ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน eec

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

เสาวรัจ รัตนคำฟู

ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาลในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ “ประเทศไทย 4.0” เพื่อนำพาประเทศสู่การเป็นประเทศรายได้สูง ที่มาถูกทาง โดยพยายามแก้ไขจุดอ่อนของนโยบายก่อนหน้า เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษใน 10 จังหวัดชายแดน และการส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve industries)

รัฐบาลมุ่งหวังให้โครงการ EEC ดึงดูดการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศในพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของโครงการพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดที่เกิดขึ้นในอดีต

แม้ว่า การดึงดูดการลงทุนมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้น  เป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนา  EEC  ไม่ควรวัดจากเพียงยอดลงทุนที่ได้รับ หรือจำนวนบริษัทชั้นนำระดับโลกที่มาลงทุน  แต่ควรวัดจากความสามารถเทคโนโลยีของประเทศ และทักษะของแรงงานไทยที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการปฏิรูปกฎระเบียบและการบริการภาครัฐที่จะตามมา และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในระยะยาว

ในการดำเนินโครงการ EEC รัฐบาลได้ประกาศเสาหลักที่สำคัญ 3 ประการคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การให้แรงจูงใจเพื่อดึงดูดการลงทุน และการอำนวยความสะดวกในการลงทุน

เสาแรกคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีทั้งการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิม เช่น สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุด ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ รถไฟรางคู่ และมอเตอร์เวย์ และการเริ่มโครงการใหม่ เช่น รถไฟความเร็วสูง และเมืองอัจฉริยะ

เสาที่สองคือ การให้แรงจูงใจทางภาษีและไม่ใช่ภาษี  โดยนักลงทุนในเขตส่งเสริมจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีมากเป็นประวัติการณ์ เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 15 ปี ซึ่งทำให้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะจัดเก็บจริงของไทยต่ำที่สุดในอาเซียน และการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดเหลือเพียงร้อยละ 17   สำหรับบุคคลที่มีทักษะสูงในระดับโลก ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลไทยมีมาตรการในลักษณะดังกล่าว   นอกจากแรงจูงใจทางภาษีแล้ว นักลงทุนยังจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี เช่น การเช่าที่ดินได้สูงสุด 99 ปี การได้รับอนุญาตให้ทำธุรกรรมทางการเงินด้วยเงินตราต่างประเทศ  และการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้เสร็จภายใน 1 ปี

เสาสุดท้ายคือ การอำนวยความสะดวกในการลงทุน ซึ่งจะมีการจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ในสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยเลขาธิการของสำนักงานฯ สามารถอนุมัติหรือออกใบอนุญาตต่างๆ ได้ ทั้งที่เกี่ยวกับการควบคุมอาคาร การจดทะเบียนพาณิชย์ และการจัดสรรที่ดิน ซึ่งจะช่วยปลดล็อกปัญหาด้านกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค และการให้บริการของรัฐที่ขาดความเป็นเอกภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

การมุ่งมั่นดำเนินการตามมาตรการใน 3 เสาหลักดังกล่าวทำให้ EEC กลายเป็นโครงการที่น่าสนใจมากต่อนักลงทุน เมื่อเทียบกับการดึงดูดการลงทุนทั้งหลายของรัฐบาลไทยที่เคยมีมา   ด้านรัฐบาลเองก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การลงทุนที่จะเกิดขึ้นใน EEC จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

ผู้เขียนเชื่อว่า โครงสร้างพื้นฐานหลายอย่างทั้ง สนามบินอู่ตะเภา รถไฟรางคู่ และมอเตอร์เวย์ น่าจะเกิดขึ้นจริงตามแผนที่วางไว้ ขณะที่การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุดซึ่งมีการถมทะเล ยังต้องผ่านการยอมรับจากชุมชนก่อน  ส่วนการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินคือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภาก็มีความท้าทายไม่น้อย เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความเสี่ยงสูงและต้องใช้เวลานานกว่าจะคุ้มทุน   

ผู้เขียนยังเชื่อว่า การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ จะช่วยดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายได้พอควร แต่มาตรการดังกล่าวก็มีต้นทุนสูงและมีประสิทธิผลจำกัด ทั้งนี้อุตสาหกรรมที่คาดว่า น่าจะมีการลงทุนมากคือ สาขาที่ไทยมีความได้เปรียบเมื่อเทียบกับคู่แข่งคือ อุตสาหกรรมเดิมที่ลงทุนอยู่แล้วบางส่วน เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน และท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและเชิงสุขภาพ บริการสุขภาพ  และอุตสาหกรรมใหม่บางสาขา เช่น การซ่อมบำรุงเครื่องบิน (MRO) โลจิสติกส์ และออโตเมชั่น โดยบริษัทต่างชาติชั้นนำในระดับโลก เช่น แอร์บัส โตโยต้า และลาซาด้า ได้แสดงความสนใจที่จะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม ลำพังมูลค่าการลงทุนจากต่างชาติและโครงสร้างพื้นฐานที่จะเกิดขึ้น ไม่ควรเป็นเป้าหมายหลักของ EEC ที่ผ่านมา ไทยสามารถดึงดูดบริษัทชั้นนำระดับโลกให้เข้ามาลงทุนในประเทศได้ไม่น้อย เช่น ในอุตสาหกรรมรถยนต์ เราก็มีผู้ผลิตรายใหญ่ทั้งจากญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เราก็มีบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ 2 รายใหญ่ที่สุดโลกคือ ซีเกท และเวสเทิร์น ดิจิตอล บริษัทเหล่านี้ทำให้เกิดการจ้างงาน การเชื่อมโยงไทยเข้ากับห่วงโซ่การผลิตของโลก และทำให้ไทยกลายเป็นประเทศส่งออกรายใหญ่ในเอเชีย อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ยังคงติดอยู่ในกับดักประเทศรายได้ปานกลางอยู่เช่นเดิม

บทเรียนในอดีตจึงชี้ว่า การดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ โดยไม่ได้สร้างความสามารถทางเทคโนโลยีของตัวเอง และไม่ยกระดับทักษะของแรงงานไทย จะไม่เพียงพอที่จะทำให้ไทยกลายเป็นประเทศรายได้สูง  อันที่จริง ประสบการณ์ของประเทศต่างๆ ในโลกก็ชี้ว่า ไม่มีประเทศใดที่สามารถหลุดพันจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางลำพังด้วยการลงทุนจากต่างชาติได้เลย

นอกจากนี้ แม้โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดได้ทำให้ 3 จังหวัดมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น ประชาชนไม่น้อยในพื้นที่ และภูมิภาคอื่นๆ ในประเทศได้รับผลประโยชน์ไม่มากนัก ซึ่งทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ

ดังนั้น การพัฒนา EEC ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างแท้จริง จึงควรเริ่มจากการตั้งเป้าหมายที่เหมาะสม 4 ประการคือ

ประการแรก ไทยต้องมีความสามารถทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของไทยเข้าร่วมพัฒนาเทคโนโลยีกับบริษัทต่างชาติและบริษัทไทยที่มาลงทุน  เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลยังควรพิจารณาตั้งสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดยอาจตั้งขึ้นมาใหม่ หรือแยกบางหน่วยออกจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แต่ต้องกำหนดให้มีภารกิจที่ชัดเจนคือ การพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นหลัก

ประการที่สอง แรงงานไทยต้องมีทักษะที่เพิ่มขึ้น  ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอาชีวะของไทยต้องทำงานร่วมกับบริษัทใน EEC ในการพัฒนาบุคลากรและจัดการสอนแบบทวิภาคี เพื่อให้นักศึกษามีทักษะที่ตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง

ประการที่สาม ต้องมีการปฏิรูปกฎระเบียบของรัฐ และการให้บริการประชาชนอย่างครบวงจรตามมาโดยเร็ว โดยนำเอาบทเรียนจาก EEC ไปขยายผลทั่วประเทศ เพราะกฎระเบียบและการบริการภาครัฐที่ขาดประสิทธิภาพเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมานาน

ประการสุดท้าย ต้องมีการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการสร้างความสามารถของชุมชนอย่างจริงจัง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดในอดีต โดยต้องเน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมา และเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อสาธารณะอย่างโปร่งใส และเปิดให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย

โครงการพัฒนาของ EEC มีอะไรบ้าง

Q : ปัจจุบัน EEC ดำเนินโครงการรูปแบบการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน(PPP) กี่โครงการ มีโครงการอะไรบ้าง.
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน.
โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก.
โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่3..
โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3..
โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา.

โครงการ EEC มีจังหวัดอะไรบ้าง

โครงการ อีอีซี มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัด ในภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา แผนการพัฒนาอีอีซี เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ ทั้งทางกายภาพและทางสังคม เพื่อเป็นการยกระดับ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พื้นที่

EEC พัฒนามาจากอะไรบ้าง

EEC ย่อมาจาก Eastern Economic Corridor หรือชื่อภาษาไทยเรียกว่า โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Seaboard ซึ่งดำเนินมาตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา

การพัฒนาต่อยอด 5 อุตสาหกรรมในโครงการ EEC ได้แก่อะไรบ้าง

1. การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม ประกอบด้วย 2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) 3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) 4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) 5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)