ข้อ เสนอ แนะ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

ความหมาย  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา หมายถึง การจัดให้นักศึกษาได้ฝึกภาคปฏิบัติในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูในสถานการณ์จริงในโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 2 ภาคเรียน (1 ปีการศึกษา) ทั้งนี้เพื่อที่  จะให้นักศึกษาได้มีเวลานานพอในการเรียนรู้ประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานการณ์จริง ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการผลิตครูสามารถผลิตครูที่มีคุณภาพ และมีคุณลักษณะที่เหมาะสมตามที่สังคมต้องการ
     หลักการ
1. นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติได้ควบคู่กันไป
2. นักศึกษาสามารถฝึกปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนและได้รับประสบการณ์ในวิชาชีพครูจากสถานการณ์จริงได้มากที่สุด
3. นักศึกษาได้คุ้นเคยการปฏิบัติงานในหน้าที่ครู จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอย่างต่อเนื่องกันตลอดปีการศึกษา
4. นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพของตนเองให้สมบูรณ์ครบถ้วนมากที่สุด
5. มหาวิทยาลัยและหน่วยงานผู้ใช้ครูได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิดในการร่วมกันเสริมสร้างการผลิตครูให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ลักษณะของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
     การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีความสำคัญยิ่ง ซึ่งจะช่วยให้ได้ครูที่มีคุณลักษณะที่เหมาะสม กระบวนการฝึกต้องเป็นการฝึกที่ต่อเนื่องและควบคู่กันไปกับการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ตั้งแต่เริ่มเข้าเป็นนักศึกษาในปีแรก จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาปีสุดท้าย เพื่อนักศึกษาจะได้นำทฤษฎีการเรียนรู้ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยไปทดลองและประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครู ซึ่งจะเป็นการพัฒนาสมรรถภาพทั้ง 3 ด้าน คือ สมรรถภาพด้านความรู้ ด้านเทคนิควิธี และด้านคุณลักษณะให้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งแนวทางการปฏิบัติงานของนักศึกษาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา มีดังนี้
1. ตรวจสอบรายชื่อโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและพิจารณาเลือกโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูร่วมกับอาจารย์นิเทศก์
2. ประสานงานโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อแนะนำตัวและรับมอบรายวิชาที่จะดำเนินการสอนจากฝ่ายวิชาการของโรงเรียน เพื่อเตรียมวางแผนการจัดการเรียนรู้
3. ส่งกำหนดการสอน โครงสร้างรายวิชา การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ให้อาจารย์นิเทศก์ตรวจสอบ
4. เขียนแบบคำร้องขอปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา (ปค.01) เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดก่อนการปฏิบัติการสอน โดยจะต้องได้รับการพิจารณาอนุญาตจาก อาจารย์ที่ปรึกษา , ประธานหลักสูตร , รองคณบดีฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, และรองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะครุศาสตร์
5. รับการปฐมนิเทศจากฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อให้เข้าใจถึงการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนของนักศึกษา
6. รายงานตัวต่อโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและรับการนิเทศจากคณะผู้บริหารโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อทราบเกี่ยวกับกรอบงานของสถานศึกษา ตลอดจนงานในหน้าที่ประจำและงานพิเศษของนักศึกษา
7. ร่วมวางแผนการออกแบบการจัดการเรียนรู้กับครูพี่เลี้ยง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติการสอน
8. ศึกษาหน้าที่ความรับผิดชอบของนักศึกษาจากคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ให้ชัดเจนว่าในระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูนั้น จะต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ครูในเรื่องต่างๆ เช่น
8.1 ปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้น ปฏิบัติงานธุรการในชั้นเรียนต่างๆ เช่น การทำบัญชีเรียกชื่อ ปพ.5 ปพ.6 ปพ.8 สมุดประจำตัวนักเรียน สมุดประจำชั้น บันทึกการตรวจสุขภาพนักเรียน การจัดชั้นเรียน สังเกตการเรียนของนักเรียน กิจกรรมแนะแนวและงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
8.2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามสาขาวิชาเอกหรือวิชาเฉพาะด้านและสอดคล้องกับโครงสร้างการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา ตามจำนวนชั่วโมงในตารางสอน
