การจัดการเงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์

การจัดการเงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์

ห้องเรียนผู้ประกอบการ Series "Working Capital Management"

ชวนผู้ประกอบการทุกท่านไปทำความเข้าใจกับเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน เพื่อการบริหารกิจการให้ประสบความสำเร็จ

EP4 กลยุทธ์บริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียน

การจัดการเงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์

May 10th, 2019 • 4 minutes to read

การจัดการเงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์

การบริหารเงินทุนหมุนเวียน

การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ถือเป็นทักษะความรู้ที่สำคัญของผู้ประกอบการธุรกิจทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กแบบ SME หรือธุรกิจขนาดใหญ่ การบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ ย่อมสร้างความมั่นคงให้แก่กิจการทั้งต่อบุคลากรภายใน และจากสายตาบุคคลภายนอก

ยกตัวอย่างง่ายๆ กิจการที่มีการบริหารจัดการ เงินทุนหมุนเวียน ในธุรกิจได้ดี จะไม่ประสบกับปัญหาอย่าง การจ่ายเงินเดือนพนักงานไม่ตรงเวลา หรือการผิดนัดชำระหนี้การค้าแก่บริษัทคู่ค้า ทำให้กิจการมีความมั่นคงในสายตาของบุคลากรภายใน และมีเครดิตที่ดีต่อคู่ค้า มีความน่าเชื่อถือ สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นๆ ได้ และเป็นความยั่งยืนในระยะยาวของกิจการอีกด้วย

วิธีการจัดการบริหารเงินทุนหมุนเวียน

เทคนิคการบริหารเงินทุนหมุนเวียน คือการสร้างความสมดุลของ ทรัพย์สินหมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน ในขณะที่กิจการสามารถรับมือกับสภาพคล่อง ความสามารถในการทำกำไร และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการจัดสัดส่วนทรัพย์สินและหนี้สินหมุนเวียนของกิจการด้วย

โดยสามารถแบ่งเทคนิคการบริหารเงินทุนหมุนเวียนออกได้เป็น 3 เทคนิค ได้แก่

1. เงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์

เงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน – หนี้สินหมุนเวียน = 0

หมายถึง การบริหารเงินทุนหมุนเวียนมีสภาพคล่อง กำไรและความเสี่ยงมีสภาพปานกลาง กล่าวคือ สัดส่วนทรัพย์สินหมุนเวียน เท่ากับ หนี้สินหมุนเวียน ทำให้การชำระหนี้ระยะสั้น จากสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องอย่างทรัพย์สินหมุนเวียนมีความสมดุลกันพอดี

2. เงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก

เงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน – หนี้สินหมุนเวียน =  +(บวก)

หมายถึง การบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้กิจการมี ทรัพย์สินหมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน ลดความเสี่ยงเพิ่มสภาพคล่องให้แก่การดำเนินการ แต่อาจส่งผลความสามารถในการทำกำไรของกิจการลดลงได้ เช่น กรณีการลดหนี้สินหมุนเวียนและเพิ่มทรัพย์หมุนเวียนด้วยการลดระยะเวลาเครดิตของลูกหนี้การค้า

อาจส่งผลให้กิจการมีความเสียเปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่งที่ให้เครดิตลูกหนี้การค้าที่มากกว่าได้ เป็นต้น

ดังนั้น ในการเพิ่มหรือลดสัดส่วนของทรัพย์สินหรือหนี้สินหมุนเวียน ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงผลที่จะตามมา และวางกลยุทธ์ในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้ดีก่อนทุกครั้ง

3. เงินทุนหมุนเวียนเป็นลบ

เงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน – หนี้สินหมุนเวียน = -(ลบ)

ในทางกลับกัน การบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้เป็นลบ คือการที่กิจการมีหนี้สินหมุนเวียน มากกว่าทรัพย์สินหมุนเวียน กลยุทธ์แบบนี้อาจทำให้กิจการสามารถสร้างกำไรจากยอดขายได้มากขึ้น แต่ก็จะส่งผลให้ต้องแบกรับความเสี่ยงด้านสภาพคล่องมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน หากยอดขายที่เพิ่มขึ้น คุ้มกับความเสี่ยงที่ต้องแบกรับ ก็อาจเป็นผลดีต่อกิจการ

เงินทุนหมุนเวียนในกิจการ มีแนวโน้มที่จะต้องเพิ่มขึ้นเมื่อกิจการเติบโตขึ้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องประเมินเงินทุนที่ใช้หมุนเวียนในกิจการอยู่เสมอ

กิจการที่ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ หากมองเห็นว่า กิจการมีโอกาสในการสร้างยอดขายได้ การกู้ยืมสินเชื่อเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการจัดสรรเงินทุนหมุนเวียน และบริหารเงินทุนหมุนเวียนในกิจการได้เช่นกัน สามารถคลิกดูเงินทุนหมุนเวียนเพื่อธุรกิจบนตลาดสินเชื่ออนไลน์ Moneywecan ได้เลยที่นี่

ธุรกิจจะรอดหรือร่วงขึ้นอยู่กับการบริหารเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ

เงินทุนหมุนเวียนถือเป็นน้ำหล่อเลี้ยงธุรกิจให้ดำเนินการต่อไปได้อย่างไม่มีสะดุด เพราะเป็นเงินทุนสำรองเรียกว่าตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการการดำเนินธุรกิจ

ตั้งแต่เป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่สุดของการประกอบกิจการเช่น ค่าเช่า ค่าพนักงาน ค่าวัตถุดิบ ตลอดจนเป็นเงินทุนหมุนเวียนเมื่อยอดขายเกิดขึ้นอย่างลูกหนี้การค้า

ผู้ประกอบการควรยึดหลักของการจัดทำกำไรและควบคุมระดับความเสี่ยงให้ก่อเกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ด้วยเทคนิคใดก็ตามเริ่มต้นลงทุน

การจัดการเงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์

โปรโมชั่น

การจัดการเงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์

เรื่องล่าสุด