รัฐธรรมนูญไทยฉบับใดเริ่มให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

รัฐธรรมนูญไทยฉบับใดเริ่มให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันที่  23 กันยายน 2021 | ผู้เข้าชม 2531 คน

สิทธิเสรีภาพของประชาชนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5823 [รายงานสืบเนื่องการประชุม)]

                  • สากล พรหมสถิตย์
                  • อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

รัฐธรรมนูญไทยฉบับใดเริ่มให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

สิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย และของมนุษยชาติ ในฐานะที่เป็นสัตว์โลกที่มีจิตใจสูง ต่างกับระบอบเผด็จการที่ถือว่าคนเป็นทาสของรัฐและผู้มีอำนาจ ดังนั้น สิทธิและเสรีภาพ rights-and-liberties สำคัญต่อประชาชนในฐานเจ้าของอำนาจอธิปไตยในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อย่างไร ในระบอบประชาธิปไตย มีหลักการและแนวคิดเกี่ยวสิทธิและเสรีภาพอย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในฐานะองค์กรทางการเมืองกับบุคคลที่อยู่ภายในรัฐ สถานภาพของบุคคลภายในรัฐมีความแตกต่างกัน แสดงออกในรูปแบบที่แตกต่างกันไปด้วย เช่น ในฐานะเป็นพลเมือง หรือในฐานะต่างด้าว เป็นต้น ในระบอบเสรีภประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองเป็นอย่างมาก สิทธิของพลเมืองหรือสิทธิในฐานะเป็นพลเมืองย่อมมี ซึ่งเป็นการจำกัดอำนาจของรัฐ แต่สิทธิย่อมไม่สมบูรณ์ที่สุด ทั้งนี้เพราะหากผู้ใดมีสิทธิหรือเสรีภาพเต็มที่ จะส่งผลกระทบกระเทือนต่อบุคคลอื่นด้วย คือจะไปริดรอนสิทธิเสรีภาพของคนอื่น รัฐจึงมีหน้าที่ในการกำหนดขอบเขต โดยดูแลให้สิทธิของพลเมืองหรือสิทธิในฐานะเป็นพลเมือง มีรายละเอียดดังนี้

คำสำคัญ

สิทธิและเสรีภาพ อำนาจอธิปไตยของปวงชน เจ้าของอำนาจอธิปไตย

หลักการและแนวคิด

  • สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย และของมนุษยชาติ ในฐานะที่เป็นสัตว์โลกที่มีจิตใจสูง ต่างกับระบอบเผด็จการที่ถือว่าคนเป็นทาสของรัฐและผู้มีอำนาจ ซึ่งพร้อมจะใช้มาตรการที่ทารุณโหดร้ายเกินมนุษย์ธรรมดาเพื่อบังคับประชาชนให้อยู่ในอำนาจ
  • บทบัญญัติรัฐธรรมนูญในปัจจุบันมีพัฒนาการมาเป็นลำดับจากแรกเริ่มที่มุ่งจำกัดอำนาจของผู้ปกครอง ค่อยๆ ขยายผลมาสู่การมีส่วนร่วมในการปกครองของประชาชน โดยเฉพาะในรัฐธรรมนูญของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้น บทบัญญัติเรื่องสิทธิและเสรีภาพเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ส่วนการที่จะมิสิทธิและเสรีภาพในทางปฏิบัติมากน้อยเพียงใด คงต้องศึกษาติดตามในบริบททางการเมืองของประเทศนั้นๆ เพราะในบางครั้งรัฐธรรมนูญอาจมีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพมากมาย แต่อาจมีข้อความต่อท้ายต่างๆ เช่น ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือตามเงื่อนไขหรือวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ เป็นต้น

