ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตร

         ถ้ารู้จักเตือนอย่างนี้ เสขิยวัตร ต้นบัญญัติของมารยาทไทยกี่ข้อ ๆ เขาย่อมรับไปปฏิบัติตามได้ทั้งหมด เรื่องกระทบกระทั่งทั้งหลายก็จะน้อยลงไป บ้านเมืองของเราก็จะร่มเย็นเป็นสุขสมกับเป็นบ้านเมืองแห่งพระพุทธศาสนา แล้วชาวไทยก็จะได้ชื่อว่าเป็นชนชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่ง ประเทศไทยก็จะกลับมาเป็นสยามเมืองยิ้มอีก เมื่อเครดิตทั้งคนและประเทศดี การเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปสู่ชาวต่างชาติก็จะทำได้โดยง่ายยิ่งขึ้น เพราะเขายอมรับนับถือศรัทธาเราตั้งแต่ต้นมือแล้ว

เสขิยวัตร 75 เป็นส่วนหนึ่งของพระวินัยของพระภิกษุในศีล 227 ข้อ กล่าวคือเป็นวัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษาธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุพึงสำเหนียก หรือพึงฝึกฝนปฏิบัติ เป็นพุทธบัญญัติที่ได้เตือนสติให้ภิกษุสงฆ์พึงสำรวมกาย วาจา ใจ เมื่อเข้าไปอยู่ในที่ชุมชนหรือในละแวกบ้านของผู้อื่น เพื่อยังให้บุคคลในชุมชนนั้นๆ เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา 

โครงสร้างศีล 227 ข้อ

ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตร

เสขิยวัตร ประกอบด้วย 4 หมวด

หมวด “สารูป” มี 26 สิกขาบท - ว่าด้วยกิริยามารยาที่ควรประพฤติในเวลาเข้าไปในหมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่การนุ่งห่ม การสำรวม ระวังอิริยาบถ การพูดคุย ให้อยู่ในอาการที่เหมาะสม

หมวด “โภชนปฏิสังยุต” มี 30 สิกขาบท : ว่าด้วยกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในการรับบิณฑบาต และการฉันภัตตาหาร

                                          ปาฏิเทสนียะ  และเสขิยวัตร

๑.  เสขิยวัตร  มีความหมายว่าอย่าไร  จงอธิบายพอได้ความ  ?

เสขิยวัตร  ได้แก่ธรรมเนียมที่ภิกษุพึงศึกษา  พึงปฏิบัติเพื่อให้มีกิริยามารยาทอันดีงาม  ฯ     

๒.  เสขิยวัตรสำคัญอย่างไร  ถ้าไม่ปฏิบัติจะต้องอาบัติอะไร  เพราะเหตุไร  จึงตอบอย่างนั้น  ?

เสขิยวัตรสำคัญอย่างนี้  คือ  เป็นวัตรที่ภิกษุสามเณรต้องศึกษาให้รู้ธรรมเนียมกิริยามารยาท  ในเวลาเข้าบ้าน  รับบิณฑบาต  และฉันอาหาร  เป็นต้น  เพื่อป้องกันไม่ให้โลกติเตียน  และเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา  ถ้าไม่ปฏิบัติตาม  ต้องอาบัติทุกกฏ  เหตุที่ตอบอย่างนี้  เพราะข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามก็ดี  ทรงอนุญาตก็ดี  เมื่อไม่ปฏิบัติตามย่อมมีความผิดฐานไม่เอื้อเฟื้อ ฯ          

๓.  เสขิยวัตร  สำคัญอย่างไร  ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะต้องอาบัติอะไร   เพราะเหตุไรจงต้องอาบัติเช่นนั้น? (๙ / ๔๑) 

ต้องอาบัติทุกกฎ เพราะข้อที่ทรงห้ามก็ดี ข้อที่ทรงอนุญาตก็ดีเมื่อไม่ปฏิบัติตาม ย่อมมีความผิดฐานไม่เอื้อเฟื้อต่อพระวินัย

๔.  เสขิยวัตร  จัดเข้าในวินัยประเภทไหน ?

๕.  เสขิยวัตรแต่ละหมวดว่าด้วยเรื่องอะไร?

หมวดที่  ๑ เรียกว่า สารรูป ว่าด้วยธรรมเนียม ควรประพฤติในเวลาเข้าบ้าน

      หมวดที่  ๒ โกชนปฏิสังยุต ว่าด้วยธรรมเนียมรับบิณฑบาตและฉันอาหาร

        หมวดที่  ๓ เทสนาปฏิสังยุต ว่าด้วยธรรมเนียมไม่ให้แสดงธรรมแก่บุคคลที่แสดงอาการไม่เคารพ

หมวดที่  ๔  เรียกว่า ปกิณณกะ  ว่าด้วยธรรมเนียมถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

๖. ทรงสอนให้ภิกษุสำรวมตาอย่างไร ?

เราจักมีตาทอดลงไป-นั่งในบ้าน

๗. ทรงสอนการรับบิณฑบาตที่น่าเลื่อมใสไว้อย่างไรบ้าง  ?

บิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ,จักมองดูแต่ในบาตร,รับเสมอขอบบาตร

๘.  ทางสอนให้ช่วยกันรักษาสิงแวดล้อมไว้อย่างไร  ? 

ไม่เอาน้ำบาตรที่มีเม็ดข้าวเทในละแวกบ้าน,จักไม่ถ่ายอุจารุ ปัสสาวะ ม้วนเขฬะลงในของเขียว

๙.  ภิกษุละเมิดเสขิยวัตร  ต้องอาบัติอะไร  ?

๑๐.  ภิกษุยืนถ่ายปัสสาวะ  ต้องอาบัติอะไรหรือไม่  จงชี้แจง  ?

ถ้าเธอเป็นไข้  ไม่ต้องอาบัติ  แต่ถ้าไม่เป็นไข้  ต้องทุกกฏ  ตามสิกขาบทที่  ๑  แห่งหมวดปกิณณกะ  แห่งเสขิยวัตร ฯ      

๑๑.  ธรรมเนียมของภิกษุ  ถืออิริยาบถยืนเป็นการเคารพ  หากว่าภิกษุผู้หวังความเคารพในพระธรรมวินัยตามธรรมเนียมนี้  จึงยืนทำกิจต่างๆ  จะมีทางผิดธรรมเนียมข้อไหนบ้างหรือไม่  ?

มี  ผิดธรรมเนียมข้อ  ๑๔  แห่งธรรมเทสนาปฏิสังยุตว่า  เรายืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่  และข้อที่  ๑  แห่งปกิณณกะว่า  เราไม่เป็นไข้จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ  ฯ     

๑๒.  ภิกษุบ้วนเขฬะลงในสนามหญ้า  ต้องอาบัติอะไร  ?

ต้องอาบัติทุกกฏ  ตามสิกขาบทที่  ๒  แห่งเสขิยวัตร  หมวดปกิณณกะ  เว้นแต่เป็นไข้  ไม่เป็นอาบัติ ฯ

๑๓.  ภิกษุนุ่งห่มจีวรไม่เรียบร้อย  ต้องอาบัติอย่างไร  ตามสิกขาบทไหน  ?

ต้องอาบัติทุกกฎ  ตามเสขิยวัตร  หมวดที่  ๑  เรียกว่าสารูป  ข้อ  ๑.๒     

๑๔.  เรื่องมารยาทผู้ดี  พระพุทธเจ้าทรงเน้นมาก  ขอให้นำสิกขาบทที่เกี่ยวกับ

๑.  การยืน  ๒.  การเดิน  ๓.  การนั่ง  ๔.  การนอน  ๕.  การนิ่ง  มาดูอย่างละข้อ  ?

๑.  สิกขาบทเกี่ยวกับการยืน  เช่น  สิกขาบทที่  ๑  แห่งหมวดปกิณณกะ  ในเสขิยวัตร  ความว่า  “เราไม่เป็นไข้  จะไม่ยืนถ่ายอุจจาระ  ปัสสาวะ  ถ้ายืนถ่าย  เป็นอาบัติทุกกฎ

๒.  สิกขาบทเกี่ยวกับการเดิน  เช่น  สิกขาบทที่  ๗  แห่งสัปปาณวรรค  ปาจิตตีย์  ความว่า  “ภิกษุชวนผู้หญิงเดินร่วมทางกัน  แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง  ต้องปาจิตตีย์”

๓.  สิกขาบทเกี่ยวกับการนั่ง  เช่น  สิกขาบทที่  ๔  แห่งอเจลกวรรค  ปาจิตตีย์  ความว่า  “ภิกษุนั่งในห้องกับหญิง  ไม่มีผู้ชายอยู่เป็นเพื่อน  ต้องปาจิตตีย์”

๔.  สิกขาบทเกี่ยวกับการนอน  เช่น  สิกขาบทที่  ๖ แห่งมุสาวาทวรรค  ปาจิตตีย์  ความว่า  “ภิกษุนอนในที่มุงบังอันเดียวกันกับผู้หญิง แม้ในคืนแรก  ต้องปาจิตตีย์”

๕.  สิกขาบทเกี่ยวกับการนิ่ง  เช่น  สิกขาบทที่  ๒  แห่งภูตคามวรรค  ปาจิตตีย์  ความว่า  “เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น  (หรือ)  ในเพราะการนิ่งเสียทำให้สงฆ์ลำบาก”

