ข้อเสียของ public blockchain

คราวที่แล้ว เราได้ปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ Blockchain คืออะไร?  เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto ซึ่งเชื่อว่าน่าจะทำให้หลายคน มองเห็นภาพการทำงานของ Blockchain ว่ามีหลักการอย่างไรกันบ้าง และ​จะเข้ามาแก้ไขปัญหาของคนยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาในโลกการเงินดิจิทัลได้อย่างไร ​ส่วนใครยังไม่ได้อ่านหรือยังไม่เข้าใจหลักการทำงานเบื้องต้นของ​ Blockchain แนะนำลองทำความเข้าใจพื้นฐานกันก่อน กับบทความ Blockchain คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin – Crypto

Show

ส่วนในครั้งนี้ เราจะมาลงลึกกันไปอีกถึงประเภทของ Blockchain ว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จะก้าวเข้าไปในโลกของการเงินดิจิทัลรูปแบบต่าง ๆ

ปัจจุบัน Blockchain
ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.Public Blockchain
2.Private Blockchain

Public Blockchain ระบบที่เปิดกว้าง​

อธิบายง่าย ๆ คือ ระบบ Blockchain ที่เปิดรับให้ผู้ที่ต้องการเข้ามาเป็น node ใหม่ในระบบ ได้โดยไม่ต้องของอนุญาตหรือการอนุมัติจากระบบ และสามารถดูข้อมูลก่อนหน้าและอัพเดทข้อมูลปัจจุบันได้ทันที ​

เพื่อทำความเข้าใจหลักการทำงานของ Public Blockchain ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ดังนี้ ถ้าในระบบมีบุคคลอยู่ 4 คน ได้แก่ A, B, C และ D ซึ่งเป็น node ในระบบที่คอยconfirm หรือทำการ verify transaction ในระบบ Blockchain แล้วแต่ละ node ก็จะมีตัว ledger เป็นของตัวเองแยกออกมา

กรณีที่มี E และ F ต้องการเข้ามาในระบบ Blockchain นี้ E และ F ก็สามารถซิงค์เข้ากับตัวระบบของ Blockchain ได้เลย สามารถ update ตัว ledger และเข้ามา verify transaction ได้เหมือน A, B, C และ D ทันที โดยที่ E และ F ไม่ต้องรอการอนุมัติหรือ verify transaction จากใคร หรือรอการอนุมัติจากระบบ สามารถเข้าเป็น node ในระบบได้ทันที ซึ่งตัวอย่างการใช้งานจริง คือ Bitcoin, Ethereum หรือ zcoin  ที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้ามาเป็น node ในระบบได้

Private Blockchain ระบบที่ต้องได้การอนุมัติก่อน

         สำหรับ Blockchain ประเภทที่ 2 เป็นประเภทที่ไม่ได้เปิดกว้างหรือให้ทุกคนเข้ามาในระบบ Blockchain ได้ทันที จำเป็นต้องมีการอนุมัติ หรือมีการจำกัดจำนวนผู้ที่จะเข้ามาเป็น node ในระบบก่อน และเมื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในระบบแล้ว ข้อมูลย้อนหลังก็อาจจะไม่สามารถดูได้ หรือดูได้บางส่วนเท่านั้น

เพื่อความเข้าใจและเห็นภาพได้อย่างชัดเจน ขอยกตัวอย่างในลักษณะเดียวกันกับ Public Blockchain ที่ในระบบมี 4 node คือ A, B, C และ D ซึ่งแต่ละ node มี ledger เป็นของตัวเอง โดยลักษณะนี้ก็เหมือน Public Blockchain แต่สิ่งที่แตกต่างไปก็คือ ถ้า E หรือ F ต้องการเข้ามาเป็น node ในระบบ Blockchain นี้ E และ F ไม่สามารถเข้ามาได้ทันที ต้องได้รับการอนุมัติก่อน ถึงจะเข้ามาเป็น node ในระบบนี้ได้ ตัวอย่างที่ใช้ระบบ Private Blockchain ได้แก่ Ripple