รัฐธรรมนูญไทยฉบับใดเริ่มให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

ความหมาย

  • สิทธิและเสรีภาพ เป็นคำที่นิยมกล่าวควบคู่ด้วยกันเสมอ ในทางกฎหมายแม้คำสองคำนี้จะมีความหมายที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มิใช่จะมีความหมายเหมือนกันหมด พึงสังเกตจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ที่เรียกชื่อประเภทของสิทธิและเสรีภาพแยกต่างหากจากกันอย่างชัดเจน เช่น รัฐธรรมนูญบัญญัติว่าเสรีภาพในการชุมนุม โดยมิได้เรียกว่าสิทธิในการชุมนุม หรือรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่มิได้เรียกว่าเสรีภาพพิทักษ์รัฐธรรมนูญ บทบัญญัติต่างๆ ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ในรัฐธรรมนูญจึงแสดงให้เห็นว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญมีเจตนาที่แยกใช้คำว่าสิทธิและเสรีภาพให้แตกต่างกัน เพราะความหมายของคำทั้งสองมีความแตกต่างกัน

รัฐธรรมนูญไทยฉบับใดเริ่มให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

สิทธิของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย

รัฐธรรมนูญไทยฉบับใดเริ่มให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

ประเภท

  • เมื่อพิจารณารายละเอียดของสิทธิและเสรีภาพ จะพบว่าสิทธิและเสรีภาพมีหลายประการ เพื่อให้มีการจัดหมวดหมู่ของสิทธิและเสรีภาพให้ชัดเจน จึงได้มีการแยกประเภทของสิทธิและเสรีภาพ ในที่นี้จะศึกษาถึงประเภทของสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ ซึ่งสามารถจำแนกประเภทของสิทธิและเสรีภาพโดยอาศัยเกณฑ์ต่างๆ มาเป็นตัวจำแนก

หลักประกัน

  • รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่มีหลักการรับรองคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล มีการกำหนดหลักประกันในการตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล กล่าวคือ ฝ่ายนิติบัญญัติ จะตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลได้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เท่านั้น

รัฐธรรมนูญไทยฉบับใดเริ่มให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

องค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ

  • การบัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพไม่ได้ทำให้ประชาชนมิสิทธิและเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ เพราะเมื่อมีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องมีองค์กรมาทำหน้าที่คุ้มครอง ซึ่งองค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญที่สำคัญ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

  • แนวคิดว่าด้วยศักดิ์ความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) ได้รับการพัฒนามากพร้อมกับแนวคิดว่าด้วยสิทธิตามธรรมชาติของสำนักกฎหมายธรรมชาติ โดยเห็นว่ามนุษย์ที่ถือกำเนิดมาย่อมมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ทุกคน รัฐหรือบุคคลอื่นใดก็มิอาจละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้

สิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญไทย

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้มีบทบัญญัติในเรื่องสิทธิเสรีภาพมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแรก และได้ขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมากขึ้นเป็นลำดับ กล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, 2550 และ 2560 มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตามเป็นสิ่งที่ควรทราบเป็นเบื้องต้นว่าบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ ได้ปรากฏอยู่ในหลายหมวดไม่เฉพาะว่าจะปรากฏในหมวดสิทธิและเสรีภาพเท่านั้น แต่กระจายอยู่ในหมวดอื่นๆ ด้วย เช่น หมวดรัฐสภา หมวดศาล หมวดการปกครองท้องถิ่น หมวดการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เป็นต้น

