สินค้า อุปโภค บริโภค มี อะไร บ้าง

ารเสนอขายให้ได้ผลนั้น พนักงานขายต้องมีความรู้ และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสินค้าอย่างละเอียด เพื่อจะได้ตอบคำถามลูกค้าได้ถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการซื้อสินค้า อีกทั้งยังช่วยในการตอบคำถามข้อโต้แย้งได้เป็นอย่างดี   และช่วยให้พนักงานขายมีความเชื่อมั่นในตนเองและตัวสินค้าด้วย

ความหมายของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ 

                                สินค้า หรือผลิตภัณฑ์ ( Product ) หมายถึง การนำผลิตผล ( Produce )หรือวัตถุดิบ ( Raw Material ) ที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อ ปลา แร่ธาตุ ฯลฯมาผ่านกรรมวิธีในการผลิต อาจจะใช้เครื่องจักร ออกมาเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์    

ประเภทของสินค้า

แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. สินค้าอุปโภคบริโภค ( Consumer Goods)

2. สินค้าอุตสาหกรรม ( Industrial Goods)

สินค้าอุปโภคบริโภค ( Consumer Goods)   คือ สินค้าที่ผู้บริโภคซื้อไปเพื่อใช้เอง 

แบ่งตามลักษณะการซื้อของผู้บริโภคได้ 4 ชนิด คือ
 

1. สินค้าสะดวกซื้อ ( Convenience Goods) เป็นสินค้าที่เป็นของกินของใช้ประจำวันที่ราคาไม่แพง ใช้เป็นประจำ และเคยชินกับยี่ห้อ เช่น ผงซักฟอก สบู่ ผ้าอนามัย 

ยาสีฟัน ไม้ขีด   นิตยสาร หนังสือพิมพ์ เป็นต้น

2. สินค้าเปรียบเทียบซื้อ ( Shopping Goods )   เป็นสินค้าราคาสูง คงทนถาวร

ซื้อไม่บ่อยนัก จะเลือกยี่ห้อที่เหมาะกับตนเอง   ต้องมีการเปรียบเทียบหลาย ๆ ร้าน หลาย ๆ ยี่ห้อ

เปรียบบริการ สมรรถนะ รูปแบบ ราคา คุณภาพ ฯลฯ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า  ตู้เย็น โทรทัศน์   เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ

3. สินค้าเจาะจงซื้อ ( Specialty Goods )   มีความพอใจเป็นพิเศษ จะซื้อยี่ห้อนี้เท่านั้น มีความภักดีสูง เช่น เครื่องสำอาง น้ำหอม คอมพิวเตอร์ รถยนต์   ฯลฯ

4. สินค้าไม่แสวงซื้อ ( Unsought Goods )   เป็นสินค้าใหม่ที่เพิ่งวางตลาด หรือเป็นสินค้าที่มีราคาสูงเกินอำนาจซื้อ ไม่เห็นความสำคัญ หรือ ความจำเป็น ผู้ขายต้องใช้ความพยายาม และต้องเป็นการขายตรงถึงจะได้ผล เพราะเป็นสินค้าขายยาก เช่น ประกันภัย สารานุกรม    วิตามินบำรุง    เครื่องออกกำลังกาย   เครื่องนุ่งห่อมราคาแพงมากๆ  เป็นต้น

สินค้าอุตสาหกรรม 

( Industrial Goods) คือ สินค้าที่ซื้อไปเพื่อใช้ในการผลิต หรือดำเนินงาน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
 

1. วัตถุดิบและชิ้นส่วน ( Material and Parts )   คือ สินค้าที่ซื้อไปเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต แล้วได้สินค้าสำเร็จรูปออกมา เช่น มันสำปะหลัง และอ้อย เป็นวัตถุดิบของการทำผงชูรส เป็นต้น

2. สินค้าทุน ( Capital   Goods )   เป็นสินค้าที่ช่วยในการผลิต เช่น เครื่องจักรที่ใช้บดมันสำปะหลังกับอ้อย แล้วนำมาผ่านกรรมวิธีทางเคมีให้แปรสภาพเป็นผงชูรส เป็นต้น