8.3 วางแผนการจัดการเรียนรู้ตลอดช่วงระยะเวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและส่งแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครูพี่เลี้ยงหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตรวจสอบก่อนการสอน
8.4 ปรับปรุงแก้ไขการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ตามข้อเสนอแนะที่ได้รับจากครูพี่เลี้ยง
8.5 ผลิตสื่อการเรียนรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและพิจารณาแหล่งเรียนรู้ หรือเทคนิควิธีการมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ
8.6 นำเสนอโครงการวิชาการหรือกิจกรรมพัฒนานักเรียนร่วมกิจกรรมกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูภาคเรียนละ 1 โครงการ (2 โครงการต่อ 1 ปีการศึกษา)/อาจเป็นโครงการ/กิจกรรมรายบุคคล (กรณีนักศึกษาไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคนเดียว) หรือโครงการกิจกรรมกลุ่มร่วมกับเพื่อนนักศึกษา
8.7 นำเสนอเค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียนในภาคเรียนที่ 1 และนำเสนอรายงานการวิจัยฉบับสมบรูณ์ในภาคเรียนที่ 2 ต่ออาจารย์นิเทศก์
8.8 จัดป้ายนิเทศของชั้นเรียนหรือโรงเรียนโดยวางแผนไว้ล่วงหน้า
8.9 จัดประชุมประจำสัปดาห์ของนักศึกษาในโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาร่วมกันพร้อมทั้งบันทึกการประชุมและรายงานผลการประชุมให้โรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทราบเดือนละ 1 ครั้ง
8.10 ปฏิบัติงานสนับสนุนการสอนที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ได้แก่ งานวิชาการ งานบริหารบุคคล งานบริหารทั่วไป และงานบริหารงบประมาณ
8.11 จัดทำแฟ้มพัฒนางานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
8.12 เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามวาระและโอกาส
8.13 บันทึกการปฏิบัติงานประจำวันอย่างสม่ำเสมอและรับการประเมินจากครูพี่เลี้ยงหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทุกสัปดาห์
9. จัดสัมมนาระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มหาวิทยาลัย โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมสัมมนาแบ่งกลุ่มตามสาขาวิชาร่วมกันเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขร่วมกันประเมินผล การปฏิบัติงานและการให้ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานสำหรับนักศึกษาในรุ่นต่อไป
10. จัดนิทรรศการแสดงผลงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2
ระเบียบปฏิบัติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
     1. นักศึกษาจะต้องเป็นผู้ที่ยื่นแบบคำร้องขอปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา (ปค.01.) และต้องได้รับการพิจารณาอนุญาตให้ไปปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาได้ จากอาจารย์ที่ปรึกษาและประธานหลักสูตร
2. นักศึกษาต้องศึกษากรอบงานของโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ศึกษาบุคลากรในโรงเรียนโดยการสังเกตอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม
3. นักศึกษาจะต้องมีความรับผิดชอบงานในหน้าที่ ทั้งด้านการสอน การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ และงานที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและจากมหาวิทยาลัย
4. นักศึกษาจะต้องมีเวลาในการปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทั้งหมด
5. นักศึกษาจะต้องแต่งเครื่องแบบนักศึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัยหรือตามที่โรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูกำหนด
6. นักศึกษาจะต้องไม่ประพฤติตนให้เป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียง เช่น เสพเครื่องดองของเมา เล่นการพนัน ประพฤติผิดในทางชู้สาว ฯลฯ ปฏิบัติตนตามระเบียบของสถานศึกษาและมหาวิทยาลัย
7. นักศึกษาจะต้องปฏิบัติตนตามคำแนะนำ คำตักเตือนของผู้บริหารโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์อย่างเคร่งครัด
8. นักศึกษาจะต้องไปถึงโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูก่อนเวลาโรงเรียนปฏิบัติราชการอย่างน้อย 15 นาที และกลับที่พักภายหลังจากหมดเวลาปฏิบัติงานราชการ 15 นาทีเป็นอย่างน้อย
9. นักศึกษาจะต้องลงเวลาการปฏิบัติงานทั้งมาและกลับตามความเป็นจริงในบัญชีลงเวลาการปฏิบัติงานที่ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูกำหนดจัดไว้ให้
10. การขออนุญาตลากิจหรือลาป่วย นักศึกษาจะต้องยื่นใบลาตามระเบียบของทางราชการต่อผู้บริหารโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ถ้าลากิจต้องส่งใบลาตามลำดับสายงาน ถ้าลาป่วยให้ส่งใบลาในวันที่ป่วยหรือวันแรกที่กลับมาทำการสอนหลังจากหายป่วยแล้ว
11. ในระหว่างเวลาราชการ ถ้านักศึกษามีความจำเป็นจะต้องออกนอกบริเวณโรงเรียนให้ปฏิบัติตามระเบียบการออกนอกบริเวณโรงเรียนต่อครูพี่เลี้ยงหรือผู้บริหารโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
12. นักศึกษาจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางราชการเช่นเดียวกับครูประจำการในโรงเรียน
13. นักศึกษาจะต้องรายงานให้ผู้บริหารโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและอาจารย์นิเทศก์ทราบทันที ถ้ามีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โรงเรียน มหาวิทยาลัยหรือต่อตัวนักศึกษาเอง
14. นักศึกษาควรปรึกษาครูพี่เลี้ยงเกี่ยวกับการออกแบบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และต้องส่งให้ครูพี่เลี้ยงตรวจล่วงหน้าก่อนกำหนดการสอน 1 สัปดาห์
15. หัวหน้านักศึกษาประจำโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจะต้องรายงานการมาสาย การขาด การลาของนักศึกษาครูในโรงเรียนให้อาจารย์นิเทศก์ทราบทุกครั้งที่มาทำการนิเทศและรายงานต่อฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทุกเดือน
16. นักศึกษาจะต้องจัดการประชุมปรึกษาหารือ เพื่อวางโครงการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาต่างๆ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันทุกสัปดาห์ และบันทึกผลการประชุมทุกครั้งและรายงานการประชุมให้อาจารย์นิเทศก์ทราบทุกครั้งที่มาทำการนิเทศและรายงานต่อฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทุกเดือน
17. นักศึกษาที่พักอาศัยในบ้านพักของโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจะต้องไม่นำบุคคลภายนอกมาพักค้างคืนในบ้านพัก เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
18. ถ้านักศึกษาประพฤติปฏิบัติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและเมื่อได้รับการว่ากล่าวตักเตือนแล้ว ยังไม่แก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาให้นักศึกษาครูงดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในภาคเรียนนั้น
19. นักศึกษาที่ไม่ผ่านการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ตามเกณฑ์จะต้องออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาใหม่ในปีการศึกษาต่อไปที่มหาวิทยาลัยจัดให้
20. นักศึกษาต้องติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัยเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตนเอง ก่อนตัดสินใจกระทำสิ่งใดควรใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบและใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา 21.แนวปฏิบัติหากนักศึกษาพบว่ามีปัญหากับครูพี่เลี้ยงและ/หรืออาจารย์นิเทศในระหว่างการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
1) กรณีพบปัญหากับครูพี่เลี้ยงหรือโรงเรียน
1. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาร่วมกับอาจารย์นิเทศหรือประธานสาขาวิชา
2. ดำเนินการแก้ปัญหาร่วมกับโรงเรียน
3. สรุปชี้แจงให้เกิดความเข้าใจร่วมกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
4. มีการนำเสนอสรุปข้อมูลต่อฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานต่อไป
2) กรณีที่พบปัญหากับอาจารย์นิเทศก์
1. ขอคำปรึกษาจากฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
2. ดำเนินการแก้ปัญหาร่วมกับฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
3. หากเป็นปัญหาระดับร้ายแรงและส่งผลกระทบต่อกระบวนการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาจะต้องมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และดำเนินตามกระบวนการพิจารณาที่กำหนดไว้ต่อไป
แนวทางการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
     1. นักศึกษาจะต้องมีผลการประเมินผ่านในรายวิชา การปฏิบัติงานวิชาชีพครู 1 และการปฏิบัติงานวิชาชีพครู 2 ในระดับไม่ต่ำกว่า “C” ในกรณีที่นักศึกษายังไม่ผ่านในรายวิชาใดวิชาหนึ่งจะต้องซ่อมเสริมให้ผ่านเสียก่อนจึงจะปฏิบัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาได้
     2. การประเมินผลในรายวิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จะเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูหรือการปฏิบัติงานตามสาขาที่เรียน เพื่อวินิจฉัยข้อดีและข้อควรปรับปรุงแก้ไขเป็นช่วงๆ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาได้ทราบผลการประเมินและการปรับปรุงแก้ไขได้คุณภาพที่พึงประสงค์ แล้วจึงประเมินผลในช่วงสุดท้ายเพื่อตัดสินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
3. การประเมินผลจะต้องมีการประเมินเกี่ยวกับเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ และการปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยกำหนด การประเมินในรายวิชา การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ถ้าได้คะแนนต่ำกว่า “C” ถือว่าสอบตก นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนวิชานี้ใหม่
4. รายละเอียดของแบบประเมินผลสามารถศึกษาจากภาคผนวกของคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

.  จุดมุ่งหมายของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

2.1  เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้จากการศึกษาตามทฤษฎีมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานวิชาชีพครูทั้งในด้านเนื้อหาสาระและเทคนิควิธีการสอนในสถานศึกษาจริง

2.2  เพื่อเสริมสร้างให้นักศึกษาเกิดความรัก และความศรัทธาในวิชาชีพครูจากการปฏิบัติจริง  2.3  เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาตนเองและปฏิบัติการสอนในหน้าที่ครูกับสถานศึกษาโดยตรง

          3.  ลักษณะของรายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามโครงสร้างของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (5 ปี)  ประกอบด้วย  2 ขั้นตอน คือ ขั้นการปฏิบัติงานวิชาชีพครู และขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา   กล่าวคือ

3.1  ขั้นการปฏิบัติงานวิชาชีพครู  เป็นประสบการณ์วิชาชีพครูที่จัดให้นักศึกษาได้ศึกษาสังเกตและมีส่วนร่วมงานในหน้าที่ครูตามสภาพที่เป็นจริง และฝึกงานในหน้าที่ครูร่วมกับครูพี่เลี้ยงและผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยฝึกและวิทยากรอื่น ๆ  ประกอบด้วย 3 รายวิชา คือ

3.1.1  รายวิชาฝึกปฏิบัติระหว่างเรียน เรียนไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต  สำหรับผู้เรียนแต่ละหลักสูตรสาขาวิชา  ซึ่งได้แก่  รายวิชา1024006  ทักษะการสอนเพื่อการจัดการเรียนรู้การจัดการศึกษาสาขาวิชาเอก 4 (3-2-7)

3.2     ขั้นปฏิบัติงานสอนในสถานศึกษา  เป็นการฝึกงานในหน้าที่ครูเสมือนเป็นครูประจำการคนหนึ่ง โดยจัดให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา ประกอบด้วย 2 รายวิชา คือ

3.2.1 รายวิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เรียนไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต

1)  รายวิชา  1005004  ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 (350)

2)  รายวิชา 1005005  ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2  (350)

          4.  หลักการปฏิบัติในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา  มีดังนี้

4.1 นักศึกษาเลือกโรงเรียนเครือข่ายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพทั้งกระบวนการจัดการสอนและการบริหารที่เป็นเเบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษาตามมาตรฐานคุรุสภา  และโรงเรียนตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมการ บริหารหลักสูตร

4.2  การออกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา  นักศึกษาจะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการประเมินผลการเรียนในหมวดวิชาเฉพาะด้านทุกรายวิชา

4.3   ระยะเวลาการฝึกปฏิบัติการสอนสัปดาห์ละอย่างน้อย 8-12  ชั่วโมงต่อสัปดาห์  และไม่น้อยกว่า  16  สัปดาห์ติดต่อกัน  และมีเวลาปฏิบัติงานครูและเรียนรู้งานอื่น ๆ  ในหน้าที่ครู จำนวน ทั้งสิ้น  350 ชั่วโมง/ภาคเรียน

4.4  การนิเทศนักศึกษาฝึกสอน   ดำเนินงานร่วมกันทั้งสถานศึกษาและมหาวิทยาลัย  โดยสถานศึกษาที่เป็นหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ต้องมีครูพี่เลี้ยงนิเทศนักศึกษาอย่างใกล้ชิดในอัตราไม่เกิน 1:3  หรืออาจให้มีครูพี่เลี้ยงผู้ช่วยได้  โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นอาจารย์นิเทศทั่วไปแก่นักศึกษาทุกคนที่ประจำโรงเรียน

4.5  การประเมินผล ใช้หลักการประเมินผลร่วมกันระหว่างสถานศึกษาที่เป็นหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูกับมหาวิทยาลัย    โดยใช้เกณฑ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด  ทั้งนี้การประเมินผลต้องทำให้เสร็จสิ้นอย่างช้าหลังจากนักศึกษาฝึกประสบการณ์เรียบร้อยแล้ว 1 สัปดาห์    รายละเอียดของการประเมินผลจะอธิบายไว้ในแบบประเมินผล

5.  แนวปฏิบัติในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา

              5.1  แนวการปฏิบัติของโรงเรียนเครือข่าย  โรงเรียนเครือข่ายซึ่งเป็นหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจะมีผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูพี่เลี้ยงเป็นผู้นิเทศนักศึกษา

5.1.1  ผู้อำนวยการโรงเรียน  สามารถดำเนินการได้ดังนี้

(1)  จัดปฐมนิเทศนักศึกษาที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาร่วมกับครูพี่เลี้ยงเพื่อมอบหมายงาน

(2)  กำกับ  ดูแล สนับสนุนให้นักศึกษาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

(3)  คัดเลือกครูที่เหมาะสมทำหน้าที่เป็นครูพี่เลี้ยง  และครูพี่เลี้ยงมีความเข้าใจในบทบาทสำคัญของครูพี่เลี้ยงตามแนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  หลักสูตร  5  ปี

(4)  ติดตามประเมินผลงานครูพี่เลี้ยงให้เป็นไปในช่วงเวลาที่เหมาะสมและคอยให้การสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอ

5.1.2  ครูพี่เลี้ยง  สามารถดำเนินการได้ดังนี้

(1)  ศึกษาคู่มือฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยให้เข้าใจ      

(2) ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา   และร่วมวางแผนการจัดการเรียนรู้ประจำวันกับนักศึกษา

(3)  สังเกตการสอนของนักศึกษา  พร้อมทั้งบันทึกข้อเสนอแนะไว้ในสมุดแผนการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาตามความเป็นจริงอย่างต่อเนื่อง

(4)  ให้นักศึกษาสังเกตการสอนของครูพี่เลี้ยงตามโอกาสอันควรเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติการสอน

(5)  ให้คำแนะนำนักศึกษา  ทั้งด้านการสอนและการปฏิบัติหน้าที่ครู

(6)  นิเทศการสอนร่วมกับอาจารย์นิเทศประจำหลักสูตรสาขาวิชา เพื่อปรับปรุงการสอนของนักศึกษา

