เลือกตั้งผู้ว่ากทม 2565 คนที่เท่าไหร่

มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง (สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ก่อนวันที่ 23 พ.ค. 64 และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ก. ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตพื้นที่ ก่อนวันที่ 23 พ.ค. 64)

คุณสมบัติอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด กรุงเทพมหานคร

ขอเชิญชวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผ่านทางเว็บไซต์ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ที่นี่ คลิกใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชน  https://stat.bora.dopa.go.th

เลือกตั้งผู้ว่ากทม 2565 คนที่เท่าไหร่

Tagsกกต.กทม.กรุงเทพกรุงเทพมหานครเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.เลือกตั้งสก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 รายพื้นที่ทั่วกรุง

กรุงเทพมหานคร รายงานผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM2.5 วันที่ 5 ธ.ค. 65 ณ เวลา 07.00 น. ค่าฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มลดลงและพบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกพื้นที่ที่มีการตรวจวัด ตรวจวัดได้ 11 - 36 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)

มีสะดุ้ง! 'พี่ศรี’ นัด 6 ธ.ค. ร้อง กกต.ฟันพรรคการเมืองเอื้อตู้ห่าว

ในวันอังคารที่ 6 ธ.ค.65 เวลา 10.00 น. ศรีสุวรรณจะเดินทางไปยื่นคำร้องต่อ กกต. กรณีเกี่ยวกับตู้ห่าว เพื่อขอให้ไต่สวนและวินิจฉัยพรรคการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองหนึ่ง

งง! โพลชี้ ปชช.พอใจ 6 เดือน ‘ชัชชาติ’ ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

อ่านนิดาโพล เรื่องความเห็นของคนใน กทม. เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ว่า กทม.คนปัจจุบัน ในเวลา 6 เดือน ที่ดำรงตำแหน่ง

กทม. ร่อนหนังสือวอน 'บีทีเอส' ชะลอขึ้นค่ารถไฟฟ้า

นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) แจ้งขอปรับขึ้นค่าโดยสาร ว่า กรุงเทพมหานครได้พิจารณาถึงสถานการณ์ปัจจุบันนี้แล้วเห็นว่า

เช็กเลย! สภาพอากาศประจำวันทั่วไทย

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก

ผลงาน 'ชัชชาติ' เอาแน่ย้ายศาลาว่าการ กทม. สร้างพิพิธภัณฑ์แทน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะประธานกรรมการบริหารจัดการศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และลานคนเมือง

อีกไม่ถึง 7 วัน คูหาเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ก็จะเปิดแล้ว และนี่เป็นครั้งแรกที่คน กทม. จะได้เลือกผู้ว่าฯ กทม. ที่มีจากการเลือกตั้งและกำหนดทิศทางของเมืองตัวเองเสียที หลังจากมีผู้ว่าฯ แต่งตั้งมานาน 5 ปี 5 เดือน 5 วัน

 

คงไม่ผิดนักถ้าจะแบ่งว่าผู้ที่ประกาศตนชิงตำแหน่งพ่อเมืองกรุงเทพฯ แบ่งออกเป็น 2 ฝั่งคือ ฝั่งก้าวหน้า และฝั่งอนุรักษ์นิยม ซึ่งแต่ละฝั่งก็มีฐานเสียงและกลุ่มคะแนนที่สัมพันธ์กับการเมืองระดับชาติ และการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ไม่ต่างจากการเช็คที่นั่ง ส.ส. ใน กทม. ซึ่งจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในปีหน้านี้ (ถ้าไม่มีอภินิหาร) 

ประเด็นที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมกำลังพูดถึงกันมากคือ การเลือกเชิงยุทธศาสตร์ (Stragic Voting) ดั่งที่ อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ เขียนไว้ในเฟซบุ๊กว่า ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครเบอร์ 8 จะกลายเป็นผู้กุมชัยในครั้งนี้ เพราะ 

“พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครผู้ว่าฯ ในนามอิสระ, สกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครในนามอิสระ และ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ต่างหาเสียงแข่งกันเอง และกองเชียร์ของทั้ง 3 คนก็รณรงค์ให้เลือกคนที่ตนเชียร์ ซึ่งหมายความว่า “เราแข่งขันตัดคะแนนกันเองระหว่าง 3 คนนี้.. ไม่ได้แข่งขันกับชัชชาติ หรือ วิโรจน์” 

ขณะที่ฝ่ายก้าวหน้าก็ยังมีความกังวลใจนี้เช่นกัน ต่างก็แต่ด้วยแนวคิดและอุดมการณ์เสรีนิยมที่ค้ำคอ ทำให้แนวคิดการเลือกเชิงยุทธศาสตร์ไม่ถูกซื้อมากนัก และเข้าอีหรอบ ‘รักใครชอบใครก็กา’ ซึ่งเป็นไปได้สูงว่าจะทำให้เกิดการตัดคะแนนเช่นกัน 

