน

การพัฒนาชุมชนเป็นวิธีการแก้ปัญหาสังคมที่ประเทศต่าง ๆได้นำมาใช้จนประสบผลสำเร็จมาแล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่จะยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้น แต่เป็นการพัฒนาคุณภาพของคนให้เกิดการพัฒนา อันจะนำมาซึ่งความก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ ดังนี้

ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาชุมชนส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

– ช่วยยกระดับการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น

– ช่วยแก้ปัญหาการว่างงาน

– ส่งเสริมให้ประชาชนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

– ลดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างรายได้ของประชาชน

– ทำให้ประชาชนมีฐานะทางเศรษฐกิจสูงขึ้นและประเทศชาติมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ด้านสังคม การนำเอาวิธีการพัฒนาชุมชนเข้าไปใช้ ย่อมทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นดังนี้

– ทำให้ประชาชนรู้จักปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น

– ช่วยให้ประชาชนรู้จักป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ รักษาอนามัยของครอบครัวดีขึ้น

– สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นและลดช่องว่างความแตกต่างในเรื่องชนชั้นให้น้อยลง

– ช่วยปรับปรุงชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมให้ดีขึ้น

– ทำให้ประชาชนรู้จักสิทธิหน้าที่ของตนและรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

ด้านความมั่นคงของประเทศ ในการพัฒนาชุมชนมีผลทำให้ประชาชนเข้าใจและไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ไม่หวังดีอีกต่อไป ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

– เป็นการก่อให้เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ ทำให้เกิดความมั่นคงของประเทศในที่สุด

– ทำให้ประชาชนเกิดความรักความเข้าใจในรัฐบาลและประเทศชาติของตนมากยิ่งขึ้น

– เป็นการขจัดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

– ทำให้ประชาชนเข้าใจการปกครองแบบประชาธิปไตย

– เป็นการลดและป้องกันการแทรกซึมบ่อนทำลายของฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะผู้ไม่ปรารถนาดีต่อชาติบ้านเมือง โจรแบ่งแยกดินแดน เป็นต้น

Published June 2, 2018June 2, 2018

Post navigation

        คำว่า  “การศึกษาชุมชน”  มีนักวิชาการและนักบริหารงานพัฒนาให้ความหมายไว้หลาย ประการ  โดยมุ่งเน้นถึงการเข้าไปศึกษา  เพื่อทำความเข้าใจในสภาพต่างๆ  ของชุมชน  ทั้งทาง ด้านกายภาพ  สังคม  วัฒนธรรม  ประเพณี  เศรษฐกิจ  ความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ  ทั้งนี้เพื่อ วัตถุประสงค์ของการศึกษาชุมชนที่แตกต่างกันไป

โรงเรียนชุมชน

 โรงเรียนชุมชนสามารถมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนโดยตรง ทั้งนี้เพราะนอกจาก จะทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทุกเพศทุกวัยและทุกอาชีพแล้วยังเป็นโรงเรียนที่จัดขึ้นโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชุมชนเป็นใหญ่ มีการจัดบริการด้านต่าง ๆ ให้ประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์ เช่น ห้องสมุด โรงฝึกงาน หอประชุม ฯลฯ มีการสำรวจความต้องการและศึกษาปัญหาของคนในชุมชน เพื่อร่วมกันหาทางแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมในทุกด้าน

บทบาทและหน้าที่ของโรงเรียนต่อชุมนุม

        เนื่องจากโรงเรียนเป็นสถาบันของสังคมชุมชน มีหน้าที่อบรมสั่งสอนให้แก่บุตรธิดาของชุมนุมนั้น เพื่อให้เขาใช้ชีวิตในชุมนุมได้อย่างมีความสุข ด้วยเหตุนี้ชุมชนจึงควรมีสิทธิที่จะรู้และกำหนดแนวทางได้บ้างว่า เพื่อให้เขาใช้ชีวิตอยู่ในชุมชุนได้อย่างมีความสุข ด้วยเหตุนี้ชุมชนจึงมีสิทธิที่จะรู้และกำหนดแนวทางได้บ้างว่า บุตรธิดาของเขาควรมีลักษณะอย่างไร ควรมีความสามารถทางด้านไหน ควรมีอนาคตอย่างไร เป็นต้น บุคคลที่ควรได้เข้ามากำหนดและรู้ถึงการดำเนินงานของโรงเรียนคือผู้ปกครอง หรือพ่อแม่ของบุตรธิดานั้น ๆ นอกจากบิดามารดาจะเป็นผู้กำหนดแนวทางแล้ว ผู้ปกครองหรือพ่อแม่ยังช่วยขจัดปัญหาการซัดทอดหรือการโยนความผิดให้แก่กันและกันด้วย สิ่งที่ทางโรงเรียนควรให้ผู้ปกครองหรือพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการของโรงเรียน  สิ่งที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนก็คือ อุดมการณ์และเป้าหมายของโรงเรียนต่อชุมชน ที่กำหนดไว้เป็นทางในการปฏิบัติดังนี้