                3. วัสดุใช้สอยและบริการ ( Supplies and Service )   เป็นสินค้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการผลิตให้สะดวก คล่องตัว เช่น วัสดุในการซ่อมแซมและบำรุงเครื่องจักร วัสดุ

สำนักงาน แรงงานเป็นต้น                                 

แหล่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

1. พนักงานขายควรไปศึกษาดูงานถึงโรงงานผู้ผลิต เมื่อจะได้ทราบถึงการได้มาของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต เพื่อจะได้นำประสบการณ์จริงมาเล่าให้ลูกค้าฟังได้อย่างมั่นใจ

2. คู่มือขาย ที่กิจการจัดทำขึ้น ซึ่งจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติของกิจการ ประวัติของผู้บริหาร    รายละเอียดของสินค้าทุกประเภท มีภาพประกอบสวยงาม   ผลประโยชน์ของพนักงานขาย    และวิธีติดต่อกับบริษัท

3. แฟ้มขาย จัดทำขึ้นเพื่อช่วยในการเสนอขายสินค้าของพนักงานขายกับลูกค้า   เป็นรูปภาพเกี่ยวกับสินค้า บอกราคาขาย รางวัลที่กิจการได้รับ ใบรับรองคุณภาพ ใบสั่งซื้อ

4. การฝึกอบรมพนักงานขาย   ก่อนเริ่มดำเนินงาน กิจการจะฝึกอบรมพนักงานขายให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับสินค้า กิจการ วิธีดำเนินการขาย

5. ทัศนวัสดุช่วยศึกษา เช่น วีดีโอ ซีดี เทป ให้พนักงานได้ศึกษามากขึ้น

6. ประโยชน์ของสินค้า และการเก็บดูแลรักษา   พนักงานขายต้องรู้และศึกษาให้ได้ เพื่อตอบคำถามของลูกค้า

7. คู่แข่งขัน พนักงานขายต้องศึกษาสินค้าของคู่แข่ง เพื่อหาข้อเปรียบเทียบและตอบคำถามของลูกค้าได้ว่า สินค้าของเราดีกว่าอย่างไร แต่ทั้งนี้ ต้องไม่โจมตีสินค้าคู่แข่งเป็นอันขาด เพราะถือเป็นผิดจรรยาบรรณอย่างหนึ่ง

ประโยชน์ที่ได้รับจากการมีความรู้เกี่ยวกับสินค้า

              พนักงานขายรู้รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าจะช่วยให้สามารถหาข้อดีเด่นด้านต่าง ๆ ของสินค้ามาเป็นจุดขายที่ดีได้ และสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างกับสินค้าคู่แข่งทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเสนอขายได้

ในการขายสินค้า พนักงานขายต้องจำไว้อย่างหนึ่งว่า ผู้บริโภคซื้อสินค้าเพราะ ประโยชน์ที่เขาได้รับจากสินค้านั้น ๆ    ไม่ใช่พูดถึงแต่ตัวสินค้าหรือประโยชน์ของสินค้า   เช่น

“    เครื่องดูดฝุ่นของเราใช้มอเตอร์ที่มีความเร็วสูง  ( คุณสมบัติ )  จึงสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วเป็นสองเท่า  ( ประโยชน์ของสินค้า ) โดยใช้แรงงานน้อยกว่า  ( ประโยชน์ของสินค้า )  จึงสามารถประหยัดเวลาในการทำความสะอาดได้ถึง 15 – 30 นาที  ( ประโยชน์ของผู้บริโภค ) ช่วยให้คุณเหน็ดเหนื่อยน้อยลง (ประโยชน์ของผู้บริโภค ) ”

