ใบงาน ความขัดแย้งในครอบครัว ม. 3

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว”

              ภาระอันยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของคนเราก็คือการสร้างครอบครัวให้มีความสุข มั่นคงและยืนนาน เมื่อครอบครัวดี สังคมก็ดีประเทศชาติก็เจริญรุ่งเรืองตามไปด้วย การที่จะสร้างครอบครัวให้มีความสุขสมบูรณ์ได้นั้น พ่อ-แม่มีบทบาทสำคัญโดยเป็นผู้กำหนดบทบาทของทุกคนในครอบครัวให้ดำเนินชีวิตไปตามขอบเขตของครอบครัว

             ปัญหาอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างความสุขในครอบครัว คือความขัดแข้งระหว่างสามีภรรยาซึ่งส่งผลกระทบต่อสมาชิกทุกคนในครอบครัว ดังนั้นทุกครอบครัวต้องตระหนักและร่วมกันหาวิธีจัดการกับความขัดแย้งนั้นให้ลดน้อยลง

  ความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในครอบครัวส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ 

       1. นิสัยและความเคยชินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย 

ซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงยากมากเพราะเป็นนิสัยที่ปลูกฝังติดตัวมานานถึงแม้จะเปลี่ยนได้แต่ก็เป็นเพียงแค่ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้นคู่สามีภรรยาจะต้องยอมรับซึ่งกันละกันในข้อดีและข้อด้อยของแต่ละฝ่ายทำใจให้ได้แล้วพยายามปรับตัวเข้าหากัน

        2. ขาดความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง  

 สมัยก่อนสามีมีบทบาทเป็นผู้นำหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวปัจจุบันภรรยามีบทบาทในการทำงานหาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัวเช่นกันและยังต้องรับผิดชอบงานในบ้าน รวมทั้งอบรมสั่งสอนบุตรธิดาอีกจึงทำให้บางครั้งภรรยารู้สึกหงุดหงิดและจุกจิกจู้จี้ไปบ้าง ทำให้เกิดความขัดแย้งได้หน้าที่อบรมเลี้ยงดูบุตรเป็นหน้าที่โดยตรงของทั้งพ่อและแม่ รวมทั้งหน้าที่รับผิดชอบภาระในบ้านก็ต้องแบ่งเบาซึ่งกันและกัน

        3. การไม่มีเวลาให้กันและกัน 

 เนื่องจากต่างฝ่ายต่างก็มีภาระต้องทำงาน บางทีก็แยกกันอยู่ ทำให้ไม่มีเวลาพูดคุยรับรู้สารทุกข์สุกดิบของกันและกัน ดังนั้นครอบครัวจึงควรมีวันแห่งครอบครัวสัปดาห์ละ 1 วันเพื่อที่จะมีเวลาอยู่พร้อมหน้ากัน พ่อ แม่ ลูก ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและลดระยะห่างของความเป็น พ่อ-แม่- ลูก ซึ่งเป็นการสร้างเกราะทางจิตใจของกันและกันให้แข็งแรงขึ้น

        4. การใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหาในครอบครัว 

ได้แก่ การทะเลาะ ดุด่า ข่มขู่ ลงมือตบตีกันซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการพูดยั่วยุของภรรยาทำให้สามีโกรธจนทนไม่ได้ แนวทางแก้ไขคือหยุดพฤติกรรมพูดยั่วยุและควรตั้งกติกาครอบครัวเอาไว้  เช่นไม่โกรธกันนานเกิน1 อาทิตย์ผู้ใดเป็นฝ่ายผิดต้องขอโทษก่อนและอีกฝ่ายต้องรีบให้อภัยและต้องไม่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเสียหน้าถ้าทนไม่ไหวต่อการยั่วยุจริงๆให้หลีกเลี่ยงโดยการเดินหนีไปสักระยะหนึ่งเมื่อหายโกรธจึงค่อยกลับมา

        5. การนอกใจกันของสามีหรือภรรยา 

สาเหตุมาจากเรื่องทางเพศ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตคู่ แต่ทั้งสองฝ่ายต้องมีความเข้าใจและร่วมมือร่วมใจกันเพื่อ ฝ่าฟันอุปสรรคนั้นไปด้วยกันให้ได้บ่อยครั้งความไม่เข้าใจกันทำให้เกิดความระแวง สงสัยไม่ไว้วางใจกันและกัน แสดงตนเป็นเจ้าเข้าเจ้าของจู้จี้ขี้บ่นมากเกินไป  จนกลายเป็นปัญหาใหญ่โต แนวทางแก้ไขคือให้แต่ละฝ่ายยึดหลัก 3 ไม่ - 4 มี ดังนี้