เมื่อผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะกำหนดทางเดินของ กทม. ในอีก 4 ปีข้างหน้า และเป็นตัวสะท้อนภาพที่สำคัญของการเมืองระดับชาติ The MATTER จึงชวน สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตรกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า และ สิริพรรณ นกสวน สวัสดี จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาร่วมวิเคราะห์ภาพรวมในโค้งสุดท้ายนี้ ใครบ้างที่น่าจับตาดู ผู้สมัครแต่ละคนมีฐานเสียงเท่าไหร่ยังไงบ้าง การเลือกเชิงยุทธศาสตร์จะถูกซื้อมากแค่ไหน และผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้สำคัญอย่างไร 

 

เลือกตั้งผู้ว่ากทม 2565 คนที่เท่าไหร่

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี

เลือกตั้งผู้ว่ากทม 2565 คนที่เท่าไหร่

สติธร ธนานิธิโชติ

เวทีนี้เหลือใครบ้าง 

นักวิชการจากสถาบันพระปกเกล้า และอาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ประเมินเหมือนกันว่า เวทีเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ หลงเหลือตัวละครน่าจับตาดู 6 คน ได้แก่ผู้สมัครเบอร์ 1, 3, 4, 6, 7 และ 8 กล่าวคือ

  • เบอร์ 1 – วิโรจน์ ลักขณาอดิศร จากพรรคก้าวไกล 
  • เบอร์ 3 – สกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครอิสระ
  • เบอร์ 4 – สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ จากพรรคประชาธิปัตย์
  • เบอร์ 6 – พล.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าฯ กทม. 
  • เบอร์ 7 – รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครอิสระ
  • เบอร์ 8 – ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ

สำหรับผู้สมัครเบอร์ 11 น.ต.ศิธา ทิวารี จากพรรคไทยสร้างไทยซึ่งชูนโยบายเมืองของคนทุกเพศ ทั้งคู่เห็นตรงกันว่าไม่นับเป็นผู้ท้าชิงหลักได้แล้ว เพราะพรรคไทยสร้างไทยไม่ได้ต้องการคว้าเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. แต่ต้องการเช็คฐานคะแนนเสียงผ่านเก้าอี้ ส.ก. และตอกย้ำแบรนด์ไทยสร้างไทยให้เป็นที่จดจำของผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่า 

 

ฐานเสียงและจุดแข็ง 

  • วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
    • สติธรประเมินว่าได้คะแนนมากกว่า 500,000 คะแนน
    • สิริพรรณประเมินว่าได้คะแนนราว 400,000 – 500,000 คะแนน

 

เลือกตั้งผู้ว่ากทม 2565 คนที่เท่าไหร่

 

คอมเมนท์จากมิตรสหายท่านหนึ่งเปรียบว่า “เลือกวิโรจน์เหมือนทุบบ้านแล้วสร้างใหม่” ซึ่งก็ตรงกับคอนเซปท์หาเสียง ‘พร้อมชน เพื่อคนกรุงเทพ’ หรือหมายถึงการเข้าไปแก้ปัญหาถึงเชิงโครงสร้างการบริหาร รวมถึงงบประมาณ  

สติธรชี้ว่า ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกลกวาดคะแนนเสียงได้มากจากหลายเวทีดีเบต แต่สำหรับฐานเสียงถือว่าประเมินยาก แต่ถ้าอิงตามผลการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 เป็นไปได้ว่าเขาจะได้อย่างต่ำคือ 10,000 คะแนน/ เขต หรือเท่ากับว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีคะแนนอยู่ในมือราวๆ 500,000 คะแนน 

ขณะที่ สิริพรรณ มองว่าฐานเสียงของผู้สมัครก้าวไกล “ชัดและแคบ” ซึ่งเธอประเมินจากการเลือกตั้งปี 2562 และเลือกตั้งซ่อมเขตดอนเมืองมองว่า วิโรจน์ น่าจะได้คะแนนประมาณ 10,000 คะแนน/ เขต ดังนั้น น่าจะไม่ต่ำกว่า 500,000 – 600,000 คะแนน ซึ่งจะมาจากกลุ่มแฟนคลับของก้าวไกล 

แต่นักรัฐศาสตร์จากจุฬาฯ ยังเสริมต่อว่า วิโรจน์ และ ชัชชาติ ยังต้องแย่งฐานเสียงกลุ่ม First Time Voter, Gen Y และ Gen Z กันอีกบางส่วน อย่างไรก็ตาม ฐานเสียงดังกล่าวยังต้องไปตัดกับผู้สมัครเบอร์ 8 อีกต่อหนึ่ง 

 

เลือกตั้งผู้ว่ากทม 2565 คนที่เท่าไหร่

 

  • สกลธี  ภัททิยกุล 
    • สติธรประเมินว่าได้คะแนนไม่เกิน 200,000 คะแนน
    • สิริพรรณประเมินว่าได้คะแนนประมาณ 100,000 คะแนน

นักวิจารณ์การเมืองในโลกโซเชียล มีเดียคนหนึ่ง เขียนถึงสกลธีว่า ถ้าลองหลับตาฟังดูแล้ว สกลธีเป็นคนที่พูดได้เข้าท่าที่สุด ทั้งในแง่นโยบายหรือความเข้าใจในอำนาจผู้ว่าฯ กทม. หรือจะเปรียบว่าเขาเป็นคนที่ ‘พูดแล้ว ทำได้จริง’ ที่สุด

