ลิขสิทธิ์ กับ ทรัพย์สินทางปัญญา

2. เครื่องหมายการค้า (Trademark)

เครื่องหมายการค้า ได้แก่ คำ ข้อความ สัญลักษณ์ แผนแบบ หรือการรวมกันระหว่างสิ่งต่างๆดังกล่าว เพื่อแสดงที่มา และแยกแยะความแตกต่างกับสินค้าของบุคคลอื่น ส่วนเครื่องหมายบริการ (service mark) มีลักษณะอย่างเดียวกัน แต่เป็นการแสดง และแยกแยะความแตกต่างของบริการ ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐฯ หรือที่เรียกว่า Federal Registration นั้น เป็นการแจ้งให้สาธารณชนทราบความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ผู้จดทะเบียนมีสิทธินำคดีฟ้องร้องต่อศาลของสหรัฐฯ (Federal Court) และมิสิทธิ์ขอให้ศุลกากรป้องกันการนำเข้าสินค้าต่างประเทศที่ละเมิดเครื่องหมายการค้านั้น

การอ้างสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้า จะใช้คำว่า TM และ SM สำหรับเครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการตามลำดับ โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเครื่องหมายนั้นก่อน แต่สำหรับสัญลักษณ์ตัว R ภายในเครื่องหมายวงกลมจะใช้ได้เมื่อสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แล้วเท่านั้น

หน่วยงานในสหรัฐฯที่มีหน้าที่รับจดทะเบียน คือ สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐฯ (The United States Patent and Trademark Office หรือ USPTO) หน่วยงานดังกล่าวมีหน้าที่พิจารณาว่าผู้ขอจดทะเบียนเข้าเงื่อนไขการจดทะเบียนในระดับสหรัฐฯหรือไม่ ส่วนการจดทะเบียนนั้นสามารถทำได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์ www.uspto.gov

เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าที่ได้รับการจดทะเบียนนั้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และจากการที่สหรัฐฯ เข้าร่วมอนุสัญญากรุงมาดริด (Madrid Protocol) มีผลทำให้ผู้ยื่นขอจดทะเบียนคำขอระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาดังกล่าวได้รับความคุ้มครองในสหรัฐฯ ด้วย (ประเทศไทยไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสนธิสัญญานี้)

การละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าสหรัฐฯ นั้นเป็นความผิดทางอาญา หากผู้กระทำผิดเป็นบุคคลธรรมดาและกระทำความผิดครั้งแรก มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับไม่เกิน 2,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือทั้งจำทั้งปรับ หากไม่ใช่บุคคลธรรมดา (นิติบุคคล บริษัท ห้างร้าน ฯลฯ) ปรับไม่เกิน 5,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในกรณีที่กระทำผิดอีก โทษของบุคคลธรรมดาจะเพิ่มเป็น จำคุกไม่เกิน 20 ปีหรือปรับไม่เกิน 5,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือทั้งจำทั้งปรับ หากไม่ใช่บุคคลธรรมดา ปรับไม่เกิน 15,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ

ลิขสิทธิ์ กับ ทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้นหรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจจะแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่าง ๆ หรือในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น

ลิขสิทธิ์ กับ ทรัพย์สินทางปัญญา

­

ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1. รูปแบบของสิ่งท่ีจับต้องได้ เช่น รูปทรง ปุ่มกด สีสัน  หน้าตาของสินค้า-ผลิตภัณฑ์ต่างๆ

2. รูปแบบของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดกรรมวิธี หรือกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม

ลิขสิทธิ์ กับ ทรัพย์สินทางปัญญา

­

ในทางสากลทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม แบ่งออกได้ดังนี้

-สิทธิบัตร (Patent)

-เครื่องหมายการค้า (Trademark)

-ความลับทางการค้า (Trade Secret)

-ชื่อทางการค้า (Trade Name)

-สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indications)

2. ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ กับ ทรัพย์สินทางปัญญา

­

ความหมายระหว่างสิทธิบัตร (Patent)  กับ  ลิขสิทธิ์ (Copyright) 

สิทธิบัตร(Patent)  คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนดเป็นสิทธิพิเศษที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้น หรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิที่จะผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  นอกจากนี้ "สิทธิบัตร" ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับชีวิตของผู้คนไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่อยู่ในชีวิตประจำวันที่เกิดมาจากการประดิษฐ์คิดค้นทั้งสิ้นเช่น กลไกของเครื่องยนต์ ยารักษาโรค ผงซักฟอก  โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงวิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วจนเกินไป เป็นต้น

ลิขสิทธิ์ กับ ทรัพย์สินทางปัญญา

­

ลิขสิทธิ์ (Copyright) คือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆเกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ และความอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนแบบงานของผู้อื่น ซึ่งงานที่สร้างสรรค์ ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครองที่สำคัญผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน ซึ่งงานที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง ได้แก่ ...หนังสือ บทความ บทกลอน ท่าเต้น ท่าร่ายรำ ภาพวาด ภาพถ่าย เนื้อร้อง ทำนองเพลง วีซีดีคาราโอเกะ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ สิ่งบันทึกเสียง เช่น เทป ซีดีเพลง เป็นต้น

ลิขสิทธิ์ กับ ทรัพย์สินทางปัญญา

หลายคนยังคงสับสนระหว่างคำว่า สิทธิบัตร กับ ลิขสิทธิ์ และยังไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตนเองคิดค้นประดิษฐ์งานขึ้นมานั้น ผลงานของตนอยู่ในข่ายงานศิลป์หรือว่างานประดิษฐ์ และจำเป็นต้องจดสิทธิบัตรหรือว่าลิขสิทธิ์หรือไม่ เพราะถ้าหากมองเผินๆ ทั้งสองคำนี้อาจดูจะคล้ายกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีความแตกต่างกัน ดังนี้  

สิทธิบัตร  จะต้อง....

1. ยื่นคำขอ

2. จดทะเบียน

3. มีการตรวจสอบ

4. ระยะคุ้มครอง 10 ปี และ 20 ปี

5. เสียค่าธรรมเนีย

ในขณะที่ลิขสิทธิ์ นั้น....

1.ผลงานถูกคุ้มครองโดยอัตโนมัติ

2. ไม่ต้องจดทะเบียน

3. ไม่ต้องมีการตรวจสอบ

4. ระยะคุ้มครอง 50 ปีหลังผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต

5. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

ลิขสิทธิ์ กับ ทรัพย์สินทางปัญญา

จะว่าไป “สิทธิบัตร” ก็เปรียบเสมือนอาวุธของนักประดิษฐ์ ตามความเข้าใจ

ของคนโดยทั่วไป การจดสิทธิบัตร กระทำขึ้นก็เพื่อเป็นการป้องกันมิ่ให้ ผู้อื่น

นำแนวคิดของเราไปทำการใดๆ ในเชิงพาณิชย์ แต่พวกเราทราบหรือไม่ว่า

การจดสิทธิบัตรยังมีความสำคัญอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่

­

1 เป็นกลไกสำหรับคุ้มครองเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และธุรกิจ ป้องกันมิให้ถูกผู้อื่นละเมิด หรือถูกกล่าวหาว่าไปละเมิดผู้อื่น

2 เป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรอง หรือสร้างพันธมิตรทางธุรกิจและเทคโนโลยี

3 เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่เทคโนโลยี

4 เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการลงทุน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับบริษัทต่างชาติที่เข้ามาร่วมทุน

5 ช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้มีการพัฒนา ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น ส่งผลให้ราคาถูกลง สินค้ามีการส่งออกมากขึ้น

ดาวน์โหลดเอกสาร >>> คลิก

ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาสำคัญอย่างไร

ประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญา 1.เพื่อมอบสิทธิในการเป็นเจ้าของให้กับผู้คิดค้น กล่าวคืองานสร้างสรรค์ถือเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของผู้คิดค้น ยกเว้นแต่มีการตกลงไว้เป็นอย่างอื่น เช่น การว่าจ้างหรือการเป็นลูกจ้าง 2.เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนในความทุ่มเท สร้างสรรค์ให้กับผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบ

ข้อใดหมายถึงทรัพย์สินทางปัญญาประเภทลิขสิทธิ์

ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ลิขสิทธิ์(Copyright) และทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) ดังนี้ 1) ลิขสิทธิ์(Copyright) หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะกระท าการใดๆ กับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ท าขึ้น

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญอย่างไร

การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพช่วยสร้างแรงจูงใจให้เกิดการประดิษฐ์ คิดค้น สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพราะให้สิทธิผู้คิดค้นสามารถใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าจากเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเหล่านั้นได้ กลไกที่ใช้ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า

ความเหมือนคล้ายระหว่างทรัพย์สินทางปัญญากับทรัพย์สินมีกี่ประการ

ทรัพย์สินทางปัญญาเหมือนคล้ายกับทรัพย์สินทั่วไป 2 ประการ ดังนี้ ประการที่1 สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสามารถโอนขาย ให้ เช่า หรืออนุญาตให้ผู้อื่นนาไปใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับ ทรัพย์สินทั่วไป