รัฐธรรมนูญไทยฉบับใดเริ่มให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

หมวด 3 แห่งรัฐธรรมนูญ 2560 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

  • มาตรา 25 : การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  • มาตรา 26 : การตรากฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล
  • มาตรา 27 : บุคคลมีสิทธิเสรีภาพเท่ากัน
  • มาตรา 28 : สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
  • มาตรา 29 : สิทธิของบุคคลในคดีอาญา
  • มาตรา 30 : ห้ามเกณฑ์แรงงาน
  • มาตรา 31 : สิทธิในการนับถือศาสนา
  • มาตรา 32 : สิทธิส่วนตัว
  • มาตรา 33 : เสรีภาพในเคหสถาน
  • มาตรา 34 : เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
  • มาตรา 35 : สิทธิของสื่อมวลชน
  • มาตรา 36 : เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร
  • มาตรา 37 : สิทธิในทรัพย์สินและสืบมรดก
  • มาตรา 38 : สิทธิการเดินทางและเลือกที่อยู่
  • มาตรา 39 : การเนรเทศ การห้ามเข้าประเทศไทย การถอนสัญชาติไทย
  • มาตรา 40 : เสรีภาพการประกอบอาชีพ
  • มาตรา 41 : สิทธิทราบข้อมูล ร้องทุกข์และฟ้องร้องหน่วยงานรัฐ
  • มาตรา 42 : สิทธิรวมกันเป็นสมาคม องค์กร หรือหมู่คณะ
  • มาตรา 43 : สิทธิเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิทธิมนุษยชน
  • มาตรา 44 : เสรีภาพในการชุมนุม
  • มาตรา 45 : เสรีภาพการจัดตั้งพรรคการเมือง
  • มาตรา 46 : สิทธิของผู้บริโภค
  • มาตรา 47 : สิทธิได้รับบริการสาธารณสุข
  • มาตรา 48 : สิทธิของมารดา คนชราและผู้ยากไร้
  • มาตรา 49 : ห้ามใช้สิทธิล้มล้างการปกครองประชาธิปไตย

รัฐธรรมนูญไทยฉบับใดเริ่มให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

บทสรุป

       สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นสิ่งที่มีการให้ความสำคัญอย่างมาก ในรัฐธรรมนูญของประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะได้มีการนำหลักรัฐธรรมนูญนิยมมาใช้ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสาระสำคัญในการจำกัดการใช้อำนาจของรัฐและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ กล่าวคือ เมื่อเรามีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการจำกัดอำนาจรัฐที่เหมาะสม ไม่ให้รัฐมีอำนาจเกินขอบเขต ก็จะทำให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้ารัฐมีอำนาจมากสามารถครอบงำประชาชนในทางต่างๆ ได้ เท่ากับว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมีน้อยลง

โดยทั่วไปสิทธิและเสรีภาพมีความหมายที่แตกต่างกัน แต่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ซึ่งสิทธิอาจก่อให้เกิดเสรีภาพได้ และเสรีภาพก็อาจก่อให้เกิดสิทธิได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม สิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่รัฐและประชาชนจะต้องมีอยู่อย่างเหมาะสมกับสภาพความเป็นไปภายในรัฐ เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม เป็นต้น ดังนั้น การบัญญัติถึงสิทธิและเสรีภาพจึงต้องมีการกระทำอย่างละเอียดรอบคอบ

นอกจากนี้สิทธิและเสรีภาพเมื่อมีการนำมาใช้อาจมีปัญหาในเชิงปฏิบัติ คือ การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนอาจมีการกระทบสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นได้ ดังนั้นการใช้สิทธิและเสรีภาพจะต้องมีการกำหนดขอบเขตการใช้ให้ชัดเจน ซึ่งหลักทั่วไปในการกำหนดขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ มักจะวางหลักว่า จะต้องไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นไปอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยทั่วไปรัฐธรรมนูญจะมีบทบัญญัติในเรื่องการให้หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งในเชิงรูปธรรมจะต้องมีการกำหนดองค์กรที่จะทำหน้าที่ในการดูแลคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน องค์กรเหล่านี้ประกอบด้วย ศาลและองค์กรอิสระ ที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกต้องเหมาะสมตามเจตนารมณ์ร่วมกันของสังคม

  • http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5811 [เอกสาร (สื่อ) ประกอบการสอน]
  • http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5811 [เอกสารการสอน]