จากรายงานของบีบีซีไทย สกลธี เป็นผู้สมัครฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ได้รับการรับรอง (Endrosement) จากผู้มีชื่อเสียงในสังคมมากที่สุด โดยนับได้มากถึง 18 ชื่อ อาทิ สุเทพ เทือกสุบรรณ, นพ.เหรียญทอง แน่นหนา, นิติพงษ์ ห่อนาค หรืออัญชะลี ไพรีรัก หรือไม่ผิดนักถ้าจะกล่าวว่าผู้สนับสนุนผู้สมัครเบอร์ 3 ทุกคนล้วนเป็น ‘ฮาร์ดแมน’ ของฝั่งอนุรักษ์นิยม และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ทั้งในทางตรงหรือทางอ้อม 

สติธรให้ความเห็นว่าสำหรับผู้สมัครเบอร์ 3 มีลักษณะเดียวกับอดีตผู้ว่าฯ กทม. คือ “ประสานได้ ไร้รอยต่อ ทำงานกับรัฐบาลราบรื่น” เขายังเห็นด้วยว่าผู้สมัครนี้โชว์ฟอมดีในหลายเวทีดีเบต ทำให้หลายคนพร้อมจะเทคะแนนให้แก่เขา โดยนักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้าคาดว่าเขาจะได้รับคะแนนอยู่ที่ไม่เกิน 200,000 คะแนน

คะแนนส่วนนี้มาจากแรงสนับสนุนของกลุ่มพลังกรุงเทพฯ หรือกลุ่มทำงานในพื้นที่ของพรรคพลังประชารัฐ, กลุ่ม ส.ก. จากพรรคประชาธิปัตย์บางส่วนที่ลงมาช่วยเขาเดินหาเสียงในช่วงโค้งสุดท้าย, กลุ่มที่สนับสนุนพรรคกล้า และกลุ่มกลับใจจาก สุชัชวีย์ และอดีตผู้ว่าฯ อัศวินอีกด้วย 

ทางด้าน สิริพรรณ มองว่าผู้สมัครเบอร์ 3 มีความโดดเด่นในเวทีดีเบต มีความเป็นคนรุ่นใหม่ คล่องแคล่ว ว่องไว และออกแบบนโยบายได้ดี ซึ่งเธอคาดการณ์ว่าเขามีฐานเสียงจากกลุ่มที่เลือกพรรครวมพลังประชาชาติไทยในการเลือกตั้งปี 2562 (แต่ละเขตได้หลักร้อย) บวกกับคะแนนเสียงบางส่วนจาก ส.ก. ของพรรคประชาธิปัตย์ (สกลธีเคยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์) ดังนั้นเธอคาดว่าสกลธีน่าจะมีคะแนนอยู่ในหลัก 100,000 กว่าเสียง

 

เลือกตั้งผู้ว่ากทม 2565 คนที่เท่าไหร่

 

  • สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ 
    • สติธรประเมินว่าได้คะแนนราว 400,000 – 500,000 คะแนน
    • สิริพรรณประเมินว่าได้คะแนนน้อยกว่า 470,000 คะแนน (คะแนนเลือกตั้งประชาธิปัตย์ใน กทม. ปี 2562)

เป็นคนหนึ่งที่เริ่มเปลี่ยนท่าทีจากกวางป่า กลายเป็นเสือที่กล้าจะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานที่ผ่านมาของผู้ว่าฯ กทม. รวมถึงกล้าที่จะบัฟผู้สมัครคนอื่นในเวทีดีเบตต่างๆ 

สำหรับพี่เอ้ อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังนั้นถูกประเมินด้วยคะแนนที่ค่อนข้างต่างกันจาก 2 นักวิชาการรัฐศาสตร์ แต่มีความเกี่ยวโยงกันที่ทั้งคู่มองว่า พี่เอ้คงไม่มีสิทธิ์ลุ้นเบียดเข้าที่ 1 ได้แล้ว 

โดยทางด้าน สติธร มองว่าคะแนนที่จะเทให้แก่ผู้สมัครเบอร์ 4 ย่อมมาจากฐานคะแนนของประชาธิปัตย์เดิมและ ส.ก. ที่คอยเดินหาเสียงให้ราว 400,000 คะแนน บวกกับความชอบในบุคลิกลักษณะของผุ้สมัคร ซึ่งอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 200,000 คะแนน คะแนนจึงน่าจะอยู่ที่ 400,000 – 500,000 คะแนน ไม่น่าถึง 600,000 คะแนนได้

ขณะที่ สิริพรรณ กลับมองต่ำกว่านั้น เธอระบุว่าการที่สุชัชวีร์ลงในนามประชาธิปัตย์ ซึ่งอยู่ในช่วงถดถอย และเพิ่งมีข่าวเสียหายจากกรณีล่วงละเมิดทางเพศของคณะกรรมการบริหารพรรค (กรณี ปริญญ์ พานิชภักดิ์) ดังนั้น ถ้าหากพี่เอ้และขุนพลสีฟ้าสามารถรักษาคะแนนเสียงไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 470,000 คะแนนเท่ากับครั้งเลือกตั้งปี 62 ก็ถือว่าเก่งแล้ว 