นอกจากนี้ พนักงานขายควรรู้ว่ากิจการมีบริการหลังการขายอย่างไร การรับประกันหลังการขาย ศูนย์บริการอยู่ที่ใด ชิ้นส่วนอะไหล่หาง่ายหรือไม่ 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง พนักงานขายก็ต้องศึกษาและให้คำแนะนำลูกค้าได้ ไม่ใช่รู้แต่เฉพาะสินค้าที่ตนเองขายเท่านั้น   เช่น ขายรถยนต์ก็จำเป็นต้องรู้เครื่องยนต์ของรถเป็นอย่างดี

รู้วิธีการดูแลรักษารถ  อุปกรณ์ตกแต่งรถ บริษัทประกันรถ แหล่งเงินกู้ซื้อรถ เป็นต้น

สินค้าที่เป็นสายผลิตภัณฑ์ ( Product Line ) ของกิจการ พนักงานขายก็ต้องมีความรู้ไว้บ้าง เพราะลูกค้าอาจต้องการซื้อสินค้าอย่างอื่นของบริษัทด้วย เป็นการช่วยเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น   เช่น เป็นพนักงานขายอาหารไก่ตามฟาร์มไก่    ก็ต้องรู้ว่ากิจการของตนนอกจากขายอาหารไก่แล้วยังขายผลิตภัณฑ์จากไก่อีกด้วย เช่น เนื้อไก่สด  ลูกชิ้นไก่  ไส้กรอกไก่  ด้วย

เพราะเจ้าของฟาร์มอาจต้องการซื้อสินค้าเหล่านี้ เพราะจะเปิดร้านขายอาหาร เป็นต้น

การรู้จักสินค้าจะช่วยให้พนักงานขายสามารถเชื่อมโยงคุณสมบัติและประโยชน์ของสินค้า กับประโยชน์ที่ผู้บริโภคต้องการจากสินค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อันจะนำไปสู่การซื้อสินค้านั่นเอง

ตัวอย่างสินค้าที่เป็นสายผลิตภัณฑ์

สินค้า อุปโภค บริโภค มี อะไร บ้าง

สินค้าอุปโภคบริโภคมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

1. สินค้าสะดวกซื้อ Convenience Goods สินค้า ประเภทนี้หาซื้อได้ทั่วไป ราคาสิ้นค้าไม่สูง เช่น สบู่ยาสีฟัน 2. สินค้าเปรียบเทียบ Shopping Goods สินค้าปรเภท นี้ผู้ซื้อจะท าการเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ กระเป๋า

สินค้าเพื่อการบริโภคหมายถึงอะไร

ในเชิงของวิชาเศรษฐศาสตร์ สินค้าบริโภค หมายถึงสินค้าที่สุดท้ายแล้วใช้บริโภคมากกว่าที่จะนำไปผลิตสินค้าอื่นต่อ ตัวอย่างเช่น รถยนต์ที่ขายให้ผู้บริโภคถือเป็นสินค้าบริโภค หรือ "สินค้าสุดท้าย" (final goods) ส่วนยางล้อรถที่ขายให้ผู้ผลิตรถยนต์ไม่ถือเป็นสินค้าสุดท้ายแต่เป็นสินค้าช่วงกลาง (intermediate goods)ที่นำมาใช้ประกอบเป็น ...

ประเภทของสินค้ามีอะไรบ้าง

ประเภทของสินค้า แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. สินค้าอุปโภคบริโภค ( Consumer Goods) 2. สินค้าอุตสาหกรรม ( Industrial Goods) สินค้าอุปโภคบริโภค ( Consumer Goods) คือ สินค้าที่ผู้บริโภคซื้อไปเพื่อใช้เอง

สินค้าอุปโภคบริโภคอยู่ในตลาดประเภทใด

ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Markets) ตลาดประเภทนี้ผู้ซื้อจะกระจายอยู่ทั่ว ๆ ไป กิจการจะเสนอสินค้าหรือบริการในวงกว้างและจำนวนมาก ๆ ตัวอย่างเช่น สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป สบู่ ผงซักฟอกของสินค้า เครื่องดื่มน้ำอัดลม ล้วนแต่ต้องใช้เวลา