การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

ปัจจุบันตลาดกาแฟในไทยกำลังเป็นที่คึกคักทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค สังเกตได้จากปริมาณร้านกาแฟสด และรสนิยมการดื่มกาแฟของผู้บริโภคที่ชอบดื่มกาแฟชงสดมากขึ้น การเปิดร้านกาแฟจึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ผู้ประกอบการมือใหม่หลายคนให้ความสนใจ แต่การเปิดร้านกาแฟที่ยั่งยืนสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่จำเป็นต้องศึกษาและพิจารณาข้อมูลให้รอบด้าน เราจึงรวบรวม 3 เทคนิคบริหารร้านกาแฟให้รุ่ง เงินลงทุนไม่จม สร้างกำไรให้งอกเงยอย่างยั่งยืนมาแนะนำ

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

แม้ว่ารสชาติกาแฟและบริการจะดีเพียงใด แต่หากไม่มีลูกค้าก็เจ๊ง สิ่งสำคัญอันดับแรกของการเปิดร้านกาแฟจึงเป็นเรื่องของทำเล รวมทั้งวิเคราะห์คู่แข่งที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ทั้งในแง่ของความเหมือน ความต่าง รวมไปถึงรูปแบบการตกแต่งร้านให้เข้ากับคอนเซ็ปต์ที่ต้องการ เพื่อสร้างจุดเด่นที่จะช่วยทำให้ลูกค้าเลือกดื่มกาแฟของร้านเรา เรื่องเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเปิดร้านกาแฟ

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

เมื่อได้ทำเลแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องมองให้ขาดในการทำธุรกิจคือเรื่องของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเราจำเป็นต้องศึกษาว่าทำเลของร้านมีกลุ่มเป้าหมายคือใคร เช่น ใกล้สถานศึกษา ย่านธุรกิจ รวมไปถึงราคาสินค้า ประเภทสินค้าที่จะขาย และการบริการ เช่น การมีเค้กและขนมปังขายไว้ทานคู่กับกาแฟ มีโต๊ะ ปลั๊กไฟ และ wifi พร้อมให้บริการ เป็นต้น เพื่อรองรับลูกค้าสำหรับการนั่งทำงาน หากเรามองกลุ่มเป้าหมายออกก็จะส่งผลดีต่อการพัฒนาร้านให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

อีกหนึ่งหลักการตลาดที่ผู้ประกอบการหลายรายเลือกใช้ และไม่ยากเกินไปสำหรับมือใหม่คือหลัก 4P ซึ่งว่าด้วยหลักการวางแผนการตลาด 4 ประการ คือ ผลิตภัณฑ์ (Product), ราคา (Price), ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการขาย (Promotion)

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

เพื่อสร้างกาแฟที่มีรสชาติอร่อย ถูกปากถูกใจลูกค้า ผู้ประกอบการจึงควรใส่ใจทั้งอุปกรณ์ วัตถุดิบที่ใช้ และพัฒนาสูตรเครื่องดื่มที่มีความหลากหลาย นอกจากนี้อาจสร้างความแตกต่างด้านบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม โดดเด่นจากร้านค้าอื่นๆ ร่วมด้วยก็ได้

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยดึงดูดลูกค้า ซึ่งการตั้งราคาจะพิจารณาจากต้นทุนของวัตถุดิบและค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังต้องตั้งราคาให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจพิจารณาถึงวัตถุดิบให้มีความเหมาะสมต่อราคาที่ตั้งอีกด้วย

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)

ซึ่งหมายถึงทำเลของร้านตามที่ผู้ประกอบ การเลือกไว้ นอกเหนือจากความเหมาะสมที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายแล้ว หากจะทำให้ขายดีต้องทำให้ผลิตภัณฑ์ ราคา และการส่งเสริมการขายสอดคล้องไปกับทำเลด้วย

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

การส่งเสริมการขาย (Promotion)

ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าได้มากขึ้น ทั้งนี้การเปิดร้านกาแฟส่วนใหญ่จะใช้แผ่นพับและสื่อสิ่งพิมพ์ สำหรับการประชาสัมพันธ์ตามแหล่งชุมชน และที่พักอาศัยต่างๆ รวมถึงสร้างการรับรู้ของร้านค้าผ่านทาง Social Media ทั้งใน Facebook และ Instagram พร้อมๆ ไปกับการโปรโมทสินค้าผ่านทางเพจต่างๆ ซึ่งวิธีเหล่านี้สามารถช่วยสร้างยอดขายให้เพิ่มขึ้นได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ


นอกเหนือจาก 3 เทคนิคข้างต้น สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อการทำธุรกิจ คือใจที่มุ่งมั่น อดทนต่ออุปสรรค เพราะการเริ่มต้นทุกธุรกิจย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย หากมีการจ้างพนักงานเพื่อมาดูแลกิจการแล้ว ยังต้องสร้างความเชื่อมั่นและแรงบันดาลใจแก่พนักงาน เพื่อให้มีความสุขและรักที่จะให้บริการอีกด้วย

การเริ่มต้นธุรกิจร้านกาแฟ หรือเปิดคาเฟ่ใหม่นั้นต้องมีการวางแผนธุรกิจและการตลาดให้เป็นอย่างดี เนื่องจากในปัจจุบันมีร้านกาแฟเปิดใหม่เพิ่มขึ้นมากมาย การแข่งขันสูงขึ้น ลูกค้ามีตัวเลือกมากยิ่งขึ้น แผนธุรกิจร้านกาแฟ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะสำหรับร้านกาแฟเปิดใหม่หรือร้านเก่า ก็ต้องหมั่นตรวจสอบแผนธุรกิจของร้านตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้ธุรกิจของคุณมีจุดแข็งที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และได้รับความนิยมในกลุ่มลูกค้าของคุณ

แผนธุรกิจร้านกาแฟ ตาม Business Model Canvas

ในการวางแผน ธุรกิจร้านกาแฟ สโตร์ฮับมีแนวทางในการวิเคราะห์ธุรกิจและการวางแผนธุรกิจโดยใช้ Business Model Canvas มาฝากกัน

โดยเจ้า Business Model Canvas คือเครื่องมือสำหรับนักธุรกิจที่กำลังวางแผนที่จะเปิดธุรกิจหรือพัฒนาธุรกิจ ซึ่งมันจะช่วยให้คุณมองธุรกิจได้ 360 องศา เจ้าของธุรกิจสามารถทำแผนธุรกิจร้านกาแฟตามกันได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนข้างล่างนี้

1. ลูกค้าร้านกาแฟ ( Customer Segments ) 

คนที่สำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณคือลูกค้า คุณต้องเข้าใจว่ากลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร โดยคุณสามารถใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้ในการวิเคราะห์ลูกค้าของคุณ

  • ประชากรศาสตร์ ( Demographic )

คุณต้องมีไอเดียว่ากลุ่มลูกค้าของคุณมีอายุเท่าไร เป็นเพศไหน พวกเขาอาศัยในพื้นที่ใด พวกเขาทำงานอะไร มีรายได้อยู่ในช่วงไหน มีกำลังซื้อหรือไม่

  • พฤติกรรม ( Behavior )

พวกเขามีพฤติกรรมอย่างไร พวกเขามีความชอบอะไร พวกเขามีการเข้าถึงโซเชียลมีเดียอะไรบ้าง ข้อมูลเหล่านี้นี่แหละ จะสามารถช่วยให้คุณวางแผนธุรกิจร้านกาแฟ เปิดร้านคาเฟ่ได้ดียิ่งขึ้น

  • จิตวิทยา ( Psychographics )

กลุ่มลูกค้าของคุณพวกเขามีไลฟ์สไตล์อย่างไร พวกเขามีนิสัยอย่างไร มีการวางตัวในสังคมอย่างไร พวกเขาให้ความสำคัญกับอะไรในชีวิต หรืออะไรเป็นแรงผลักให้พวกเขาบริโภคสินค้าของคุณ

นอกจากนี้ระหว่างที่คุณกำลังวางแผนธุรกิจร้านกาแฟ คุณควรลงสำรวจพื้นที่ที่คุณจะเปิดร้าน ลองไปดูว่ามีจำนวนคนเดินผ่านพื้นที่นั้นเท่าไรต่อวัน ( Foot Traffic ) และศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าให้ละเอียด

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

2. การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า ( Customer Relationships )

คุณจะต้องมีแผนในการรักษาความสัมพันธ์ลูกค้าของคุณให้พวกเขากลับมาเป็นลูกค้าขาประจำ คุณอาจจะพิจารณาการสร้างระบบลูกค้าสมาชิก เริ่มการเก็บข้อมูลของลูกค้าทั้งเบอร์โทรศัพท์และอีเมล เพื่อใช้ในการติดต่อในอนาคต นอกจากนี้คุณจะให้เครดิตเงินคืนหรือสะสมแต้มให้กับลูกค้าประจำ

คุณอาจจะทราบแล้วว่าในช่วงที่มีการล็อคดาวน์ การติดต่อลูกค้าเก่า ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ดังนั้นการทำระบบลูกค้าสมาชิกสำหรับร้านคาเฟ่ของคุณ จะช่วยให้คุณมีช่องทางในการติดต่อลูกค้าในสถานการณ์ที่จำเป็น

และโปรแกรมคิดเงินของสโตร์ฮับสามารถช่วยคุณรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างยอดเยี่ยม

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

3. ช่องทางในการขายและติดต่อลูกค้า ( Channels )

ช่องทางในการขายและติดต่อกลุ่มลูกค้าของคุณเป็นอย่างไร

  • ขายแค่หน้าร้าน

  • ขายเดลิเวอรี่

ทั้งสองช่องทางมีการจัดการที่แตกต่างกัน หากคุณต้องการขายเดลิเวอรี่ คุณจะใช้บริการจัดส่งอาหารของผู้ให้บริการเจ้าใด และผู้ให้บริการแต่ละเจ้าคิดค่าใช้จ่ายสูงหรือไม่ และการรับออร์เดอร์จากทั้งหน้าร้านและออนไลน์ในเวลาพร้อมกัน จะวุ่นวายหรือไม่ นี่คือระบบที่คุณจะต้องวางให้เป็นระเบียบในขั้นตอนการทำแผนธุรกิจร้านกาแฟ ก่อนที่จะเริ่มทำจริง

แต่ถ้าหากคุณสนใจ โปรแกรมคิดเงิน POS ที่ให้บริการได้ทั้งหน้าร้านและส่งเดลิเวอรี่ สโตร์ฮับก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้คุณจัดการออร์เดอร์จากทางหน้าร้าน และรับออร์เดอร์ทางออนไลน์และมีไรเดอร์ไปส่งอาหารถึงมือลูกค้าในราคาประหยัด

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

4. พาร์ทเนอร์หลักในการ เปิดคาเฟ่ ( Key Partner )

พาร์ทเนอร์คือกลุ่มคนที่เข้ามามีบทบาทต่อ ธุรกิจร้านกาแฟ ของคุณเช่นซัพพลายเออร์, ผู้บริหารหรือ ผู้ลงทุนในธุรกิจ พาร์ทเนอร์เหล่านี้จะเข้ามาเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟของคุณ คุณต้องพิจารณาว่าคุณจะนำพาร์ทเนอร์คนใดเข้ามามีบทบาทในธุรกิจร้านกาแฟของคุณอย่างไร เนื่องจากพาร์ทเนอร์จะเข้ามาช่วยบริหารธุรกิจ ดึงศักยภาพของแต่ละพาร์ทเนอร์ออกมา เพื่อให้คุณมีเวลาไปโฟกัสในจุดที่คุณเก่งมากยิ่งขึ้น

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

5. กิจกรรมหลักของร้านกาแฟ ( Key Activities )

คุณต้องวิเคราะห์ให้ขาดว่าธุรกิจร้านกาแฟหรือคาเฟ่ของคุณจะให้บริการอะไรบ้าง และมีกิจกรรมอะไรให้กับลูกค้าบ้าง เช่นลูกค้าที่เข้ามาที่ร้านกาแฟจะสามารถซื้ออะไรได้บ้างจากร้านคุณ เช่น กาแฟ, ชาเขียว, ชาไทย, ขนม โดยแต่ละสินค้ามีวิธีการวางแผนและเตรียมร้านต่างกันออกไป ถ้าหากคุณต้องการขายขนมเค้ก คุณจะต้องคิดต่อแล้วว่าเค้กที่ต้องการขายเป็นเค้กที่คุณทำขึ้นเอง Home-made หรือเป็นเค้กที่ให้คนนอกมาวางขายได้

การวางแผนกิจกรรมหลักใน แผนธุรกิจร้านกาแฟ ของคุณนั้นจะช่วยให้คุณรู้ว่าคุณจะต้องวางแผนรับมือการบริหารร้านได้อย่างไร จะได้สามารถจัดสรรทรัพยากรทั้งเวลา, คน และต้นทุนให้เหมาะสมแต่ละกิจกรรม

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ
การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

6. ทรัพยากร ( Key Resource ) 

คุณควรแยกทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการทำธุรกิจร้านกาแฟออกเป็น 2 ส่วนคือ