5 ความแตกต่างของ Private Blockchain & Public Blockchain

1.node membership

ถ้าเป็น Public Blockchain ใคร ๆ ก็เข้ามาเป็น node ในระบบได้ แต่ขณะที่ระบบ Private Blockchain จะมีจำนวนบางส่วนที่ถูกเลือกเข้ามาเป็น nodeในระบบได้เท่านั้น

2.Decenterize

Knowledge-Full-26-Chidlom

จะเห็นว่า Public Blockchain เปิดให้ใคร ๆ ก็เข้ามาเป็น node เพื่อทำการ verify transaction ในระบบได้ ทำให้ปัญหาการพึ่งพิงตัวกลาง จะไม่มีในระบบ Blockchain แตกต่างจาก Private Blockchain ผู้ที่จะเข้ามาเป็น node ในระบบจะมีการจำกัดจำนวน ทำให้ยังประสบปัญหาการพึ่งพิงตัวกลางที่มีความน่าเชื่อถือใน Private Blockchain

3.Scalability

หรือก็คือ ความสามารถในการรองรับปริมาณ transaction เนื่องจากระบบ Public Blockchain เป็นระบบที่ไม่ได้ไว้ใจให้ใครคนใดคนหนึ่งมาเป็นตัวกลาง แต่ใช้วิธีการให้แต่ละ node แข่งขันกันตรวจสอบความถูกต้อง transaction ทำให้มีการนำกำลังการประมวลผลจำนวนมากมาใช้การประมวลผล ซึ่งแตกต่างจาก Private Blockchain ซึ่งเป็นการการมอบความไว้วางใจให้ node จำนวนหนึ่งทำการตรวจสอบความถูกต้องของ transaction ทำให้ Public Blockchain มีความสามารถในการรองรับปริมาณ transaction น้อยกว่า Private Blockchain

4.ค่าธรรมเนียม

เนื่องจาก Public Blockchain มีความสามารถในการรองรับปริมาณ transaction น้อยกว่า Private Blockchain ทำให้ค่าธรรมเนียมสำหรับ transaction ที่เกิดขึ้น โดยปกติสำหรับ Public Blockchain สูงกว่า Private Blockchain

5.Privacy

หรือความเป็นส่วนตัว เนื่องจากโดยปกติแล้ว ข้อมูล transaction ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของPublic Blockchain ก็เปิดเผยให้ใครก็ได้เข้ามาตรวจสอบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต่างจาก Private Blockchain ที่จะมีการเปิดเผยข้อมูล transaction ในอดีตเพียงบางส่วน หรืออาจจะไม่เปิดเผยเลยก็ได้

อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนต่าง ๆ ของ Public Blockchain ก็มีกลุ่ม developer พยายามแก้ไขปัญหานี้อยู่ เช่น ปัญหา scalability และค่าธรรมเนียมที่สูง ก็มีความพยายามนำเทคโนโลยีมาใช้เช่น Lightning network ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการรองรับ transaction เพิ่มขึ้น และค่าธรรมเนียมถูกลง

สำหรับประเด็น Privacy ปัจจุบันมี Cryptocurrency บางชนิด ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีบางตัวมาปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน เช่น zcash และ zcoin ที่พัฒนาเป็น zcash protocol และ  zcoin protocol ที่มาใช้ปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน

Blockchain คือ keyword ของวันนี้ ที่ใส่กับอะไรก็ทำให้สิ่งนั้นดูหล่อขึ้น ได้พื้นที่ข่าว เหมือนกับ keyword รุ่นพี่อย่าง “Startup”, “Fintech”, “Vertical-industry + tech”

ในความจริง Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่น่าทึ่ง แต่ก็ไม่ได้เป็นอาวุธมหัศจรรย์ที่แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง

ข้อจำกัดของ Blockchain มีอยู่ไม่น้อย — ที่ผมจะขอกล่าวถึง คือ

  1. ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
  2. ความเร็วในการประมวลผลของ Blockchain
  3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูล
  4. ข้อมูลเหมาะกับการเก็บแบบ Ledger หรือ Immutable record หรือไม่
  5. ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่อยู่ใน Blockchain

โดยทั้งหมด จะไม่กล่าวถึง Private/Consortium Blockchain

สำหรับท่านที่ไม่อยากอ่านรายละเอียดเยอะ สามารถข้ามส่วนที่เป็นตัวเอียงไปได้

สรุป

เนื่องจากบทความนี้ยาวมาก ขอสรุปสั้น ๆ ว่า

ถ้าคุณไม่มีงานที่:

  • ต้องให้คน/องค์กรจำนวนมากมีสิทธิแก้ไขข้อมูลก้อนเดียวกัน
  • และมีเหตุจูงใจให้ไม่สามารถเชื่อใจคนที่มีสิทธิแก้ไขข้อมูลในระบบได้
  • และมีปัญหาในการตรวจสอบว่าใครควรมีสิทธิ/ไม่มีสิทธิ หรือ มีปัญหาในการแต่งตั้งคนกลางมาตรวจสอบสิทธิ
  • และสิ่งที่ข้อมูลที่เก็บ มีค่ามากพอที่จะมีผลประโยชน์ให้คนที่ดูแลเครื่องประมวลผล Blockchain
  • และข้อมูลมีลักษณะแบบ Ledger — คือ การตรวจสอบค่าของข้อมูลปัจจุบัน ต้องใช้ข้อมูลย้อนหลังประกอบ — หรือเป็นข้อมูลที่ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขได้หรือไม่

ถ้าไม่ตรงเงื่อนไขข้างต้น — Blockchain อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Recap: พื้นฐานของ Blockchain

จุดเด่นของ Blockchain ที่แตกต่างจากระบบฐานข้อมูลแบบดั้งเดิมอยู่ที่ ความเชื่อถือของระบบ การเก็บข้อมูลแบบ Ledger

ความเชื่อถือของระบบ

สำหรับระบบฐานข้อมูลแบบดั้งเดิมนั้น จุดอ่อนของระบบจะอยู่ที่เครื่องที่เก็บข้อมูล

ส่วน Blockchain ออกแบบให้มีการกระจาย ledger/database ออกไปให้กับเครื่องจำนวนมาก ทำให้การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลใด ๆ ขึ้นกับการ”โหวต”ของเครื่องจำนวนมากเหล่านี้ (ขอใช้คำว่าโหวตเพื่อให้เข้าใจง่าย) ทำให้ระบบปลอดภัยขึ้น เพราะไม่สามารถโกงระบบจากจุดเดียวได้ (ข้อใช้คำว่าโกง เป็นคำย่อแทนการเข้าไปแก้ไขข้อมูลโดยไม่สุจริต หรือไม่ได้รับอนุญาต เพื่อให้กระชับขึ้น)

โดยหลักการออกแบบนี้ ทำให้ระบบที่ใช้ Public Blockchain ควรมีจำนวนเครื่องมาก เพื่อให้โกงระบบได้ยาก และควรกระจายอยู่ภายใต้การดูแลขององค์กร/บุคคลที่หลากหลาย (เพราะถ้ามีองค์กรเดียวเป็นเจ้าของเครื่องทั้งหมด หรือ ส่วนใหญ่ ก็ย่อมผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้อย่างง่ายดาย)

ลักษณะการเก็บข้อมูลแบบเป็น Ledger/Immutable

ฐานข้อมูลทั่วไปถูกออกแบบให้เก็บข้อมูลอะไรก็ได้ ซึ่งถ้าออกแบบกันแบบง่าย ๆ ก็มักจะเก็บเพียงค่าปัจจุบันเท่านั้น โดยไม่ได้เก็บประวัติว่าใครแก้ไขอะไรไปบ้าง ค่าถึงได้กลายมาเป็นแบบนี้ (ออกแบบให้เก็บหมดก็ทำได้ แต่ไม่ได้มาเป็นภาคบังคับ)

ในขณะที่ Blockchain จะถูกออกแบบมาสำหรับการเก็บข้อมูลพร้อมการจัดเก็บประวัติศาสตร์ย้อนหลังว่าข้อมูลนี้ถูกแก้ไขปรับเปลี่ยนอะไรมาบ้างในตัว ซึ่งเป็นข้อมูลในลักษณะเดียวกับ Ledger (นึกถึงบัญชีธนาคาร ที่ balance ปัจจุบัน ต้องมาจากการรวมยอดฝาก-ถอนในอดีต) และนี่คือที่มาของคำว่า Blockchain

การที่ Ledger เก็บประวัติการแก้ไขข้อมูลไว้ทั้งหมด ทำให้ข้อมูลนั้นเหมือนแก้ไขไม่ได้ (Immutable)

จากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้เกิดข้อจำกัดอย่างไรบ้าง?

1. ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

เครื่องที่ใช้ประมวลผลและเก็บรักษา Blockchain นั้น ไม่ได้มาฟรี ๆ

การกระจายข้อมูลให้เครื่องจำนวนมากเก็บซ้ำซ้อนกัน ย่อมใช้ต้นทุนมากกว่าระบบ ธรรมดาแบบเก่าที่เก็บข้อมูลอยู่ไม่กี่เครื่องแน่นอน โจทย์ที่จะประยุกต์ใช้ Blockchain จึงต้องตั้งคำถามว่า จุดเด่นของ Blockchain มีค่ามากพอให้คุ้มกับการลงทุนมีเครื่องจำนวนมากหรือไม่? คุ้มค่าแค่ไหนเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีทางเลือกอื่น ๆ

ในกรณีทั่ว ๆ ไป ระบบที่ใช้ Blockchain เก็บข้อมูลจะมีค่าใช้จ่ายด้าน infrastructure โดยรวมสูงกว่าระบบฐานข้อมูลธรรมดา (โดยค่าใช้จ่ายจะกระจายอยู่หลายองค์กร/บุคคล — ถ้ามองแค่หน่วยเดียว อาจจะจ่ายน้อยลง แต่ถ้ามองภาพรวมจะจ่ายมากขึ้น)

ต้นทุนของการดูแลระบบ Blockchain ไม่ได้มีแค่มูลค่าเครื่องหรือค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการดูแล แต่ยังต้องรวมไปถึงการ upgrade และดูแลรักษาระบบด้วย

มูลค่ารวมของระบบโตอย่างทัดเทียมกับปริมาณคนที่เข้าร่วมดูแล Blockchain หรือไม่?

เมื่อระบบโตขึ้นเรื่อย ๆ หากมูลค่าของมันไม่โตขึ้น จุดที่การขยายเครื่องมาประมวลผล Blockchain ไม่คุ้มทุนจะมาถึง และนั่นจะเป็นจุดล่มสลายของระบบ

มีองค์กร/บุคคลจำนวนมาก ที่มีแรงจูงใจทางธุรกิจและทรัพยากร ให้สามารถเก็บรักษาข้อมูลหรือไม่?

ความปลอดภัยของ Blockchain แปรผันตามความหลากหลายของ “เจ้าของเครื่อง” ด้วยเช่นกัน — ระบบจะปลอดภัยหากไม่มีองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของเครื่องส่วนใหญ่ นั่นคือ ระบบต้องมีค่าสำหรับแต่ละองค์กร/บุคคลจำนวนหนึ่ง มากกว่าค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่อง

สำหรับกรณีของ Bitcoin — คนที่เก็บรักษาและประมวลผล Blockchain จะได้รางวัลเป็น Bitcoin ในช่วงต้น และเมื่อ Bitcoin ถูกขุดไปหมดแล้ว ก็จะผันตัวมาเก็บค่าประมวลผลเป็น transaction fee — นั่นทำให้คนที่ตั้งเครื่อง มีรายได้เป็นแรงจูงใจให้อยากตั้งเครื่อง

ในตอนที่ Bitcoin ยังมีมูลค่าต่ำและ network มีขนาดเล็ก มี miner ไม่เยอะ คุณจะได้ Bitcoin ได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้เวลามากนัก — และเมื่อ Bitcoin มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ คนก็จะอยากตั้งเครื่องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โอกาสในการขุดได้ Bitcoin ก็จะยากขึ้น สอดคล้องกับความต้องการเครื่องที่มาช่วยประมวลผล Blockchain และมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของ Bitcoin — อีกทั้งยังทำให้งบประมาณในการตั้งเครื่องมาโกงระบบสูงขึ้น แปรผันกับมูลค่ารวมของ Bitcoin โดยอัตโนมัติ

ตอนฟังหลักการของ Bitcoin ผมรู้สึกทึ่งในอัจฉริยภาพของกลุ่มคนที่ออกแบบ Bitcoin เป็นอย่างมาก ที่สามารถใช้ทั้งหลักเศรษฐศาสตร์, Computer Architecture และ Cryptography ให้สอดคล้องกันได้อย่างลงตัวอย่างน่าอัศจรรย์

สิ่งที่คุณอยากนำ Blockchain ไปใช้ มันลงตัวเหมือน Bitcoin หรือไม่?

2. ความเร็วในการประมวลผล

การตรวจสอบความถูกต้องของ transaction ในระบบ Blockchain ต้องอาศัยความเห็นจากเครื่องจำนวนมากใน network

การติดต่อกับเครื่องจำนวนมาก ย่อมต้องใช้เวลามากกว่า

เช่น Bitcoin ใช้เวลาประมวลผลเพื่อยืนยัน transaction ทางทฤษฎีอยู่ที่ 10 นาที แต่ทางปฏิบัติ อาจใช้เวลาประมวลผลสูงถึง 2–3 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น

นั่นทำให้ คุณจะไม่เห็นการใช้ Blockchain ตรง ๆ มาประมวลผลการตัดเงินขึ้นรถโดยสาร เพราะ transit เป็นธุรกรรมที่ต้องการความเร็วในการประมวลผลระดับ milliseconds (ลองจินตนาการว่าหากการแตะบัตรเข้า MRT ที่อโศกตอน 6 โมงเย็นหรือการขึ้นรถเมล์ที่อนุสาวรีย์ตอน 7 โมงเช้าต้องใช้เวลา 5 วินาทีต่อคน จะเกิดอะไรขึ้น?) — Technology การเงินที่ใช้กับระบบขนส่งในปัจจุบัน จึงเป็นระบบ offline transaction เกือบทั้งหมด

เพื่อแก้ปัญหาด้านความเร็วในการประมวลผล จึงมีผู้คิดมาตรการเพิ่มเติม เช่น

  • ออกแบบให้มีการจ่ายค่าธรรมเนียมแพงพิเศษ แล้วจะได้ priority ในการตรวจสอบข้อมูลก่อนคนอื่น — วิธีแก้ปัญหาด้วยเงินนี้ ใช้ได้ไม่เกินค่า ๆ หนึ่ง เพราะสุดท้ายถ้าคนใช้เยอะ ก็แก้ไม่ได้อยู่ดี
  • Lightning network/Sidechain — เป็นหลักการที่คล้าย ๆ กัน คือ ตัด Blockchain ส่วนเล็ก ๆ บางส่วนออกจากระบบเดิม หรือ สร้าง Blockchain ย่อยอีกระบบหนึ่งแยกออกมา โดยระบบย่อยนี้จะมีจำนวนเครื่องน้อยกว่ามาก ทำให้ประมวลผลเร็ว และจำกัดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยด้วยมูลค่าที่น้อยกว่ามากไม่ได้เอาเข้ามาทั้ง Blockchain — ว่าง่าย ๆ ก็คือ สมมติว่าระบบมีมูลค่า 10,000 บาท เราอาจตัดเงินออกมาทีละ 100 บาทโยนให้ระบบย่อยที่ความปลอดภัยต่ำกว่า เพราะประเมินว่าหากเสียหายก็แค่ 100 เดียว — นั่นคือ เลิกใช้ Blockchain เต็มสูตร เพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น

ธุรกรรมที่ต้องการความเร็วในการตรวจสอบสูง ไม่เหมาะกับ Blockchain

3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูล

สิทธิควรเป็นแบบเปิดกว้างหรือไม่?

ถ้าคุณไม่ได้ต้องการให้คน/องค์กรจำนวนมากมีสิทธิแก้ไขฐานข้อมูล คุณก็ไม่จำเป็นต้องใช้ Blockchain

คุณเชื่อใจคนที่มีสิทธิได้แค่ไหน?

ถ้าคุณเชื่อใจ หรือมีเหตุให้ต้องเชื่อคนในระบบอยู่แล้ว คุณก็ไม่ต้องใช้ Blockchain ก็ได้ — เช่น ถ้าของที่เก็บไม่ได้มีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องที่จะเป็นแรงจูงใจให้คนอยากโกงระบบ เป็นต้น

อ่านตอนที่ 2 ต่อ

ข้อจำกัดของ Blockchain Technology (ตอนที่ 2)

Ledger/Immutable และความรับผิดชอบต่อข้อมูลใน Blockchain

jirasukhanon.com

บทความนี้ยาวมาก ผมจึงทดลองแบ่งเป็น 2 ตอนดูว่าคนจะอ่านจบมากกว่าเดิมหรือไม่ — ชอบแบบไหนฝากให้ความเห็นด้วยครับ

You might also like

ส่องงบการเงิน Startup — ขาดทุนแล้วทำไมยังมี value สูง (ตอนที่ 1)

ธุรกิจ Startup ไม่มีกำไร เน้นปั่นราคาสร้างฟองสบู่อย่างเดียว จริงหรือ?

medium.com

You can connect with me via Facebook & Twitter

Apart from flooding social network with his thought, Kittichai Jirasukhanon spends his time imagining the future and developing it at Cleverse, a venture builder, with people who don’t give up dreaming.

ข้อกําหนดของ Public Blockchain คืออะไร

Public Blockchain. Public Blockchain คือ Blockchain วงเปิดที่อนุญาตให้ทุกคนสามารถ เข้าใช้งานไม่ว่าจะเป็นการอ่าน หรือการท าธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ โดย ไม่จ าเป็นต้องขออนุญาต หรือรู้จักกันในอีกชื่อ คือ Permissionless Blockchain ดังแสดงในรูปภาพที่9.

ข้อใดหมายถึงข้อเสียของ Private Blockchain

ส่วนข้อเสียก็คือ Private Blockchain มักจะใช้กับ Transaction เฉพาะทาง อาจจะไม่สามารถนำไปใช้กับ Use Case ของ Public Blockchain อย่างเช่นการสร้าง Token ได้

Public Blockchain มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างของ Public blockchain network เช่น Bitcoin , Ethereum , BNB Chain ซึ่งต่างเป็น Blockchain ยอดนิยมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย

ข้อใดคือตัวอย่างของระบบ Blockchain แบบเปิดสาธารณะ

โดยทุกคนในเครือข่ายสามารถเห็นข้อมูลรายการธุรกรรมได้ ซึ่งรายการธุรกรรมที่เกิดขึ้นใหม่จะต้องผ่านกระบวนการทำ Consensus จากสมาชิกในเครือข่ายก่อน ตัวอย่างของระบบ Blockchain แบบเปิดสาธารณะ เช่น Bitcoin, Ethereum และ xCHAIN.