(7)  ประเมินผลคุณลักษณะ  งานในหน้าที่ครู  และสมรรถภาพการสอน  ตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้  ได้แก่ ในภาคเรียนที่ 1 รายวิชา 1005004 การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา  1 ใช้แบบประเมิน  ปวค.1-1  ปวค.1-2  และ ปวค.1-3  ในภาคเรียนที่ 2 รายวิชา 1005005 การปฏิบัติงานสอนในสถานศึกษา 2 ให้แบบประเมิน ปวค.2-1, ปวค.2-2, และ ปวค.2-3

                   5.2  แนวปฏิบัติสำหรับอาจารย์คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชา  และอาจารย์ประจำกลุ่มวิชาชีพครู  มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้

5.2.1 ปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนไปปฏิบัติการสอนที่สถานศึกษา

5.2.2 เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับด้านการสอนและความประพฤติและนิเทศทั่วไปกับนักศึกษา

5.2.3 ให้คำแนะนำด้านการเรียนการสอน   วิธีสอนต่าง ๆ แนะนำแหล่งอุปกรณ์การสอนและคู่มือการสอน

5.2.4 ประเมินผลการปฏิบัติงานสอนในวิชาเฉพาะ  เช่น ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้  แบบบันทึกการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามแบบฟอร์มที่คณะฯ กำหนดปรึกษาหารือร่วมกับโรงเรียนในการพัฒนานักศึกษาทุกด้าน

5.2.5 ร่วมสัมมนานักศึกษาครูตามระยะเวลาที่กำหนดในปฏิทิน

5.2.6 สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างโรงเรียน  มหาวิทยาลัย ครูพี่เลี้ยง ตลอดจนนักศึกษา

5.2.7 สรุปผลการประเมินของนักศึกษาแต่ละคน ตามแบบประเมินสมรรถภาพการสอน ในภาคเรียนที่ 1 ปวค.1-3  และในภาคเรียนที่ 2 ปวค.2-3 เพื่อตัดสินผลการเรียน

5.2.8 เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยในการติดต่อประสานงานกับสถานศึกษา

5.2.9 เสนอข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูต่อมหาวิทยาลัย

                   5.3  แนวปฏิบัติของนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

                        5.3.1  รับการปฐมนิเทศจากมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาตามลำดับ

                        5.3.2  ศึกษารายละเอียดในคู่มือการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาให้เข้าใจ

5.3.3  พบครูพี่เลี้ยง  รับผิดชอบและฝึกปฏิบัติการสอนดังต่อไปนี้

(1)  ศึกษาค้นคว้าเนื้อหาและวางแผนการจัดการเรียนรู้ในวิชาและชั้นที่ได้รับมอบหมายล่วงหน้าอย่างน้อย  1 สัปดาห์  โดยส่งให้ครูพี่เลี้ยงตรวจก่อนนำไปสอนทุกครั้ง

(2)  จัดเตรียมสื่อการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่วางไว้

(3)  รับผิดชอบการสอนตามตารางสอนที่ได้รับมอบหมาย

(4) รับการนิเทศจากครูพี่เลี้ยงและ/หรือผู้บริหารโรงเรียนและ/หรืออาจารย์นิเทศก์จากมหาวิทยาลัย

(5)  แก้ไขปรับปรุงการสอนตามข้อเสนอแนะที่ได้รับการนิเทศ                                      (6) ปฏิบัติงานอื่นๆ ในหน้าที่ครูตามที่ได้รับมอบหมายจากสถานศึกษา หรือครูพี่เลี้ยง

(7)  ประชุมร่วมกันระหว่างนักศึกษาครูในแต่ละหลักสูตรสาขาวิชา  เพื่อวางแผนจัดทำโครงการปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันเป็นประจำ  สัปดาห์ละ  1 ครั้ง  พร้อมทั้งบันทึกผลการประชุม

(8) ปฏิบัติการตามระเบียบและแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัยและสถานศึกษา

(9)  ร่วมประชุมสัมมนาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

(10)  จัดทำเอกสารตามที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์

6.  ขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  

เพื่อให้การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีแนวปฏิบัติเดียวกัน  คณะครุศาสตร์จึงได้กำหนดขั้นตอน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  ดังนี้จัดนิทรรศการและส่งเอกสารการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามที่ได้รับมอบหมายที่สาขาวิชากำหนด

ระเบียบการปฏิบัติตนของนักศึกษาระหว่างการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

ระหว่างที่นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาต้องปฏิบัติตนให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย  และวางตัวให้เสมือนครูผู้สอนทุกประการ  ดังนี้

1.  ระเบียบการแต่งกาย  

นักศึกษาหญิงและชาย แต่งเครื่องแบบนักศึกษาถูกต้องตามระเบียบการแต่งกาย  มีดังนี้

          1.1  นักศึกษาชาย

(1)  ตัดผมทรงสุภาพ ไม่ไว้ผมยาว ไม่ไว้หนวดเครา 

(2)  เสื้อเชิ้ตสีขาว ไม่มีลวดลายสีอื่น คอเชิ้ต กระเป๋าปะ ผ่าอกตลอด มีกระดุม 5 เม็ด แขนสั้นหรือแขนขาว ถ้าเป็นแขนยาวต้องติดกระดุมแขนเสื้อ และชายเสื้อไว้ในกางเกง ผูกเนคไทให้เรียบร้อย