  • ทรัพยากรที่คุณมีแล้ว

  • ทรัพยากรที่คุณต้องมี

โดยทรัพยากรเหล่านี้รวมถึงทรัพยากร คน, ต้นทุน, อุปกรณ์, ที่ดิน, การก่อสร้างตัวร้าน และอื่น ๆ หากคุณทราบแล้วว่าคุณกำลังขาดทรัพยากรอะไรในการทำธุรกิจร้านกาแฟ คุณจะได้เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มทำธุรกิจได้

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

7. ต้นทุน เปิดร้านคาเฟ่ ( Cost Structure )

คุณสามารถมองต้นทุนในการทำธุรกิจเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

  • ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ

  • ต้นทุนในการเพิ่มคุณค่าให้ธุรกิจ

ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจคือค่าใช้จ่ายที่จะขับเคลื่อนธุรกิจให้ดำเนินต่อไปเพื่อให้บริการลูกค้าในแต่ละวัน เช่น ค่าจ้างพนักงาน, ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าน้ำมัน, ค่าบำรุงรักษาร้าน,ค่าใช้จ่ายโปรแกรมคิดเงิน POS, ค่าต้นทุนสินค้า เป็นต้น

ส่วนต้นทุนที่จะเพิ่มคุณค่าให้ธุรกิจคืองบประมาณการตลาด, งบโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ซึ่งต้นทุนประเภทนี้จะเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของรายได้หรือการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

8. ช่องทางรายได้ ( Revenue Stream )

ร้านกาแฟ ร้านคาเฟ่ของคุณสามารถสร้างรายได้อย่างไรบ้าง โดยทั่วไปร้านกาแฟจะมีรายได้จากการขายสินค้าเป็นหลัก ซึ่งคุณอาจจะต้องวิเคราะห์ว่าแล้วช่องทางการขายสินค้าจะเป็นอะไร เช่นการขายสินค้าหน้าร้าน, การขายผ่านเดลิเวอรี่, การขายสินค้าเช่นเมล็ดกาแฟผ่านทางอีคอมเมิร์ซ คุณจะขายผ่าน marketplace เจ้าไหน หรือจะวางขายบนโซเชียลมีเดียของคุณเอง ร้านกาแฟของคุณจะมีระบบรองรับการจ่ายเงินของลูกค้าอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการจ่ายเงินสด ช่องทางบัตรเครดิต/เดบิต การจ่ายเงินผ่านทาง Mobile Banking หรือการโอนผ่านธนาคาร ทั้งหมดนี้คือการวางแผนธุรกิจเพื่อรองรับรายได้ที่จะเกิดขึ้น

การตลาดและการบริการลูกค้าร้านกาแฟ

9. Value Proposition

ส่วนที่สำคัญที่สุดใน แผนธุรกิจร้านกาแฟ คือการระบุว่า ร้านกาแฟ หรือร้านคาเฟ่ของคุณมีคุณค่าอย่างไรกับกลุ่มลูกค้า คุณต้องตอบให้ได้ว่าร้านกาแฟของคุณให้อะไรกับกลุ่มลูกค้าของคุณ ตัวอย่างแผนธุรกิจร้านกาแฟสตาร์บัค ร้านกาแฟสตาร์บัคได้กำหนด value proposition ไว้ชัดเจนว่าพวกเขาไม่ใช่เป็นแค่ร้านกาแฟ แต่พวกเขาคือบ้านหลังที่สอง หมายความว่าเมื่อคุณมาดื่มกาแฟที่สตาร์บัคคุณจะได้ประสบการณ์การเหมือนอยู่บ้าน เพราะได้ทานกาแฟอร่อย ๆ ที่นั่งสบาย มีไวไฟให้ใช้ และนั่นคือคุณค่าที่สตาร์บัคมอบให้กับลูกค้าของเขา

แล้วร้านกาแฟของคุณล่ะ? คุณจะมอบคุณค่าอะไรให้กับลูกค้านอกจากกาแฟหนึ่งแก้ว คำถามนี้คุณอาจจะต้องใช้เวลาอีกอย่างมาก เพื่อสร้างความแตกต่าง และทำให้ธุรกิจร้านกาแฟของคุณโดดเด่นกว่าร้านกาแฟอื่น ๆ ที่มีให้เลือกเป็นร้อย

ทั้ง 9 ข้อนี้คือองค์ประกอบของการ วางแผนธุรกิจร้านกาแฟ ตาม Business Model Canvas สโตร์ฮับเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าแผนธุรกิจนี้จะช่วยให้คุณมองการเปิดคาเฟ่ เปิดร้านกาแฟได้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น และคุณจะสามารถวางแผนกลยุทธ์ของร้านของคุณได้ดีจนประสบความสำเร็จอย่างมากที่สุด