3 ไม่ คือ ไม่จุกจิกจู้จี้ ไม่เป็นเจ้าของหัวใจไม่ตำหนิติเตียน

4 มี  คือ ยกย่องให้เกียรติ เอาอกเอาเจ็บป่วยต้องดูแล วาจาสุภาพอ่อนโยน 

มีความเข้าใจเรื่องเพศที่แตกต่างหากครอบครัวมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้น ไม่ควรปล่อยให้เป็นปัญหาเรื้อรัง การหันหน้าพูดจากันหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน ไม่ผลักภาระความรับผิดชอบให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสื่อสารกันด้วยวาจาสุภาพอ่อนโยน ไม่ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา เชื่อว่าความขัดแย้งต่างๆจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน 

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ ๑  (การขัดแย้งในครอบครัวมีสาเหตุจากอะไร)

. กิจกรรมที่ ๑ (ทักษะคิดหลากหลาย)

                      ๑.ครูให้นักเรียนดูภาพ แล้วถามว่าเป็นภาพอะไรให้แต่ละคนแสดงความคิดเห็นที่แตก

            ๑.ครูอธิบายว่าแต่ละคนจะมีมุมมองที่แตกต่างกันขึ้นอยู่อารมณ์ และความรู้สึกขณะนั้น ถ้าหากเรามีอารมณ์ที่ไม่ดีก็อาจทำให้เกิดความขัดแย้งกันได้ มีคำคมไว้ว่า    "สองคน ยลตามช่อง คนหนึ่ง มองเห็นโคลนตม คนหนึ่ง ตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวแพรว"  ความหมายก็คือมุมมองของคนหลายคนในเรื่องเดียว อาจมีความแตกต่างกันได้ ไม่จำเป็นว่าคนหนึ่งต้องมองว่าบวกอีกคนต้องมองว่าลบเสมอไป อาจจะมองทางบวกทั้งคู่ หรือลบทั้งคู่ก็ได้ ถ้าแตกต่างกันในความคิดเห็นก็จัดว่าเป็นสองคนยลตามช่องได้ทั้งสิ้น

        ๒. กิจกรรมที่ ๒ (ทักษะการคิดลึกซึ้ง)

            ๒. ครูอธิบายถึงครอบครัวในปัจจุบันเผชิญกับภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากปัจจัยภายในครอบครัวและปัจจัยแวดล้อมในชุมชน สังคม  และสิ่งแวดล้อม  โดยสภาพเศรษฐกิจ สังคม  และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัฒน์  และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งผลกระทบต่อแบบแผนการดำเนินชีวิตของครอบครัวได้เปลี่ยนแปลงไป  ทำให้ครอบครัวไทยมีลักษณะหลากหลายยิ่งขึ้นและสมาชิกในครอบครัวมีวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม ส่งผลให้เกิดความสั่นคลอนของสถาบันครอบครัว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ของครอบครัว เกิดความรู้สึกนึกคิดของคนในครอบครัวที่ไม่ตรงกันทำให้เกิดความวิตกกังวลและความไม่พอใจในการที่จะปฏิบัติตามแนวทางของอีกฝ่ายหนึ่ง

            ๒.ครูถามว่าความรู้สึกนักคิดที่ไม่ตรงกันนั้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร

            ๒.ครูเฉลยว่า ความขัดแย้ง จากกิจกรรมที่ ๑ ทำให้เราเข้าใจแล้วว่าคนเรามีความคิดที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในครอบครัว เพราะยิ่งเจอกันบ่อยครั้งเท่าไรความกระทบกระเทือนจิตใจก็มากยิ่งขึ้นเท่านั้น

            ๒.ให้นักเรียนจับกลุ่ม ๘-๑๐ คน แลกเปลี่ยนความเห็นถึงความขัดแย้งของครอบครัว แล้วสรุปลงในกระดาษ กำหนดเวลา ๑๕ นาที

          .๕ ครูให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาเขียนความขัดแย้งของนักเรียนกับครอบครัว บนกระดาน ตามตาราง ดังนี้

.๖ ให้นักเรียนสรุปความขัดแย้งของนักเรียนเป็นภาพรวมว่าสิ่งที่ขัดแย้งมีเรื่องอะไรบ้าง

            ๒.๗ ครูตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความขัดแย้งในครอบครัว

            ๒.๘ (คำตอบน่าจะเกี่ยวข้องกับ การคบเพื่อนและเพื่อนต่างเพศ การเรียน การเงิน การเที่ยวกลางคืน การแต่งกาย การใช้เวลาว่าง)

            ๒.๙ ครูถามนักเรียนว่า เมื่อเกิดความขัดแย้งในพ่อแม่หรือผู้ปกครองขึ้น เกิดผลกระทบอะไรบ้าง

