กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี

      กรณีศึกษาที่ 1 หมวกจักรยานอัจฉริยะ

  ขั้นตอนที่ 1 ระบุปัญหา


ในปัจจุบันการปั่นจักรยานได้รับความชื่นชอบจากผู้คนเป็นอย่างมากทำให้ปัญหาหนึ่งได้เพิ่มตามขึ้นเช่นกัน คือ  การเกิดอุบัติเหตุจนการปั่นจักยาน โดยมีสาเหตุมาจากการที่จักรยานนั้นไม่มีสัญญาณไฟเลี้ยวหรือุ้าผู้ปั่นจะใช้ภาษามือในการส่งสัญญาณเพื่อขอทางก็ต้องนำมืออกจากมือจับจักรยานซึ่งอาจทำให้เสียหลักในการทรงตัวและล้มลงได้

ดังนั้น ปัญหาที่ต้องแก้ไข คือ การส่งสัญญาณมือ เพื่อขอทางของผู้ปั่นจักรยานทำให้อาจเกิดอุบัติเหตุได้เนื่องจากผู้ปั่นต้องปล่อยมือออกจากที่จับ ส่งผลให้จักรยานอาจเสียหลักและล้มลงได้

  ขั้นตอนที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา


เพื่อให้เข้าใจปัญหาของการส่งสัญญาณขณะปั่นจักรยาน เราสามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาให้มากขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี


เมื่อเข้าใจปัญหาของการปั่นจักรยานแล้ว เราสามารถใช้ "แผนผังความเข้าใจ" (Empathy Map) ในการสรุปความเข้าใจของปัญหาได้ ดังนี้

กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี

ก่อนที่จะเริ่มต้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหานั้น เราควรมองปัญหาให้เป็นโอกาสด้วยการตั้งคำถามโดยใช้รูปแบบคำถามดังนี้

ปัญหาคืออะไร??  :: รถจักรยานส่วนใหญ่ไม่มีสัญญาณไฟเลี้ยว ทำให้ผู้ปั่นจักรยานต้องปล่อยมือออกจากที่จับเพื่อส่งสัญญาณมือในการขอทางเพื่อเลี้ยว ส่งผลให้อาจเกิดอุบัติเหตุได้ภ้ารถจักรยานเสียหลักและล้มลง


เราจะ........ได้อย่างไร??

  • เราจะทำให้ผู้ปั่นจักรยานไม่ต้องส่งสัญญาณด้วยมือได้อย่างไร
  • เราจะทำให้การส่งสัญญาณมือปลอดภัยมากขึ้นได้อย่างไร
  • เราจะทำให้การส่งสัญญาณมือสะดวกและชัดเจนมากขึ้นได้อย่างไร

จากการตั้งคำถามดังกล่าว ทำให้เกิดความคิดที่หลากหลาย ซึ่งในนั้นที่นำมาทดลองปฏิบัติ คือ "การสร้างหมวกอัจฉริยะ" จักรยานอัจฉริยะ ที่สามารถส่งสัญญาณเลี้ยวซ้ายและขวาได้โดยผ่านรีโมตควบคุม การสร้างเทคโนโลยีชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำมาแก้ปัญหาดังนี้

  • ส่งเสริมให้ผู้ปั่นจักรยานและผู้สัญจรได้รับความปลอดภัยเพื่มขึ้น
  • ส่งเสริมให้ผู้ปั่นจักรยานได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น
  • ส่งเสริมการออกกำลังกาย

  ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา

หลักการสำคัญในการออกแบบวิธีการแก้ปัญหา คือ การสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบความคิด ในกรณีนี้อุปกรณ์ต่างๆถูกนำมาใช้เพื่อสร้างต้นแบบของหมวกจักรยานอัจฉริยะ เช่น ทรานซิสเตอร์ ตัวต้านทาน สายไฟ LED บล็อกใส่วงจร เป็นต้น หมวกจักรยานอัจฉริยะนี้ สามารถเปิดไฟหน้า  ไฟเลี้ยว  และไฟฉุกเฉินได้โดยการสั่งผ่านรีโมตไร้สาย นอกจากนี้ไฟเลี้ยวของหมวกยังสามารถเปิดได้นานถึง 5 วินาที หมวกจักรยานยนอัจฉริยะมีน้ำหนักรวมทั้งหมด 375 กรัม

กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี
กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี


  ขั้นตอนที่ 4 วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา

ตารางวางแผนการปฏิบัติงาน หมวกอัจฉริยะ

กิจกรรม ระยะเวลาที่ใช้
คิดเลือกหัวเรื่องและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 15 พ.ค. - 31 พ.ค.
การเจียนเค้าโครงของโครงงาน 1 มิ.ย. - 30 มิ.ย.
การปฏิบัติโครงงาน 1 ก.ค. 31 ส.ค. 
การเขียนรายงาน 1 ก.ย. - 30 ก.ย.
การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน 1 ต.ค. - 15 ต.ค.

ตาราง แผนการดำเนินงาน หมวกอัจฉริยะ

กิจกรรม ระยะเวลาที่ใช้
พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.
คิดเลือกหัวเรื่องและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี
         
การเจียนเค้าโครงของโครงงาน  
กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี
       
การปฏิบัติโครงงาน    
กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี
กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี
   
การเขียนรายงาน        
กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี
 
การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน          
กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี

  ขั้นตอนที่ 5 ทดสอบ ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

เมื่อได้ต้นแบบของหมวกจักรยานอัจฉริยะแล้ว  ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การทดสอบว่าการทำงานของหมวกนั้นถูกต้องและตอบโจทย์ของผู้ใช้หรือไม้ และมีส่วนใดที่ต้องพัฒนาหรือแก้ไขบ้าง

กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี


  ขั้นตอนที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน

เมื่อชิ้นงานและความคิดทั้งหมายได้ผ่านกระบวนการเทคโนโลยีทั้ว 6 ขั้นตอนแล้ว ก็จัต้องนำชิ้นงานที่ได้มานำเสนอโดยหมวกจักรยานอัจฉริยะนี้จะนำเสนอให้เห็นในรูปแบบของ Storyboard เพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน

กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี

กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี