แนวโน้ม ธุรกิจ อัญมณี 2565

เศรษฐกิจ

17 ส.ค. 2565 เวลา 12:53 น.531

“สินิตย์”เผยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับครึ่งปี 65 ยังโตต่อเนื่อง ทำได้มูลค่า 8,713.27 ล้านดอลลาร์ เพิ่ม 93.86% ได้แรงหนุนจากการเปิดประเทศ การเพิ่มสินค้าคงคลัง บาทอ่อน คาดครึ่งปีหลัง ยังโตต่อ แต่ต้องจับตาเงินเฟ้อทั่วโลก ปัญหารัสเซีย-ยูเครน จีน-ไต้หวัน-สหรัฐฯ

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ในช่วงครึ่งปี 2565 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 8,713.27 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 93.86% หรือคิดเป็นเงินบาท มีมูลค่า 286,091.04 ล้านบาท โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วน 5.84% ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย เมื่อหักทองคำออก การส่งออกที่แท้จริงมีมูลค่า 3,851.32 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 39.82% หรือคิดเป็นเงินบาทมูลค่า 127,597.83 ล้านบาท 

ปัจจัยที่สนับสนุนการส่งออกให้ขยายตัวต่อเนื่อง มาจากการฟื้นตัวของการบริโภคจากการเปิดประเทศในหลายประเทศทั่วโลก มีการเพิ่มระดับสินค้าคงคลังที่ลดลงไปในช่วงก่อนหน้า ได้อานิสงค์จากเงินบาทอ่อนค่า ที่ช่วยสนับสนุนการส่งออก และตลาดส่งออกสำคัญเพิ่มขึ้น ทั้งสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป อินเดีย ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง เป็นต้น ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ประกอบการไทยที่จะกลับมาฟื้นตัว หลังเจอภาวะทรงตัวจากผลกระทบของโควิด-19 อยู่กว่า 2 ปี 

ตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว เช่น สหรัฐฯ เพิ่ม 42.94% อินเดีย เพิ่ม 149.21% ฮ่องกง เพิ่ม 0.90% เยอรมนี เพิ่ม 18.39% สหราชอาณาจักร เพิ่ม 64.64% สวิตเซอร์แลนด์ เพิ่ม 114.05% เบลเยียม เพิ่ม 31.31% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพิ่ม 21.81% ญี่ปุ่น เพิ่ม 10.96% และอิตาลี เพิ่ม 82.57%

ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น เช่น เพชรเจียระไน เพิ่ม 57.04% เครื่องประดับทอง เพิ่ม 54.17% พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เพิ่ม 53.80% พลอยเนื้อแข็งเจียระไน เพิ่ม 79.31% เครื่องประดับเงิน เพิ่ม 11.46% และเฉพาะทองคำ เพิ่ม 179.40%

แนวโน้ม ธุรกิจ อัญมณี 2565

นายสินิตย์ กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่า จะขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีข้อมูลจาก Bain & Company ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านการจัดการธุรกิจชั้นนำของโลก ระบุว่า ยอดขายสินค้าแบรนด์ดังและสินค้าฟุ่มเฟือยทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5% ในปี 2565 เนื่องจากมีแรงซื้อจากผู้บริโภคในสหรัฐฯ และยุโรป แต่ยังต้องจับตาภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกที่ยังทรงตัวในระดับสูง ที่จะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อ และปัญหาความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลต่อราคาพลังงานและวัตถุดิบ ความตรึงเครียดระหว่างจีน-ไต้หวัน และสหรัฐฯ ที่ต้องจับตา

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรรักษาตลาดเดิมให้เติบโตและหาตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อสูงเพิ่มเติมเข้ามา เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดใดตลาดหนึ่งมากเกินไป ควรมีแหล่งวัตถุดิบสำรองหลาย ๆ แห่ง เพื่อเติมเต็มในห่วงโซ่การผลิต การนำฐานข้อมูลลูกค้ามาช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค รวมทั้งผู้ประกอบการที่มีการกู้ยืมจากต่างประเทศควรระมัดระวังภาระการใช้คืนเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปัญหาค่าเงินบาทอ่อน

อย่างไรก็ตาม ในช่วงวันที่ 7-11 ก.ย.2565 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ได้เตรียมจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ครั้งที่ 67 ณ ชาเลนเจอร์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี มีผู้ประกอบการค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากทั่วโลกกว่า 800 บริษัท ร่วมออกบูธกว่า 2,000 คูหา และคาดว่าจะมีผู้เข้าเยี่ยมชมงานกว่า 10,000 ราย สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไม่ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาท โดย GIT ได้เปิดให้บริการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับ ณ คูหา A01,03,05 และ B02,04,06 ตลอดระยะเวลาการจัดงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ที่ต้องการเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับอย่างมั่นใจ

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ

​โอกาสและความท้าทายของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทย

ตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนปะทุขึ้นและบานปลายกลายเป็นสงคราม ทองคำได้กลายเป็นสินทรัพย์ยอดฮิตและตกอยู่ในความสนใจของนักลงทุนที่ต้องการหลีกหนีความเสี่ยงหรือต้องการเก็งกำไร โดยในช่วงที่ผ่านมา ราคาทองคำผันผวนสูงมากดั่งนั่งรถไฟเหาะ เรียกได้ว่า เดินเข้าร้านทองที่เยาวราชไม่ทันไร เดินออกมาราคาก็เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ทั้งนี้ ทองคำถือเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยเฉพาะการนำไปเป็นตัวเรือนเครื่องประดับ ทำให้ผู้เขียนนึกย้อนไปถึงการพูดคุยหารือร่วมกันอย่างได้อรรถรสระหว่างผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมนี้ นักวิชาการ และนักวิเคราะห์ในงานเสวนา “Industry Transformation” ที่จัดโดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 ผู้เขียนจึงขอสรุปใจความ พร้อมระบุโอกาสและความท้าทายของธุรกิจประเภทนี้ที่ยังคงเป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบัน มาเล่าสู่กันฟังครับ

แนวโน้ม ธุรกิจ อัญมณี 2565

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับ 3 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทยมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ทศวรรษ และเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมส่งออกที่สร้างรายได้สูงสุดให้กับประเทศมาอย่างยาวนาน โดยเป็นทั้งผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับส่งออก และเป็นผู้ค้าขายอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญในระดับโลก สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อมเพียงพอที่จะก้าวเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของภูมิภาคและของโลกได้ 

โครงสร้างอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมอัญมณี และอุตสาหกรรมเครื่องประดับ โดยอุตสาหกรรมอัญมณี ประกอบด้วย อุตสาหกรรมเจียระไนเพชร และพลอย ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องประดับ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ (เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง) และเครื่องประดับเทียม (อัญมณีสังเคราะห์) โดยแต่ละอุตสาหกรรมมีโครงสร้างภายใน มีรายละเอียดและลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป

จุดเด่นสำคัญของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย คือ การเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณี (พลอยสี) ของภูมิภาค รวมทั้งความสามารถของช่างฝีมือไทยในการเผาพลอยสีและเจียระไนพลอยที่มีคุณภาพและประณีต อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน คือ ความจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เนื่องจากแหล่งวัตถุดิบในประเทศมีทรัพยากรเหลือน้อยและไม่เพียงพอสำหรับการผลิตอีกต่อไป และถูกซ้ำเติมด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะยอดคำสั่งซื้อที่ลดลงจากในอดีต โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป ส่งผลให้ธุรกิจขาดสภาพคล่อง และสูญเสียแรงงานที่มีฝีมือไปบางส่วน 

มองไปข้างหน้า ความท้าทายสำคัญของอุตสาหกรรมนี้แบ่งออกเป็นด้านอุปสงค์ ได้แก่ ผู้บริโภครุ่นใหม่ไม่นิยมเครื่องประดับทอง เพชร พลอย ต่างจากคนรุ่นก่อน รวมถึงแนวโน้มการแต่งงานที่น้อยลงในคนรุ่นใหม่อาจทำให้ความต้องการอัญมณีและเครื่องประดับน้อยลง ขณะที่ด้านอุปทาน ได้แก่ การสร้างแรงงานรุ่นใหม่เข้าสู่อุตสาหกรรมเป็นไปได้ยาก และต้องใช้เวลานานในการสร้างความเชี่ยวชาญ และข้อจำกัดในการพัฒนาสินค้าให้ทันสมัย มีคุณภาพและมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่

ดังนั้น ผู้ร่วมเสวนาจึงมีข้อเสนอแนะสำคัญ โดยเฉพาะต่อภาครัฐไว้ว่า การมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจะนำมาสู่นโยบายสนับสนุนการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนี้ต่อไป เช่น นโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศ ด้านการคลังและภาษี ด้านการพัฒนาแรงงาน ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาการตลาดและการสร้างแบรนด์ให้เข้มแข็ง เพราะประเทศไทยมีความได้เปรียบในการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมและการเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ดีอยู่แล้ว คงจะเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่งหากเราไม่สามารถรักษาหรือต่อยอดสิ่งที่ทำได้ดีในเวทีโลกไว้…

ผู้เขียน :
สุพริศร์ สุวรรณิก
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

คอลัมน์ “บางขุนพรหมชวนคิด” นสพ.ไทยรัฐ
ฉบับวันที่ 26 มีนาคม 2565

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

>> Download PDF