การตรวจและควบคุมงานก่อสร้าง

การควบคุมงานก่อสร้าง

การควบคุมงานก่อสร้าง ในงานรีโนเวทและการก่อสร้างนั้นในขั้นตอนทางวิศวกรรมมีความสำคัญมาก ที่ต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาควบคุมคุณภาพภาพงานให้ออกมาถูกต้อง ตามหลักวิศวกรรม รวมถึงต้องมีการวางแผนงานในขั้นตอนต่างๆให้งานออกมาเสร็จตรงตามเวลา

การตรวจและควบคุมงานก่อสร้าง

ก่อนอื่นให้มองภาพรวมก่อนว่าในไซต์งานหนึ่งๆนั้นจะต้องประกอบไปด้วยหน่วยงานไดบ้าง

1 เจ้าของโครงการ เป็นเจ้าของโครงการนั้นโดยตรง และเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่นักออกแบบและผู้รับเหมาก่อสร้างในการเข้ามาทำงานโครงการ หรืออาจมีผู้ช่วยควบคุมงานอีกทอดหนึ่งก็ได้

2 ผู้ออกแบบ ผู้ออกแบบจะประกอบไปด้วยสถาปนิกและวิศวกรด้านต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการโดยจะออกแบบโครงการนั้นๆและถอดความต้องการและรายละเอียดงานออกมาให้ละเอียดและชัดเจนเพื่อให้ผู้รับเหมาได้มีความเข้าใจและทำงานออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ รวมทั้งคอยควบคุมดูแลงานก่อสร้างและตกแต่งให้เป็นไปตามแบบอีกด้วย

การตรวจและควบคุมงานก่อสร้าง

3 ผู้รับเหมาก่อสร้าง อาจจะมีมากกว่าหนึ่งบริษัทรับเหมาเนื่องจากในหนึ่งโครงการจะมีแบ่งรายละเอียดงานออกไปอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้รับเหมางานโครงสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมางานระบบ ผู้รับเหมางานตกแต่งภายในเป็นต้น

และนอกเหนือจาก 3 กลุ่มหลักๆ ที่ชี้แจงไปเบื้องต้นแล้ว การทำงานโครงการก่อสร้างนั้นจะต้องมี ตัวแทนในการเข้ามาตรวจสอบดูแลงานแทนเจ้าของโครงการ โดยกลุ่มต่างๆ และหน้าที่ของกลุ่มพอจะสรุปได้ดังนี้

1 ผู้บริหารโครงการก่อสร้าง เป็นที่ปรึกษา (Consult) ให้แก่เจ้าของโครงการ เป็นหน่วยงานขนาดย่อม โดยมีวิศวกรหรือสถาปนิก เศรษฐกร ผู้ประมาณราคา และช่างเขียนแบบ ฯ โดยจะทำหน้าที่เป็นดั่งที่ปรึกษาให้แก่เจ้าของโครงการนั้นๆ ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนกระทั่งโครงการสร้างแล้วเสร็จ ผู้บริหารโครงการนั้นเป็นผู้ที่มีหน้าที่เกือบทุกอย่างในโครงการ ยกเว้นในส่วนของการออกแบบและการแก้ไขแบบ ดังนั้น ผู้บริหารโครงการ จึงมีส่วนที่จะทำให้ราคาค่าก่อสร้างถูกหรือแพง และทำให้งานออกมาดีหรือไม่ดีได้ทั้งสิ้น

2 ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง คอยทำหน้าที่ตรวจสอบงานก่อสร้าง เพื่อคอยเช็คดูว่างานนั้นออกมาตามแบบรูปและข้อกำหนดในสัญญา ข้อตกลงการว่าจ้างระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างหรือไม่ เรียกว่าเป็นผู้คุ้มครองด้านผลประโยชน์ของเจ้าของงาน ตลอดจนขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่มักเน้นไปทางด้านเทคนิควิศวกรรม โดยพอจะสรุปออกมาได้ดังนี้