คำสำคัญ : สิทธิเสรีภาพ

เอกสารอ้างอิง

  1. กลุ่มพลังวิชาการเพื่ออนาคาต. (2553). เจาะหลัก-ฎีกา กฎหมายปกครอง กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์อักษร.
  2. เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2546). ที่มาของกฎหมายมหาชน โครงการตำราคณะนิติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  3. โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2559). แนวคิดว่าด้วยสถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย ใน เอกสารการสอนชุดวิชา สถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  4. ณัฐกร วิทิตานนท์. (2557). หลักรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  5. บรรเจิด สิงคะเนติ. (2548). หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ วิญญูชน.
  6.           . (2552). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
  7. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2538). คำอธิบายกฎหมายมหาชน เล่ม 3 ที่มาและนิติวิธี. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
  8. บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิเศษฐ์. (2554). เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชารัฐศาสตร์. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  9. ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น จำกัด.
  10. ราชกิจจานุเบกษา. (2560 6 เมษายน 2560 เล่มที่ 134 ตอนที่ 40ก.). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
  11. มานิตย์ จุมปา. (2541). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
  12. วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2543). สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
  13. วีระ โลจายะ. (2545). สิทธิเสรีภาพ ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชากฎหมายมหาชน. นนทบุรี: สำนักพิพม์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  14. สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2548). กฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  15. สมยศ เชื้อไทย. (2535). คำอธิบายหลักรัฐธรรมนูญทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว       การพิมพ์.
  16. หยุด แสงอุทัย. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  17. อภิชาติ แสงอัมพร. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. สุรินทร์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
  18. อมร รักษาสัตย์. (2541). รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนพร้อมบทวิจารณ์. กรุงเทพฯ: บริษัท              ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
  19. อมร รักษาสัตย์ และคณะ. (2543). ประชาธิปไตย : อุดมการณ์ หลักการ และแบบอย่างการปกครองหลายประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  20. อานนท์ อาภาภิรม. (2545). รัฐศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
บทความย้อนหลัง
  • https://pa.bru.ac.th/2021/08/04/constitution/ รัฐธรรมนูญ2475-2560
  • https://pa.bru.ac.th/2021/08/15/constitution2560/ รัฐธรรมนูญ 2560

กลับหน้าหลัก

สิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีอะไรบ้าง

หมวด 3 แห่งรัฐธรรมนูญ 2560 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย.
มาตรา 25 : การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน.
มาตรา 26 : การตรากฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล.
มาตรา 27 : บุคคลมีสิทธิเสรีภาพเท่ากัน.
มาตรา 28 : สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย.
มาตรา 29 : สิทธิของบุคคลในคดีอาญา.
มาตรา 30 : ห้ามเกณฑ์แรงงาน.

สิทธิมนุษยชนแห่งชาติเกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใด

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หมวด 6 รัฐสภา ส่วนที่ 8 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยที่มาตรา 199 และมาตรา 200 ได้บัญญัติให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำ ...

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2560) ได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนไว้ในหมวดใด

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดสิทธิต่าง ๆ โดยให้อยู่ในหมวด 3 และไม่มีส่วนของสิทธิ ซึ่งแตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่กำหนดให้มีส่วนของสิทธิแบ่งเป็น 9 ส่วน บททั่วไป ความเสมอภาค สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ เสรีภาพในการแสดงความ ...

สิทธิมนุษยชนให้ความสําคัญกับเรื่องใด

สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการ รับรอง ทั้งความคิดและการกระท าที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการคุ้มครองตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

สิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีอะไรบ้าง สิทธิมนุษยชนแห่งชาติเกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใด สิทธิมนุษยชนให้ความสําคัญกับเรื่องใด สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ 2560 สรุป การกำหนดเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย มีอยู่ในกฎหมายใด คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีจำนวนกี่คน สิทธิตามรัฐธรรมนูญ การกําหนดเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย มีอยู่ในกฎหมายใด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ได้ให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจนโดยบัญญัติไว้ในหมวดใด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้ให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจนโดยบัญญัติไว้ในหมวดใด