 

เลือกตั้งผู้ว่ากทม 2565 คนที่เท่าไหร่

 

  • พล.อ.อัศวิน ขวัญเมือง
    • สติธรประเมินคะแนนราว 350,000 – 400,000 คะแนน
    • สิริพรรณประเมินคะแนน 500,000 – 600,000 คะแนน

เพิ่งเดินทางไปที่ทำงานเก่า ศาลาว่ากลางกรุงเทพมหานคร 2 และได้ส่งจดหมายถึงชาวกรุงเทพพร้อมข้อความ ‘6 ความในใจถึงคน กทม.’ ตอกย้ำภาพลักษณ์ผู้ชายพูดไม่เก่ง แต่ลูกชายพูดเก่งเลยให้พูดแทน

นักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้ายอมรับว่านี่คือหนึ่งในผู้สมัครที่น่ากลัวที่สุด โดยเขาประเมินว่าอดีตผู้ว่าฯ กทม. ‘มีคะแนนจัดตั้ง’ ผ่านกลไกสมัยทำงานเป็นผู้ว่าฯ กทม. อยู่คือ กลุ่มที่ทำงานในชุมชน อาทิ กลุ่มรักษ์กรุงเทพ, กลุ่มอดีต ส.ก., กลุ่มอดีต ส.ข., ประธานชุมชน, กลุ่มพลังกรุงเทพของ ส.ก. พลังประชารัฐบางส่วนหนุนหลังอยู่ และกลุ่มตำรวจใน กทม. ซึ่งเขาเองเคยเป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ โดยประเมินว่าจะได้คะแนนจากกลุ่มนี้ 6,000 – 7,000 คะแนน/ เขตเป็นอย่างน้อย หรือไม่ต่ำกว่า 300,000 คะแนน

และบวกกับกลุ่มคนเลือกอิสระที่อาจต้องการให้ผู้ว่าฯ กทม. คนเดิมอยู่ต่อไปอีก 4 ปี ซึ่งคะแนนตรงนี้ยังไม่แน่ชัดว่ามีเท่าไหร่ 

ทางด้านนักรัฐศาสตร์จากจุฬาฯ กล่าวว่า สำหรับ “อัศวิน and the son” การทำงานในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาในตำแหน่งพ่อเมืองกรุงเทพฯ เสมือนดาบสองคม โดยข้อได้เปรียบของอดีตผู้ว่าฯ คนนี้คือ ได้วางโครงสร้างการทำงานในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ไว้หมดแล้ว มีทั้งการสร้างกลุ่มทำงานภาคประชาชน (รักษ์กรุงเทพ) รวมถึงมีความยึดโยงกับข้าราชการระดับสูงใน กทม. เพราะล้วนถูกแต่งตั้งมาด้วยลายเซ็นของเขา นอกจากนี้ ยังเป็นไปได้ที่กลุ่มพลังกรุงเทพ (ส.ก. พลังประชารัฐ) ซึ่งมีมากกว่า 100 คน จะเดินเคาะตามบ้านเพื่อขอคะแนนเสียงจากประชาชนให้แก่อดีตผู้ว่าฯ​ กทม. คนนี้ด้วย เนื่องจากผู้มีอำนาจในพลังพรรคพลังประชารัฐ โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ แสดงท่าทีว่าสนับสนุนให้เขาทำงานต่อ

อย่างไรก็ตาม การทำงานตลอด 5 ปี 5 เดือน 5 วันอาจจะหันมาแว้งทำร้ายเขาก็ได้ เพราะมีหลายครั้งที่เขาถูกตอกกลับไปจากโสลแกนหาเสียงของตัวเองว่า “แล้ว 5 ปีที่ผ่านมาทำอะไร?” ยังไม่รวมการตอบสัมภาษณ์สื่อ เวทีดีเบตที่เขาถูกต้อนจนเสียหลักอยู่หลายครั้ง 

สิริพรรณ ยังเชื่อว่ากลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ที่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ อาทิ ถาวร เสมเนียม, ปรีณา ไกรคุปต์ หรือ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ซึ่งประกาศตัวสนับสนุนอดีตผู้ว่าฯ คนนี้ อาจช่วยเพิ่มคะแนนเสียงให้แก่เขาได้อีกพอสมควร 

อีกประเด็นหนึ่งที่ สิริพรรณ ทิ้งท้ายไว้คือ ในช่วงที่กรุงเทพฯ​ กำลังเผชิญมรสุมและน้ำท่วมแบบนี้ กลุ่มที่เคยตั้งใจจะลงคะแนนให้อดีตผู้ว่าฯ กทม. อาจหันไปเลือก สกลธี หรือ สุชัชวีย์ มากกว่าก็ได้ เนื่องจากสะท้อนถึงการทำงานในสมัยที่ผ่านมา และทั้งคู่มีนโยบายที่ใหม่และจับต้องได้มากกว่า

