บริษัท+บริหารสินทรัพย์+ฮาร์โมนิช+จํากัด+โทร

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ร่วมมือกับผู้ให้บริการทางการเงิน ผ่านสมาคมและชมรมต่าง ๆ รวม 8 แห่ง ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ ครอบคลุมสินเชื่อ 4 ประเภท ทั้งสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล , สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ , สินเชื่อเช่าซื้อรถ และสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยความช่วยเหลือจะแตกต่างกันออกไปตามความสามารถลูกหนี้ เช่น พักชำระค่างวด , ลดค่างวด , ลดดอกเบี้ย , ขยายเวลาชำระหนี้ , รวมหนี้ และยังเปิดโอกาสให้ลูกหนี้คืนรถได้โดยไม่ถูกดำเนินคดี เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค.- 31 ธ.ค.64

บริษัท+บริหารสินทรัพย์+ฮาร์โมนิช+จํากัด+โทร

สำหรับมาตรการ 4 ประเภท โดยประเภทแรกบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เปลี่ยนเป็นหนี้ระยะยาว ลดค่างวด , กรณีขยายเวลาเกินกว่า 48 งวดให้สถาบันการเงินลดดอกเบี้ยต่ำกว่ากำหนด , รวมหนี้กับสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น ส่วนประเภทที่ 2 สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ เช่น ลดค่างวด หรือหากลูกหนี้ได้รับผลกระทบรุนแรง มีทางเลือก คือ พักหนี้ คืนรถ หรือรวมหนี้ ส่วนรถจักรยานยนต์ เช่นลดค่างวด หรือรวมหนี้ ไม่สามารถคืนรถได้

บริษัท+บริหารสินทรัพย์+ฮาร์โมนิช+จํากัด+โทร

ขณะที่ประเภทที่ 3 สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ควบคุมดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญาไม่ให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยเดิม และปรับวิธีการคิดดอกเบี้ยช่วงที่พักบนค่างวดที่พักชำระหนี้ ลดค่างวด ขยายเวลา พักหนี้ รวมหนี้ หรือหากลูกหนี้นำเงินมาปิดในก้อนเดียวเพื่อปิดบัญชี ให้สถาบันการเงินลดดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดไม่น้อยกว่า 50% และเพิ่มการคืนรถในสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

- Advertisement -


ส่วนประเภทที่ 4 สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน เช่น ลดค่างวด พักเงินต้น จ่ายดอกเบี้ยบางส่วน , จ่ายเงินต้นและลดดอกเบี้ย , รวมหนี้ , ถ้าลูกหนี้จ่ายไม่ไหว ต้องพักค่างวด โดยให้ลูกหนี้ทยอยชำระคืนเป็นขั้นบันได หลังลดค่างวดหรือพักหนี้แล้ว

บริษัท+บริหารสินทรัพย์+ฮาร์โมนิช+จํากัด+โทร

“สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ยังมีความไม่แน่นอนสูง การระบาดระลอกใหม่ยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบต่อภาคธุรกิจบริการ โรงแรม ร้านอาหาร รถบริการรับส่งคน ซึ่งมีพนักงานและลูกจ้างได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ทำให้รายได้หายไปหรือลดลง และมีสัญญาณว่าลูกหนี้รายย่อยมีความยากลำบากในการชำระหนี้มากขึ้น โดยการประเมินของสถาบันการเงินพบว่าลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการเดิมยังคงต้องการความช่วยเหลือต่อเนื่องและมีลูกหนี้ใหม่ที่ต้องการรับความช่วยเหลือในครั้งนี้ ซึ่งเป็นความเปราะบางที่สะสมมาตั้งแต่การระบาดของโควิด 19 ในระลอกแรก จำเป็นจะต้องช่วยเหลือในเรื่องภาระหนี้ที่มีอยู่กับสถาบันการเงิน”

