Subtractive Color Mixing คืออะไร

ตาคนเรามองเห็นวัตถุต่าง ๆ ได้เพราะว่าแสงส่องไปตกกระทบกับวัตถุนั้นแล้วสะท้อนเข้าตาของเรา แสงที่มนุษย์มองเห็นได้จะเป็น แสงขาว (Visible light) ซึ่งเกิดจากการรวมกันของสีหลาย ๆ สี

ในการสร้างสีต่าง ๆ นั้นเราสามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้โดยใช้แม่สีมาผสมกัน โดยการผสมเพื่อให้ได้สีใหม่ ที่นิยมใช้กันมีสองวิธี คือการผสมสีแบบบวก และการผสมสีแบบลบ การผสมสีแบบบวก (Additive Color Mixing) เป็นการผสมแสงสี โดยมีแม่สีสามสีคือ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน เมื่อแต่ละสีผสมกันสีที่ได้จะยิ่งสว่างมากขึ้น และถ้าผสมกันทุกสีด้วยความเข้มเท่ากันเราจะได้สีขาว ส่วนการผสมสีแบบลบ (Subtractive Color Mixing) จะใช้แม่สีสามสีคือ แดงแกมม่วง สีเหลือง และสีน้ำเงินแกมเขียว การผสมสีแบบนี้ยิ่งผสมจะทำให้สีมืดลง

การผสมสีแบบลบจะใช้กับงานพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์ เราจึงต้องใช้แม่สีสามสีดังที่กล่าวมา และใช้สีดำในการพิมพ์ส่วนที่เป็นสีดำ ส่วนการผสมสีแบบบวกนั้นเราใช้กับงานการผสมแสงต่าง ๆ เช่น งานบนเวทีต่าง ๆ จอโทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์

เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น เราจะพบจอภาพที่ผสมแสงสีแบบใหม่ ๆ ออกมา หากเราพิจารณาจอโทรทัศน์จะพบว่ายุคแรก ๆ จะเป็นจอภาพแบบขาวดำ ซึ่งเกิดจากการยิงลำอิเล็กตรอนเพียงลำเดียวไปบนจอภาพ แล้วสแกนให้เกิดภาพ ต่อมาได้พัฒนาให้มีลำอิเล็กตรอน 3 ลำ เป็นแม่สีคือแสง สีแดง เขียว และน้ำเงิน เมื่อลำอิเล็กตรอนยิงมาผสมกันก็เกิดเป็นจุดภาพสีต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้ จอลักษณะนี้จะมีขนาดหนา เพราะต้องยิ่งลำอิเล็กตรอนออกไป แล้วใช้สนามแม่เหล็กกับสนามไฟฟ้าสแกนออกมาให้เป็นภาพ

ต่อมาจอภาพได้พัฒนาให้เล็กลงบางลงเป็นจอแบบ LCD ซึ่งจะมีแหล่งกำเนิดแสงอยู่ด้านหลัง แล้วใช้สนามไฟฟ้าทำให้ผลึกเหลวบิดไปมา ทำให้เราเห็นจุดภาพแต่ละจุดมีสีต่าง ๆ ได้ แต่จอลักษณะนี้จะมีความสว่างน้อย หากมองเอียง ๆ มองไม่ค่อยชัดเพราะว่าแสงเดินทางเป็นเส้นตรงนั้นเอง

เมื่อมีการพัฒนาเป็นจอแบบ LED ซึ่งแต่ละจุดภาพจะมีแสงสว่างในตัวเอง แต่ละจุดภาพที่เรียกว่า พิกเซล (pixel) นั้นจะแบ่งเป็นเซลเล็ก ๆ ที่แปล่งแสงสีแดง เขียว น้ำเงิน ออกมาได้นั้นเอง เมื่อแสงแต่ละสีออกมาด้วยความเข้มแตกต่างกันก็จะทำให้ผสมกับเป็นสีต่าง ๆ มากมายได้นั้นเอง

Subtractive Color Mixing คืออะไร
Subtractive Color Mixing คืออะไร

หากเราเป็นนักพัฒนาเทคโนโลยีด้านสีสัน เราจะต้องใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาควบคุมปริมาณแสงของสีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดเป็นสีตามที่เราต้องการให้ได้

ระบบสี Subtractive มีลักษณะที่ตรงข้ามกับ Additive โดยสีแต่ละสีจะได้จากการลบสีต่างๆ ออกไปจากระบบ ดังนั้น หากไม่มีการแสดงสีใดๆ จะแสดงผลเป็นสีขาว ขณะที่การแสดงสีทุกสี จะปรากฏเป็นสีดำ และสีหลัก หรือแม่สีของระบบนี้ จะประกอบด้วย สีฟ้า (Cyan) สีม่วงแดง (Magenta) และสีเหลือง (Yellow) หรือระบบ CMY เป็นระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ซึ่งมักจะรวมเอาสีดำ มาเป็นแม่สีด้วย จึงเรียกว่าระบบ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK) นั่นเอง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

ตัวอย่างการผสมสี

CYAN INK�MAGENTA INK�YELLOW INK�BLACK INK�ALL INKS

�100% CYAN

�-

100% YELLOW

�-

�GREEN

�100% CYAN

�-

100% YELLOW

25% BLACK

�DARK GREEN

�-

�100% MAGENTA

100% YELLOW

�-

�RED

�-

�100% MAGENTA

�100% YELLOW

25% BLACK

�DARK RED

�100% CYAN

��50% MAGENTA

�-

�-

�BLUE

��50% CYAN

75% MAGENTA

�100% YELLOW

�-

�BROWN

�45% CYAN

�30% MAGENTA

�30% YELLOW

�-

�GRAY

ที่มา http://www.nectec.or.th/courseware/graphics/intro/0006.html

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 23,881 ครั้ง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 64,859 ครั้ง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 17,829 ครั้ง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 71,051 ครั้ง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 53,744 ครั้ง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 19,958 ครั้ง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 26,628 ครั้ง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 24,923 ครั้ง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 19,997 ครั้ง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 17,458 ครั้ง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 1,136 ครั้ง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 15,444 ครั้ง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 26,723 ครั้ง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 24,329 ครั้ง

Subtractive Color Mixing คืออะไร

เปิดอ่าน 16,099 ครั้ง

ทุกคนคงได้รู้จักแม่สีในการออกแบบแบรนด์ทั้ง 3 สีซึ่งประกอบด้วย สีแดง เหลือง และน้ำเงิน มาก่อนจากการเรียน

ศิลปะในตอนเด็กๆ สีทั้ง สามนี้ถือว่าเป็นแม่สีหลักหรือสีขั้น ต้น (primary colors) เนื่องจากสีในการออกแบบแบรนด์

ทั้งสามเป็นสีที่ไม่สามารถเกิดขึ้น จากการผสมของสีอื่นๆและยังเป็นต้นกำเนิดของสีอื่นๆที่เหลือทั้งหมด ต่อไปก็เป็นสี

ขั้นที่ 2 (secondary colors) ที่เกิดจากการผสมของสีขั้นต้นเข้าด้วยกันโดยที่ สีแดงกับเหลืองได้เป็นส้ม, สีเหลืองกับ

น้ำเงินได้เป็นเขียว, สีน้ำเงินกับแดงได้เป็นม่วง ต่อจากนั้น ก็เป็นสีขั้น ที่ 3 (tertiary colors) ซึ่งเกิดจากการผสมของสี

ขั้น ต้นกับสีขั้น ที่ 2 ที่อยู่ติดกันทั้ง สองด้าน ในที่สุดเราก็จะได้สีขั้น ที่ 3ทั้งหมด 6 สี ได้แก่ เหลือง-ส้ม, แดง-ส้ม, แดง-ม่วง, น้ำเงิน-ม่วง, น้ำเงิน-เขียว, และเหลือง-เขียว

การผสมสี (Color Mixing)

รูปแบบการผสมสีเพื่อให้เกิดเป็นสีในการออกแบบแบรนด์ต่างๆ สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือการผสมของแสงซึ่ง

เป็นการผสมแบบบวก(additive mixing) และการผสมของวัตถุ (pigment) ซึ่งเป็นการผสมแบบลบ (subtractive

mixing)ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

การผสมสีแบบลบ (Subtractive Color Mixing)

การผสมสีแบบลบ เกิดจากการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุต่างๆ เมื่อแสงสีขาวส่องมายังวัตถุหนึ่งๆ วัตถุนั้น จะดูด

กลืนแสงที่ความยาวคลื่นบางระดับไว้ และสะท้อนแสงที่เหลือออกมาให้เราเห็น สีในการออกแบบแบรนด์ขั้นต้นในรูป

แบบนี้ประกอบด้วย สีแดงแกมม่วง (magenta) สีน้ำเงินแกมเขียว (cyan) และสีเหลือง (ไม่ใช่สี แดง เหลือง และ