๑๕.  ครองผ้าอย่างไร  เรียกว่าปริมณฑล  ? (๗ / ๓๗) 

นุ่งปิดสะดือ ปกเข่าทั้ง 2เรียกว่านุ่งเป็นปริมณฑล,ห่มเข้าบ้านปิดหลุมคอ ปกข้อมือทั้ง 2 ปกเข่าทั้ง 2 เรียกว่าห่มเป็นปริมณฑล

๑๖.  ภิกษุจ้องดูบาตรของตนขณะฉันบิณฑบาต ต้องอาบัติหรือไม่ ถ้าจ้องดูบาตรของผู้อื่นเล่า ต้อง อาบัติอะไรหรือไม่ ตอบให้มีหลัก ?

ไม่ต้องอาบัติอะไร ถ้าจ้องดูบาตรของผู้อื่นด้วยอันคิดจะยกโทษ ต้องอาบัติทุกกฎ ตามสิกขาบทที่ ๑๒ โภชนะปฎิสังยุต  เสขิยวัตรหากดูด้วยเอื้อเฟื้อ จะให้ของฉันที่ผู้อยู่ใกล้เคียง ไม่มี ไม่ต้องอาบัติ ฯ

๑๗.  โภชนะปฏิสังยุตข้อ ๑๗ , ๒๒ , ๒๓ , ๒๔  ,๒๕  มีความว่าอย่างไร  ?

ข้อ ๑๗ พึงศึกษาว่า ปากยังมีคำข้าว เราจักไม่พูด

ข้อ ๒๒ พึงศึกษาว่า เราจักไม่ฉัน ทำเมล็ดข้าวให้ตก

ข้อ ๒๓ พึงศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น

ข้อ  ๒๔  พึงศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังจับๆ

ข้อ  ๒๕  พึงศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังซูดๆ

๑๘.  ตามพระวินัย  ภิกษุถืออิริยาบถไหนเป็นอิริยาบถเคารพ  จงตอบอ้างที่มาด้วย ?

ถืออิริยาบถยืนเป็นอิริยาบถที่เคารพ ดังในสิกขาบทธัมมเทสนาปฏิสังยุต เสขิยวัตรว่าภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่)

๑๙.  การนุ่งเป็นปริมณฑล คือการนุ่งอย่างไร?  (๑๐ / ๔๕)  

เบื้อบนนุ่งปิดสะดือ เบื้องล่างปิดหัวเขาทั้ง 2 ลงเพียงครึ่งแข้ง

๒๐.  เสขิยวัตรว่าด้วยการรับบิณฑบาตมีหลายข้อ  จงระบุมาเพียง ๒ ข้อ ?

รับบิณฑบาตโดยเคารพ,รับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก,หรือรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาต,

เมื่อรับบิณฑบาต จักแลดูแต่ในบาตร

๒๑.  เสขิยวัตร  คืออะไร? หมวดที่  ๒ ว่าด้วยเรื่องอะไร?  (๙ / ๔๖)

วัตรที่พระภิกษุจำต้องศึกษา  หมวดที่  ๒ ว่าด้วยธรรมเนียมรับบิณฑบาตและฉันอาหาร

๒๒.  ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตร ปฏิบัติผิดธรรมเนียม  ต้องอาบัติอะไรบ้าง?

๒๓.  ทรงสอนให้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมไว้อย่างไร ?

เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวเทลงในละแวกบ้านจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ บ้วนเขฬะลงในน้ำ

๒๔.  อธิกรณ์ คืออะไร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

อธิกรณ์คือเรื่องที่เกิดขึ้นต้องจัดทำให้เรียบร้อยมี ๔ ประเภท คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ 

อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์ ฯ

๒๕.  การอุปสมบทเป็นอธิกรณ์หรือไม่เพราะเหตุไร ระงับด้วยวิธีไหน ?

การอุปสมบทจัดเป็นอธิกรณ์ คือเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะเป็นกิจที่สงฆ์จะพึงทำ คือสำเร็จกิจได้ ต้องอาศัยสงฆ์จัดทำ ระงับด้วย สัมมุขาวินัย ฯ

๒๖.  ปาฏิเทสนียะ   หมายถึงอะไร  ?  มีกี่สิกขาบท  ?

หมายถึง  อาบัติที่จะพึงแสดงคืน  มี  ๔  สิกขาบท  ฯ

๒๗.  วิวาทาธิกรณ์คืออะไร  ระงับด้วยสมถะอะไร ?

วิวาทาธิกรณ์ คือ การถกเถียงกันปรารภธรรมวินัยว่า อย่างนี้ถูก อย่างนี้ผิด ระงับด้วยสัมมุขาวินัยเยภุยยสิกา ฯ