 1. ปรับปรุงและส่งเสริมโรงเรียนประถมศึกษาให้เป็นแหล่งให้การศึกษาแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย

 2. เพื่อให้โรงเรียนมีบทบาทในการให้การศึกษาให้เป็นแหล่งให้การศึกษาแก่ประชาชน

 3. เพื่อให้โรงเรียนมีบทบาทในการให้การศึกษาตามความต้องการของชุมชนกว้างขวางขึ้น นอกจากทำให้ประชาชนได้รับบริการทางการศึกษา

 4. เพื่อให้ประชาชนตระหนักว่าโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนซึ่งชุมชนมีส่วนรับผิดชอบในการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

 5. เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมประชาธิปไตยขั้นมูลฐานให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น

 จากเหตุผลต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วพอจะสรุปได้ว่าทั้งโรงเรียนและชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่จะต้องสัมพันธ์กันตลอดเวลาทั้งนี้ก็เพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายที่วางไว้ ตามภาระกิจของโรงเรียนที่มีต่อชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น มีทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง การเศรษฐกิจ และทางด้านวัฒนธรรม

        ความหมายของการพัฒนาชุมชน

การพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย 2 คำ คือการพัฒนา และชุมชน

        การพัฒนา หมายถึง ทำให้เจริญ การเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนสภาพ ปรับปรุงให้ต่างจากเดิม

        ชุมชน หมายถึง การรวมตัวของบุคคล กลุ่ม/องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในขอบเขตพื้นที่หนึ่งๆ ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ระดับพื้นฐานที่สุด คือ หมู่บ้าน หรือชุมชนในรูปแบบอื่นๆ ที่มีมารวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาเดียวกัน

        การพัฒนาชุมชน ตามหลักพื้นฐานเป็นกระบวนการให้การศึกษา แก่ประชาชนเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ หรือช่วยตนเองได้ ในการคิด ตัดสินใจ และดำเนินการแก้ปัญหา ตลอดจนตอบสนองความต้องการของตนเอง และส่วนรวม

ประเภทของการพัฒนาชุมชน 

        การแบ่งประเภทของชุมชนนั้นอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

        1. แบ่งตามจำนวนพลเมือง การแบ่งตามชุมชนตามจำนวนพลเมืองนั้นเป็นการแบ่งตามขนาดของชุมชน โดยถือเอาจำนวนพลเมืองในชุมชนเป็นเกณฑ์เช่น หมู่บ้าน เมือง นคร มหานคร

        2. แบ่งตามหน้าที่การงานหรือตามลักษณะกิจกรรม การแบ่งชุมชนตามหน้าที่การงานนั้นจัดแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน ได้แก่ ศูนย์การค้า ศูนย์กลางการขนส่ง ศูนย์กลางการบริการ ซึ่งการแบ่งชุมชนทั้ง 3 ดังกล่าวไม่ได้แบ่งแยกลักษณะกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งของแต่ละชุมชนออกจากกัน

        3. แบ่งตามความสัมพันธ์ของบุคคล การแบ่งประเภทนี้จะคำนึงถึงความเป็นอยู่และการติดต่อสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม นั่นก็คือ ชุมชนชนบท และชุมชนแบบเมือง

        การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน  เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของประชาชนในการแสวงหาความรู้ สร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักการจัดการความรู้ และการวิจัยชุมชนบูรณาการอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรวม ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยให้ประชาชน ชุมชนร่วมกันรับผิดชอบและเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ ประสบการณ์  และทักษะอาชีพ  เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง  มีความเอื้ออาทรต่อกัน  และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

การศึกษากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

        การศึกษานั้นถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 หรือเป็นเป็นปัจจัยใจหลักที่จะทำให้เราสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ นอกจากนี้แล้วการศึกษาและการเรียนรู้นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียน เราสามารถเรียนรู้และศึกษาได้ในทุกที่ อย่างไรก็ตามคุณภาพชีวิตกับการศึกษาก็ขึ้นอยู่กับของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน หากเราสามารถนำความรู้จากการศึกษา มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ก็ย่อมเกิดผลดีกับตัวของเราเอง การศึกษาหรือกระบวนการการเรียนรู้สามารถเกิดได้ในทุกวัย สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับสาขากิจกรรมบำบัดได้ เช่นเราสามารถประเมินว่ากิจกรรมใดเหมาะกับผู้รับบริการใด ระดับความรู้ความเข้าใจในแต่ละวัย, ระดับของการศึกษาที่แตกต่างกัน ก็ทำให้เกิดการรู้และเข้าใจที่ต่างกันด้วยเช่นกัน

อ้างอิง

        ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2528)  การศึกษากับการพัฒนาชุมชน. กรมการฝึกหัดครู, หน่วยศึกษานิเทศก์.  กรุงเทพฯ : ภาคพัฒนาตำราและเอกสารวิชาการ หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู

        เสาวนีย์ เสนาสุ. (2529). การศึกษาชุมชน.  กรุงเทพฯ : ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.