น้ำเงิน อย่างที่หลายๆคนเข้าใจ)

เมื่อมีการผสมของวัตถุหรือวัตถุมีสี จะเกิดการรวมกันของสีที่จะถูกดูดกลืนไว้ ทำให้จำนวนแสงที่จะสะท้อนออกมาลด

ลงจึงเป็นที่มาของชื่อ ”สีในการออกแบบแบรนด์แบบลบ” เมื่อสีทั้งสามมีการผสมกันเป็นคู่ๆ ก็จะเกิดผลเป็นสีต่างๆ

ได้แก่สีแดง (เกิดจากสีแดงแกมม่วงบวกกับเหลือง) สีเขียว (เกิดจากสีเหลืองบวกกับน้ำเงินแกมเขียว) และสีม่วง (เกิด

จากสีน้ำเงินแกมเขียวบวกกับแดงแกมม่วง) ในขั้น สุดท้าย เมื่อรวมสีทั้งสามเข้าด้วยกันก็จะเห็นเป็นสีดำ เพราะมีการ

ดูดกลืนแสงทุกสีไว้ทั้งหมด ทำให้ไม่มีแสงสีใดสามารถสะท้อนออกมาได้ สื่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุมีสี อย่าง

เช่น สีที่ใช้ในการวาดรูปของศิลปิน ดินสอสี

สีเทียน รวมถึงระบบการพิมพ์แบบ 4 สีในสิ่งพิมพ์ต่างๆ ล้วนอาศัยการผสมสีแบบลบทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้การออกแบบ

โลโก้กราฟิก โบรชัวร์ แพ็กเกจจิ้ง และสิ่งต่างๆที่จะใช้ในสิ่งพิมพ์ จึงอาศัยหลักการผสมสีแบบลบนี้

 การผสมสีแบบบวก (Additive Color Mixing)

การผสมสีแบบบวกนี้เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากในการทำความเข้าใจ เพราะมีหลักการที่ลบล้างสิ่งที่คุณถูกสอนมาในสมัย

ก่อน

เรากำลังจะพูดถึงรูปแบบการผสมของแสง ไม่ใช่การผสมของวัตถุมีสีบนกระดาษ เนื่องจากแสงสีขาวประกอบด้วย

ลำแสงที่

มีสีต่างๆตามความยาวคลื่นแสง Colors and fonts in design Page 2 ความยาวคลื่นแสงพื้นฐานได้แก่สีแดง, เขียว,

และน้ำเงิน ไม่ใช่สีแดง, เหลือง, และน้ำเงิน อย่างที่เข้าเราใจมาก่อน เมื่อ

คลื่นแสงเหล่านี้มีการซ้อนทับกันก็จะก่อให้เกิดการบวกและรวมตัวกันของความยาวคลื่นแสง จึงเป็นที่มาของชื่อ ”สี

แบบบวก” เมื่อแสงทั้งสามสีมีการผสมกันเป็นคู่ ก็จะเกิดเป็นสีน้ำเงินแกมเขียวหรือ cyan (เกิดจากสีน้ำเงินบวกกับ

เขียว) สีแดงแกมม่วงหรือ magenta (เกิดจากสีแดงบวกกับม่วง) และสีเหลือง (เกิดจากสีแดงบวกกับเขียว) ในที่สุด

เมื่อผสมสีทั้งสามเข้าด้วยกัน

ก็จะได้ผลลัพธ์เป็นแสงสีขาวอีกครั้ง สื่อใดๆก็ตามที่มีการใช้แสงส่องออกมา อย่างเช่น จอโปรเจคเตอร์ (movie

projector) ทีวี หรือจอมอนิเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์ ต่างขึ้น อยู่กับการผสมสีแบบบวกนี้ด้วยเหตุนี้การออกแบบสี

สำหรับโลโก้ กราฟิก หรือเว็บไซท์ ที่จะใช้แสดงผลบนหน้าจอ จึงต้องอาศัยหลักการผสมสีในการออกแบบแบรนด์แบบ

บวกนี้

วงล้อสี (Color Wheel)

วงล้อสีแบบ 12 ขั้นได้แสดงถึงการจัดลำดับเฉดสีอย่างมีเหตุผลและง่ายต่อการนำไปใช้ประโยชน์ วงล้อสีจึงเป็นเครื่อง

มือที่มีประโยชน์อย่างมากของศิลปิน ในการศึกษาและออกแบบงานศิลปะต่างๆ

วงล้อสีแบบลบ (Subtractive Color Wheel)

