ข้อ ใด กล่าว ไม่ ถูก ต้อง เกี่ยว กับ กฎหมาย ประกัน สังคม

สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองที่ผู้ประกันตนควรทราบ

ข้อ ใด กล่าว ไม่ ถูก ต้อง เกี่ยว กับ กฎหมาย ประกัน สังคม
การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน

เมื่อพนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างชั่วคราว (งบคลัง) และลูกจ้างชั่วคราว(งบพิเศษ) เข้ามาปฏิบัติงานแล้ว มหาวิทยาลัย จะต้องดำเนินการแจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนต่อสำนักงานประกันสังคม โดยให้พนักงานและลูกจ้างติดต่องานสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ 
          (1) กรณีที่พนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างชั่วคราวยังไม่เคยขึ้นทะเบียนประกันตน จะต้องแนบหลักฐานได้แก่ 
               • แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) 
               • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจำนวน 1 ชุด หรือสำเนาทะเบียนบ้าน 
               • หนังสือเดินทาง หรือใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าว สำหรับลูกจ้างชาวต่างประเทศ 
          (2) กรณีที่พนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างชั่วคราว เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาแล้ว จะต้องแนบเอกสารหลักฐาน ได้แก่ 
               • แบบขึ้นทะเบียนรับผู้ประกันตนเข้าทำงาน (สปส.1-03/1) หรือ (สปส.6-08) 
               • สำเนาประจำตัวบัตรประชาชน จำนวน 1 ชุด 
          (3) ในปัจจุบันสำนักงานประกันสังคม จะให้ใช้บัตรประจำตัวประชาชน แทนบัตรประกันสังคมฉบับเดิม

ข้อ ใด กล่าว ไม่ ถูก ต้อง เกี่ยว กับ กฎหมาย ประกัน สังคม
บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล

จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ไว้ใช้แสดงตน เมื่อจะเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ที่ระบุในบัตรทุกครั้ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และต้องแนบหลักฐาน ได้แก่ 
              • แบบขอรับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล (สปส.9-02) 
              • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด

ข้อ ใด กล่าว ไม่ ถูก ต้อง เกี่ยว กับ กฎหมาย ประกัน สังคม
การเปลี่ยนแปลงบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลเนื่องจาก 
         (1) เปลี่ยนสถานที่ประกอบการใหม่ หรือย้ายที่พัก 
         (2) ชื่อ – สกุล ไม่ถูกต้อง 
         (3) บัตรรับรองสิทธิสูญหาย 
         (4) ต้องการจะเปลี่ยนโรงพยาบาลใหม่ ผู้ประกันตนจะต้องแนบหลักฐาน ได้แก่ 
             • แบบขอเปลี่ยนแปลงบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล (สปส.9-02) 
             • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด 
             • ให้คืนบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลฉบับเดิม

ข้อ ใด กล่าว ไม่ ถูก ต้อง เกี่ยว กับ กฎหมาย ประกัน สังคม
การลาออกของผู้ประกันตน

หน่วยงานต้นสังกัด จะต้องดำเนินการกรอกแบบแจ้งการลาออกของผู้ประกันตน (สปส.6-09) และส่งให้งานสวัสดิการกองการเจ้าหน้าที่ ภายใน 7 วัน ก่อนที่ผู้ประกันตน จะพ้นจากหน้าที่การปฏิบัติงาน

ข้อ ใด กล่าว ไม่ ถูก ต้อง เกี่ยว กับ กฎหมาย ประกัน สังคม
การขอรับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคม
          ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2533 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 ลูกจ้างผู้ประกันตนมีสิทธิ ได้รับสิทธิประโยชน์ และความคุ้มครอง รวม 7 กรณี

  1. เจ็บป่วย หรือประสบอันตราย (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน)

  2. ทุพพลภาพ (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน)                                

  3. ตาย (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน)

  4. คลอดบุตร

  5. สงเคราะห์บุตร

  6. ชราภาพ

  7. ว่างงาน

 กรณีเจ็บป่วยหรือประสบภัยอันตรายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

• ผู้ประกันตนมีสิทธิ ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีเจ็บป่วย หรือประสบอันตรายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำงาน ดังนี้ 
          • บริการทางการแพทย์รวมถึงค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษา 
          • ค่าบริการทางการแพทย์กรณีทันตกรรม

ผู้มีสิทธิ… 
         ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนวันเข้ารับบริการทางการแพทย์ 
         1. กรณีเจ็บป่วยทั่วไป 
             ให้ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามที่ระบุไว้ในบัตรรับรองสิทธิฯ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เว้นแต่มีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องผู้ป่วยพิเศษ หรือเวชภัณฑ์พิเศษ นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง 
         2. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน 
             ผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้ สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง (ไม่นับรวมวันหยุดราชการ) ซึ่งผู้ประกันตน หรือผู้เกี่ยวข้อง ต้องแจ้งสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิทราบโดยเร็ว เพื่อให้รับผิดชอบการรักษาพยาบาลต่อไป สำหรับผู้ประกันตน ที่ไม่มีเงินสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น ในกรณีฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง ควรแสดงบัตรรับรองสิทธิต่อ สถาน พยาบาลก่อนการรักษาพยาบาล ซึ่งสถานพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ประกันตน หรือผู้ประกันตน ที่สำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลคืนจากสำนักงานประกันสังคม ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 
            (ก) ผู้ป่วยนอก ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง 
                 • ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง 
                 • ค่าตรวจวิเคราะห์จ่ายเพิ่ม จากค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 200 บาทต่อครั้ง 
                 • ค่าหัตถการแพทย์จ่ายเพิ่มจากค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 200 บาทต่อครั้ง 
            (ข) ผู้ป่วยใน ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง 
                 • ค่ารักษาพยาบาลไม่เกินวันละ 1,500 บาท 
                 • ค่าห้อง ค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท 
                 • ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มกรณีที่ต้องรักษาในห้อง ICU ไม่เกินวันละ 2,000 บาท 
                 • กรณีผ่าตัดใหญ่ ไม่เกิน 2 ชั่วโมง 8,000 บาท เกิน 2 ชั่วโมง 14,000 บาท 
                 • CT Scan หรือ MRI 4,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด 

กรณีอุบัติเหตุ 
              กรณีอุบัติเหตุ และไม่สามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ สามารถเข้ารับการรักษา กับสถานพยาบาลอื่นได้ สำนักงานประกันสังคม จะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จำเป็น ภายใน ระยะเวลา ไม่เกิน 72 ชั่วโมง และมีเงื่อนไขเช่นเดียวกับ กรณีฉุกเฉิน โดยผู้ประกันตน สำรองจ่าย ค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และสามารถ เบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคม ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 
            (1) เข้ารับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลของรัฐ 
                 • ผู้ป่วยนอก จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น 
                 • ผู้ป่วยใน จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ยกเว้น ค่าห้อง ค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง 
            (2) เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชน 
                 • จ่ายตามหลักเกณฑ์เดียวกับกรณีฉุกเฉิน แต่ไม่จำกัดจำนวนครั้ง 
            (3) ค่าพาหนะ ในกรณีที่สถานพยาบาลนั้น มีความจำเป็นต้องส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจวินิจฉัย หรือรักษาต่อ ณ สถาน พยาบาล อีกแห่งหนึ่งภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมงแรก ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าพาหนะในอัตรา ดังนี้ 
                 • ค่ารถพยาบาลหรือเรือพยาบาล ไม่เกินครั้งละ 500 บาท 
                 • ค่าพาหนะรับจ้าง หรือพาหนะส่วนบุคคล หรือพาหนะอื่น ๆ เหมาจ่าย 300 บาทต่อครั้ง 
                 • หากข้ามจังหวัดจ่ายเพิ่มอีกตามระยะทางกิโลเมตรละ 90 สตางค์

ผู้มีสิทธิ… 
          หลักฐานที่ต้องใช้เมื่อไปสถานพยาบาล 
          • บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล 
          • บัตรที่ทางราชการออกให้ มีรูปถ่ายของผู้ประกันตน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์

การบริการที่ผู้ประกันตน จะได้รับจากสถานพยาบาล 
          สถานพยาบาลต่าง ๆ จะให้การตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคตามมาตรฐานทางการแพทย์ รวมทั้งรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ทางโรงพยาบาลไม่สามารถให้บริการได้ และต้องมีการส่งตัวไปรับการรักษายังสถานพยาบาลอื่น

การรับบริการจากโรงพยาบาลเครือข่าย 
          ในกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบัตรรับรองสิทธิฯ ที่ระบุชื่อสถานพยาบาล และสถานพยาบาลนั้น มีสถานพยาบาลอื่นที่เป็นเครือข่ายร่วมกัน ผู้ประกันตน สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ ในทุกสถานพยาบาลที่อยู่ในเครือข่าย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

วิธีการ… 
         ขั้นตอนการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

 กรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน 


          • ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนวันที่คณะกรรมการแพทย์กำหนดให้ เป็นผู้ทุพพลภาพ 
          • มีสิทธิรับเงินทดแทนการขาดรายได้ ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างตลอดชีวิต 
          • มีสิทธิรับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง เดือนละไม่เกิน 2,000 บาท 
          • หากผู้ทุพพลภาพตาย ผู้จัดการศพรับค่าทำศพ 30,000 บาท และทายาทรับเงินสงเคราะห์ 3 เท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ ถ้าส่งเงินสมทบครบ 36 เดือนขึ้นไปก่อนทุพพลภาพ และรับ 10 เท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ ถ้าส่งเงินสมทบครบ 36 เดือนขึ้นไปก่อนทุพพลภาพ 

วิธีการ… 
          1. ผู้ประกันยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีทุพพลภาพ (สปส.2-01) ที่งานสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ พร้อมแนบหลักฐาน 
             • หนังสือรับรองของนายจ้าง 
             • ใบเสร็จรับเงิน (กรณีขอรับค่าอวัยะเทียม/อุปกรณ์ ฯ) 
             • ใบรับรองแพทย์ระบุการทุพพลภาพ 
             • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 
         2. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงินสด/เช็ค และผู้ประกันตนมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้คนอื่นมารับแทนได้ หรือส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตนหรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ตามบัญชีของผู้รับประโยชน์ทดแทน

 กรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน 

ผู้มีสิทธิ… 
          • ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนวันที่ถึงแก่ความตาย 
          • ผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 30,000 บาท

ผู้จัดการศพ ได้แก่ บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุ ให้เป็นผู้จัดการศพ และได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน หรือ 
คู่สมรส บิดา มารดา หรือบุตรของผู้ประกันตน ที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน หรือบุคคลอื่นที่มีหลักฐาน แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

          • เงินสงเคราะห์กรณีตาย ดังนี้ 
            – เงินสงเคราะห์ 1.5 เท่าของค่าจ้างรายเดือนเฉลี่ยจากค่าจ้างที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนก่อนตาย ถ้าส่งเงินสมทบครบ 36 เดือนขึ้นไปหรือ 
           – เงินสงเคราะห์ 5 เท่าของค่าจ้างรายเดือน เฉลี่ยจากค่าจ้างที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนก่อนตาย ถ้าส่งเงินสมทบครบ 10 ปีขึ้นไป

วิธีการ… 
          1. กรณีขอรับค่าทำศพ ผู้จัดการศพยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส.2-01) ที่งานสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ พร้อมแนบหลักฐาน 
            • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกันตน 
            • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพ 
            • หลักฐานฌาปนสถาน หรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ 
            • ใบมรณบัตรต้นฉบับพร้อมสำเนา 
          2. กรณีขอรับเงินสงเคราะห์ ผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ ยื่นแบบขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส.2-01) พร้อมแนบหลักฐาน 
            • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ 
            • ทะเบียนสมรสของผู้ประกันตน และของบิดามารดา (ถ้ามี) พร้อมสำเนา 
            • สูติบัตร หรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร 
            • หนังสือรับรองของนายจ้าง 
         3. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงินสด/เช็ค และผู้ประกันตนมารับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้คนอื่นมารับแทนได้ หรือส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ตามบัญชีของผู้รับประโยชน์ทดแทน 
 

 กรณีคลอดบุตร 

ผู้มีสิทธิ… 
          • ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือน ก่อนวันคลอดบุตร 
          • ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 12,000 บาทต่อครั้ง ไม่เกิน 2 ครั้ง 
          • เฉพาะผู้ประกันตนหญิง ที่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน 
          • กรณีสามี – ภรรยา เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเบิกต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง หรือให้ใช้สิทธิในการเบิกจ่ายค่าคลอดบุตร รวมกันไม่เกิน 4 ครั้ง

วิธีการ… 
          1. ผู้ประกันตนยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร (สปส.2-01) พร้อมแนบหลักฐาน 
             • ทะเบียนสมรสพร้อมสำเนา 
             • สูติบัตรของบุตร 
             • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 
             • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร 
          2. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตนมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้คนอื่นมารับแทน) หรือส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ตามบัญชี ของผู้รับประโยชน์ทดแทน

 กรณีสงเคราะห์บุตร 

ผู้มีสิทธิ… 
          • ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิ ได้รับประโยชน์ทดแทน
          • มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 350 บาทต่อบุตร 1 คน ไม่เกิน 2 คน 
          • บุตรชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่แรกเกิดจนถึง อายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ 
          • ทั้งสามี – ภรรยา เป็นผู้ประกันตน ให้ใช้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเบิกก่อน

