ข้อใดเป็นอาชีพของผู้ที่มีความสนใจอาชีพงานช่างฝีมือและกลางแจ้ง (Realistic)

ค้นหาอาชีพที่เหมาะกับคุณ

การค้นหาว่าตนเองมีความชอบหรือความถนัดทางด้านไหน ถือเป็นสิ่งสำคัญใน การวางแผนการงาน โดยแบบทดสอบด้านล่างนี้จะทำให้คุณทราบคร่าวๆ ว่าคุณมี บุคลิกภาพแบบไหนและเหมาะกับอาชีพใด ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือก เรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องหรือเลือกอาชีพตามความถนัด ซึ่งข้อที่ได้คะแนนมากที่สุด จะบ่งบอกถึงบุคลิกภาพและอาชีพที่เหมาะสมกับคุณ

แบบทดสอบค้นหาอาชีพ

เลือกคำตอบที่เป็นตัวคุณเพื่อค้นหาอาชีพที่เหมาะสม

ข้อที่ 1
  • เราชอบเล่นกีฬาเป็นทีม
  • เราชอบต่อจิ๊กซอว์ หรือเล่นปริศนาอักษรไขว้
  • เรามีความสุขเมื่อเพื่อนมาขอคำแนะนำ
  • เราชอบโทรศัพท์
  • เราชอบขีดเขียนแต่งเติมรูปภาพหรือข้อความเล่นในสมุด
  • เรามีความอยากรู้อยากเห็นในหลายๆ เรื่อง

ข้อที่ 2
  • เราชอบอยู่กลางแจ้งมากกว่าในบ้าน
  • คณิตศาสตร์เป็นวิชาโปรดของเรา
  • การตัดสินในด้วยตัวเองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเรา
  • เมื่อมีปัญหา เราจะขอคำแนะนำจากผู้อื่น
  • เราอยากจะเป็นผู้เล่นละครมากกว่าดูละคร
  • เราชอบสังเกตุและให้ความสนใจกับสภาพอากาศ ต้นไม้หรือสัตว์

ข้อที่ 3
  • เราสนุกกับการทำงานประเภททำสวน ทำอาหาร ซ่อมจักรยานหรือรถยนต์ เย็บผ้า
  • เราจดรายการสิ่งที่ต้องทำเสมอ
  • เมื่อต้องหารายได้ เราอยากลองทำงานของตัวเองมากกว่าเป็นลูกจ้างในบริษัทขนาดใหญ่
  • เรามีความสุขเมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่น
  • เราชอบใช้จินตนาการและเขียนนิยาย
  • วิชาโปรดของเรา คือ วิทยาศาสตร์

ข้อที่ 4
  • เราชอบเลี้ยงสัตว์
  • ลายมือเราสวย และอ่านง่าย
  • เราคงจะมีความสุข ถ้าได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดกระทรวง
  • เราชอบเขียนจดหมายถึงเพื่อน หรือชอบเขียนบันทึก
  • เราอยากทำงานคนเดียวมากกว่าทำงานเป็นกลุ่ม
  • เราชอบแยกส่วนประกอบของสิ่งต่างๆ เพื่อดูว่ามันทำงานอย่างไร

ข้อที่ 5
  • เราชอบงานที่ต้องใช้อุปกรณ์ และเครื่องมือ
  • เราชอบห้องที่สะอาดเรียบร้อย
  • เราไม่อายที่จะแสดงความคิดเห็นของตัวเอง หรือยกมือตอบคำถามในห้องเรียน
  • เราชอบทำงานเป็นกลุ่มมากกว่าทำงานคนเดียว
  • เราชอบตกแต่งห้องส่วนตัวใหม่
  • เราชอบอ่านวารสารประเภทสารคดี หรือการเมือง

ข้อที่ 6
  • เราอยากจะขี่จักรยานมากกว่าดูทีวี
  • เราชอบใช้คอมพิวเตอร์
  • เราคิดว่าเราเป็นหัวหน้าทีมที่ดีเยี่ยม
  • เราสามารถทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ ได้ง่าย
  • วิชาโปรดของเราคือ ดนตรี หรือ ศิลปะ
  • เราให้ความใส่ใจ / ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม

หมายเหตุ

ผลที่ได้จากการประมวลข้างต้นนี้ เป็นเพียงแนวทางคร่าวๆ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ความชอบหรือความถนัด อาจเปลี่ยนแปลงไปตามประสบการณ์และความชำนาญที่เพิ่มมากขึ้น