 

เลือกตั้งผู้ว่ากทม 2565 คนที่เท่าไหร่

 

  • รสนา โตสิตระกูล
    • สติธรระบุว่าประเมินยาก อาจได้ 100,000 คะแนน หรือไปไกลถึง 700,000 คะแนนก็เป็นไปได้ (เท่ากับสมัยได้รับเลือก ส.ว. กทม.)
    • สิริพรรณประเมินว่าได้คะแนนไม่เกิน 100,000 คะแนน

อดีตพันธมิตรเพื่อประชาชน, อดีต ส.ว. กรุงเทพฯ, อดีตเอนจีโอ และ ‘ผู้สมัครอิสระตัวจริง’ 

สำหรับความเห็นต่อ รสนา นักรัฐศาสตร์ทั้งสองคนมองใกล้เคียงกันว่า เธอจะได้รับคะแนนเสียงจากกลุ่มพันธมิตรเดิม ดั่งที่เห็นได้ว่า สนธิ ลิ้มทองกุล และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรได้ประกาศลงคะแนนเสียงให้เธออย่างชัดเจน นอกจากนี้ เธอยังมีคะแนนเสียงจากความนิยมของกลุ่มคนอายุ 60 ปีขึ้นไป บวกกับความช่ำชองในสนาม กทม. และชูนโยบายปราบโกง ซึ่งอาจช่วยคะแนนเสียงเธอมาได้อีกนิดหน่อย

ทั้งคุ่ประเมินว่า รสนา จะได้คะแนนอยู่ที่ราว 100,000 คะแนน อย่างไรก็ตาม สติธร ยังคงคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเทคะแนนเสียงจากฝั่งอนุรักษ์นิยมให้แก่เธอ และทำให้เธอมีคะแนนเพิ่มไปถึง 700,000 คะแนน แต่ยังคงเป็นไปได้ยากอยู่

 

เลือกตั้งผู้ว่ากทม 2565 คนที่เท่าไหร่

 

  • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
    • สติธรประเมินได้คะแนนมากกว่า 700,000 คะแนน
    • สิริพรรณประเมินว่าได้คะแนน 700,000 – 900,000 คะแนน

อันดับ 1 ในเกือบทุกโพล สำหรับอดีตอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเรียกได้ว่าเป็นบุรุษคนหนึ่งที่เกลียดได้ยาก ถึงแม้จะเคยเป็นรัฐมนตรีคมนาคมสมัยเพื่อไทย แต่เขามักจะเอาตัวเองออกจากความขัดแย้ง และไม่เคยมีท่าทีต่อต้านฝ่ายการเมืองใดการเมืองหนึ่งให้เห็นอย่างชัดเจน 

สติธร เชื่อว่าผู้สมัครเบอร์ 8 นั้นมีฐานเสียงที่แข็งแกร่งรองรับอยู่คือ กลุ่ม ส.ก. ของเพื่อไทย ซึ่งอาจช่วยเทคะแนนให้เขามากถึง 500,000 – 700,000 คะแนน หรือคิดประมาณที่เขตละ 10,000 คะแนน นอกจากนี้ยังมีกองเชียร์ก้าวไกลบางส่วนที่ตัดสินใจตั้งแต่ ชัชชาติ เปิดตัวแล้วว่าในกรณีผู้ว่าฯ กทม. จะลงคะแนนเสียงให้คนนี้

ถ้าแบ่งเป็นช่วงอายุ สติธร มองว่า ชัชชาติ เป็นขวัญใจของกลุ่ม Gen X, Gen Y รวมถึงกลุ่ม Baby Boomer บางส่วนที่มีแนวคิดก้าวหน้า ซึ่งสติธรมองว่ามีครึ่งต่อครึ่งหากเทียบกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม (การเลือกตั้งใหญ่ใน กทม. ปี 2562 พลังประชารัฐได้ 12 ที่นั่ง, เพื่อไทย 9 ที่นั่ง และอนาคตใหม่ 9 ที่นั่ง)

สำหรับชนักปักหลังว่า ชัชชาติ รับใช้ ‘ระบอบทักษิณ’ นักวิชาการรายนี้มองว่า ไม่ส่งผลนักต่อคนที่ตัดสินใจเลือกเขาอยู่แล้ว แต่เป็นการตอกย้ำความกลัวต่อคนอีกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มขวากลาง และกลุ่มแฟนคลับของประชาธิปัตย์ที่ผิดหวังจากพรรค

ขณะที่ทางด้าน สิริพรรณ เชื่อว่านี่คือตัวเต็งอันดับหนึ่งที่จะขึ้นไปนั่งในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. โดยเธอระบุว่าคล้าย สติธร ว่า ชัชชาติ มีฐานเสียงคือกลุ่มผู้นิยมพรรคเพื่อไทย แต่เธอประเมินสูงกว่ากล่าวคือ มีคะแนนอยู่ในมือแล้ว 800,000 คะแนน เพราะครั้งที่แล้วพรรคเพื่อไทยใช้ยุทธศาสตร์แตกแบงค์พันเป็นแบงค์ร้อยส่ง ส.ส. ลงเพียง 20 เขต ดังนั้น อยู่ที่ประมาณเขตละ 20,000 คะแนน