            ๒.๑๐ ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า “ช่องว่างระหว่างวัย” เป็นสาเหตุให้วัยรุ่นเกิดความขัดแย้งกับพ่อแม่ เนื่องจาก

                        *  ผู้ใหญ่ปรับตัวไม่ทันกับความเจริญเติบโตของเด็กวัยรุ่น ยังคิดว่าลูกเป็นเด็กอยู่ก็ยังคงใช้วิธีการเหมือนกับลูกยังเป็นเด็ก คอยติดตามช่วยเหลือดูแลเด็กทำให้ไม่มีโอกาสเป็นอิสระทางความคิดในการตัดสินใจ และในการใช้ชีวิต

                        * เด็กวัยรุ่นเปลี่ยนความสัมพันธ์กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง จากแบบรับรู้สถานเดียวมาเป็นแบบมองด้วยการวิเคราะห์วิจารณ์มากยิ่งขึ้น

                        * การเปลี่ยนแปลงค่านิยม สภาพเศรษฐกิจสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดที่แตกต่าง

                        * ผู้ใหญ่เอาความคิด ความสามารถ ประสบการณ์ ความรู้ของตนเป็นมาตรฐาน ความคาดหวังผลการกระทำของวัยรุ่น ทำให้คนสองวัยย่อมแตกต่างกันในเรื่องความสนใจ ค่านิยม และความสามารถ

                        * บรรยากาศในครอบครัวที่สมาชิกในบ้านมีความสัมพันธ์ต่อกันที่ไม่ดี ขาดความเข้าใจกัน ย่อมทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างวัยโดยง่าย

                        * สภาพความเป็นวัยรุ่น เช่น ความถือดี ความรักอิสระ การท้าทายอำนาจ การชอบลองประสบการณ์ใหม่ ๆ ความสับสนทางอารมณ์และความเครียด

            ๒.๑๑ นักเรียนและครูช่วยกันสรุปความคิดในเรื่องความขัดแย้งและผลกระทบในครอบครัว

            ๑.๑๒ (การบ้าน)ให้นักเรียนเขียนบทและวางแผนในการแสดงบทบาทสมมติความขัดแย้งในครอบครัวและการป้องกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาเลือกสถานการณ์ ดังนี้

                    ๑. ด้านการคบเพื่อน

                    ๒. ด้านการคบเพื่อนต่างเพศ

                    ๓. ด้านการเรียน

                    ๔.  ด้านการเงิน

                    ๕. ด้านการเที่ยวกลางคืน

                    ๖. ด้านการแต่งกาย

                    ๗. ด้านการใช้เวลาว่าง

            ๒.๑๓ ครูกำหนดเวลาในการแสดงกลุ่มละ ๕ นาที และทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแสดง

ชั่วโมงที่ ๒ (วิธีการป้องกันแก้ไขความขัดแย้งในครอบครัว)

        ๑.  กิจกรรมที่ ๑ (ทักษะการคิดสร้างสรรค์)

            ๑.๑ นักเรียนและครูช่วยกันทบทวนความรู้ที่เรียนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาๆ

            ๑.๒ ให้นักเรียนเขียนแต่ละกลุ่มออกมาทำการแสดงบทบาทสมมติความขัดแย้งในครอบครัวและการป้องกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้งตามสถานการณ์ที่ตนเองได้รับมอบหมาย ดังนี้

                    ๑. ด้านการคบเพื่อน

                    ๒. ด้านการคบเพื่อนต่างเพศ

                    ๓. ด้านการเรียน

                    ๔.  ด้านการเงิน

                    ๕. ด้านการเที่ยวกลางคืน

                    ๖. ด้านการแต่งกาย

                    ๗. ด้านการใช้เวลาว่าง

            ๑.๓ ครูกำหนดเวลาในการแสดงกลุ่มละ ๕ นาที และทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแสดง

            ๑.๔ ครูจับฉลากให้นักเรียนแสดงบทบาทสมมติทีละกลุ่ม

            ๑.๕ เมื่อการแสดงแต่ละกลุ่มจบลง ให้เพื่อน ๆ ช่วยกันบอกข้อเสนอแนะในการปรับปรุง และเสนอแนะวิธีการแก้ไขความขัดแย้งวิธีอื่น  

          .๖ ครูชมเชยนักเรียนทุกคนที่ร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน และขอให้นักเรีนนำไปใช้ในชีวิตจริง

ชั่วโมงที่ ๓  (สรุปบทเรียนความขัดแย้งในครอบครัว)

        ๑. กิจกรรมที่

                ๑.๑ นักเรียนและครูช่วยกันทบทวนความรู้ที่เรียนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

