การซ่อมแซมเสื้อผ้าควรทำเมื่อใด

การซ่อมแซมเสื้อผ้าควรทำเมื่อใด

ในยุคโควิดแบบนี้ อะไรประหยัดได้เราก็ยิ่งต้องประหยัด รัดเข็มขัดให้แน่น ยกตัวอย่างง่ายๆ เรื่องการซ่อมแซมเสื้อผ้าด้วยตัวเอง ไม่ว่าเสื้อผ้าจะมีร่องรอยชำรุดแบบไหน ทั้งรอยขาดขนาดเล็ก-ใหญ่ รวมถึงชายผ้าขาดหลุดรุ่ย

เหมือนอย่างเวที Super10 ได้ค้นพบดีไซน์เนอร์จิ๋ว น้องมินนี่วัย 9 ขวบ  โชว์ความสามารถคือ ตัดเย็บชุดแต่งงาน ฝีมือสวยงามเทียบเท่าผู้ใหญ่ แลกความฝันเป็นผ้าเพื่อนำไปต่อยอดความสามารถ สร้างรายได้ให้กับครอบครัวตนเอง 

ใช่แล้วล่ะค่ะ แอดจิ๋วอยากแชร์เคล็ดลับง่ายๆ กับวิธีการซ่อมเสื้อผ้าด้วยตัวเอง หนึ่งในเคล็ดลับที่แอดจิ๋วแอบไปกระซิบถามน้องมินนี่มาฝากกันค่ะ

การเนา เป็นการเย็บผ้าให้ติดกันชั่วคราวก่อนเย็บจริงเพื่อไม่ให้ผ้าเคลื่อนไปมา

วิธีคือ แทงเข็มขึ้นและลงบนผ้า ระยะห่างกันพอสมควร

การซ่อมแซมเสื้อผ้าควรทำเมื่อใด

การชุน ใช้สำหรับซ่อมผ้าที่ขาดเป็นรูเล็ก

วิธีคือ ด้นเดินหน้ารอบรูของผ้า 1 รอบ ป้องกันไม่ให้ ริมผ้ารุ่ย พันเข็มโดยใช้เข็มสอดเข้าไปในด้ายที่ด้นไว้แล้วแล้วใช้ ด้ายพันหัวเข็ม แล้วดึงขึ้น ทำจนปิดรูสนิท

การซ่อมแซมเสื้อผ้าควรทำเมื่อใด

การปะ ใช้สำหรับซ่อมแซมผ้าที่ขาดทะลุเป็นรูใหญ่

วิธีคือ นำเศษผ้ามาวางปิดรอยขาดแล้วกลัดด้วยเข็มกลัด ใช้เข็มแทงผ้าขึ้น-ลงจนสิ้นสุดเศษผ้าที่นำมาปะ

การซ่อมแซมเสื้อผ้าควรทำเมื่อใด

การด้น ใช้สำหรับซ่อมแซมตะเข็บเสื้อผ้า

วิธีคือ เย็บผ้า 2 ชนิดให้ติดกันโดยแทงเข็มขึ้นและย้อนกลับไปแทงเข็มด้านหลัง แล้วดึงด้ายขึ้นทำไปจนสิ้นสุด

การซ่อมแซมเสื้อผ้าควรทำเมื่อใด

การสอย ใช้สำหรับสอยชายเสื้อ, ชายกระโปรง, ชายกางเกง

วิธีคือ ใช้เข็มสอดเข้าไปในผ้าประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อเก็บปมใช้เข็มสะกิด เส้นด้ายจากผ้าชิ้นล่างประมาณ 1-3 เส้นด้าย ใช้เข็มสอดเข้าไปในผ้าและแทงขึ้นไปด้านบนแล้วดึงขึ้น

การซ่อมแซมเสื้อผ้าควรทำเมื่อใด

เมื่อเรารู้จักการซ่อมเสื้อผ้าขั้นพื้นฐาน เพียงเท่านี้ เราจะสามารถซ่อมแซมเสื้อผ้าได้ด้วยตนเองและประหยัดค่าใช้จ่ายในยุคโควิดได้แล้วค่ะ