Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร

Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร
Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร
Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร

 

Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร

Custom Search

 

Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร

ข้อมูลและสาระน่ารู้อัพเดทล่าสุด

Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร

Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร
 Post Date:  2011-02-25 05:34:11 เปิดอ่านทั้งหมด 16124 ครั้ง

 

สายอากาศ อุปกรณ์สำหรับรับและส่งคลื่น ความถี่วิทยุ (radio frequency) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และในทางกลับกัน ก็เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานไฟฟ้าเช่นกัน

สายอากาศมีหลายขนาดและรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่น สายอากาศสำหรับเครื่องรับโทรทัศน์ในบ้าน ส่วนใหญ่เป็นสายอากาศชนิด ยากิ-อุดะ มักติดตั้งไว้บนหลังคา ทำด้วยอะลูมิเนียม เพราะน้ำหนักเบาและทนต่อสภาพอากาศได้ดีกว่าโลหะทั่วไป สายอากาศของไมค์ลอย เป็นเพียงสายไฟสั้นๆ หรือสายอากาศของโทรศัพท์มือถือ เป็นเพียงจุดเชื่อมต่อเล็กๆ เท่านั้น

คำว่าสายอากาศ เป็นศัพท์เฉพาะด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บัญญัติขึ้นจากคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ "antenna" หรือ "aerial" ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์อาจเขียนอักษรย่อ Ant. อย่างไรก็ตาม บุคคลทั่วไปนิยมเรียกว่า เสาอากาศ อาจจะเป็นเพราะเดิมใช้เสาสูงๆ สำหรับติดตั้งสายอากาศนั่นเอง

สายอากาศแบ่งตามรูปแบบการรับ-ส่งคลื่นได้ดังนี้

  1. สายอากาศแบบรอบตัว สามารถรับ-ส่งคลื่นได้ดีในทุกทิศทางเฉลี่ยกันไปโดยรอบ
  2. สายอากาศแบบกึ่งรอบตัว สามารถรับ-ส่งคลื่นได้ดีเกือบรอบตัวแต่มีอัตราขยายสูงกว่าแบบรอบตัว
  3. สายอากาศแบบทิศทางเดียว สามารถรับ-ส่งคลื่นได้ดีในทิศทางที่กำหนดและจะมีอัตราขยาย (gain) สูงกว่าประเภทอื่น

พารามิเตอร์ของสายอากาศ

  แบบรูปการแผ่พลังงานของสายอากาศ

Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร

แบบรูปการแผ่พลังงานของสายอากาศไมโครสตริปแพทซ์

พูหลัก (Major Lobe)

พูหลัก คือ พูที่สัญญาณแพร่กระจายออกมา โดยการแพร่กระจายของสัญญาณในอุดมคติของพูหลักคือ ไม่มีการสูญเสียใด ๆ ทั้งสิ้นดังแสดงในรูป

Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร

Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร

แบบรูปพูหลัก (major lobe)

กล่าวคือ เมื่อพูหลักแพร่กระจายสัญญาณออกไปในทิศทางที่มีการแพร่กระจายมากที่สุด โดยจะมีพูย่อย ๆ ออกมาเช่น พูด้านข้าง พูด้านหลัง ฯลฯ เป็นส่วนประกอบและพูหลักนี้อาจมีมากกว่าหนึ่งพูก็ได้ในสายอากาศบางประเภท

พูด้านข้าง (Side Lobe)

พูด้านข้าง (Side Lobe) จะมีอยู่รอบๆพูหลักและจะมีมากอยู่ติดกับพูหลัก เพื่อให้สัญญาณชัดเจน ควรทำการลดขนาดของพูด้านข้างให้น้อยลง ดังแสดงในรูป

Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร

Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร

แบบรูปพูด้านข้าง Side Lobe

พูด้านหลัง (Back Lobe)

พูด้านหลัง (อังกฤษ: Back lobe) คือ ลำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจำนวนเล็กน้อยที่พุ่งด้านหลังของสายอากาศ เป็นโลบย่อยที่อยู่ในครึ่งวงกลมตรงข้ามกับโลบหลัก ปกติแล้วโลบย่อยจะเกิดจากการแพร่กระจายคลื่นในทิศทางที่ไม่ต้องการ ดังนั้นสายอากาศที่ดีจะต้องกำจัดโลบเหล่านี้ให้น้อยที่สุด

ระดับของโลบย่อยมักแสดงเป็นอัตราส่วนของความหนาแน่นของพลังงานในโลบที่กำลัง คิดต่อความหนาแน่นของพลังงานในโลบหลัก ซึ่งเรียกว่า อัตราส่วนของไซด์โลบ (Side Lobe Ratio) หรือ ระดับของไซด์โลบ (Side Lobe Level; SLL) ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปนั้นมักจะต้องการให้ระดับของไซด์น้อยกว่า -20 dB

พูย่อย (Minor Lobe) พูย่อย (Minor Lobe) ได้แก่โลบอื่นๆนอกเหนือไปจากโลบหลัก พูข้าง หรือ ไซด์โลบ (Side Lobe) เป็นโลบย่อยที่อยู่ติดกับโลบหลัก และอย่ในทิศทางบนครึ่งวงกลมซีกเดียวกับโลบหลัก

Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร

Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร

แบบรูปพูย่อย Minor Lobe

ตำแหน่งศูนย์แรกของแบบรูปการแผ่พลังงาน (First null beamwidth) Radiation pattern ของความเข้มสนาม First-null beamwidth จะพิจารณาขนาดเชิงมุมระหว่าง 2 จุดที่ความเข้มสนามมีค่าเป็นศูนย์ครั้งแรกจากค่าสูงสุด

ตำแหน่งมุมกวาดของแบบรูปการแผ่พลังงานที่กำลังครึ่งหนึ่ง (Half Power Beamwidth)

เป็นมุมที่มีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของค่าสูงสุด 2 จุด ซึ่งมุมที่วัดระหว่างจุดที่มีความเข้มของการแพร่กระจายคลื่น ตัวย่อของ Half-Power Beamwidth คือ HPBW

Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร

Antenna ใน ภาค รับ ทำ หน้าที่ อะไร

ตำแหน่งมุมกวาดของแบบรูปการแผ่พลังงานที่กำลังครึ่งหนึ่ง

แบบรูปการแผ่พลังงานชนิดไอโซทรอปิก (Isotropic Pattern)

แบบรูปการแผ่พลังงานชนิดไอโซทรอปิก ( Isotropic patterns ) หมายถึง สายอากาศที่ใช้ในทางทฤษฎี โดยมีการแพร่กระจายของคลื่นทุกทิศทางที่พร้อมกันด้วยความเข้มสนามที่เท่ากัน เป็นสายอากาศที่ไม่สามารถสร้างขึ้นได้จริง แต่จะใช้ในการเปรียบเทียบหรือกำหนดเป็นมาตรฐานนำไปเทียบกับสายอากาศแบบอื่น เพื่อดูลักษณะคุณสมบัติ แสดงทิศทางของสายอากาศ

แบบรูปการแผ่พลังงานเชิงทิศ (Directional Pattern)

แบบรูปการแผ่พลังงานโอมนิ (Omni Directional Pattern)

คือ สายอากาศที่กระจายสัญญาณได้รอบทิศทางในแนวระนาบ หรือ ขนานกันแนวพื้นโลก และมีรูปร่างการแพร่กระจายของคลื่นคล้ายๆกับขนมโดนัท

มีความถี่อยู่ประมาณช่วง 30 MHz - 1 GHz

 สนามระยะไกล (Far Field)

ไฟล์:สนามระยะไกล (Far Fild).jpg

แบบสนามระยะไกล (Far Fild)

บริเวณสนามระยะไกล คือ บริเวณที่เราสนใจเพื่อทำการศึกษาเรื่องของสายอากาศ เพราะเป็นบริเวณที่ใช้จัดวางสายอากาศเพื่อทำการวัดแบบรูปการแผ่กระจายกำลังงานหรือทำการวัดคุณลักษณะต่างๆ ของสายอากาศ ในกรณีที่ความยาวของสายอากาศส่งและสายอากาศรับมีขนาดแตกต่างกัน จะต้องแทนค่า D ด้วยขนาดของสายอากาศที่มีความยาวสูงสุด เพื่อจะได้มั่นใจว่าเป็นบริเวณสนามระยะไกลที่ถูกต้อง

 สนามระยะใกล้ (Near Field)

สนามแพร่กระจายระยะใกล้ (Radiating near-field) คือ บริเวณสนามของสายอากาศที่อยู่ระหว่างบริเวณของสนามรีแอคทีฟระยะใกล้กับบริเวณสนามระยะไกล โดยมีสนามที่กระจายอยู่เป็นส่วนใหญ่ และ การกระจายของสนามตามมุมต่างๆนั้น แปรผันตามระยะทางจากสายอากาศ เมื่อสายอากาศมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับความยาวคลื่น สนามในบริเวณนี้อาจไม่เกิดขึ้น

 สนามระยะใกล้เชิงรีแอคทีฟ (Reactive Near Field)

สนามรีแอคทีฟระยะใกล้ ( Reactive-Near Field ) หมายถึง บริเวณสนามรีแอคทีฟระยะใกล้ เป็นสนามที่ล้อมรอบใกล้สายอากาศมากที่สุด เป็นจุดที่กระจายสัญญาณได้รอบทิศทาง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเรายืนใกล้ลำโพงที่มีกำลังวัตต์มากๆ เราจะไม่สามารถแยกได้ว่าด้านไหนเป็นด้านหน้าลำโพง และตรงบริเวณนี้จะมีสนามชนิดรีแอคทีฟเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบริเวณนี้จะมีระยะทางจากผิวของสายอากาศด้วย

อัตราขยาย

(gain) เป็นความสามารถของสายอากาศในการรับส่งคลื่นวิทยุ สายอากาศแต่ละแบบมีอัตราขยายแตกต่างกัน สายอากาศแบบทิศทางเดียวจะมีอัตราการขยายมากกว่าสายอากาศแบบกึ่งรอบตัว และแบบรอบตัวโดยลำดับ ลักษณะการใช้งานจึงแตกต่างกันไป สายอากาศที่มีอัตราขยายสูง จะสามารถรับ-ส่งคลื่นวิทยุ ได้ดีมาก ตัวเลข ซึ่งมีหน่วยวัดอัตราการขยายได้แก่ dBi และ dBd

 

Tag : สายอากาศ อุปกรณ์สำหรับรับและส่งคลื่น ความถี่วิทยุ

 

หน้า  

หน้า