ข้อดี ของระบอบ ราชา ธิ ป ไต ย

การจะพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองและเข้มแข็งอย่างยั่งยืนได้นั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่บนรากฐานขององค์ประกอบหลักสำคัญประการหนึ่ง คือ การใช้อำนาจอธิปไตยในการบริหารจัดการประเทศอย่างถูกต้องดีงาม เพื่อส่วนรวม จึงจะสามารถนำความสุข สงบ ความเจริญมาสู่ประเทศชาติบ้านเมืองและประชาชนได้อย่างแท้จริง


อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการเมืองไทย ไม่ว่าขณะนี้ฝ่ายใดจะเป็นผู้ถือครองอำนาจ และไม่ว่าจะเลือกตั้งผ่านมากี่ครั้ง การใช้อำนาจอธิปไตยในการบริหารจัดการประเทศนั้น ไม่ได้เป็นไปในแนวทางที่ควรจะเป็น แม้เราบอกว่าประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยแบบไทย นั้นยังเจือปนไปด้วย คณาธิปไตย ธนาธิปไตย พลาธิปไตย ทำให้ประเทศไทยได้แต่ผู้แทนที่เป็นเพียงนักการเมืองที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน ไม่ใช่ “นักสร้างเมือง” ที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและประชาชน ตลอดเวลาที่ผ่านมาการพัฒนาประเทศไทยจึงเป็นไปอย่างล่าช้าและไร้พลัง


หากเราเดินไปในทิศทางเดิม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง แนวโน้มที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เจริญงอกงามอย่างยั่งยืนดีกว่าเดิม ประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ ย่อมเป็นไปได้ยาก การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ประเทศไทยต้องการการปกครองที่ “มาจาก” ประชาชน “เป็นของ” ประชาชน และ “เพื่อประโยชน์สุข” ของ “ประชาชนทุกคนในประเทศ” อย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือ ต้องปกครองในระบอบที่ผมขอเรียกว่า อารยาธิปไตย

1. อารยาธิปไตย หมายถึงอะไร?
อารยาธิปไตย หมายถึง การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ใช้ธรรมาธิปไตยเป็นฐานอำนาจ ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยยึดมั่นในความถูกต้อง ความดีงาม มีคุณธรรมในการตัดสินใจ
อารยาธิปไตย เป็นศัพท์ที่ผมบัญญัติขึ้น และกล่าวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการปราศรัย เรื่อง “อารยาธิปไตย” ในการประชุมสมัชชาสยามอารยะ วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2553 เป็นแนวคิดทางการปกครองที่นำเสนอเพื่อเป็นเป้าหมายการพัฒนาการเมืองไทย โดยอำนาจสูงสุดต้องเป็นอารยาธิปไตย นั่นคือ ประชาธิปไตยบนฐานธรรมาธิปไตย หรือใช้คุณธรรม ความถูกต้อง ความดีงาม เป็นฐานอำนาจ


เหตุผลที่ผมต้องบัญญัติคำศัพท์ขึ้นมา เพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจ อธิบาย และ สื่อสาร เพราะเมื่อเราเข้าใจคำนี้แล้ว การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพขึ้น เหมือนที่เราใช้คำว่า ประชาธิปไตย เพื่อสื่อถึงการปกครองที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิไตย ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เมื่อเราพูดถึง ประชาธิปไตย เราสามารถเข้าใจได้ว่าผู้พูดหมายถึงอะไร


2. อารยาธิปไตย มีความสัมพันธ์กับแนวคิดการปกครองแบบอื่นอย่างไร?
จากการวิเคราะห์ระบอบการปกครอง ในโลกตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ผมขอจำแนกออกเป็น 2 มิติเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ดังนี้


2.1 มิติเชิงปริมาณ – จำนวนผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
การจำแนกระบอบการปกครองหรือการใช้อำนาจอธิปไตยในมิตินี้จะพิจารณาแบ่งตามจำนวนผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเป็นสำคัญ ในที่นี้ประกอบด้วย


2.1.1 เอกาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของคน ๆ เดียว โดยคนเดียวมีอำนาจสูงสุด ควบคุมเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่ว่าทำดีหรือชั่วในการปกครอง เช่น ระบอบเผด็จการที่ผู้นำมีอำนาจปกครองเบ็ดเสร็จ เช่น อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเผด็จการชาวเยอรมัน หรือ เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำเผด็จการชาวอิตาลี เป็นต้น


2.1.2 คณาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของ “คณะบุคคล” มีผู้ใช้อำนาจอธิปไตยหลายคนแต่จำนวนไม่มากนัก ไม่ว่าจะใช้อำนาจเพื่อส่วนรวมหรือไม่ เช่น สมาชิกโปลิตบูโรของจีนที่มีอยู่เพียง 7 คน และมีอำนาจสูงสุดในการบริหารพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นต้น