นอกจากนี้ ยังเป็นไปได้ที่จะกลุ่มอนุรักษ์นิยมก้าวหน้าบางส่วน ที่เบื่อหน่ายกับการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันหันมาเทคะแนนเพิ่มให้แก่เขาอีกประมาณ 100,000 คะแนน 

 

ตัดคะแนน – แลนด์สไลด์

หนึ่งในยุทธศาสตร์ของฝากอนุรักษ์นิยมที่กำลังถูกพูดถึงกันมากคือ การเลือกในเชิงยุทธศาสตร์ หรือหมายถึงต้องเทคะแนนให้ใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อที่จะได้ชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ให้ได้ ขณะที่อีกฝั่งหนึ่งก็กำลังถกเถียงกันถึง การตัดคะแนน ที่อาจทำให้พ่ายแพ้ให้แก่ผู้สมัครจากอีกฝั่งในที่สุด

โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน กทม. มีทั้งหมด 4.48 ล้านเสียง ถ้าดูจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมามีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 60% ของผู้มีสิทธิทั้งหมด ดังนั้น คราวนี้น่าจะมีคะแนนทั้งหมด 2.68 ล้านเสียง 

สิริพรรณ ประเมินว่าขณะนี้คะแนนนั้นถูกแบ่งเป็นสองก้อนคือ ฝั่งอนุรักษ์นิยม 1.2 ล้านคะแนน (ประชาธิปัตย์ 470,000 คะแนน และพลังประชารัฐ 700,000 คะแนน) และฝั่งก้าวหน้า 1.6 ล้านคะแนน  

อย่างไรก็ตาม สิริพรรณมองว่ากลยุทธ์เลือกตั้งเชิงยุทธศาสตร์ของฝั่งอนุรักษ์นิยมเป็นไปได้ยากทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติ เพราะในทางทฤษฎีการเลือกเชิงยุทธศาสตร์ต้องประกอบด้วย 2 ปัจจัย มีผู้คะแนนนำที่ชัดเจน และสัญญาณที่แน่ชัด ส่วนในทางปฏิบัติกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ที่ออกมารับรองผู้สมัคร ต่างก็ประกาศรับรองแบบไม่สามัคคีกัน 

“คะแนนที่อยู่ในฝั่งอนุรักษ์นิยมประมาณ 1.2 ล้านยิ่งจะเข้มข้นหนักขึ้นด้วยซ้ำ ไม่ใช่จะลดลง แนวโน้มที่จะเทคะแนนให้คนใดคนหนึ่ง คิดว่าเป็นไปได้ยากมาก”

เธอเสริมต่อว่าจุดเริ่มต้นของประเด็นนี้เกิดจากความไม่กลมเกลียวของฝ่ายอนุรักษ์นิยมเอง ซึ่งเริ่มจากความไม่แน่นอนในตัวผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ ทำให้มีผู้สมัครจากหลายกลุ่มแข่งกันเอง และที่สำคัญ การเลือกตั้งครั้งนี้ยังใกล้กับการเลือกตั้งใหญ่ทำให้เปรียบได้กับ “การโยนหินถามทาง” และ “สร้างภาพจำ” เพื่อเตรียมเลือกตั้งในปีหน้า

สำหรับ สิริพรรณ เธอมองว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้แสดงจุดยืนชัดเจนแล้วจากการไปลงพื้นที่คลองโอ่งอ่าง ซึ่งมองได้ว่าเขาสนับสนุนให้ พล.อ.อัศวิน ทำงานต่ออีกสมัย อย่างไรก็ตาม สิริพรรณ มองว่าด้วยข้อจำกัดของกฎหมาย สัญญาณดังกล่าวจึงยังไม่ชัดเจนนัก ร่วมไปกับความนิยมพรรคพลังประชารัฐที่เริ่มถดถอยในกรุงเทพฯ การแสดงท่าทีที่ชัดเจนของรัฐบาลจึงอาจไม่ใช่ทางที่ดีนัก ทั้งต่อตัวผู้สมัครและรัฐบาลเอง

 

เลือกตั้งผู้ว่ากทม 2565 คนที่เท่าไหร่

ภาพจาก FB ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง Ong Ang Walking Street

นอกจากนี้ เธอยังเสริมว่า นายกฯ ยังมีท่าทีที่แทงกั๊กสนับสนุนอดีตผู้ว่าฯ กทม. จากคำให้สัมภาษณ์ว่า “ให้เลือกคนทำงาน” ซึ่งเป็นข้อความที่อดีตผู้ว่าฯ กทม. ใช้เป็นโสลแกนหาเสียง

ขณะที่นักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้าประเมินไว้ต่างออกไป เขายังคงมีความเชื่อว่าฝั่งอนุรักษ์นิยมอาจรวมพลังกันได้ และพ่วงไปกับการตัดคะแนนของฝั่งก้าวหน้าเอง จนสุดท้ายอาจทำให้ฝั่งอนุรักษ์นิยมกำชัยไปได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม เขายังมองว่ารัฐบาลอยู่ในสภาวะอิหลักอิเหลื่อ รักพี่เสียดายน้องสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า

“ตอนนี้รัฐบาลก็ชัดว่าสนับสนุนผู้สมัครฝั่งเขา แต่เขาก็อิหลักอิเหลื่อเหมือนกันเพราะถ้าสนับสนุนคนนี้ อีกคนจะรู้สึกยังไง เพราะสนามที่เขามองจริงๆ คือเลือกตั้งใหญ่ ซึ่งเขาก็ต้องการทุกเสียง ดังนั้น ถ้าจะออกนอกหน้าเชียร์คนใดคนหนึ่ง เขาจะลำบากใจมาก”

“แต่รอบนี้ไม่น่าส่งสัญญาณเอง แต่มันน่าจะมาจากเหล่าอินฟลูเอนเซอร์คนอื่นๆ ที่มีภาพชัดเจนว่าเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม ซึ่งที่ผ่านมาก็ลองหยั่งเชิงแล้ว แต่ผลตอบรับยังดี และยังไม่กลมเกลียว ดังนั้น ต้องรอดูกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ที่อยู่ในกระเป๋าอีก (หัวเราะ)”

ด้านประเด็นการตัดคะแนนกันเองระหว่างฝ่ายก้าวหน้าจะเกิดขึ้นไหม สติธร มองว่ามีความเป็นไปได้อยู่

“ฝั่งอนุรักษ์นิยมมีโอกาสรวมคะแนนกัน แล้วมีคะแนนอย่างต่ำ 900,000 คะแนน ขณะที่ฝั่งก้าวหน้าถ้าเลือกตามใจมีโอกาสตัดกันเองจนเหลือคนละ 600,000 – 700,000 คะแนน กั๊กกันไปกันมาก็มีโอกาสแพ้เหมือนกัน”

 

เลือกตั้งผู้ว่ากทม 2565 คนที่เท่าไหร่

ภาพจากข่าวสด

จุดตัดผลแพ้ชนะ 

สำหรับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ นักวิชาการรัฐศาสตร์ทั้งคู่ประเมินคะแนนผู้ชนะอยู่ในระดับเดียวกัน

  • สติธรประเมินว่าผู้ชนะจะมีคะแนนอย่างน้อย 1,000,000 คะแนน
  • สิริพรรณประเมินว่าผู้ชนะจะมีคะแนนอย่างน้อย 900,000 คะแนน แต่จะเป็นการชนะแบบชนะขาด

สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ สิริพรรณ มองว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการชนะ-แพ้เลือกตั้งมากที่สุด ไม่ใช่นโยบาย แต่คือจุดยืนทางการเมือง 

“ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือจุดยืนและค่ายทางการเมือง ส่วนนโยบายถูกวิเคราะห์ร่วมกับพุทธิปัญญาของผู้นำเสนอและประชาชนต่อตัวผู้สมัครนั้น ตัวอย่างเช่น ชัชชาติ และ สุชัชวีย์ พูดถึงไวไฟฟรีเหมือนกัน แต่ สุชัชชวีรย์ พูดถึงติดไวไฟฟรีเพื่อให้นักเรียนเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ขณะที่ ชัชชาติ พูดถึงการนำกรุงเทพฯ​ ขึ้นไปบน Cloud เป็นการเชื่อมกรุงเทพฯ​ กับเมืองอื่นๆ และการลดคอร์รัปชั่น”

ซึ่งสำหรับมุมมองของนักรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ผู้สมัครเบอร์ 8 มีความเป็นไปได้ที่สุดที่จะชนะ อย่างไรก็ตาม ตัวแปรสำคัญหนึ่งคือ จำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง

“ตัวแปรสำคัญที่สุดอันหนึ่งคือ ผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง ถ้าคนคิดว่าชนะแล้วนอนมาไม่ออกมาใช้สิทธิ มีโอกาสพลิกได้ แต่ถ้าออกมาใช้สิทธิกันเยอะโอกาสพลิกยาก”

อย่างไรก็ตาม เธอเสริมจากผลโพลว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ต่างออกไปจากเลือกตั้งในปี 2556 เพราะในการเลือกตั้งครั้งนั้นตัวเต็งทั้งสอง (พล.ต.อ.พงศพัฒน์ พงษ์เจริญ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร) เป็นคู่ที่คนกรุงเทพฯ ไม่อยากได้นัก ทำให้จำนวนผู้ยังไม่ตัดสินใจในเลือกใครในโพลมีสูง ซึ่งต่างจากครั้งนี้ ที่ทุกโพลระบุว่าผู้ยังไม่ได้ตัดสินใจมีจำนวนน้อย ดังนั้น นี่เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้โอกาสที่ผลเลือกตั้งจะพลิกเป็นไปได้ยากเช่นกัน 

ขณะที่ทางด้าน สติธร มองว่าผลแพ้ชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ตัวบุคคลมีความเกี่ยวข้องอย่างสูง และเราไม่ควรติด “กับดักนโยบาย” มากมายขนาดนั้น