                .๒ ครูสรุปบทเรียนเกี่ยวกับความขัดแย้งในครอบครัว

                .๓ ครูมอบหมาย (การบ้าน) ให้นักเรียนทำโครงการสุขภาพของตนเองในระหว่างปิดภาคเรียน

                ๑.๔ ครูชี้แจงแนวข้อสอบปลายภาคเรียน

                ๑.๕ ครูชมเชยนักเรียนที่ตั้งใจเรียนตลอดปีการศึกษา ๒๕๕๖

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

            ๑. รูปภาพต่าง ๆ

            ๒. กระดาษ A

            ๓. แบบวัดและประเมินผลการเรียน

          . ใบประเมินกิจกกรมกลุ่ม บทบาทสมมติ

            ๕. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ บริษัทวีบุ๊ค

การวัดและประเมินผล

. แบบประเมินความรู้ สรุปความคิด

. แบบประเมินความรู้ แสดงความคิดเห็น

. แบบประเมินทักษะ กระบวนการกลุ่ม

. แบบประเมินทักษะ แสดงบทบาทสมมติ

. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ระดับ

K

สรุปความคิด

เขียนวิเคราะห์ ไม่ครบถ้วน

ผลงานขาดความเรียบร้อย

เขียนวิเคราะห์ และอธิบายได้ถูกต้องแต่ยังไม่ครบ

ผลงานขาดความเรียบร้อย

เขียนวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี ครบถ้วน เขียนผิดบ้างเล็กน้อย

ผลงานมีความเรียบร้อย

เขียนวิเคราะห์ ได้เป็นอย่างดี ใช้ภาษาได้ดี ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ผลงานเรียบร้อยสวยงาม

K

แสดงความคิดเห็น

-เขียนบรรยายได้สั้น ๆ ยังไม่ได้ใจความ

-ขาดความตั้งใจทำงาน

-เขียนบรรยายได้สั้น ๆ

-ผลงานเป็นระเบียบเรียบร้อย

-เขียนบรรยายได้อย่างละเอียด

-ตั้งใจทำงาน ผลงานเป็นระเบียบเรียบร้อย

-เขียนบรรยายได้อย่างละเอียด มีเหตุผลประกอบการบรรยาย

-ตั้งใจทำงาน ผลงานสะอาดเรียบร้อย

P

กระบวนการกลุ่มในการทำกิจกรรม

ให้ความร่วมมือกับเพื่อนน้อย ไม่ยอมรับการเป็นผู้นำ ผู้ตาม

ให้ความร่วมมือกับเพื่อน ยอมเป็นผู้นำ ผู้ตาม ต้องให้ครูตัดสิน

ให้ความร่วมมือกับเพื่อน ยอมรับผู้นำ ผู้ตาม ยังไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็นของเพื่อน

ให้ความร่วมมือกับเพื่อนเป็นอย่างดี ยอมรับการเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี เชื่อฟังผู้นำ

P

แสดงบทบาทสมมติ

- แสดงไม่ครบทุกคน

-การแสดงไม่น่าสนใจ พูดเสียงค่อยฟังไม่รู้เรื่อง

-เนื้อหาในการแสดงสอดคล้องกับความขัดแย้งและการแก้ไข

-ขาดอุปกรณ์ประกอบในการแสดง

-ร่วมแสดงทุกคน

-การแสดงไม่น่าสนใจ พูดเสียงค่อยฟังไม่รู้เรื่อง

-เนื้อหาในการแสดงสอดคล้องกับความขัดแย้งและการแก้ไข

-ขาดอุปกรณ์ประกอบในการแสดง

-ร่วมแสดงทุกคน

-การแสดงน่าสนใจ

เสียงดังฟังชัดสมบทบาท

-เนื้อหาในการแสดงสอดคล้องกับความขัดแย้งและการแก้ไข

-ขาดอุปกรณ์ประกอบในการแสดง และตรงต่อเวลา

-ร่วมแสดงทุกคน

-การแสดงน่าสนใจ

เสียงดังฟังชัดสมบทบาท

-เนื้อหาในการแสดงสอดคล้องกับความขัดแย้งและการแก้ไข

-มีอุปกรณ์ประกอบในการแสดง และตรงต่อเวลา

A

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างน้อย ๒ ข้อ

ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างน้อย ๓ ข้อ

ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างน้อย ๔ ข้อ

๑.ทำงานเสร็จได้ตรงเวลาด้วยตนเอง ๒.ไม่ลอกและไม่ให้ผู้อื่นลอกผลงาน   

๓.ตั้งใจทำงานอย่างเต็มความสามารถ

๔.ค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆที่หลากหลาย

๕.มีแหล่งอ้างอิงในการค้นคว้า