จะเห็นว่าในหนึ่งโครงการหรือไซต์งานนั้นจะมีทั้งเจ้าของโครงการ ที่ปรึกษา ผู้ควบคุมงานและผู้รับเหมารวมอยู่ด้วยกัน นี่เป็นภาพรวมของไซต์งานขนาดใหญ่ และถ้าเป็นไซต์งานที่ย่อมลงมาเป็นงานบ้านหรืองานทั่วไปล่ะ สิ่งที่ควรมีเพื่อให้งานได้สำเร็จลุล่วงอย่างมีคุณภาพและตรงตามเวลานั้นควรมีดังนี้

1.Architect (สถาปนิก) / Interior Designer (มัณฑนากร) เป็นสิ่งที่สำคัญในด่านแรกของงานก่อสร้างและตกแต่ง เพราะงานก่อสร้างและตกแต่งจำเป็นต้องมีแบบในการทำงาน จะต้องมีรายละเอียดของแบบพร้อมทั้งแก้ไขได้ในภาวะที่หน้างานเกิดปัญหาหรือผู้ว่าจ้างต้องการเปลี่ยนแบบ

การตรวจและควบคุมงานก่อสร้าง

2.Site Engineer (วิศวกรสนาม) ในไซต์งานเล็กๆอาจไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งนี้แต่ในส่วนที่สำคัญ เช่น ในส่วนงานโครงสร้างนั้นอาจจำเป็นต้องมีวิศวกรมาดูแลและควบคุมคุณภาพงานให้ได้ตามมาตราฐาน ที่ทำให้ผู้ว่าจ้างได้สบายใจในอาคารที่ได้ปลูกสร้างลงไป

การตรวจและควบคุมงานก่อสร้าง

3.Foreman (โฟร์แมนควบคุมงานก่อสร้าง) เป็นผู้วางแผนและจัดการงานก่อสร้างให้ได้มาตราฐานและเสร็จตรงตามเวลาที่กำหนด และให้งานออกมามีคุณภาพที่ดี

4.Contractor (ผู้รับเหมา) คือผู้ที่ทำการรับช่วงทำงานก่อสร้างให้เสร็จตรงตามมาตราฐานและแบบที่กำหนดไว้ โดยอาจจะมีทั้งงานสถาปัตยกรรมและงานระบบไฟฟ้าต่างๆที่พึงมีในหนึ่งอาคาร

5.Technician (ช่างประจำไซต์งาน) เป็นส่วนปฎิบัติงานให้งานเป็นไปตามแบบและรายละเอียดที่วางไว้ โดยคุณภาพของผลงานที่ดีส่วนใหญ่จะเกิดจากช่างในส่วนนี้

การตรวจและควบคุมงานก่อสร้าง

จะเห็นว่าในหนึ่งไซต์งานที่สำคัญๆ ควรต้องมีการบริหารจัดการที่ดีเพื่อให้งานที่ออกมามีคุณภาพมากที่สุดและเสร็จตรงตามเวลาที่ระบุไว้ เพื่อให้ผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของโครงการจะสามารถใช้ประโยชน์จากงานนี้ได้ตามแผนที่วางไว้

>>อ่านเพิ่มเติมบทความเกี่ยวกับความรู้ในการสร้างบ้านได้ที่นี่ คลิก

บริษัทเรารับออกแบบตกแต่งภายในและรีโนเวทอาคารทุกประเภทด้วยมัณฑนากรและทีมช่างคุณภาพประสบการณ์มากกว่า20ปี โดยท่านสามารถส่งความต้องการมาหาเราได้ตามช่องทางข้างล่างนี้

สนใจติดต่อ งานออกแบบตกแต่งภายในและรีโนเวทอาคาร

        • นัดดูหน้างานได้ที่ 095-864-6299
        • ส่งภาพหน้างานและพูดคุยได้ที่ Line
          การตรวจและควบคุมงานก่อสร้าง

        • Email :
        • ติดตามเพิ่มเติมที่ www.facebook.com/weeinterior

Post Views: 3,094

Continue Reading