(3)  กางเกงผ้าทรงสุภาพ สีดำ หรือน้ำเงินเข้ม หรือกรมท่า ต้องไม่มีลวดลายสีอื่นห้ามสวมกางเกงยีนส์

(4)  เข็มขัดหนังสีดำ หัวเข็มขัดตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย

(5)  รองเท้าหนังหุ้มส้นสีดำ แบบคัทชูหรือผูกเชือก

(6)  ถุงเท้าสีดำ น้ำตาล น้ำเงิน เทา หรือขาว

1.2  นักศึกษาหญิง

(1)  ทรงผมสุภาพ ยาวไม่เกินกระดุมเม็ดที่ 3 ผูกรวบให้เรียบร้อย 

(2) เสื้อเชิ้ตสีขาวไม่มีลวดลาย สีอื่น คอเชิ้ต ติดกระดุมตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย กลัดเข็มตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยหน้าอกเบื้องซ้าย ใส่เสื้อไว้ในขอบกระโปรง

(3)  กระโปรงเนื้อผ้าสีกรมท่า สีดำ หรือน้ำเงินเข้ม ไม่มีลวดลายสีอื่น แบบเข้ารูปหรือทรงเอ ยาวคลุมเข่า ไม่ปะกระเป๋าหรือติดกระดุม ห้ามผ่าชายผ้าออกจากกัน ห้ามใช้ผ้ายีนส์

(4)  เข็มขัดหนังสีดำ หัวเข็มขัดตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย

(5)  รองเท้าหนังมีส้นสูงไม่เกิน 3 นิ้ว หรือรองเท้าคัทชูสีดำไม่มีลวดลาย

2.  ระเบียบการลากิจ  ลาป่วย     

การลาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษาทั่ว ๆ ไป  ให้ใช้ระเบียบการลาเหมือนข้าราชการ  ดังนี้

(1)  ลากิจ  ไม่อนุญาตให้ลาในวันที่มีการเรียนการสอน  ยกเว้นกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น  และต้องส่งใบลาล่วงหน้า  โดยต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารก่อน

          (2)  ลาป่วย อนุญาตให้ลาได้ตามความเป็นจริง และมีใบรับรองแพทย์ แต่เป็นไปตามระเบียบของข้าราชการ  

          หมายเหตุ   การลาทุกชนิดนักศึกษาจะต้องปฏิบัติการสอนชดเชยให้เท่ากับจำนวนวันที่ลา  แต่ทั้งนี้มีสิทธิ์ในการลาได้ไม่เกิน  8  วันต่อภาคเรียน  โดยบันทึกวันที่สอนชดเชยไว้ในสมุดบันทึกการปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู   และลงชื่อรับรองโดยครูพี่เลี้ยง   ซึ่งให้ใช้ใบลาของสถานศึกษา

3.   ระเบียบปฏิบัติระหว่างทำการสอน

(1)  ต้องคอยดูแลควบคุมการเข้าแถวของนักเรียน

(2)  ในระหว่างเวลาราชการไม่อนุญาตให้กลับที่พัก หรือออกนอกบริเวณสถานศึกษา  หากมีกิจจำเป็นจริง ๆ ให้ขออนุญาตผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหาร  และต้องลงชื่อในสมุดออกนอกบริเวณสถานศึกษา  

(3)  นักศึกษาจะต้องลงเวลาทำงานทั้งไปและกลับในบัญชีลงเวลามาทำงานที่สถานศึกษา/

หรือมหาวิทยาลัยจัดให้

(4)  นักศึกษาที่มาลงเวลาทำงานสาย  จะต้องชี้แจงต่อผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร  และมาสายได้ไม่เกินตามระเบียบข้าราชการ

(5)  เมื่อมีกิจกรรมพิเศษที่ต้องปฏิบัติในวันหยุดก็ให้ลงชื่อและเวลาปฏิบัติในสมุดบันทึกการลงเวลาในช่องหมายเหตุ  การปฏิบัติระหว่างสอนให้เป็นไปตามระเบียบของสถานศึกษานั้น ๆ 

4.  ระเบียบอื่น ๆ

          นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว  ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