2.1.3 ประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองที่ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ใช้เสียงส่วนใหญ่ในการพิจารณาตัดสิน ซึ่งปัจจุบันเป็นระบอบที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก


2.2 มิติเชิงอำนาจ – การใช้อำนาจอธิปไตย
การจำแนกระบอบการปกครองหรือการใช้อำนาจอธิปไตย ในมิตินี้จะใช้เกณฑ์การพิจารณาตามวิธีการใช้อำนาจอธิปไตยเป็นหลัก ในที่นี้ได้แก่ ธนาธิปไตย พลาธิปไตย และธรรมาธิปไตย


2.2.1 ธนาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองที่ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยบริหารจัดการประเทศโดยใช้เงินเป็นฐานในการสร้างอำนาจหรือให้ได้มาซึ่งอำนาจ ซึ่งหากนำธนาธิปไตยไปใช้ร่วมกับการใช้อำนาจอธิปไตยในมิติเชิงปริมาณจะทำให้ได้ระบอบการปกครองที่มีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้


1) เอกาธิปไตย + ธนาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองที่คนเดียวใช้เงินเป็นตัวตัดสิน หรือใช้เงินเป็นฐานในการสร้างอำนาจหรือให้ได้มาซึ่งอำนาจ


2) คณาธิปไตย + ธนาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองโดยคณะบุคคล ที่ใช้เงินตัดสินหรือสร้างอำนาจ เช่น ประเทศไทยที่ผ่านมา การปกครองถูกจำกัดอยู่ในชนชั้นนายทุนจำนวนหนึ่งเท่านั้น


3) ประชาธิปไตย + ธนาธิปไตย การปกครองโดยประชาชน ที่ใช้เงินเป็นฐานในการสร้างอำนาจหรือให้ได้มาซึ่งอำนาจ เช่น ประเทศไทยที่มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย แต่ผู้ที่มีสิทธิชนะการเลือกตั้งต้องมีทุน มักจะมีบริษัทใหญ่ๆ สนับสนุน


2.2.2 พลาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองที่ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยใช้พลกำลังเป็นฐานในการตัดสิน หรือใช้ในการสร้างอำนาจหรือให้ได้มาซึ่งอำนาจ โดยอำนาจในที่นี้อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ อาทิ กฎหมาย อาวุธ ตำแหน่ง หรือกลุ่มมวลชนที่รวมตัวเพื่อกดดัน ซึ่งหากนำพลาธิปไตยไปใช้ร่วมกับการใช้อำนาจอธิปไตยในมิติเชิงปริมาณจะทำให้ได้ระบอบการปกครองที่มีลักษณะ ดังนี้


1) เอกาธิปไตย + พลาธิปไตย การปกครองโดยคนเดียว ที่ใช้อำนาจเป็นหลัก เช่น ออกุสโต ปิโนเชต์ (ชิลี) มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งที่โด่งดังมาก คือ ในปี พ.ศ. 2516 มีคนอย่างน้อย 70 คนถูกฆ่าตาย โดยกองกำลังทหารซึ่งมีชื่อเรียกว่า “คาราวานแห่งความตาย” เป็นต้น


2) คณาธิปไตย + พลาธิปไตย การปกครองโดยคณะบุคคลที่ใช้พลกำลังเป็นฐานอำนาจ เช่น ในประเทศจีน สื่อและอินเตอร์เน็ตถูกควบคุมโดยรัฐ ประชาชนไม่ได้รับการสนับสนุนให้นับถือศาสนาใด ๆ การรวมกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองไม่สามารถทำได้ ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องถูกจับกุม ขังคุก เป็นต้น


3) ประชาธิปไตย + พลาธิปไตย การปกครองระบอบโดยประชาชนที่ใช้พลกำลังเป็นฐานอำนาจ เช่น สิงคโปร์ ภายใต้การปกครองของนาย ลี กวน ยิว ซึ่งมีชัยชนะในการเลือกตั้งเกือบทุกครั้ง ครองเสียงข้างมากอย่างเด็ดขาดในสภาฯ ตลอด แต่ว่านอกสภาฯ มีการใช้อำนาจด้านต่าง ๆ เช่น กฎหมายฟ้องร้องจนผู้คัดค้านต่อต้าน ตำหนิรัฐบาล ถูกกฎหมายทำให้เป็นบุคคลล้มละลายจำนวนมาก เป็นต้น