นายรณดล กล่าวว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือ ณ 31 มี.ค.64 ได้มีลูกหนี้เข้ามาตรการต่าง ๆ รวม 3.7 ล้านล้านบาท เป็นลูกหนี้รายย่อย 1.9 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 50% ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล 1.1 ล้านล้านบาท , สินเชื่อที่อยู่อาศัย 6 แสนล้านบาท และสินเชื่อเช่าซื้อ 2 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตามการระบาดรอบใหม่นี้กระทบรุนแรงต่อธุรกิจบริการ และท่องเที่ยว ทำให้เกิดผลกระทบกระทบต่อการชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อย เช่น รายได้ประจำ รายวัน แรงงานถูกเลิกจ้าง ทำให้รายได้หายไป ส่งผลให้ลูกหนี้รายย่อยมีความลำบากในการชำระหนี้มากขึ้น จากการประเมินเดือน ก.พ.-มี.ค.64 มีลูกหนี้เข้ามาตรการ 1 แสนราย คิดเป็น 4 หมื่นล้านบาท เป็นสัญญาณว่าลูกหนี้ได้รับผลกระทบก่อนเกิดโควิดระลอกสามด้วย และยังพบลูกหนี้การค้างชำระเกิน 1 วัน อยู่ที่ 10% ของพอร์ตลูกหนี้รายย่อย

“ยอมรับว่าเอ็นพีแอลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ธปท.ไม่กังวล และจะติดตามอย่างใกล้ชิด เชื่อว่ามาตกราตต่าง ๆจะสามารถดูแลลูกหนี้ได้ รอคุมโควิดได้และเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ลูกหนี้จะผ่านพ้นไปได้ ส่วนการพักหนี้ลูกหนี้เอสเอ็มอี ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณา แต่พักหนี้อาจแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด ต้องใช้วิธีปรับโครงสร้างหนี้สอดรับธุรกิจ ซึ่งเข้าใจว่ามีลูกหนี้บางส่วนไม่สามารถพิสูจน์กระแสเงินสดได้ในตอนนี้จึงจำเป็นต้องพักหนี้ แต่ก็มีส่วนน้อยแล้ว ธปท.กำลังพิจาณาอยู่ถ้าสิ้นสุดมาตรการ มิ.ย.นี้”

นางวิเรขา สันตะพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธปท. กล่าวว่า วิธีการรวมหนี้เริ่มแรกให้กับเจ้าหนี้เดียวกัน หรือกลุ่มบริษัทในเครือเจ้าหนี้เดียวกันเท่านั้น เพื่อรับดอกเบี้ยถูกลงคิดแบบเอ็มอาร์อาร์ หรือ 6% ขณะที่แนวทางคืนรถแต่ยังมีส่วนหนี้ที่เหลือ ให้ผู้ประกอบการและสถาบันการเงินช่วยลูกหนี้ เช่น ขยายเวลา ลดภาระหนี้ เป็นไปตามมาตรฐานวิธีตีราคาคืนรถของสถาบันการเงิน และเงื่อนไขในการขายของผู้ประกอบการ

สำหรับคุณสมบัติของมาตรการช่วยเหลือรอบนี้ ลูกหนี้ต้องไม่เป็นเอ็นพีแอล หรือค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน ก่อนวันที่ 1 มี.ค.63 โดยเตรียมเอกสารหลักฐานที่ได้รับผลกระทบ เช่น หยุดงานชั่วคราว , เงินเดือนลดลง , ชั่วโมงการทำงานลดลง เป็นต้น ส่วนช่องทางสมัครทั้งแอปพลิเคชั่นสถาบันการเงิน ,เว็บไซต์ , โซเชียลมีเดีย , คอลเซ็นเตอร์ และสาขา หรือหากมีข้อสงสัยเกิดปัญหา สามารถโทร 1213 สายด่วนศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน(ศคง.)

นอกจากนี้ ธปท.ยังมีมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ ช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สิ้นสุด 30 มิ.ย.64 และจะเพิ่มการไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อในระยะต่อไป รวมทั้งเพิ่มผู้ให้บริการ บริษัท บริหารสินทรัพย์ คอลเลคเซียส จำกัด , บริษัท บริหารสินทรัพย์ ชโย จำกัด , บริษัท บริหารสินทรัพย์ ทวีทรัพย์ จำกัด และบริษัท บริหารสินทรัพย์ ฮาร์โมนิช จำกัด