5.  งานที่นักศึกษาต้องปฏิบัติในระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
1.1   ศึกษาเอกสาร  หลักสูตรแผนการจัดการเรียนรู้/คู่มือครู/ โครงการสอน/แบบเรียน
1.2   จัดทำโครงการสอนหรือกำหนดการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบ
1.3   จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
1.4        จัดหา/ผลิตสื่อประกอบการเรียนการสอน
1.5        จัดการเรียนรู้ตามแผนฯ
1. ศึกษาเนื้อหาในวิชาที่สอน
2. จัดทำโครงการสอนให้สอดคล้องกับปฏิทินงานวิชาการของโรงเรียน
3.  จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เป็นรายชั่วโมง  ให้มีองค์ประกอบครบถ้วนและต้องส่งให้ครูพี่เลี้ยงตรวจล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์
4. จัดทำสื่อหรือหาแหล่งเรียนรู้ เตรียมสื่อ
    ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน
5. ปฏิบัติการสอนจริงตามแผนการจัดการเรียนรู้และปรับปรุงงานสอนตามคำแนะนำของอาจารย์นิเทศก์และครูพี่เลี้ยงและบันทึกผลหลังการสอน  
6. จัดทำเครื่องมือวัดผลตามจุดประสงค์การ เรียนรู้
7.   กำหนดแนวทางเพื่อจัดทำวิจัยในชั้นเรียน
8. จัดทำป้ายนิเทศประจำเนื้อหาที่สอน/นิทรรศการ
9. วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของตนเองที่ส่งผล
   กระทบต่อผู้เรียน แล้วจัดทำโครงการพัฒนา
   ตนเองเพื่อสร้างสมรรถภาพในการจัดการเรียน
   การสอนอย่างน้อย  1 โครงการภายใต้การให้
   คำปรึกษาของอาจารย์นิเทศก์และครูพี่เลี้ยง)
งานกิจกรรมนักเรียนและการแนะแนว
2.1   งานชุมนุมหรือชมรม
2.2   งานแนะแนว
2.3   งานกีฬา
2.4   ควบคุมการเข้าแถวและงานตรวจสุขภาพนักเรียน
2.5   กิจกรรมเสริมหลักสูตร
1. ร่วมเป็นที่ปรึกษาในกิจกรรมของชุมนุม
2. ให้การแนะแนวทางการเรียนของนักเรียน
     เป็นกลุ่มและเป็นรายบุคคล
3. การเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬาตามที่
    ได้รับมอบหมายจากโรงเรียน
4.  การเอาใจใส่ดูแลการเข้าแถวตอนเช้าและ
     ตรวจสุขภาพนักเรียน
5.  การร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรของโรงเรียน3
งานธุรการในชั้นเรียน
3.1   การจัดทำบัญชีเรียกชื่อ
3.2   การจัดทำสมุดรายงานประจำตัวนักเรียน
3.3   การจัดทำงานข้อมูลสถิติ
3.4   การจัดทำสมุดประจำชั้น
3.5 การจัดบรรยากาศชั้นเรียน
1. ทำเอกสารธุรการในชั้นเรียนตามระเบียบ
    และคำแนะนำจากครูพี่เลี้ยง (ข้อ 3.1-3.4)
2.  จัด/ปรับปรุงชั้นเรียนให้มีบรรยากาศน่าเรียน เช่น  จัดที่นั่งและกลุ่มของนักเรียนให้เหมาะสม
   การจัดมุมหนังสือ  เป็นต้น4
งานหน้าที่ครู
4.1  งานวิชาการ
4.2  งานบุคคล
4.3 งานบริหารทั่วไป
4.4 งานงบประมาณ
4.5  งานอื่น ๆ ที่มอบหมาย
1.  ศึกษาและปฏิบัติงานตามข้อ 4.1-4.4  ตามที่ได้รับมอบหมายจากทางโรงเรียน โดยต้องไม่กระทบต่อการเรียนการสอน
2.  ปฏิบัติงานอื่น ๆ  ที่โรงเรียนมอบหมายตามความเหมาะสม

หมายเหตุ  การปฏิบัติงานทุกครั้งนักศึกษาจะต้องบันทึกไว้เป็นหลักฐานในแบบบันทึกการปฏิบัติงานและมีครูพี่เลี้ยงรับรองการปฏิบัติงาน

การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  เป็นการประเมินผลทางด้านคุณลักษณะและการปฏิบัติตนของนักศึกษาในการปฏิบัติการสอน  งานในหน้าที่ครู  และสมรรถภาพการสอน ทั้งนี้เพื่อวินิจฉัยข้อดี  ข้อบกพร่องของนักศึกษา      อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องเป็นช่วง ๆ หรือเป็นขั้นตอนตามลำดับอย่างต่อเนื่องกัน  และตัดสินผลการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เมื่อสิ้นภาคเรียน

1.  การประเมินผลการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา   

1.1  การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  เป็นการประเมินผลเพื่อการพัฒนาสมรรถภาพ ด้านต่าง ๆ ของความเป็นครู  โดยพิจารณาวินิจฉัยข้อดีและข้อควรปรับปรุงของนักศึกษา  เพื่อนำไปสู่การแก้ไขเป็นระยะ ๆ  หรือเป็นขั้นตอนตามลำดับอย่างต่อเนื่องกัน  ซึ่งต้องแจ้งผลการประเมินให้นักศึกษาทราบทุกครั้ง  และจะประเมินผลเพื่อตัดสินในระยะสุดท้ายของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู    