2.2.3 ธรรมาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองที่ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยใช้คุณธรรม ความดีงาม เป็น “ศูนย์กลาง” ในการตัดสิน หรือในการสร้างอำนาจหรือได้มาซึ่งอำนาจ ซึ่งหากนำธรรมาธิปไตยไปใช้ร่วมกับการใช้อำนาจอธิปไตยในมิติเชิงปริมาณจะทำให้ได้ระบอบการปกครองที่มีลักษณะ ดังนี้


1) เอกาธิปไตย + ธรรมาธิปไตย การปกครองโดยคนเดียวที่ใช้คุณธรรมเป็นฐานอำนาจ เช่น ราชาธิปไตยที่ปกครองโดยทศพิศราชธรรม หรือในสมัยสุโขทัย ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและมีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ มีความสัมพันธ์อันดีในชาติ


2) คณาธิปไตย + ธรรมาธิปไตย การปกครองโดยคณะบุคคลที่ใช้คุณธรรมเป็นฐานอำนาจ เช่น การปกครองของเอเธนส์ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล


3) ประชาธิปไตย + ธรรมาธิปไตย การปกครองโดยประชาชนที่ใช้คุณธรรมเป็นฐานอำนาจ มีความดี คุณธรรมเป็นศูนย์กลาง ซึ่งผมคิดว่าปัจจุบันยังไม่มีประเทศใดในโลกที่ประชาธิปไตยใช้ธรรมาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ แต่มีหลายประเทศที่พยายามไปให้ถึงเป้าหมายนี้


ระบอบการปกครองหรือการใช้อำนาจอธิปไตยดังกล่าวข้างต้น ล้วนมีทั้งส่วนที่เป็นประโยชน์และให้โทษไม่มากก็น้อย โดยในที่นี้ระบอบการปกครองหรือการใช้อำนาจอธิปไตยที่ถือว่าได้รับการยอมรับมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นระบอบที่มีการถ่วงดุลอำนาจของประชาชน เปิดโอกาสให้ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ดีงามได้น้อยที่สุด


อย่างไรก็ตามจากการศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่ผ่านมา การปกครองระบอบใดก็ตาม หากผู้ปกครองใช้ธรรมาธิปไตยเป็นฐาน ใช้ความถูกต้องเป็นศูนย์กลางในการตัดสิน ไม่ได้ใช้อำนาจเงิน ผลประโยชน์ อำนาจเผด็จการ กำลังอาวุธ หรือกฎหมายที่ไม่ชอบธรรม เอาเปรียบข่มเหงประชาชน ระบอบการปกครองนั้นย่อมดีสำหรับประชาชนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีจำนวนผู้ที่มาปกครองกี่คนก็ตาม หรือไม่ว่าจะเป็นระบอบแบบเอกาธิปไตย คณาธิปไตย หรือประชาธิปไตย


การที่ผมพูดเช่นนี้ ไม่ได้หมายถึงผมสนับสนุนเอกาธิปไตย หรือ คณาธิปไตย ผมเพียงแต่ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า เอกาธิปไตย และ คณาธิปไตย หากมีธรรมาธิปไตยเป็นฐานอำนาจ ย่อมส่งผลดีต่อประชาชนส่วนรวมมากกว่า และดีกว่าประชาธิปไตยที่ปราศจากธรรมาธิปไตย

3. อารยาธิปไตย มีกลไกอย่างไร?
การเมืองแบบอารยาธิปไตย คือ การเมืองประชาธิปไตย บนฐานธรรมาธิปไตย ดังนั้นกลไกของอารยาธิปไตย จึงมีประชาธิปไตยเป็นพื้นฐาน เช่น การเลือกตั้งตัวแทนโดยประชาชน การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในการดำเนินนโยบายต่างๆ การถ่วงดุลของอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และ ตุลาการ หรือ การตรวจสอบการทำหน้าที่ผู้แทนราษฏร ผ่านระบบรัฐสภา เป็นต้น โดยการเอาความดีมาเป็นฐานกำกับการปกครองแบบประชาธิปไตยนี้ ไม่เป็นเหตุให้ผู้นำละเลยการเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง และ ไม่ใช่เหตุที่จะปฏิเสธการตรวจสอบการทำงานทางการเมือง


ขณะที่ในส่วนของธรรมาธิปไตย นั้นต้องสอดแทรกความดีงามและคุณธรรมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของในกลไกพื้นฐานของประชาธิปไตย โดยตั้องทำทั้งคน ระบบ และ บริบท เพื่อให้เกิดความยั่งยืน เช่น


3.1 การพัฒนาคน
สร้างประชาชนให้เป็นคนดี เก่ง กล้า โดยพื้นฐาน เพื่อทำหน้าที่พลเมือง และ ไปเป็นตัวแทนที่มีคุณภาพในอนาคต รวมทั้งปลูกฝังค่านิยมและอุดมการณ์ประชาธิปไตย สร้างค่านิยมการเลือกตัวแทนบนพื้นฐานของคุณธรรม ความดี ความเก่ง ความกล้า ไม่ได้เลือกบนพื้นฐานของผลประโยชน์


3.2 การปรับปรุงระบบ
1) ปรับปรุงระบบการเลือกตั้ง ให้มีกลไกที่ทำให้การลงสมัครเลือกตั้งไม่ต้องใช้เงินเป็นตัวตั้ง เพื่อให้คนดีมีความสามารถ ไม่ใช่ตัวแทนของนายทุน สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ เช่น ให้ใช้วิธีเชิญคนลงเลือกตั้ง แทนการเปิดให้คนสมัคร เป็นต้น


2) ปรับปรุงระบบพรรคการเมือง เพื่อให้ได้พรรคการเมืองที่เป็นพรรคของประชาชน เช่น กำหนดให้ชัดเจนในกฎหมายพรรคการเมือง ให้การเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคต้องเลือกโดยสมาชิกพรรคการเมืองทั้งประเทศ นโยบายพรรคจะต้องมาจากที่ประชุมพรรค และ เงินสนับสนุนพรรคการเมืองจะต้องมาจากประชาชนโดยส่วนมาก และ ไม่ใช่จากนายทุนที่คุมพรรคอยู่


3) ปรับปรุงระบบเงินบริจาคพรรคการเมือง ต้องมีการกำหนดเพดานเงินบริจาคแก่พรรคการเมืองและนักการเมือง มีการกำหนดให้ชัดเจนว่านายทุน ปัจเจกบุคคล บริษัท ห้างร้าน สามารถบริจาคเงินให้พรรคการเมืองได้สูงสุดเท่าไร รวมทั้งต้องให้พรรคการเมืองเปิดเผยข้อมูลเงินบริจาค เพื่อป้องกันไม่ให้นายทุนครอบงำพรรคได้ เป็นต้น


4) ปรับปรุงระบบคัดกรองนักการเมือง เช่น ต้องกำหนดให้นักการเมืองทุกคนต้องมี ”ประวัติการทำดีเพื่อสังคม” ที่สะท้อนและเป็นตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมมากกว่าผู้มีจิตสาธารณะ เพื่อไม่ให้การเมืองเป็นพื้นที่ฉาบฉวย และเพื่อให้คนดีมีคุณธรรมเข้าสู่การเมืองอย่างแท้จริง


3.3 การสร้างบริบทที่เอื้ออำนวย
สร้างสังคมที่ให้ความสำคัญกับความดี ไม่สนับสนุนค่านิยมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือการกระทำที่ละเมิดสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น ควรมีบทลงโทษที่ยุติธรรมและรุนแรงเพียงพอ มีการบังคับใช้จริงจัง โดยเฉพาะกับนักการเมือง เป็นต้น

 

การเมืองแบบอารยาธิปไตยที่ผมเสนอนี้ เป็นภาพอนาคตที่พึงประสงค์ (Preferable Futures) ที่ผมอยากเห็นประเทศไทยเป็น และเชื่อว่าเป็นภาพที่พึงประสงค์ของคนจำนวนมาก ผมเข้าใจว่า ในโลกความเป็นจริง เราอาจจะยังมองไม่เห็นว่าภาพที่พึงประสงค์นี้จะเกิดขึ้นจริงได้อย่างไร เนื่องจาก ดูห่างไกลจากความเป็นจริงที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมาก และการจะทำให้การเมืองอยู่บนฐานคุณธรรม การได้มาซึ่งผู้นำที่มีคุณธรรมสูงนั้นอาจจะยาก แต่สิ่งใหม่หลายสิ่งในโลกนี้ก่อนจะเกิดขึ้นก็ล้วนดูเป็นไปไม่ได้

ราชาธิปไตยมีความสำคัญอย่างไร

ราชาธิปไตย (อังกฤษ: monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองที่ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐโดยปกติถืออยู่กระทั่งสวรรคตหรือสละราชสมบัติ โดยมากมักได้อำนาจมาโดยการสืบราชสมบัติในราชวงศ์เดียวกัน แต่ก็มีพระมหากษัตริย์ที่มาจากการเลือกตั้งหรือตั้งตนเป็นเจ้าด้วยเช่นกัน ขณะที่ในระบอบสาธารณรัฐ ประมุขของรัฐ (ซึ่งมักเรียกว่าประธานาธิบดี) โดยปกติมาจาก ...

Constitutional Monarchy คือการปกครองที่มีลักษณะอย่างไร

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (อังกฤษ: constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหา ...

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นองค์แรก

พระมหากษัตริย์ไทย.

ประเทศใดในโลกที่พระหากษัตริย์มาจากการเลือกตั้ง

กัมพูชา นครรัฐวาติกัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์