สีขั้นต้นในวงล้อสีแบบลบ ประกอบด้วย สีแดงแกมม่วง (magenta) สีน้ำเงินแกมเขียว (cyan) และสีเหลือง ส่วนสีอื่นๆ

อาศัยหลักการผสมสีแบบลบได้เป็นสีที่เหลือทั้งหมดระบบสีแบบ CMYK ซึ่งประกอบด้วย Cyan, Magenta, Yellow

และ blacK นั้น เป็นระบบสีหลักที่ใช้ในสิ่งพิมพ์สีโดยทั่วไป มักนิยมเรียกกันว่าพิมพ์ 4 สี ซึ่งหมายถึงการพิมพ์จากแม่สี

4 สี ดังกล่าว ได้เป็นสีสันต่างๆแบบสมจริงครบทุกสี

 วงล้อสีแบบบวก (Additive Color Wheel)

วงล้อสีแบบบวกนี้ดูคล้ายๆกับวงล้อสีแบบลบ แต่มีความสมดุลของสีในการออกแบบแบรนด์ที่ต่างกันอย่างมาก ตรงที่สี

โดยส่วนใหญ่ถูกครอบคลุมด้วยสีน้ำเงินและเขียว ขณะที่สีเหลืองและสีแดงมีผลเพียงเล็กน้อยในวงล้อสีแบบนี้เช่น

เดียวกับการกระจายตัวของสีในสเปกตรัม ซึ่งมีลักษณะเด่นของความยาวคลื่นแสงสีน้ำเงิน และมีส่วนของ

ความยาวคลื่นแสงสีแดงเพียงเล็กน้อย ระบบสีแบบ RGB ประกอบด้วยสีหลักคือ Red, Green และ Blue เป็นระบบสีที่

ใช้ในการออกแบบสื่อที่แสดงผลบนหน้าจอ เช่น เว็บไซต์, ทีวี, multimedia,PowerPoint

สีที่เป็นกลาง (Neutral Colors)

สีที่เป็นกลางคือสีกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในวงล้อสี ซึ่งเป็นสีที่ไม่ได้รับอิทธิพลใดๆมาจากสีอื่น ซึ่งก็คือสีเทา แม้ว่า

จะมีเฉดสีของสีเทาจำนวนมากมายไม่สิ้นสุด แต่แค่เพียงที่เฉดสีเทาจำนวน 256 ระดับ สายตาคนเราก็ไม่สามารถแยก

ความแตกต่างออกจากกันได้ ทำให้มองเห็นเป็นแถบสีระหว่างดำกับขาวโดยไม่มีรอยต่อแต่อย่างใด สีเทาได้ชื่อว่าเป็น

สีกลางก็เพราะเป็นสีที่ไม่มีลักษณะเฉพาะส่วนตัว ทำให้ชุดของสีที่ประกอบไปด้วยสีเทาทั้งหมดจะดูค่อนข้างจืดชืด ไม่

เร้าอารมณ์อย่างไรก็ตาม สีเทาก็จะไปรับเอาลักษณะจากสีที่อยู่ล้อมรอบนั่นเอง เป็นเหตุให้ศิลปินส่วนใหญ่หลีกเลี่ยง

การใช้สีเทาเพราะผลที่ได้รับจากสีอื่นนั้น ไม่คงที่ ยากต่อการควบคุม

สีอ่อน สีเข้ม และโทนสี (Tints, Shades, and Tones)

ในการผสมสีกลางดังกล่าวเข้ากับสีในการออกแบบแบรนด์บริสุทธิ์ (สีที่ไม่ผ่านการผสมกับสีอื่นมาก่อน) จะเกิดเป็นสี

ต่างๆจำนวนมากมาย จนไม่สามารถบรรจุไว้ในวงล้อสีได้ทั้งหมด จากประสบการณ์ที่ผ่านมา คุณคงรู้ว่าสีแดงไม่ได้มี

เพียงเฉดสีเดียว แท้จริงแล้ว มีแดงอ่อน, แดงแก่, แดงเข้ม, หรือแดงจาง ฯลฯ อีกจำนวนนับไม่ถ้วน สีเหล่านี้เป็นผลมา

จากการผสมของสีบริสุทธิ์กับสีขาว ดำ

และเทาระดับต่างๆ นั่นเอง

– เมื่อสีบริสุทธิ์ผสมกับสีขาว จะได้เป็นสีอ่อน (tint of the hue)

– เมื่อสีบริสุทธิ์ผสมกับสีดำ จะได้เป็นสีเข้ม (shade of the hue)