ที่มา

1. หนังสือเงินทองของมีค่า ช่วงชั้นที่ 3
2. หนังสือเงินการเงินส่วนบุคคล "เงินทองของมีค่า" สำหรับอาชีวศึกษา
3. หนังสือเงินทองต้องใส่ใจ เล่ม 1 (วางแผนการเงินส่วนบุคคล)
4. John L. Holland, Ph. D., Occupational Congruance Theory

มหาวิทยาลัยศิลปากร
Silpakorn University

หน่วยจิตวิทยา
และการแนะแนว

แนะแนวอาชีพ

การเลือกแนวทางการประกอบอาชีพ
ทฤษฎีด้านบุคลิกภาพ
ทฤษฎีด้านการประกอบอาชีพ
อาชีพในยุค Thailand 5.0

การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)

การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)
หมายถึง กระบวนการสร้างเสริมให้นักศึกษาเลือก
ประกอบอาชีพ ตรงกับความต้องการตามบุคลิกภาพของ
นักศึกษาที่ค้นพบ และพัฒนาศักยภาพให้มีทักษะการ
ดำเนินชีวิต ผ่านวิกฤติ วางแผนการประกอบอาชีพให้
สอดคล้องกับความต้องการตลาดแรงงานและสามารถ

ปรับตัวได้อย่างมีความสุข

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักศึกษา มีความรู้ 2. เพื่อให้ข้อมูลสารสนเทศแก่
ความเข้าใจเกี่ยวกับการ นักศึกษาเกี่ยวกับอาชีพที่
ประกอบอาชีพต่าง ๆ นักศึกษาสนใจ
ในสถานการณ์พลิกผันต้องมี และเข้าใจในอาชีพในยุค
ทักษะฝึกปฏิบัติวิชาชีพให้เกิด Thailand 5.0 อย่างลึกซึ้ง
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
และเป็นผู้ประกอบการ

3. เพื่อให้นักศึกษารู้จักวิธีการ
แสวงหางาน การสมัครงาน เทคนิค
การสัมภาษณ์งาน การปรับตัว
ให้เข้ากับงานและการปฏิบัติตนให้มี
ความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน

อาชีพในยุค Thailand 5.0 มีทั้งหมด 10 อาชีพ
ได้แก่

1. Coder - นักเขียนโค้ด
2. Strategist - นักวางกลยุทธ์
3. Data Analyst - นักวิเคราะห์ข้อมูล
4. User Experience Designer - นักออกแบบจากประสบการณ์ผู้ใช้งาน
5. Software Developer - นักพัฒนาซอฟต์แวร์
6. Computer Systems Analyst - นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์
7. IT Manager - ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
8. Information Security Analysts - นักวิเคราะห์ความปลอดภัยของข้อมูล
9. Computer Network Architect - สถาปนิกเครือข่ายคอมพิวเตอร์
10. Computer Support Specialist - ผู้เชี่ยวชาญด้านการสนับสนุนคอมพิวเตอร์

อาชีพ 7 สายงานทำเงินมาแรง เทรนด์ใหม่ในยุค 5.0

1. สายฟิตแอนด์เฟิร์ม

2. สายแพทย์ทางเลือก

ภาพจาก https://phuketinternationalhospital.com/
โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

3. สายแนะแนวการประกอบอาชีพเสริม

ภาพจาก MGR Online

ภาพจาก www.siamarcheep.com

4. สายวางแผนด้านการเงิน และการลงทุนสำหรับวัยเกษียณ
5. สายพัฒนาแอปพลิเคชั่น

6. สายพยาบาลเพื่อดูแลผู้สูงอายุ

สถานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะยาว (เนอร์สซิ่งโฮม)

ภาพจาก studyabroadscholars

7. สายโค้ช (COACH PRACTITIONER)

1) โค้ชภายนอกองค์กร/โค้ชอิสระ (External Coach Practitioner)
2) โค้ชภายในองค์กร (Internal Coach Practitioner)
3) ผู้เป็นโค้ชทั้งภายในและภายนอกองค์กร (Both External & Internal Coach Practitioner)

ทฤษฎีการเลือกอาชีพ

จอห์น แอล ฮอลแลนด์ (John L. Holland)
เป็นผู้สร้าง "แบบสำรวจความพอใจในอาชีพ"

(The Vocational Preference Inventory)
ได้สร้าง "ทฤษฎีการเลือกอาชีพ" ขึ้นโดยมีความ

คิดพื้นฐาน 4 ประการ
(Holland. 1973 : 2 - 4) ดังนี้

บุคลิกภาพของบุคคลทั่วไปแบ่งได้เป็น 6 ลักษณะ สิ่งแวดล้อมของบุคคลก็แบ่งได้เป็น 6 อย่าง
ตามความสนใจอาชีพประเภทต่าง ๆ ต่อไปนี้คือ ตามความสนใจอาชีพประเภทต่าง ๆ ข้างต้นเช่น
งานช่างฝีมือและกลางแจ้ง งานวิทยาศาสตร์และ เดียวกัน สิ่งแวดล้อมแต่ละอย่างนี้ถูกครอบงำโดย
เทคนิค งานบริการการศึกษาและสังคม งานสำนัก บุคลิกภาพ และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาและ
และเสมียน งานจัดการและค้าขาย งานศิลปะดนตรี ความกดดันบางประการและโดยเหตุที่บุคลิกภาพ
และวรรณกรรมบุคลิกภาพแต่ละลักษณะเป็นผลจาก ต่างกัน ทำให้ความสนใจและความถนัดต่างกันด้วย
การปะทะสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมต่าง ๆ ท้ายที่สุด บุคคลจึงมีแนวน้มจะหันเข้าหาบุคคลหรือสิ่งต่าง ๆ
ความสนใจและความสามารถเฉพาะจะกำหนดให้ ที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพของตน ดังนั้น บุคคลใน
บุคลิกคิด รับรู้ และแสดงเอกลักษณ์ของตน
กลุ่มเดียวกันจึงมักจะมีอะไร ๆ คล้าย ๆ กัน

บุคคลจะค้นหาสิ่งแวดล้อมที่ พฤติกรรมของบุคคลถูกกำหนดโดย
เอื้ออำนวยให้เขาได้ฝึกทักษะและใช้ บุคลิกภาพและสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ เมื่อเรา
ความสามารถของเขาทั้งยังเปิด ทราบบุคลิกภาพและสิ่งแวดล้อมบุคคลก็จะทำให้
โอกาสให้เขาได้แสดงทัศนคติ ค่า เราทราบถึง ผลที่จะติดตามมาด้วย ซึ่งได้แก่การ
เลือกอาชีพ การเปลี่ยนงาน ความสำเร็จในอาชีพ
นิยม และบทบาทของเขา
ความสามารถเฉพาะ

พฤติกรรมทางการศึกษาและสังคมนอกจากความ
คิดพื้นฐาน 4 ประการข้างต้นแล้ว ฮอลแลนด์ยังมี

แนวคิดปลีกย่อยเพิ่มเติมอีก 4 ประการ
(Holland. 1973 : 4 - 5) ดังนี้

1. ความสอดคล้องต้องการ (Consistency) 2. ความแตกต่างกัน (Differentiation)
บุคลิกภาพบางลักษณะมีความสอดคล้อง โดยปกติ บุคคลจะมีบุคลิกภาพเด่นชัดอยู่
ต้องการ เช่น บุคลิกภาพของผู้มีความสนใจ ลักษณะหนึ่ง แม้จะมีบุคลิกลักษณะอื่น ๆ
อาชีพประเภทงานช่างฝีมือและกลางแจ้งกับ
ปะปนอยู่บ้าง แต่บางคนอาจจะมี
บุคลิกภาพของผู้มีความสนใจอาชีพประเภทงาน บุคลิกภาพลักษณะต่าง ๆ อยู่ในระดับใกล้
วิทยาศาสตร์และเทคนิค หรือบุคลิกภาพของผู้มี
เคียงกันจนยากต่อการชี้ชัดลงไปว่า
ความสนใจอาชีพประเภทงานสำนักงานและ บุคคลนั้นมีบุคลิกภาพลักษณะใด
เสมียนกับบุคลิกภาพของผู้มีความสนใจอาชีพ
ประเภทงานศิลปะ ดนตรี และวรรณกรรม

สย่นเอสหใมนจมบขเ3ใุอาหจอค.าะปงมลชสิคผีรกูาพ้มวมะะภีปากเสคัาภมนรมวพทะเากหแเังเมภบชลมา่สทนบนะาุนสนคะชิี่่้สใสงาลิมจ่ิแงงมกาปแฝวกกภีรวัดมนกาะืลลอ้พวเ้อ่ภอแ(าขมCมทลบอุขoะตอคืง้่อnกอนลผูgิงล้งกมผrีมาูภ้คีuมงคีาeวแควพnาจวา้cมงามeม) 4บดุ.แัคแงกตกล็่ลนิัทลา้กะนำระตภเคอ่ใมาหาืาย้่งพ่อสดากบ็แางคุมมตมคีะ่ิลคาลคเัไกนดวระล้าษถแลมัม(ยีคณกCบสกาุษัะaคดมจอณlืลค่พาcินัะกกuะนไแภเlกดธนัu้ล์านดภsถ้ะพึโว)าสงดิลย่ยบังยโุกใแดคเนษดวยล็กิณดดเักนหลขะภ้อตาอหุายดทมูีพน่่ึ่ง

ที่มาของทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์

"ทฤษฎีการเลือกอาชีพ" ของฮอลแลนด์เป็นผลจากการสังเกตของเขา
และของคนอื่น ๆ เกี่ยวกับความสนใจ ลักษณะและพฤติกรรมของบุคคล
และมีส่วนสัมพันธ์กับทฤษฎีของกิลฟอร์ด (Guilford. 1954) ซึ่งได้
วิเคราะห์บุคลิกภาพและความสนใจของบุคคลออกเป็น 6 ประเภท คือ ด้าน
จักรกล ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านบริการสังคม ด้านสารบรรณ ด้านธุรกิจ และ
ด้านศิลปะ นอกจากนี้ ทฤษฎีของฮอลแลนด์ยังมีส่วนคล้ายคลึงกันกับทฤษฎี
ของแอดเลอร์ (Adler. 1939) ของฟรอมม์ (Fromm. 1947) ของจุง
(Jung. 1933) ของเซลดอน (Sheldon. 1954) ของสแปรงเจอร์
(Spranger. 1928)โดยเฉพาะการประเมินสิ่งแวล้อมเพื่อช่วยจำแนก
ลักษณะของบุคคลมีแนวความคิดมาจากลินดัน (Linton. 1945)

กล่าวโดยสรุป "ทฤษฎีการเลือกอาชีพ" ของฮอลแลนด์มีแนวคิด
พื้นฐานดังนี้

1. การเลือกอาชีพเป็นการแสดงออกซึ่งบุคลิกภาพ
2. แบบสำรวจความสนใจคือแบบสำรวจบุคลิกภาพ
ฮอลแลนด์ได้กล่าวถึง "การเลือกอาชีพ" ไว้ว่า "การเลือกอาชีพ
คือ การกระทำที่สะท้อนให้เห็นถึงแรงจูงใจ ความรู้ บุคลิกภาพ และ
ความสามารถของบุคคล อาชีพเป็นวิถีชีวิต ส่วนสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่
ชี้ให้เห็นงานและทักษะ"

บุคลิกภาพการเลือกอาชีพ

การกำหนดลักษณะบุคลิกภาพ
ฮอลแลนด์ได้จำแนกลักษณะบุคลิกภาพตามความสนใจอาชีพ
ต่าง ๆ 6 ประเภท โดยมีเป้าหมายดังนี้
1. ชี้แนะประสบการณ์ที่จะนำไปสู่ลักษณะเฉพาะของบุคคล
2. อธิบายให้ทราบว่า ประสบการณ์นำไปสู่ลักษณะเฉพาะได้
อย่างไร และลักษณะเฉพาะนำไปสู่พฤติกรรมได้อย่างไร
3. แยกแยะความเหมาะสมระหว่างบุคลิกภาพแต่ละลักษณะกับ
เหตุการณ์ทั้งเก่าและใหม่

1. บุคลิกภาพของผู้มีความสนใจอาชีพประเภทงานช่างฝีมือ
และกลางแจ้ง (Realistic)

พันธุกรรมและประสบการณ์ทำให้บุคคลกลุ่มนี้ชอบประกอบกิจกรรม
ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของ เครื่องมือ จักรกล และสัตว์เลี้ยง แต่ไม่ชอบกิจกรรม
ด้านการศึกษาและการแพทย์ ดังนั้นบุคคลกลุ่มนี้จึงมีความสามารถทางด้าน
การช่าง เครื่องยนตร์ การเกษตร ไฟฟ้า และเทคนิค แต่ด้อยความสามารถ
ทางด้านสังคมและการศึกษา

สรุปแล้ว บุคคลกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมดังนี้
1) ชอบอาชีพประเภทงาช่างฝีมือและกลางแจ้ง แต่ไม่ชอบอาชีพประเภท
งานบริการการศึกษาและสังคม
2) เขาจะใช้ความสามารถที่เขามีแก้ปัญหาเกี่ยวกับการงานและเรื่องอื่น ๆ
3) เขาจะรับรู้ตัวเองในฐานะผู้มีความสามารถทางด้านเครื่องยนตร์และกีฬา
แต่ขาดความสามารถทางด้านการเข้าสังคม
4) เขาจะนิยามสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนิยามลักษณะภายนอกของบุคคล
เช่น เงิน อำนาจ สถานภาพ
และโดยเหตุที่มีความสนใจ ความสามารถและค่านิยมต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น
บุคคลกลุ่มนี้จึงมีลักษณะต่อไปนี้คือ ขี้อาย หัวอ่อน เปิดเผย จริงจัง แข็งแรง
วัตถุนิยม เป็นธรรมชาติ เรียบ ๆ พากเพียร
อาชีพที่บุคคลกลุ่มนี้สนใจ ได้แก่ ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างวิทยุ ช่างทำ
บล็อค คนขับรถขุดดิน เป็นต้น

2. บุคลิกภาพของผู้มีความสนใจอาชีพประเภทงาน
วิทยาศาสตร์และเทค
นิค (Investigative)

พันธุกรรมและประสบการณ์ทำให้บุคคลกลุ่มนี้ชอบประกอบกิจกรรมที่
เกี่ยวข้องกับการสังเกตสัญลักษณ์ การจัดระบบ การทดลองด้านกายภาพ
ชีวภาพ และปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม เพื่อจะได้เข้าใจและควบคุม
ปรากฏการณ์นั้น ๆ แต่ไม่ชอบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการชักชวน การเข้า
สังคม และการเลียนแบบ

ดังนั้นบุคคลกลุ่มนี้จึงมีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และการ
คำนวณ แต่ด้อยความสามารถทางด้านการโฆษณาชักชวน

สรุปแล้ว บุคคลกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมดังนี้
1) ชอบอาชีพประเภทงานวิทยาศาสตร์และเทคนิค และไม่ชอบอาชีพ
ประเภทงานจัดการและค้าขาย
2) เขาจะใช้ความสามารถที่เขามีแก้ปัญหาเกี่ยวกับการงานและเรื่องอื่น ๆ
3) เขาจะรับรู้ตัวเองในฐานะนักวิชาการ เชื่อมั่นในความคิดของตนเอง มี
ความสามารถทางด้านการคำนวณและวิทยาศาสตร์ แต่ขาความสามารถทาง
ด้านการเป็นผู้นำ
4) เขาจะมีค่านิยมทางด้านวิทยาศาสตร์
และโดยเหตุที่มีความสนใจ ความสามารถ การรับรู้ตนเอง และค่านิยมต่าง ๆ
ดังกล่าวข้างต้น บุคคลกลุ่มนี้จึงมีลักษณะต่อไปนี้คือ ชอบวิเคราะห์ รอบคอบ
เป็นนักวิจารณ์ ใฝ่รู้ รักอิสระ ฉลาด เก็บตัว มีหลักการ อดทน เฉียบขาด
อาชีพที่บุคคลกลุ่มนี้สนใจ ได้แก่ นักอุตุนิยมวิทยา นักชีววิทยา นักเคมี
นักฟิสิกส์ นักเขียนบทความทางวิชาการ เป็นต้น

3. บุคลิกภาพของผู้มีความสนใจอาชีพประเภทงานบริการการ
ศึกษาและสังคม (Social)

พันธุกรรมและประสบการณ์ทำให้บุคคลกลุ่มนี้ชอบประกอบกิจกรรมที่
เกี่ยวข้องกับการให้ความรู้ การฝึกหัด การพัฒนา การอนุรักษ์ และการสั่งสอน
แต่ไม่ชอบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุเครื่องมือ เครื่องยนต์

ดังนั้น บุคคลกลุ่มนี้จึงมีความสามารถทางด้านมนุษยสัมพันธ์ เช่นงาน
ประชาสัมพันธ์ งานบริการวิชาการ แต่ด้อยความสามารถด้านการช่างและเทคนิค

สรุปแล้ว บุคคลกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมดังนี้
1) ชอบอาชีพประเภทงานบริการการศึกษาและ
สังคม แต่ไม่ชอบอาชีพประเภทงานช่างฝีมือและ
กลางแจ้ง
2) เขาจะใช้ความสามารถที่เขามีแก้ปัญหาเกี่ยว
กับการงานและเรื่องอื่น ๆ
3) เขาจะรับรู้ตัวเองในฐานะคนที่ชอบช่วยเหลือผู้
อื่น เข้าใจผู้อื่น มีความสามารถทางด้านการสอน
แต่ขาดความสามารถทางด้านเครื่องยนต์และ
วิทยาศาสตร์
4) เขาจะมีค่านิยมเกี่ยวกับปัญหาและกิจกรรม
ด้านสังคมและการกีฬา
และโดยเหตุที่มีความสนใจ ความสามารถ การรับรู้
ตนเอง และค่านิยมต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น บุคคล
กลุ่มนี้จึงมีลักษณะต่อไปนี้คือ มีอำนาจ

อาชีพที่บุคคลกลุ่มนี้สนใจ ได้แก่ ครู นักจิตวิทยา จิตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์
ที่ปรึกษาปัญหาส่วนตัว เป็นต้น

4. บุคลิกภาพของผู้มีความสนใจอาชีพประเภทงานสำนักงาน
และเสมียน (Conventional)

พันธุกรรมและประสบการณ์ทำให้บุคคลกลุ่มนี้
ชอบกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม เป็นการจัดระบบหรือ
ระเบียบ เช่น เก็บรายงาน จัดข้อมูล คัดลอกข้อมูล
จัดหมวดหมู่รายงาน และข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลข แต่
ไม่ชอบกิจกรรมที่เป็นนามธรรม มีอิสระ ต้อง
ค้นคว้า ไม่เป็นระบบแบบแผน
ดังนั้น บุคคลกลุ่มนี้จึงมีความสามารถทางด้านงาน
สารบรรณ การคำนวณ งานธุรกิจ แต่ด้อยความ
สามารถทางด้านศิลปะ

สรุปแล้ว บุคคลกลุ่มนี้จ
ะมีพฤติกรรมดังนี้

1) ชอบอาชีพประเภทงานสำนักงานและเสมียน แต่ไม่ชอบอาชีพประเภทงาน
ศิลปะ ดนตรี และวรรณกรรม

2) เขาจะใช้ความสามารถที่เขามีแก้ปัญหาเกี่ยวกับการงานและเรื่องอื่น ๆ
3) เขาจะรับรู้ตัวเองในฐานะผู้ชอบเลียนแบบ ชอบขัดระเบียบ มีความ
สามารถทางด้านงานสารบรรณและตัวเลข แต่ขาดความสามารถทางด้านศิลปะ
4) เขาจะนิยมผู้ประสบความสำเร็จด้านงานธุรกิจและเศรษฐกิจ
และโดยเหตุที่มีความสนใจ ความสามารถ การรับรู้ตนเอง และค่านิยมต่าง ๆ
ดังกล่าวข้างต้น บุคคลกลุ่มนี้จึงมีลักษณะต่อไปนี้คือ ชอบเลียนแบบ ยุติธรรม
วางท่า มีสมรรถภาพ ไม่ยืดหยุ่น มีหิริโอตัปปะ อ่อนน้อม เรียบร้อย

อาชีพที่บุคคลกลุ่มนี้สนใจ ได้แก่ นักบัญชี ผู้ดูแลสินค้าในสต๊อก ผู้ควบคุม
เครื่องคอมพิวเตอร์ เสมียนจ่ายเงิน พนักงานจดคำให้การในศาล เป็นต้น

5. บุคลิกภาพของผู้มีความสนใจอาชีพประเภทงานจัดการและ
ค้าขาย (Enterprising)

พันธุกรรมและประสบการณ์ ดังนั้น บุคคลกลุ่มนี้จึงมี
ทำให้บุคคลกลุ่มนี้ชอบประกอบ ความสามารถทางด้านการเป็น
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ ผู้นำ การประชาสัมพันธ์ การ
วางแผน หรือผลประโยชน์ด้าน ชักชวน แต่ด้อยความสามาร
เศรษฐกิจ แต่ไม่ชอบกิจกรรมที่ ด้านวิทยาศาสตร์
เกี่ยวข้องกับการสังเกต
เป็นสัญลักษณ์ หรือเป็นระเบียบ
แบบแผน

สรุปแล้ว บุคคลกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมดังนี้

1) ชอบอาชีพประเภทงานจัดการ และโดยเหตุที่มีความสนใจ
และค้าขาย แต่ไม่ชอบอาชีพประเภท ความสามารถ การรับรู้ตนเอง และ
งานวิทยาศาสตร์และเทคนิค ค่านิยมต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น
บุคคลกลุ่มนี้จึงมีลักษณะต่อไปนี้คือ
2) เขาจะใช้ความสามารถที่เขามีแก้ ชอบเสียงภัย ทะเยอทะยาน กล้าโต้
ปัญหาเกี่ยวกับการงานและเรื่องอื่น ๆ แย้ง น่าเชื่อถือ กระปรี้กระเปร่า
เปิดเผย ใจร้อน มองโลกในแง่ดี
3) เขาจะรับรู้ตัวเองในฐานะผู้กว้าง สนุกสนาน เชื่อมั่นในตนเอง
ขวาง มีความเชื่อมั่นในตนเอง เข้า
สังคมเก่ง มีความสามารถทางด้านการ อาชีพที่บุคคลกลุ่มนี้สนใจ ได้แก่
เป็นผู้นำ การพูด แต่ด้อยความ นักธุรกิจ พ่อค้า แอร์โฮสเตส นาย
สามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ หน้า นักจัดรายการโทรทัศน์ เป็นต้น

4) เขาจะนิยมผู้มีความสามารถทาง
ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

6. บุคลิกภาพของผู้มีความสนใจอาชีพประเภทงานศิลปะ
ดนตรีและวรรณกรรม (Artistic)

พันธุกรรมและประสบการณ์ทำให้บุคคลกลุ่มนี้ชอบประกอบกิจกรรมที่
เกี่ยวข้องกับนามธรรม เป็นอิสระ ไม่เป็นระเบียบแบบแผน แต่ไม่ชอบ
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับรูปธรรม เป็นระเบียบแบบแผน

ดังนั้น บุคคลกลุ่มนี้จึงมีความสามารถทางด้านศิลปะ ภาษา ดนตรี
การละคร การเขียน แต่ด้อยความสามารถด้านธุรกิจ งานสารบรรณ

สรุปแล้ว บุคคลกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมดังนี้
1) ชอบอาชีพประเภทงานศิลปะ ดนตรี และวรรณกรรม แต่ไม่ชอบอาชีพ

ประเภทงานสำนักงานและเสมียน
2) เขาจะใช้ความสามารถที่เขามีแก้ปัญหาเกี่ยวกับการงานและเรื่องอื่น ๆ
3) เขาจะรับรู้ตัวเองในฐานะคนที่ชอบแสดงออก มีความคิดริเริ่ม มี

พรสวรรค์ มีความเป็นหญิง ไม่ชอบเลียนแบบ รักอิสระ มีความสามารถทาง
ด้านศิลปะและดนตรี การแสดง การเขียน การพูด

4) เขาจะนิยมผู้มีความสามารถทางด้านการศึกษา
และโดยเหตุที่มีความสนใจ ความสามารถ การรับรู้ตนเอง และค่านิยมต่าง ๆ
ดังกล่าวข้างต้น บุคคลกลุ่มนี้จึงมีลักษณะต่อไปนี้คือ จุกจิก ไม่มีระเบียบ เจ้า
อารมณ์ มีความเป็นหญิง มีอุดมคติ เพ้อฝัน ไม่จริงจัง ใจร้อน รักอิสระ

อาชีพที่บุคคลกลุ่มนี้สนใจ ได้แก่ นักดนตรี นักประพันธ์ นักโฆษณา นักร้อง
ผู้ค้าศิลปวัตถุ เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

Holland, John L. The Psychology of Vocational Choice.
Blasisdell Publishing Co. 1966.
Holland, John L. "Current Psychological Theories of
Occupation Choice and Thier Implications for
national Planning" CIRF Abstracts. Vol.7 1968 pp.5/b537.
Holland, John L. Making Vocational Choice : A Theory o
Career. New Jersey : Prentice-Hall, 1973

1. http://www.unigang.com/Article/1259
2. https://108resources.com/