1.2  การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  เป็นการประเมินผลแบบอิงเกณฑ์  โดยการตัดสินผลแต่ละรายการที่ประเมิน  จะต้องพิจารณาตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้  เป็นระดับคะแนน  A, B+, B, C+, C, D+, D หรือ E

1.3  การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  เป็นการประเมินสมรรถภาพการสอนของนักศึกษาให้ครอบคลุมในหลาย  ๆ  ด้าน   ทั้งด้านความรู้  เทคนิค   และคุณลักษณะ  โดยอาศัยผู้ประเมินหลายฝ่าย  ได้แก่ ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  สถานศึกษา และอาจารย์นิเทศก์

2.  จุดประสงค์ของการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแต่ละขั้นตอน มีจุดประสงค์สำคัญ  2  ประการ ดังนี้

2.1 เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา  โดยให้นักศึกษาได้ทราบผลการฝึกปฏิบัติในงานฝึกประสบการณ์เป็นระยะ ๆ  เพื่อให้พัฒนาตนเองจนบรรลุผลตามเกณฑ์ของการฝึกปฏิบัติในวิชาของแต่ละขั้นตอน

2.2 เพื่อตัดสินผลรวมของการฝึกปฏิบัติการสอนในวิชาที่สอน  หลังจากการพัฒนาความสามารถให้ก้าวหน้าเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง

3.  แบบการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียน  (รายละเอียดศึกษาจากภาคผนวก )  ทั้งนี้การประเมินผลการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา  มีแบบประเมิน 3 ส่วน  ดังนี้

3.1  แบบประเมินคุณลักษณะและการปฏิบัติตน  (ปวค. 2-1)

3.2  แบบประเมินผลงานในหน้าที่ครู  ( ปวค. 2-2 )

3.3 แบบประเมินสมรรถภาพการสอน (ปวค. 2-3)

3.4  แบบประเมินเวลาฝึก/การเข้าร่วมกิจกรรมที่คณะกำหนดให้

3.5  แบบบันทึกผลการตรวจงานสำหรับอาจารย์นิเทศก์ประจำหลักสูตร

4.  ผู้ประเมิน 

1.  แบบประเมินผลคุณลักษณะและการปฏิบัติตน (ปวค. 2-1)
1.  ครูพี่เลี้ยง
2.  ผู้อำนวยการสถานศึกษา/หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2. แบบประเมินผลงานในหน้าที่ครู
   (ปวค. 2-2 )
1.  ครูพี่เลี้ยง
2.  อาจารย์นิเทศก์ประจำหลักสูตร
3. แบบประเมินผลสมรรถภาพการสอน
    (ปวค. 2-3)
1.  ครูพี่เลี้ยง
2.  อาจารย์นิเทศประจำหลักสูตร
4.  การเข้าร่วมกิจกรรมที่คณะ ฯกำหนดให้
1.  ฝ่ายฝึกประสบการณ์
5.  แบบประเมินเวลาฝึก / แบบบันทึกผลการตรวจงาน
1.  อาจารย์นิเทศประจำหลักสูตร

5.  แนวทางการประเมิน

การประเมินผลการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา   มีแนวทางการปฏิบัติดังนี้

5.1  ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศ มัชฌิมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศ   และการสัมมนาระหว่างการฝึกปฏิบัติการสอน  ตามกำหนดการที่คณะครุศาสตร์จัดให้ และไม่อนุญาตให้นักศึกษาขาดการเข้าร่วมกิจกรรม

5.2  ประเมินตามแบบประเมินผลการฝึกประสบการณ์ ปวค.2-1,  ปวค.2-2, ปวค.2-3 และแบบประเมินอื่น ๆ  ที่คณะกำหนดให้  โดยมีรายละเอียดและสัดส่วนในการประเมินผล  ดังนี้ 

สำหรับอาจารย์นิเทศประจำหลักสูตรประเมินจากเอกสารต่อไปนี้

                     

1.1  การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้                                                                               10  คะแนน
                     1.2  รายงานผลวิจัยในชั้นเรียนฉบับสมบูรณ์                                                                     10  คะแนน
                     1.3   แบบประเมินคุณลักษณะและการปฏิบัติตน (ปวค. 2-1)/แบบประเมินผล
                             งานในหน้าที่ครู (ปวค. 2-2)  และแบบประเมินสมรรถภาพการสอน (ปวค. 2-3)           15  คะแนน
                     1.4 แฟ้มสะสมงาน                                                                                                             5  คะแนน
                     1.5 โครงการพัฒนาตนเองอย่างน้อย  1  โครงการ                                                              5  คะแนน

รวม                                                    45  คะแนน

           

*   แบบบันทึกผลการปฏิบัติงานครู/เวลาฝึก ประเมินโดยผ่านเกณฑ์/ไม่ผ่านเกณฑ์
            ** ในกรณีที่มีผู้ประเมินหลายคนให้คิดคะแนนเฉลี่ยในแต่ละแบบประเมินแล้วจึงคิดคะแนนรวมแล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์ประเมิน