– เมื่อสีบริสุทธิ์ผสมกับสีเทา จะได้เป็นโทนสีที่ระดับต่างๆ (tone of the hue)

สีอ่อน สีเข้ม และโทนสี มีประโยชน์อย่างมากในการจัดชุดของสี เพราะทำให้สีสีหนึ่งสามารถแสดงออกและให้ความ

รู้สึกได้หลายรูปแบบยิ่งขึ้น ทดแทนการใช้สีล้วนซึ่งอาจมีลักษณะไม่น่าสนใจนัก

ความกลมกลืนของสี (Color Harmony)

ความกลมกลืนของสี หมายถึงความเป็นระเบียบของสีอย่างเป็นที่น่าพึงพอใจต่อสายตา ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความเป็น

ระเบียบ, สมดุล และความสวยงามในเวลาเดียวกัน การใช้สีที่จืดชืดเกินไป จะทำให้เกิดความรู้สึกน่าเบื่อ และไม่

สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้ ในทางตรงกันข้าม การใช้สีที่มากเกินไป ดูวุ่นวาย ไร้ระเบียบ ก็จะสร้างความไม่

เข้าใจและความสับสนให้ผู้ชม ดังนั้น เป้าหมายสาคัญคือการออกแบบโดยใช้ชุดสีในรูปแบบที่สวยงาม น่าสนใจ และ

สื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม

ชุดสี (Color scheme)

ชุดสี (Color scheme) หมายถึงชุดสีที่เข้ากัน (harmony) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประมวลผลทางสายตาหรือสมอง ต่อผล

รวม

ของสีทั้งหมด ถึงความสมดุล (balance) หรือความเป็นกลาง (neutrality)

– เมื่อสีในการออกแบบแบรนด์ที่ใช้ทั้งหมดนั้น รวมกันเป็นสีเทา (grey) ถือว่าชุดสีนั้น มี harmony

– วงล้อสี (Color wheel) จะช่วยให้เราเลือกชุดสีที่มีความสมดุลต่อกันได้อย่างสะดวก

รูปแบบชุดสีโดยทั่วไป (Simple Color Schemes)

หลังจากที่เราได้รู้พืน้ ฐานของสีมาพอสมควร ต่อไปจะได้รู้จักชุดสีที่ถูกจัดกลุ่มอย่างเข้ากันด้วยรูปแบบต่างๆ ทำให้เรา

มีโอกาสเลือกชุดสีเหล่านี้มาใช้ในการออกแบบได้โดยไม่ต้องเสียเวลาสุ่มเลือกสีต่างๆเพื่อให้ดูเข้ากัน

ชุดสีร้อน (Warm Color Scheme)

ชุดสีร้อนประกอบด้วยสีแดงแกมม่วง, แดง, ส้ม, ส้มเหลือง, และเหลืองเขียว สีเหล่านี้สร้างความรู้สึกอบอุ่น ตื่นเต้น และ

สนุกสนาน สีต่างๆในชุดสีร้อนมีความกลมกลืนอยู่ในตัวเอง ช่วยดึงดูดความสนใจได้ง่าย

ชุดสีเย็น (Cool Color Scheme)

ชุดสีเย็นประกอบด้วยสีม่วง, น้ำเงินแกมม่วง, น้ำเงิน, ฟ้า, และสีเขียวอ่อน ตรงกันข้ามกับชุดสีร้อน ชุดสีเย็นให้ความ

รู้สึกเย็นสบาย องค์ประกอบที่ใช้สีเย็นเหล่านี้จะดูสงบ สุภาพ และสะอาด ชุดสีเย็นมีความกลมกลืนกันในตัว นิยมใช้สื่อ

ถึง ธรรมชาติ ความสมบูรณ์ ปลอดภัย

จะเห็นว่า มีสีจำนวน 2 สีที่ไม่อาจจำแนกออกเป็นสีร้อนหรือสีเย็นได้อย่างแน่นอน ซึ่งก็คือสีเหลืองและสีเขียว เพราะสี

ในการออกแบบแบรนด์ทั้งสองสามารถให้ความรู้สึกได้ทั้ง ร้อนและเย็นตามแต่สถานการณ์และสีรอบข้าง

ชุดสีเดี่ยว (Monochromatic Color Scheme)

รูปแบบของชุดสีที่ง่ายที่สุดก็คือชุดสีเดี่ยว ที่มีค่าของสีบริสุทธ์ิเพียงสีเดียว แต่จะมีความเข้ม (shade) หรืออ่อน (tint)

แตกต่างกันตามความอิ่มตัว (saturation) และความสว่าง (lightness) ของสี ดังนั้น ชุดสีเดี่ยวของสีแดงอาจประกอบ

ด้วยสีแดงล้วน, สีแดงอิฐ (สีเข้มของสีแดง), สีสตรอเบอรี่ (สีอ่อนปานกลางของสีแดง), และสีชมพู (สีอ่อนมากของสี

แดง) ชุดสีแบบนี้ค่อนข้างจะมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน และมีประสิทธิภาพในการสร้างอารมณ์โดยรวมด้วยการ

ใช้สีเพียงสีเดียวอย่างไรก็ดี รูปแบบที่มีสีเดียวนี้อาจดูไม่มีชีวิตชีวา ไม่ดึงดูดใจ เพราะขาดความหลากหลายของสีชุดสี

ใกล้เคียง(Analogous Color Scheme)

ชุดสีใกล้เคียงประกอบด้วยสี 2 หรือ 3 สีที่อยู่ติดกันในวงล้อสี เช่น สีแดงแกมม่วง สีแดง และสีส้ม ชุดสีรูปแบบนี้

สามารถนำมาใช้ได้ง่าย เพราะมีความกลมกลืนกันอยู่ในตัว เหมาะที่จะใช้สร้างความคล้ายคลึง ต่อเนื่องกัน อย่างไร

ก็ตาม การขาดความแตกต่างอย่างชัดเจนของสี อาจทำให้ไม่โดดเด่นพอที่จะดึงดูดความสนใจได้ ขณะที่การเพิ่มจาน

วนสีมากขึ้น เป็น 4หรือ 5 สี กลับจะมีผลให้ขอบเขตของสีกว้างเกินไป ทำให้ความคล้ายคลึงกันลดลง

ชุดสีตรงข้าม (Complementary Color Scheme)

ชุดสีตรงข้ามประกอบด้วยสี 2 สีที่อยู่ตรงกันข้ามกันในวงล้อสี เช่น สีแดงกับเขียว หรือสีน้ำเงินกับส้ม ซึ่งเมื่อนำสีทั้ง

สองนี้มาผสมกัน จะได้ผลลัพธ์เป็นสีขาวสำหรับวงล้อสีในการออกแบบแบรนด์แบบบวก หรือได้เป็นสีดำสำหรับวงล้อสี

แบบลบ จากคุณสมบัตินีhจึงเรียกสีคู่นี้ว่าเป็น ”คู่สีเติมเต็ม” เมื่อนำสีทั้งสองมาใช้คู่กันจะทำให้สีทั้งสองมีความสว่าง

และสดใสมากขึ้นซึ่งถือเป็นคู่สีที่มีความแตกต่างมากที่สุด (maximum contrast) และยังมีความเสถียรมากที่สุด

(maximum stability)

ข้อได้เปรียบของชุดสีตรงข้ามคือ ความสดใส สะดุดตา น่าสนใจ

ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง (Split Complementary Color Scheme)

ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง มีรูปแบบคล้ายกับชุดสีตรงข้าม แต่สีด้านหนึ่งจะถูกแทนที่ด้วยสี 2 สีที่อยู่ด้านข้างซึ่งห่างออก

ไปเท่ากันในวงล้อสี เช่น สีน้ำเงินแกมเขียวซึ่งมีสีด้านข้างเป็นสีฟ้ากับสีเขียวอ่อน ดังนั้นชุดสีตรงข้ามข้างเคียงจึง

ประกอบด้วยสีแดง ฟ้า และเขียวอ่อน ข้อได้เปรียบของชุดสีแบบนี้คือความหลากหลายที่มากขึ้น เมื่อเทียบกับชุดสีตรง

ข้าม ขณะที่ความสดใส และความสะดุดตาจะลดลง

ชุดสีในการออกแบบแบรนด์ตรงข้ามข้างเคียง 2 ด้าน (Double Split Complementary Color Scheme)ชุดสีแบบนี้

ถูกดัดแปลงมาจากชุดสีตรงข้ามเช่นกัน แต่สีตรงกันข้ามทั้งสองถูกแบ่งแยกเป็นสีด้านข้างทั้ง 2 ด้าน จึงได้เป็นชุดสี 4

สี ดังเช่น สีแดงแกมม่วงกับเขียวอ่อน และน้ำเงินกับส้ม ข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดคือความหลากหลายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งแลก