“เลือกเชิงนโยบายเป็นเป็นแผลเก่าตั้งแต่ปี 2540 ที่มองว่าพรรคการเมืองไม่มีนโยบาย คนเลยเลือกที่ตัวบุคคล และตอนนั้นก็มีพรรคไทยรักไทยที่ชูนโยบายนำขึ้นมา มันเลยกลายเป็นกระแส”

“แต่ถ้าเรามองเรื่องตัวบุคคลว่าไม่ใช่แค่ใจถึงพึ่งได้ แต่บุคคลมันมีคุณสมบัติอื่นๆ เช่น ความสามารถในการทำให้นโยบายสำเร็จ หรือความเป็นผู้นำ คือสุดท้ายถ้าเลือกคนที่นโยบายดี แต่ทำจริงไม่ได้ มันก็พัง ทั้งสองปัจจัยมันส่งผลต่อกันและกัน ดังนั้น เลือกคนก็ไม่ผิดหรอก ถ้าไม่ใช่เลือกเพราะคนนี้นิสัยดี หรือจบมหาวิทยาลัยเดียวกับเรา (หัวเราะ)”

 

ผลสะท้อนการเลือกตั้ง กทม. ถึงภาพใหญ่เลืกตั้งปีหน้า 

แน่นอนนว่าจังหวะเวลาในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. (ครบรอบ 8 ปี คสช. รัฐประหาร) มีนัยยะสำคัญ เช่นเดียวกับการเตะถ่วงเวลาเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ให้กระชั้นชิดกับการเลือกตั้งใหญ่ในปีหน้า 

ทางด้าน สิริพรรณ มองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นตัวสะท้อนภาพใหญ่สู่การเลือกตั้งครั้งหน้าใน 3 ประเด็น

  • สถานีทดลองพรรคการเมืองใหม่ – ในภาวะที่พรรคใหม่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด สนามเลือกตั้ง กทม. โดยเฉพาะ ส.ก. คือสถานีทดลองสำหรับทุกพรรคการเมืองว่าควรวางยุทธศาสตร์อย่างไร 
  • มาตรวัดสำหรับพรรคใหญ่ – สำหรับพรรคพลังประชารัฐ, ประชาธิปัตย์, พรรคก้าวไกล รวมถึงน้องใหม่หน้าเก่าอย่าง พรรคไทยสร้างไทย และพรรคกล้า นี่คือสนามในการวัดขุมกำลังและคะแนนนิยมผ่านทคะแนน สก. เพราะคนกลุ่มนี้จะกลายเป็นหัวคะแนนในการเลือกตั้งใหญ่ 
  • เพื่อไทยวัดใจ กทม. – ขณะที่พรรคเพื่อไทยซึ่งกวาด ส.ส. 9 ที่นั่งในการเลือกตั้งปี 2562 นี่คือการวัดคะแนนผ่านทั้งผู้สมัคร ส.ก. และ ชัชชาติ ซึ่งเคยเป็นอดีตรัฐมนตรีคมนาคมสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างไรก็ตาม เธอประเมินว่าคะแนนเสียงที่เทให้ชัชชาติอาจไม่ตรงความจริงนัก เพราะมีคนหลายกลุ่มที่นิยมในตัวเขามากกว่าแค่ฐานเสียงเพื่อไทย 
  • สก. หลากหลาย – อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ เธอเชื่อว่าหลังเลือกตั้งปีนี้ ในสภากรุงเทพจะเต็มไปด้วยกลุ่มคนหลากหลาย เพราะมีผู้สมัครมากหน้าหลายตา และหลากค่ายการเมือง

ขณะที่ทางด้าน สติธร มองว่าผลการเลือกตั้งใน กทม. ครั้งนี้มีนัยยะสำคัญต่อการเลือกตั้งในปีหน้าแน่นอน โดยผลเลือกตั้ง กทม. จะสะท้อนแนวคิดของประชาชนว่าคนที่สนับสนุนแนวคิดก้าวหน้ามีจำนวนเท่าไหร่ และสนับสนุนแนวคิดนอนุรักษ์นิยมมีจำนวนเท่าไหร่ 

“ผ่านการเลือกตั้งไป 3 ปี สนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เป็นการมองการเลือกตั้งปีหน้าในฐานะการแบ่งกลุ่มประชาชนเป็นอนุรักษ์ และก้าวหน้า ถึงจะไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็พอเห็นภาพ และพอเป็นประโยชน์ต่อเลือกตั้งสนามใหญ่”

เขาทิ้งท้ายว่า ที่สำคัญคือคะแนนของกลุ่ม ส.ก. เพราะนี่คือการสะท้อนภาพของคะแนนจัดตั้งในพื้นที่ กทม. ที่สำคัญที่สุด 

“คะแนน ส.ก. นี่สำคัญ เพราะจะได้เห็นว่าคะแนนจัดตั้งมันอยู่ตรงไหนบ้าง และถ้าจะเสริมฐานจัดตั้งให้แข็งแรงเพิ่มขึ้นควรทำอย่างไร”