วิธีการ… 

  1. ผู้ประกันตนยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีสงเคราะห์บุตร (สปส.2-01/5) ที่งานสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ พร้อมแนบหลักฐาน 
                • หนังสือรับรองของนายจ้าง 
                • ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ประกันตน/คู่สมรส 
                • สำเนาบัตรประกันสังคม 
                • สำเนาทะเบียนสมรส/ทะเบียนหย่าของผู้ประกันตน (กรณีจดทะเบียนหย่า) 
                • สูติบัตรพร้อมสำเนา 

  2. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายให้เป็นรายเดือน โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาต่าง ๆ ตามบัญชีของผู้รับประโยชน์ทดแทน


 กรณีชราภาพ 

  1. ผู้มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ 
               • กรณีจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือน จะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม และ 
               • มีอายุมีครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง 
               • มีสิทธิรับบำนาญชราภาพ รายเดือนตลอดชีพ ในอัตราร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ที่ใช้เป็นฐาน ในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง 
               • หากจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน ให้ปรับเพื่มอัตราเงินบำนาญชราภาพ จากอัตราร้อยละ 15 เพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อระยะเวลาการตายเงินสมทบทุก 12 เดือน 

  2. ผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ 
               • กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง 
               • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย 
               • กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ เข้ากองทุน 
               • กรณีจ่ายเงินสมทบ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับ จำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตน และนายจ้างจ่ายสมทบ เข้ากองทุนพร้อมดอกผล ตามอัตราที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด 
               • กรณีผู้รับบำนาญชราภาพ ถึงแก่ความตาย ภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จำนวน 10 เท่า ของเงินบำนาญชราภาพ รายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้าย ก่อนถึงแก่ความตาย

  3. ผู้ประกันตน หรือผู้มีสิทธิ จะต้องยื่นคำขอรับประโยชน์แทนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน

  4. ขั้นตอนการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ

  1. ผู้ประกันตนยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ (สปส.2-01/6) ที่งานสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที พร้อมแนบหลักฐาน 
               • สำนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตน 
               • สำเนาทะเบียนบ้านของทายาทผู้มีสิทธิ (กรณีผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ถึงแก่ความตาย) 
               • ใบมรณบัตรพร้อมสำเนา (กรณีผู้รับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพถึงแก่ความตาย)

  2. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตนมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้คนอื่นมารับแทน) หรือส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ตามบัญชีของผู้รับประโยชน์ทดแทน 

หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์ 
           หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนการว่างงาน

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ 
          1. ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ 
          2. มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้ 
          3. ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน 
          4. ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง 
          5. ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี 
              • ทุจริตต่อหน้าที่ 
              • กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 
              • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 
              • ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง 
              • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วัน ทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร 
              • ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 
              • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา 
          6. ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ 
          7. มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงาน กับนายจ้างรายสุดท้าย 
          8. ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39

สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน

  • กรณีที่ถูกเลิกจ้าง 
              ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างกรณีลาออกจากงาน

  • กรณีสมัครใจลาออก 
              ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน ปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง 
              หากใน 1 ปีปฏิทินมีการยื่นขอรับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานเกินกว่า 1 ครั้ง ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทน ระหว่างการว่างงานรวมกันไม่เกิน 180 วัน 
              เงินทดแทนการขาดรายได้จะจ่ายเป็นงวดเดือน โดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารตามที่ผู้ประกนตนแจ้ง 

ข้อ ใด กล่าว ไม่ ถูก ต้อง เกี่ยว กับ กฎหมาย ประกัน สังคม
 กรณีว่างงาน

ขั้นตอนและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

ข้อ ใด กล่าว ไม่ ถูก ต้อง เกี่ยว กับ กฎหมาย ประกัน สังคม

ขั้นตอนและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทน

  1. ต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักจัดหางาน กรมการจัดหางาน 

  2. กรอกแบบฟอร์มใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้ 
        • บัตรประชาชน 
        • รูปถ่าย 1 นิ้ว 1 ใบ 

  3. กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้ 
        • หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการออกจากงาน (สปส 6-09) หรือ 
        • หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน 
        • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี 

  4. เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการสัมภาษณ์/ตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติการทำงาน

  5. เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการเลือกตำแหน่งงานว่างให้เลือก 3 แห่ง ให้ผู้ประกันตนกรณีว่างงานได้พิจารณา

  6. หากยังไม่มีงานที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานจะประสานงานส่งฝึกอบรมแรงงานตามความจำเป็น 

  7. เจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกสถานะผู้ประกันตนกรณีว่างงานเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง

  8. เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมดึงข้อมูลผู้ประกันตนกรณีว่างงานขึ้นมาวินิจฉัยตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

  9. เมื่อคุณสมบัติครบถ้วน สำนักงานประกันสังคมทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคาร 

  10. หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง