หน่วยงานใดมีบทบาทที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมากที่สุด

13 องค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศออกแถลงการร่วม เรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการ 4 ข้อ  ให้เคารพ คุ้มครอง และสนับสนุนการใช้สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ ให้ดำเนินการเพื่อประกันว่าหากมีการละเมิดสิทธิจากรัฐบาลในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมจะต้องเอาผิดได้ และประกันว่าผู้ถูกละเมิดสิทธิจะเข้าถึงการเยียวยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังเกิดการชุมนุม 17 และ 25 พฤศจิกายน 2563

องค์กรภาคประชาสังคมนานาชาติ 13 องค์กร ได้แก่
-แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International)
-Article 19
-กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (ASEAN Parliamentarians for Human Rights: APHR)
-เครือข่ายประชาธิปไตยเอเชีย (Asia Democracy Network)
-สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเซีย (Asian Forum for Human Rights and Development : FORUM-ASIA)
-เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (Asian Network for Free Elections -ANFREL)
-สหพันธ์โลกเพื่อการมีส่วนร่วมของพลเมือง (CIVICUS: World Alliance for Citizen Participation)
-องค์กรปกป้องสิทธิพลเมือง (Civil Rights Defenders)
-สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล ( FIDH – International Federation for Human Rights)
-ฟอร์ติฟายไรท์ (Fortify Rights)
-ฮิวแมนไรท์วอช (Human Rights Watch)
-คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists – ICJ)
-มูลนิธิมานุษยะ (Manushya Foundation)

ร่วมกันออกแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังของตำรวจไทยที่ “ขาดหลักความจำเป็นและเกินกว่าเหตุต่อผู้ชุมนุมโดยสงบ” จากเหตุการณ์การชุมนุมหน้ารัฐสภาวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เรียกร้องต่อรัฐบาลไทยทั้งหมด 4 ข้อ ได้แก่

1. อนุญาตให้คณะราษฎรเดินขบวนในวันที่ 25 พฤศจิกายน และอนุญาตให้ผู้ชุมนุมที่ไม่ใช้ความรุนแรง รวมถึงผู้ชุมนุมที่เป็นเด็ก สามารถชุมนุมโดยสงบที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสำนักงานใหญ่

2. คุ้มครองสิทธิของผู้ชุมนุมโดยสงบ รวมถึงผู้ชุมนุมที่เป็นเด็ก โดยสอดคล้องตามความเห็นทั่วไปที่ 37 ว่าด้วยสิทธิในการชุมนุมโดยสงบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 

3. สนับสนุนการใช้สิทธิการชุมนุมโดยสงบ และหลีกเลี่ยงจากการสลายการชุมนุมโดยใช้อาวุธ รวมทั้งการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำต่อผู้ชุมนุม โดยต้องปฏิบัติให้สอดคล้องตามหลักการพื้นฐานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และแนวปฏิบัติว่าด้วยการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำทั้งขององค์การสหประชาชาติและอื่น ๆ  

4. คุ้มครองผู้ชุมนุม รวมถึงผู้ชุมนุมที่เป็นเด็ก จากความรุนแรงและการแทรกแซงของบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ พร้อมกับคุ้มครองสิทธิของผู้ชุมนุมต่อต้าน ดำเนินการเพื่อประกันให้มีความรับผิดเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิ จากการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม และประกันว่าผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิสามารถเข้าถึงสิทธิในการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพได้ ตามที่ได้รับการประกันไว้ในมาตรา 2(3) ของ ICCPR

ประเทศไทยได้ทำการภาคยานุวัติกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ในปี พ.ศ. 2539 และอยู่ภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่ระบุว่ารัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก (มาตรา 19) และการชุมนุมโดยสงบ (มาตรา 21)

“แต่ทางการไทยมักปิดกั้นการแสดงออกและจำกัดการชุมนุม ประชุม หรือเสวนาสาธารณะเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน การปฏิรูปทางการเมือง และบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคม” แถลงการณ์ระบุ

นอกจากนี้ยังชี้ว่า รัฐต้อง “สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการชุมนุมเป็นไปโดยสงบ การใช้ความรุนแรงของบุคคลเพียงบางส่วนไม่อาจถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เข้าร่วมชุมนุมคนอื่น ของผู้จัด หรือของการชุมนุมดังกล่าวได้ และแม้ว่าสิทธิในการชุมนุมโดยสงบอาจถูกจำกัดได้ในบางกรณี แต่รัฐมีหน้าที่ในการให้เหตุผลสนับสนุนการจำกัดสิทธิเช่นว่า ซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักว่าด้วยความชอบด้วยกฎหมาย หลักความชอบธรรม หลักความจำเป็น และหลักความได้สัดส่วน” ตามวามเห็นทั่วไปที่ 37 ซึ่งระบุเนื้อหาเกี่ยวกับพันธกรณีของประเทศไทยในการประกันสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ

แถลงการณ์ยังระบุถึงกรณีมีเด็กร่วมชุมนุมด้วย ว่ารัฐ “มีหน้าที่เชิงบวกในการปกป้องสิทธิเด็กและจะต้องดำเนินการโดยตระหนักว่าอาจมีเด็กอยู่ในพื้นที่ชุมนุมและปกป้องพวกเขาจากอันตรายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย รวมถึงอันตรายที่เกิดจากผู้เข้าร่วมการชุมนุมคนอื่น ๆ” ตามที่คณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติซึ่งได้เน้นย้ำความเห็นต่อร่างความเห็นทั่วไปฉบับที่ 37

องค์กรระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่มีต่อประเทศไทย
     1.  คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(The United Nations Human Rights Council)
ได้ก่อตั้งขึ้นแทนที่คณะกรรมาธิการการสิทธิมนุษย์ชนแห่งสหประชาชาติ(Un  commission  for human  rights) คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด  47  ประเทศ  วัตถุประสงค์ขององค์กรคือ การพัฒนากลไกสิทธิมนุษยชนเป็นเอกภาพมากขึ้น  สำหรับประเทศไทยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้เข้ามามีบทบาทในหการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องสิทธิมุนษยชนให้แพร่หลายมากขึ้น เพื่อตรวจสอบ  ติดตาม ให้ข้อแนะนำและเผยแพร่รายงานกรณีสิทธิมนุษยชน  สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเฮก  ประเทศเนเธอร์แลนด์
      2.  องค์กรนิรโทษกรรมสากล  (AI: Amnesty  Internationnal)
เป็นองค์กรอาสาสมัครระหว่างประเทศที่ทำงานด้านมนุษยชน  โดยมีวัตถุประสงค์หลัก  คือ ยุติการละเมิดมนุษยชนและพยายามที่จะหาวิธีที่เหมาะสมในการช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนษยชน  เช่น ปลดปล่อยนักโทษทางความคิดอย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้แก่บุคคลที่ถูกกักขังเรื่องสีผิว  เชื้อชาติ ภาษาหรือศาสนา โดยที่นักโทษไม่เคยใชช้หรือสนับสนุนที่จะใช้ความรุนแรง เป็นต้น ปัจุบัจมีสมาชิกทั้งหมดประมาณ ๑๐๐ ประเทศทั่วโล และมีสำนักงานในประเทศไทยตั้งอยู่ที่เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
     3.  องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ  (ILO:Internatonal Labour Orgenization)
องค์กรแรงงานระหว่างประเทศเป็นองค์กรที่ส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน  ความยุติธรรมในสังคมและสนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรมในการใช้แรงงาน รวมทั้งช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการพัฒนาเศษฐกิจแลtสังคม  องค์กรแรงงานระหว่างประเทศเป็นองค์กรแรกขององค์การชำนัญพิเศษองค์การแรกของสหประชาชาติ  โดยประเทศไทยก็เป็นหนึ่งที่รวมก่อตั้ง    ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมดจำนวน 178  ประเทศจากทั่วโลก
    4.  มูลนิธิความร่วมมือเพื่อต้านการค้าหญิง (GAATW:Global Alliance  Against Traffic in woman)
มูลนิธิความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้าหญิง  เป็นเครือข่ายขององค์กพัฒนาเอกชนจากทั่วทุกภูมิภาคของโลก  ที่ทำงานในประเด็นปัญหาผู้หญิง เด็กและผู้ชายที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการค้ามนุษย์  โดยมีเป้าหมายหลัก คือ เพื่อต่อต้านการคุกคามแรงงานหญิงที่ย้ายถิ่นจากระบบตลาดแรงงานไม่เป็นทางการในปัจจุบัน  รวมทั้งความปลอดภัยจากหารย้ายถิ่น ปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามพรมแดน ปัจุบันมีองค์กรที่เป็นสมาชิกประมาณ  80  ประเทศทั่วโลก
    5.  มูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก (ECPAT:End child Prostitution In Asia Tourism)
มูลนิธิเพื่อการยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีหน้าที่ในการต่อต้านการล่วงระเมิดทางเพศกับเด็กทุกรูปแบบ  พร้อมทั้งกระตุ้นในสาธารณชนได้ตระหนักถึงสถานการณ์ความรุนแรง  ของธุรกิจการค้าประเวณีและการท่องเที่ยว  อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กถูกเอาเปรียบทางเพศ  เช่น เพื่อเสนอทางเลือกอื่นให้ครอบครัวที่มีความเสี่ยงในการเข้าสู่กระบวนการค้าประเวณี  
เป็นต้น  ประเทศไทยได้มีบทบาทดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องเพศและการค้าประเวณี ในพื้นที่ภาคเหนือ ของประเทศไทยและได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันเด็กเข้าสู่กระบวนการการค้าประเวณีในภาคเหนือของไทย  อันประกอบด้วยจังหวัดเชียงราย  เชียงใหม่  ลำพูน  และพะเยา  สำนักงานในไทยตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงราย

หน่วยงานที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน มีอะไรบ้าง

โครงสร้างสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ๑) สำนักบริหารกลาง ๒) สำนักส่งเสริมและประสานงานเครือข่าย ๓) สำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ๔) สำนักวิจัยและนิติธรรม ๕) กลุ่มงานตรวจสอบภายใน ๖) กลุ่มงานอำนวยการกิจการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ๗) สำนักวินิจฉัยและคดี๘) สำนักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ดำเนินคดีกับบุคคลที่มีการกระทำละเมิดสิทธิมนุษยชน

NHRC : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ - สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

หน่วยงานสหประชาชาติหน่วยงานใด มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: UNHRC) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลในระบบสหประชาชาติซึ่งจัดตั้งขึ้นแทนหน่วยงานเดิม คือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on Human Rights หรือ UNCHR) ด้วยข้อมติ A/RES/60/251 ในปี พ.ศ.2549 ปัจจุบัน UNHRC สังกัดอยู่กับ ...

องค์กรใดมีความสําคัญที่สุดต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

องค์การสหประชาชาติเป็นต้นกำเนิดสำคัญในการกำหนดมาตรฐานสากลและได้จัดตั้งกลไกในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหลายรูปแบบ ซึ่งมีผลผูกพันต่อประเทศสมาชิก รวมทั้งประเทศไทย หลักการหรือแนวคิดสิทธิมนุษยชนมีบทบาทต่อองค์การสหประชาชาตินับตั้งแต่การก่อตั้งองค์การ โดยปรากฏอยู่ในมาตราต่างๆ ของกฎบัตรสหประชาชาติ หลังจาก ...